Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


10. MINDFULNESS AT WORK - การเจริญสติในที่ทำงาน เพื่อคลายเครียด และสร้างความสุข แก่บุคลากร ในองค์กร

Mindfulness At Work and Organization for all Levels 
การเจริญสติในสถานที่ทำงาน สำหรับทุกตำแหน่งงาน

๑. ปัญหา / ความเครียด ในที่ทำงาน :

-ปัญหาการทำงาน
-ปัญหาความคิดเชิงลบ
-ปัญหาการเงิน
-ปัญหาการให้ แบ่งปัน ความเหมาะสม การเอาเปรียบกัน
-ปัญหาการเลี้ยงลูก
-ปัญหาครอบครัว
-ปัญหาอารมณ์เป็นใหญ่ มากกว่าสติและเหตุผล
-ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ ความโลภ

๒. สาเหตุของปัญหา :

-การศึกษาและความรู้ในเรื่องจิตใจ และ สติ
-วิธีการฝึกเจริญสติ 
-การควบคุมต่อปัญหาอารมณ์ตนเอง
-ความเกรงกลัวละอายต่อบาป และเข้าใจถึงผลที่จะตามมา
-การอบรมและฝึกฝน
-เป้าหมาย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรมองค์กร/ที่ทำงาน
-การมุ่งเน้นแต่ปริมาณและความคุ้มค่า
-ธรรมชาติของมนุษย์ที่มี กิเลส/เชื้อโรคร้าย(ยักษ์)ในใจ ๓ ตัว คือ ความหลง ความโลภ และความโกรธ 
-ความเข้าใจในการทำงานของจิต และอารมณ์ต่างๆ ภายในจิต
-ความสามารถในการควบคุมกิเลส ๓ ตัว หรือ อารมณ์ต่างๆ
-ความดื้อรั้นและความไม่รู้

๓. เป้าหมาย (คลายเครียด ลดทุกข์ เพิ่มความสุข) :

-ฝึกสร้าง สติ เพื่อพัฒนาอารมณ์ตนเอง ปัญหาการทำงาน และปัญหาครอบครัวในด้านการเงิน การเลี้ยงลูก และผู้สูงอายุ 
-ฝึกสร้าง สติ และ เหตุผล เพื่อควบคุม อารมณ์ฝ่ายลบ แก่ผู้บริหารและพนักงาน ในการทำงานและที่บ้าน
-การเจริญสติ ช่วยลดความเครียด กังวล หงุดหงิด และอารมณ์โกรธ ให้กับพนักงาน
-เรียนรู้และรู้จักความคิดลบ
-เรียนรู้ จิตวิทยาเชิงบวก 
-ฝึกกระตุ้นสร้างความคิดเชิงบวก
-สอนการหา เหตุ(อดีต) และการนึกถึง ผล(อนาคต)
-ฝึกวิธีการแก้ปัญหา ด้วยหลักอริยสัจ ๔ และหลักบริหารสากล
-ฝึกการเป็นผู้ให้ เสียสละ และผลที่จะได้ในอนาคต
-พัฒนาความรู้เรื่อง กฎแห่งกรรม และสร้างความละอายกลัวต่อบาป จนถึงผลที่จะตามมาในอนาคต
-รู้ถึงคุณค่าชีวิต และสร้างชีวิตให้มีความหมาย  เพื่อประโยชน์ ไม่สร้างโทษภัย แก่ทุกสังคม
-พัฒนาความซื่อสัตย์ และ ความอดทน ในที่ทำงาน
-พัฒนาประสิทธิภาพ(Effectiveness in Quality) และประสิทธิผล(Efficiency in Quantity) ในการทำงาน เช่น แผนกบัญชี การผลิต การบริหาร ฯลฯ
-พัฒนาความสุขของพนักงานด้วยคุณค่า มากกว่า ปริมาณตัวเงินในด้านความคุ้มค่า
-พนักงานมีความสุขขณะทำงาน รักที่ทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
-สร้าง ปัญญา ความสุขทางใจ ลดความทุกข์ บุญกุศล สิ่งที่ดีงามแก่สังคม และ ความสำเร็จ 
-ช่วยลดการลาออกของพนักงาน
-สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความโปร่งใส (Good Governance in Organization)
-เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)

