Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


การเจริญสติในโรงเรียน (MINDFULNESS AT SCHOOL)


หลักสูตร การเจริญสติในโรงเรียน


๑.  ชื่อหลักสูตร:     การเจริญสติในโรงเรียน

๒.  ระยะเวลา:             ตลอดภาคการศึกษา

๓.  กลุ่มเป้าหมาย:    ครูเพื่อสอนนักเรียนในโรงเรียน

๔.  ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 
  

         การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและระดับสติปัญญา และสามารถขัดเกลากิเลสให้ลดละลงจนกระทั่งเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน ดังพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ว่า 
        “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (อริยมรรค) เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฎฐาน ๔ ประการ”

         สติปัฎฐาน คือ การตั้งสติสัมปชัญญะ เพียรพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกให้ได้ โดยแยกพิจารณาเป็น ๔ ประการ คือ
         ๑.  การพิจารณาเห็นกายในกาย
         ๒.  การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
         ๓.  การพิจารณาเห็นจิตในจิต
         ๔.  การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
(มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฏกภาษาไทย เล่มที่ ๑๒ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๓๙. หน้าที่ ๔๐)

         การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถือได้ว่าเป็นหน้าที่หลักสำคัญยิ่งของพุทธศาสนิกชนในการฝึกอบรมจิตให้เกิดสติและปัญญา โดยอาศัยหลักองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ การเจริญสติระลึกรู้โดยกำหนดรู้กาย เวทนา จิต และองค์ธรรม เพื่อให้รู้แจ้ง รู้ชัด รู้เท่าทันในสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ณ ขณะนั้น จนสามารถลดละกิเลส ๓ โมหะ (หลง) โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) และถอนความหลงผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และเกิดปัญญาความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้อง คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)  บุคคลผู้ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้จะค่อยๆ ลดความทุกข์ เพิ่มความสุขภายในใจ สามารถพัฒนาระดับสติปัญญา และแก้ปัญหาในการเรียน เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน  จนท้ายที่สุดเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมปัจจุบันได้
       
         ปัจจุบันการเจริญสติกำลังเป็นที่นิยมมาก ในอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อินเดีย และอีกหลายประเทศทั่วโลก  ภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา และแพร่หลายต่อไป อย่างไม่หยุด เช่น การเปิดศูนย์ Mindfulness Center ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ โดยเน้นการสอน เรื่องการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด และมีประโยชน์มากต่อ การกระตุ้นการทำงานของสมอง ในส่วนหน้าของสติเหตุผล-Prefrontal Cortex, การกระตุ้นสมองให้ทำงานพร้อมกันทั้งสองด้านโดยเฉพาะด้านซ้ายที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ, สมองความจำส่วน-Hippocampus, เพิ่มการกระตุ้น Serotonin ที่ช่วยนำสารสุขมาให้สมอง และมีผลดีในอีกหลายส่วนของสมอง  อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานของ สมองส่วนกลาง(Amygdala) ที่แสดง อารมณ์ความกลัว วิตก โกรธ เครียด กร้าวร้าว ให้ทำงานน้อยลงได้อีกด้วย 

         ผู้ที่เริ่มนำเอาสติมาสอน ในหลักสูตรสติคลายเครียด - MBSR ตามมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ และโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลก เช่น Dr. Jon Kabat-Zinn, Dr. Rick Hanson, Dr. Diana Winston, Dr. Bob Stahl, Dr. Richard Davidson (Neuroscientest - นักวิทยาศาสตร์ ด้านสมอง), Dr. Dan Siegel, ล้วนแต่ได้เคยมาฝึกสมาธิ กับพุทธศาสนาแนวทั้งจาก สายเถรวาท Vipassana Meditation, สายท่านโกแองก้า Goenka Vipassana และสมาธิสายธิเบต นอกจากประโยชน์การคลายเครียดแล้ว ยังทำให้มีสุขอีกด้วย Dr. Richard Davidson ได้ศึกษาวิจัยหาบุคคล ที่มีความสุขมากที่สุดในโลก จากการวัดคลื่นสมอง (Gamma Wave) และได้พบว่าท่านนั้นคือ Ven. Matthieu Ricard (นักบวชธิเบต ชาวฝรั่งเศสที่ได้รับฉายาว่า World's Happiest Man ในนิตยสาร Time Magazine)

         นอกจากการเจริญสติคลายเครียดได้แล้ว ยังมีผลดีต่อการทำงานของสมอง เส้นเลือด หัวใจ และทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิต อย่างมีผาสุขต่อตนเอง การทำงาน ครอบครัว และต่อทุกคนในโรงเรียน อีกทังยังเกิดความเมตตากรุณาในสถานศึกษา และนำเอาสติไปใช้ลดปัญหาในที่โรงเรียน พัฒนานิสัยตนเอง ปัญหาในครอบครัว และเพื่อสอนผู้อื่นต่อไป พนักงานเมื่อได้รับฝึกการผ่อนคลายสงบแล้ว จะสามารถพัฒนาสติรู้ทันความคิด และสามารถควบคุมสติในโรงเรียน  นอกจากนั้นสติยังช่วยในการนอนหลับได้เร็วขึ้น

         ประโยชน์ของการเจริญสติ จากงานวิจัยทั่วโลกกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น  เสนอโดยสรุป มี ๑๙ เนื้อหา ดังนี้