๔. วิธีการ (สติเชิงรุก) :

-เล็งเห็นปัญหาและต้องการพัฒนาปรับปรุง
-สร้างการยอมรับและมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ (Commitment)
-วางแผนบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ และกิจกรรม
-การฝึกเจริญสติในที่ทำงาน
-รับฟังปัญหาของพนักงาน
-สนทนากลุ่ม
-ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
-ฝึกเจริญสติ(ครั้งละ 2, 5, 10นาที) ช่วงก่อนทำงาน ก่อนประชุม ช่วงพักเที่ยง และก่อนกลับ
-นำสติไปใช้ในชีวิตประจำวัน และที่บ้าน
-ฝึกเจริญสติทุกวัน เริ่มต้น 9 สัปดาห์ และฝึกต่อเนื่องไปตลอด
-นำการเจริญสติไปเผยแผ่ต่อสังคมรอบข้าง
-ฝึกการคิดดี(คิดให้เป็น) พูดดี(เหมาะสม) ทำดี(ทำให้ได้จริงๆ)
-ใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต ด้วย สติ เหตุและผล ตลอดไป

10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์

1.PREPARATION  เตรียมใจ เตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน

3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ

5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป

6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ

7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป

---------------


การเจริญสติในที่ทำงาน
MINDFULNESS AT WORK

๑.  ชื่อในการอบรม:   การเจริญสติในที่ทำงาน
                                  Mindfulness At Work

๒.  ระยะเวลา:            การบรรยาย และฝึกเจริญสติ รวม ๑๐ ครั้งๆ ละ ๓ - ๔ ชั่วโมง
                                  ครั้งต่อไป - ทุกเดือนๆ ละ ๑ ครั้ง และตามความเหมาะสม

๓.  กลุ่มเป้าหมาย:     ผู้บริหาร, หัวหน้า และอาสาสมัคร เพื่อนำไปอบรมพนักงานในที่ทำงาน

๔.  ความเป็นมาและความสำคัญ          

          การเจริญสติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ก่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจ สติปัญญา และสามารถขัดเกลากิเลสให้ลดละลง จนกระทั่งเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือพระนิพพาน ดังพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่าด้วยการเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ว่า
          “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (อริยมรรค) เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฎฐาน ๔ ประการ”

          สติปัฎฐาน คือ การตั้งสติสัมปชัญญะ เพียรพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกให้ได้ โดยแยกพิจารณาเป็น ๔ ประการ คือ
๑.  การพิจารณาเห็นกายในกาย
๒.  การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓.  การพิจารณาเห็นจิตในจิต
               ๔.  การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย 
(มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฏกภาษาไทย เล่มที่ ๑๒ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙. หน้าที่ ๔๐)

          การปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน ๔ ถือได้ว่าเป็นหน้าที่หลักสำคัญยิ่งของพุทธศาสนิกชน ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดสติและปัญญา โดยอาศัยหลักองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ การเจริญสติระลึกรู้โดยกำหนดรู้กาย เวทนา จิต และองค์ธรรม เพื่อให้รู้แจ้ง รู้ชัด รู้เท่าทันในสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ณ ขณะนั้น จนสามารถลดละกิเลส ๓ โมหะ (หลง) โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) และถอนความหลงผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และเกิดปัญญาความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้อง คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)  

           บุคคลผู้ปฎิบัติเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) จะช่วยลดความทุกข์ เพิ่มความสุขภายในใจ สามารถพัฒนาระดับสติปัญญา และแก้ปัญหาในการทำงาน เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนท้ายที่สุดเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม และจริยธรรมในสังคมปัจจุบันได้
           
           ปัจจุบันการเจริญสติกำลังเป็นที่นิยมมาก ในอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อินเดีย และอีกหลายประเทศทั่วโลกตลอด ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา  การเจริญสติยังเป็นที่นิยม แพร่หลายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดศูนย์เจริญสติ (Mindfulness Center) ในมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ โดยเน้นการสอน เรื่องการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด ซึ่งมีประโยชน์มาก ต่อการกระตุ้น การทำงานของสมอง ในส่วนหน้าของสติเหตุผล (Prefrontal Cortex), การกระตุ้นสมองให้ทำงาน พร้อมกันทั้งสองด้าน โดยเฉพาะฝั่งซ้ายที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ, สมองความจำ (Hippocampus), เพิ่มการกระตุ้น Serotonin ที่ช่วยนำสารสุข มาให้สมอง อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานของ สมองส่วนกลาง (Amygdala) ที่แสดงอารมณ์ความกลัว วิตก โกรธ เครียด ก้าวร้าว ให้ทำงานน้อยลงได้อีกด้วย  

ผู้ที่เริ่มนำเอาสติมาสอน ในหลักสูตรสติคลายเครียด (MBSR) ตามมหาวิทยาลัย ทางการแพทย์ และโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลก เช่น Dr. Jon Kabat-Zinn, Dr. Rick Hanson, Dr. Diana Winston, Dr. Bob Stahl, Dr. Richard Davidson (Neuroscientist - นักประสาทวิทยาด้านสมอง), Dr. Dan Siegel, ล้วนแต่ได้เคยมาฝึกสติ/สมาธิ มาจากพุทธศาสนา เช่น สายเถรวาท Vipassana Meditation, สายมหายาน, สายท่านโกแองก้า Goenka Vipassana และสายวัชรยาน ธิเบต 

การเจริญสติยังช่วยทำให้เกิดสุขได้อีกด้วย ตามงานวิจัยของ Dr. Richard Davidson เรื่องความสุขกับสมอง ได้พบว่า ขณะเกิดความสุข สมองจะเกิดคลื่นแกมม่า เวฟ (Gamma Wave) และได้ทดลองด้วยอุปกรณ์ตรวจคลื่นสมอง EEG จนค้นพบว่า นักบวชธิเบต ชาวฝรั่งเศส (Ven. Matthieu Ricard) เป็นคนที่เกิดคลื่นความสุขยาวนานกว่าทุกคนที่เคยทดลองมา จึงได้แสดงสรุป ให้เห็นว่า ท่านเป็นคนที่มีความสุขมากที่สุดเท่าที่เคยทดสอบมา (Happiest Man Ever Tested)

นอกจากการเจริญสติคลายเครียดและทำให้เกิดความสุข ซึ่งตรงกับหลักพุทธศาสนา ที่เรียกว่า สมาธิสุข  สติยังมีผลดีต่อการทำงานของสมอง เส้นเลือด หัวใจ และทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อตนเอง การทำงาน ครอบครัว  หลายได้นำเอา

การเจริญสติมีประโยชน์ต่อทุกคน และยังสามารถนำไปใช้สอนในที่ทำงาน/องค์กร แก่พนักงานทุกระดับ เพื่อทำให้องค์กรเป็นบ้านและทำให้พนักงานมีความสุขสามารถแก้ปัญหาได้ด้วย ความคิดกุศล (คิดบวก)  อีกทั้งยังช่วยเพิ่มกระตุ้นความเมตตากรุณา


ผู้ที่ฝึกเจริญสติเป็นประจำ จะช่วยลดปัญหาในที่ทำงาน พัฒนานิสัยตนเอง ปัญหาในครอบครัว ช่วยแก้ปัญหานอนหลับยาก และนำไปสอนลูกหลานด้วยสติเหตุผลที่บ้าน ได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าทุกคนในที่ทำงานได้รับฝึกสติแล้ว จะเกิดความสงบผ่อนคลาย จนสามารถ พัฒนาสติรู้ทันความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และส่งผลดีต่อการทำงาน 

กล่าวโดยสรุป ประโยชน์ของการเจริญสติ จากงานวิจัยทั่วโลกกว่า ๑,๐๐๐ เรื่องมีดังนี้
               . ช่วยลด ซึมเศร้า ได้ 75% (Depression)
. ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น 65% (Well-being)
. เพิ่มภูมิต้านทานได้ 50% (Immune System) และช่วยลดแรงดันเลือด (Lower Blood Pressure)
. เพิ่มเนื้อสมองส่วนสีเทาด้านสติเหตุผล ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มกระตุ้นหรือควบคุมการทำงานของสมองในส่วน Prefrontal Cortex (สติเหตุผล การตัดสินใจ), Anterior Insula (ความเครียด ไม่พอใจ) และHippocampus (ความจำ) เป็นต้น
. ลดเซลล์ส่วนของสมองด้านอารมณ์ลบ (Amygdala)
. ลดความเครียดได้ ทำให้แก่ช้าลง (Stress Reduction)
. ช่วยคลายเครียด ด้วยการสร้างโทเลเมีย (Telomere) คุมที่ปลายของโครโมโซม ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (Dr. Elizabeth Blackburn)
. ช่วยให้แก้ไขในขณะเกิดสถานการณ์คับขันได้ดี (Conflict & Crisis Resolution)
. พัฒนาความตั้งใจในการรับรู้ (Kid’s Attention) และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น (Emotion Regulation)
๑๐. ช่วยให้รู้ทัน ความคิดลบ อารมณ์/ความรู้สึก และพฤติกรรม (Thoughts Emotion and Behavior)
๑๑. ช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสาร มนุษยสัมพันธ์ และการอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี (Interpersonal Skills)
๑๒. ช่วยพัฒนาความเมตตา กรุณา และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น (Loving Kindness and Compassion)
๑๓. ทำให้สมองเกิดคลื่นความสุขภายในที่เรียกว่า แกมม่าเวฟ (Gamma Wave)
   
            หากฝึกเจริญสติอย่างถูกต้องต่อเนื่องในระยะยาว ตามแนวสติปัฏฐาน (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) จะสามารถพัฒนาจิตในระดับลึกของจิตใต้สำนึกในแนวจิตวิทยา และพัฒนานิสัยจิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม  ดังนั้น ผู้ที่ฝึกเจริญสติ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องแล้ว จะช่วยทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง เกิดความสุขทางใจ และยังนำสู่เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือพระนิพพาน หรือ นิพพานสุข ในที่สุด                 

๕.  วัตถุประสงค์

             ๑) เพื่อจัดอบรมหลักคำสอนของพุทธศาสนา จิตวิทยา และความคิดเชิงบวก แก่ผู้บริหาร, ผู้จัดการ และระดับหัวหน้า สำหรับนำไปสอนพนักงานในที่ทำงาน
๒) เพื่อจัดการฝึกเจริญสติ-วิปัสสนา แก่ผู้บริหาร, ผู้จัดการ และระดับหัวหน้า เพื่อนำไปสอนพนักงาน
๓) เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์สู่การพัฒนา นิสัยตนเอง, ปัญหาในที่ทำงาน และปัญหาในครอบครัว
๔) เพื่อสร้าง ชมรมเจริญสติในที่ทำงาน สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศ ของการเจริญสติ เพื่อบรรเทาความเครียด และนำความสุขสู่ที่ทำงาน
๕) เพื่อให้เข้าใจ จิตวิทยาพื้นฐานในเรื่อง ความคิด/ความรู้สึก/อารมณ์/พฤติกรรม ในการป้องกัน และบำบัดโรคทางใจ เช่น โรคเครียด วิตกกังวล แพนิค ซึมเศร้า สมาธิสั้น นอนหลับยาก ฯลฯ
              ๖) เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาและการสื่อสาร ในที่ทำงานด้วย สติเหตุผล
              ๗) เพื่อให้มีความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีสติเหตุผล

๖.  เนื้อหาในการอบรม

               ๑) การบรรยายแก่ ผู้บริหาร/ผู้จัดการ สำหรับสอนพนักงานในองค์กร เรื่องหลักพุทธธรรม หลักจิตวิทยา และ
การเจริญสติ ในเนื้อหาดังต่อไปนี้
              -ชีวิต กายและใจ
              -ความทุกข์ (ความเครียด/ปัญหาของตน ที่ทำงาน และในครอบครัว)  
              -ความสุข ตามหลักของพุทธศาสนา
              -วิธีแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔ และตามหลักการบริหารจัดการ     
              -ประวัติ ความหมาย และประโยชน์ของการเจริญสติ ในพุทธศาสนา
              -ประโยชน์ของการเจริญสติ ในจิตวิทยาการแพทย์
              -ผลของการเจริญสติ ต่อ สมอง ร่างกาย ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม
              -เหตุและผล      
              -สติเหตุผล หรือ อารมณ์
              -เรียนรู้ความคิด และประเภทของความคิด
              -จิตวิทยาเชิงบวก                   
            -จิตวิทยาพื้นฐาน เพื่อบรรเทา และป้องกันโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล แพนิค สมาธิสั้น นอนหลับยาก ย้ำคิดย้ำทำ จิตเภท สองบุคลิก ฯลฯ
              -ฝึกพัฒนาในการสื่อสาร, การรับรู้แสดงความคิดเห็นการถาม/ตอบ และการใช้ภาษา
              -การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีสติเหตุผล
              -สติเชิงรุก เพื่อให้เกิดผลได้จริง
        นอกจากนั้นยังสนับสนุนผู้บริหาร/ผู้จัดการ หรือผู้มีความรู้ ให้เป็นที่ปรึกษาแนะนำ ในการแก้ปัญหากับพนักงาน เป็นการส่วนตัว หรือเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาบุคคลากร ช่วยเหลือ ต่อปัญหา ความเครียดในที่ทำงาน ในครอบครัว สุขภาพ และด้านการเงิน

              ๒) การฝึกเจริญสติ ด้วยรูปแบบอานาปานสติ/พองหนอ-ยุบหนอ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอิริยาบถต่อไปนี้
              -นั่งสติ (บนเก้าอี้ / พื้น)                   
              -เดินสติ
              -นอนสติ (เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา การนอนหลับยาก)
              -สติในอิริยาบถย่อยอื่นๆ ระหว่างวันในองค์กร ที่บ้าน และทุกสถานที่
              -โยคะสติ หรือ สติในขณะออกกำลังกาย
              -ยืนสติ
              หลังการฝึกมีการประเมินผล/ถามตอบ หลังการฝึกทุกครั้ง และควรมีการฝึกเจริญสติ เป็นระยะเวลาสั้นๆ ในองค์กรทุกวัน เช่น ก่อนเข้าทำงาน ก่อนพักเที่ยง ก่อนเข้างานช่วงบ่าย หลังเลิกงาน ก่อนประชุม ก่อนการอบรม และในกิจกรรมหลักอื่นๆ
              นอกจากการเจริญสติทุกวันแล้ว ยังจัดหลักสูตรอบรม และฝึกการเจริญสติแก่พนักงาน เป็นประจำ เช่น ๓ ชั่วโมง /๑ วัน / ๓ วัน หรือ ๗ วัน ทั้งใน และนอกสถานที่

10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์

1.PREPARATION  เตรียมใจ เตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน

3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ

5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป

6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ

7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป

              ๓) การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างบรรยากาศ ในการสนับสนุนกิจกรรมการเจริญสติ ภายในองค์กรตามความเหมาะสม เช่น ป้าย บอร์ด สติกเกอร์ เชือก โบว์ ผ้า เข็มกลัด เสียงระฆังของสติ หรือสัญญลักษณ์เสียง เตือนให้เจริญสติทุกระยะเวลาในที่ทำงาน

      
           ๔) การใช้สนทนากลุ่ม เพื่อพัฒนาความรู้ ถามตอบ แสดงความคิดเห็น  และสร้างทักษะ การใช้ภาษา ด้านการสื่อสารในองค์กร

***สรุป องค์ความรู้ ที่จะศึกษาเพิ่มเติมในระยะเวลาต่อเนื่องอีก 9 สัปดาห์ ดังต่อไปนี้

-ชีวิต ด้านกายและใจ (ขันธ์ ๕) / การทำงานของจิต (ย่อ)
-จิตวิทยาพื้นฐาน
-ความคิด (คิดลบ และ คิดบวก)
-จิตวิทยาเชิงบวก (คิดบวก คำบวก ประโยคเชิงบวก)
-เหตุ และ ผล / กฎแห่งกรรม / การวิเคราะห์ความจริง
-ทาง 7 สาย (31 ภพภูมิ) ในชาติต่อไป
-วิธีแก้ปัญหา ๓ ด้าน (ตน ครอบครัว โรงเรียน) ด้วย หลักอริยสัจ ๔
-สติ/เหตุผล หรือ อารมณ์ ในชีวิตประจำวัน
-ความทุกข์ และความสุข
-ปัญญา ความสำเร็จ และบุญกุศล 
-การบริหารจัดการเวลา
-พรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
-การเป็นผู้ให้ ช่วยเหลือ เห็นแก่ผู้อื่น และสร้างสันติสุข
-การรู้หน้าที่รับผิดชอบ
-การใช้ภาษา (การรับรู้ การถาม/ตอบ การสนทนา)
-อันตรายและกับดักของการหลงในการเจริญสติ/สมาธิ
-การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเอง
-สนทนากลุ่ม ในแต่ละสัปดาห์

๗.  คำอธิบายสาระการอบรม

               ๑) การอบรมหลักพุทธธรรม หลักจิตวิทยา ปัญญา และความรู้ ตามความสมัครใจ ด้วยการอธิบายภาษาพื้นฐาน น่าสนใจ ทันสมัย อย่างมีเหตุ/ผล ในหลักทฤษฎี, หลักเจริญสติ, การพัฒนาจิต, ความสุข. ปัญญา, บุญกุศล และนำสู่ความสำเร็จ
                ๒) การฝึกสอนเจริญสติในองค์กร ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ทันสมัย พร้อมกับ การอธิบายอย่างละเอียด ในรูปแบบอานาปานสติ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ในทุกอายตนะ เพื่อให้มีสติรู้ทัน ความคิด อารมณ์ และความรู้สึก เมื่อชำนาญแล้ว จึงฝึกรูปแบบพองหนอ-ยุบหนอ เพื่อให้เกิดทักษะทั้ง ๒ รูปแบบ
                เป้าหมายของการฝึกเจริญสติ เพื่อให้มีสติรู้ทัน ความคิด การพูด และการกระทำ ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ในอนาคต และเพื่อพัฒนาตนเอง สร้างพฤติกรรมกุศลเชิงบวก ความสุขภายในใจ ที่ทำงาน ในครอบครัว และแก่สังคม
                ๓) การให้ความรู้ การยกตัวอย่าง การนำกรณีตัวอย่างมาสนทนา ในเรื่องหลัก การหาเหตุ (ในอดีต) การเห็นถึงผล (ในอนาคต) และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ด้วยหลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ด้วยการใช้ตัวอย่างจริง ในหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ที่บ้าน และระหว่างวัน
                ๔) การให้ความรู้ เรื่องสติสำหรับโรคทางใจ, การเจริญสติของทางตะวันตก ด้านจิตวิทยาทางการแพทย์, เรื่องของ ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาสติให้รู้ทันความคิดลบ และความคิดฟุ้งซ่าน ซึ่งมีผลกระทบต่อ ความตั้งใจ ความจดจ่อ การมีสมาธิ การรับรู้นึกคิด ความจำ ความเข้าใจ สำหรับนำไปพัฒนาการทำงาน การสร้างความคิดเชิงบวก และวิธีควบคุม ความคิด/อารมณ์/พฤติกรรม (กาย วาจา ใจ) ในทุกสถานที่
                ๕) การสอนในหลักธรรมนิเทศ โยนิโสมนสิการ วิภัชชวาท และหลักความรู้เพื่อพัฒนา การใช้ภาษาในการสื่อสาร
                ๖) การพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยา หลักทางการแพทย์ สุขอนามัยการกินการดื่ม และความรู้อื่นๆ ในองค์รวมของสุขภายกายและใจ
                ๗) การพัฒนาความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถสร้างโจทย์ เป้าหมาย หาปัญหา และค้นคว้าจนกระทั่งหาคำตอบได้ อย่างมีสติเหตุผล
          


๘.  ขอบข่ายเนื้อหาการอบรม

               ๑) การอบรมผู้บริหารและทุกคนในที่ทำงาน ด้วยความสมัครใจและอธิบายอย่างมี เหตุและผล  โดยใช้ภาษาที่ง่าย น่าสนใจ ทันสมัย ในการสอนเนื้อหาเรื่องการเจริญสติ, การพัฒนาจิต, ประโยชน์ของการเจริญสติต่อสมอง/อารมณ์/ร่างกาย/จิตใจ, ผลที่จะได้รับ การพัฒนาการทำงาน และเป้าหมายสู่ความสุขสำเร็จ
               ๒) การฝึกสอนเจริญสติในที่ทำงาน ด้วยภาษาที่ทันสมัย และรูปแบบที่ง่าย ในรูปแบบอานาปานสติ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ในทุกอายตนะ การมีสติรู้ทันความคิด อารมณ์ และความรู้สึก เมื่อชำนาญแล้ว จึงฝึกรูปแบบพองหนอ-ยุบหนอ เพื่อให้เกิดทักษะทำเป็นทั้ง ๒ รูปแบบ
              หลังจากฝึกแล้ว จะมีการประเมินผล/สอบอารมณ์ ด้วยความเมตตากรุณา เข้าใจผู้ฝึก และรับฟังปัญหาอย่างมีเหตุ/ผล อีกทั้งยังสนับสนุนผู้บริหาร/ผู้จัดการ ให้เป็นที่ปรึกษาแนะนำปัญหาต่างๆ แก่พนักงาน เพื่อรับฟังปัญหา/ความคิดเห็น เมื่อรับฟังแล้วควรมีคำชมเชย การสร้างแรงจูงใจ และการได้รับรางวัลทางใจตามความเหมาะสม
               การสอนให้มีสติรู้ทันความคิด การพูดจา และการประพฤติ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขในอนาคต  เป้าหมายของการเจริญสติเพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อพฤติกรรมกุศลเชิงบวก สร้างความสุขภายใน ที่บ้านในครอบครัว และสังคม
                ๓) หนังสือธรรมะ และหลักธรรมของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกจากเนื้อหา ที่ง่าย ทันสมัย น่าสนใจ และใช้ภาษาเหมาะสมกับวัย
               ๔) เนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างบรรยากาศ กิจกรรมการเจริญสติ ประกอบด้วยสื่อหลัก และสื่อจร เช่น เรื่องการเจริญสติ ประโยชน์ต่อสมอง ร่างกายและจิตใจ การพัฒนาการเรียน การควบคุมอารมณ์ การรู้ทันความคิด (คิดลบ ความรู้สึก อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคทางใจ) การรู้ทันคำพูด การรู้ทันการกระทำ และเนื้อหาความรู้ที่อบรม ในแต่ละ ช่วงเวลา 
                ๕) การให้ความรู้ การยกตัวอย่าง การนำกรณีตัวอย่างมาสนทนา ในเรื่องหลักการ หาเหตุ (ในอดีต) การเห็นถึงผล (ในอนาคต) และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยหลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ด้วยการใช้ตัวอย่างจริงในหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ที่บ้าน และระหว่างวัน
                ๖) เนื้อหาในความรู้เรื่องสติบำบัดโรคทางใจตามแนวทางพุทธ เรื่องของกาย วาจา ใจ และการเจริญสติของทางตะวันตกด้านจิตวิทยาทางการแพทย์, เรื่องของ ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาสติให้รู้ทันความคิดลบ และความคิดฟุ้งซ่าน ซึ่งมีผลกระทบต่อ ความตั้งใจ ความจดจ่อ การมีสมาธิ การรับรู้นึกคิด ความจำ ความเข้าใจ สำหรับนำไปพัฒนาการเรียน การสร้างความคิดเชิงบวก และวิธีควบคุม ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม (กาย วาจา ใจ) ที่ทำงาน ที่บ้าน และทุกสถานที่
                ๗) การสอนในหลักธรรมนิเทศ โยนิโสมนสิการ วิภัชชวาท และหลักความรู้ เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาในการสื่อสาร
                ๘) การพัฒนาความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถสร้างโจทย์ เป้าหมาย หาปัญหา และค้นคว้าจนกระทั่งหาคำตอบได้ อย่างถูกวิธีในสื่อสารมวลชนที่มีอยู่  
                ๙) การให้ความรู้ทางจิตวิทยา หลักทางการแพทย์ สุขอนามัยการกินการดื่ม พร้อมกับความรู้อื่นๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากความรู้การเจริญสติ-วิปัสสนา ตามแนวของพุทธศาสนา และในทางจิตวิทยา โดยมีเป้าหมายเพื่อการประยุกต์ใช้ในการรู้ทัน ความคิด นิสัยตนเอง เพื่อการพัฒนาอารมณ์ เพื่อสร้างพฤติกรรมกุศลเชิงบวก และสร้างความสุขภายในที่ทำงาน ที่บ้านในครอบครัว และสังคม

๙. แนวทางการจัดกิจกรรม

         ๑)  การบรรยายพร้อมกับสื่อ/สไลด์
         ๒)  การฝึกเจริญสติ-วิปัสสนา ในอิริยาบถต่างๆ
         ๓)  การส่งสอบอารมณ์ (ถาม/ตอบ)
         ๔)  การให้แสดงความคิดเห็น
         ๕)  การใช้การสังเกต และการวิเคราะห์ในพฤติกรรม
         ๖)  การสนับสนุนให้จัดตั้ง ชมรมเจริญสติในที่ทำงาน

๑๐. การวัดและประเมินผล

             ๑) หลังจากการฝึกเจริญสติในอิริยาบถ นั่ง เดิน นอน และระหว่างวัน
๒) การสังเกตพฤติกรรมของผู้ฝึกเจริญสติ
๓) ผู้ฝึกคอยสังเกตในความเปลี่ยนแปลงของตนเอง
๔) การเปลี่ยนแปลงในปัญหา ๓ ด้าน คือ ตนเอง ที่ทำงาน และครอบครัว 
        
๑๑. คุณลักษณะที่ผู้เข้าอบรมพึงได้รับ

             ๑) มีความรู้ในหลักพุทธธรรม ความเป็นมา หลักการ และประโยชน์ของการเจริญสติ ทั้งในแนวพุทธศาสนา และจิตวิทยาการแพทย์
๒) สามารถฝึกการเจริญสติ เป็นประจำทุกวัน ได้ถูกต้องตามหลักสติปัฏฐาน
๓) สามารถนำการเจริญสติไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ในที่ทำงาน ในครอบครัว  และในชีวิตประจำวัน เพื่อลดความทุกข์ นำสู่ความสุข
๔) มีความเข้าใจองค์ประกอบของชีวิต(ร่างกาย/จิตใจ), การทำงานของจิต, อารมณ์ต่างๆ, วิธีควบคุมจิตใจ/อารมณ์, ความสุขภายใน, การดำเนินชีวิตในอนาคต และหลักธรรมในพุทธศาสนา
๕) เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยหลักอริยสัจ ๔ และการพัฒนาการใช้หลักเหตุ/ผล
๖) มีสติรู้ทันคิดลบ (อกุศล) อารมณ์ลบ ความรู้สึก และพฤติกรรม พร้อมกับ การสร้างความคิดเชิงบวก (กุศล) ได้เป็นด้วยตนเอง
๗) มีความสามารถด้านการใช้ภาษา การสนทนา สื่อสาร และการแสดงออกที่ถูกต้อง
๘) สามารถค้นคว้า และหาความรู้ด้วยตนเองเป็นอย่างมีเหตุผล
๙) มีความรู้ทางด้านจิตวิทยา เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
๑๐) สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาตนตลอดไป


๑๒. กำหนดการ                                                     

 "การเจริญสติในที่ทำงาน"

การอบรมเริ่มต้น – ครึ่งวัน อาทิตย์ละครั้ง จำนวน ๑๐ สัปดาห์
หลังจากนั้น อบรม เดือนละ ๑ ครั้ง หรือตามความเหมาะสม

******************

การอบรมการเจริญสติในแต่ละครั้ง ประกอบด้วย

            ๑.  การบรรยายเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์
            ๒.  การฝึกเจริญสติ ในท่า นั่งเก้าอี้ / นั่งพื้น / เดิน / นอน / อิริยาบถระหว่างวัน
            ๓.  การสอบอารมณ์, ถามตอบ ประเมินผล และแสดงความคิดเห็น
            ๔.  การมอบหมายงานค้นคว้า ในเนื้อหาของสัปดาห์ต่อไป เพื่อนำมาสนทนาในกลุ่ม

-------------------

***หลักสูตรการเจริญสติในที่ทำงาน เรียบเรียงขึ้นเพื่อร่วมเผยแผ่เป็นวิทยาทาน 
สำหรับการอบรมและพัฒนากิจกรรม แก่ ส่วนการอบรมและวางแผน
สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย มี.ค. ๒๕๖๒

-------------------

เรียบเรียง/สอน โดย  อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ 
ผู้ก่อตั้ง/สอนปฏิบัติ -  ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว กทม.

โทร. 097 984 9355
Line ID:  aniwat5593
Email:     anipetch@gmail.com

Facebook: vipassanameditationthailand

--------------