         ช่วยลด ซึมเศร้า ได้ 75% (Depression)
         ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น 65% (Well-being)
         ๓เพิ่มภูมิต้านทานได้ 50% (Immune System) และช่วยลดแรงดันเลือด (Lower Blood Pressure)
         ๔เพิ่มเนื้อสมองส่วนสีเทาด้านสติเหตุผล ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มกระตุ้นหรือควบคุมการทำงานของสมองในส่วน Prefrontal Cortex (สติเหตุผล การตัดสินใจ)กระตุ้นสร้างเสริมส่วน Hippocampus (ความจำ) และลดการทำงานของ Anterior Insula (ความเครียด ขยะแขยง เกลียด ไม่พอใจ)
         ๕. ลดเซลล์ส่วนของสมองด้านอารมณ์ลบด้าน ก้าวร้าวหรือกลัวหนี (Amygdala – Fight or Flight)
         ๖ลดความเครียดได้ ทำให้แก่ช้าลง (Stress Reduction)
         ๗ช่วยคลายเครียด ด้วยการสร้างโทเลเมีย (Telomere) คุมที่ปลายของโครโมโซม ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (Dr. Elizabeth Blackburn)
         ๘ช่วยให้แก้ไขในขณะเกิดสถานการณ์คับขันได้ดี (Conflict & Crisis Resolution)
         ๙พัฒนาความตั้งใจในการรับรู้ (Kid’s Attention) และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น (Emotion Regulation)
         ๑๐ช่วยให้รู้ทัน ความคิดลบ อารมณ์/ความรู้สึก และพฤติกรรม (Thoughts Emotion and Behavior)
         ๑๑. ช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสาร มนุษยสัมพันธ์ และการอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี (Interpersonal Skills)
         ๑๒. ช่วยพัฒนาความเมตตา กรุณา และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น (Loving Kindness and Compassion)
         ๑๓. ทำให้สมองเกิดคลื่นความสุขภายในที่เรียกว่า แกมม่าเวฟ (Gamma Wave)
  ๑๔. ช่วยสร้างความหนาแน่นเพิ่มขึ้นในสมองส่วน Cortical Thickness ในการป้องกัน Brain Maturation, Aging และ Dementia ซึ่งอาจทำให้เกิดโรค ความจำเสื่อม-Alzheimer, โรคสันนิบาต (ร่างกายสั่น) Parkinson, Vascular Dementias จากงานวิจัยของ Dr. Sara Lazar 
  ๑๕. ช่วยลดอัตราเสี่ยง เมื่อใช้คู่กับการรักษา DBT (Dialectical Behavior Therapy) สำหรับ โรคทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD - Borderline Personality Disorder) โดย Marsha Linehan (http://www.psychotherapybrownbag.com/psychotherapy_brown_bag_a/2009/03/dialectical-behavior-therapy-skills-part-1-mindfulness.html)
  ๑๖. ช่วยป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ และลดอาการ ของโรคซึมเศร้า อยากเสพเหล้า/แอลกอฮอล อยากเสพยา และ SUD - Substance Use Disorder ในสารเสพติดของผู้เสพ (https://www.rehab4alcoholism.com/article/45/ultimate-guide-to-mindfulness-and-addiction)
  ๑๗. ช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้น ในโรคนอนหลับยาก Crinical Insomnia โดย Dr. Cynthia Gross 
(https://mrsmindfulness.com/mindfulness-as-a-cure-for-insomnia-8-steps-to-resting-easy/)
  ๑๘. ช่วยพัฒนาสร้าง ความตั้งใจ จดจ่อ และสมาธิ ให้กับนักเรียน โดย บทความ The Effects of Mindfulness on Students’ Attention ของ Rose Bringus (http://sophia.stkate.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1189&context=maed)
  ๑๙. ช่วยลด ACTH (AdrenoCorticoTropic Hormone) หรือที่เรียกว่า Stress Hormone ที่ถูกผลิตออกจาก 
ต่อมไฮโปธาลามัส - Hypothalamus และ ต่อมพิททูอิทารี Pituitary Gland 

  ความเครียดที่เกิดสะสมขึ้นในร่างกาย สามารถก่อให้เกิดผล ดังต่อไปนี้
   -โรคปวดหัวไมเกรน - Migrane
   -ไฮเปอร์เทนชั่น เครียด - Hypertension
   -อดนอน / นอนหลับไม่เพียงพอ - Sleep Deprivation 
   -ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย - Chronic Fatigue Syndrom CFS
   -ท้องร่วง หรือ ท้องผูก - Diarrahea or Constipation
   -กรดไหลย้อน - Gastroesophageal Reflux Desease GERD / Acid Reflux Disease
   -สิว - Acne
   -ลมพิษ ผื่นคัน - Hives
   -โรคอ้วน - Eating Disorders 
   -ไขมันสะสมในเส้นเลือด ทำให้แข็ง จนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ - Atheroscierosis
   (https://palousemindfulness.com/docs/what-is-stress.pdf)

         ในระยะยาวการเจริญสติตามแนววิปัสสนากัมมัฏฐานของพุทธศาสนา ด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะสามารถนำจิตเข้าสู่เบื้องลึกของระดับจิตใต้สำนึก เพื่อไปปรับเปลี่ยนนิสัย พฤติกรรม ความทุกข์ และอารมณ์ต่างๆ สำหรับทุกคนในโรงเรียน ที่ได้มีโอกาสฝึกเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง และยังนำสู่เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน(นิพพานสุข) ที่เป็นความสุขสูงสุด มากกว่า กามสุข และสมาธิสุข         

๕.  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๕.๑  เพื่อจัดอบรมความรู้ด้านทฤษฎีแก่ครู เรื่องการเจริญสติ-วิปัสสนา สำหรับนักเรียน ในโรงเรียน
๕.๒  เพื่อจัดการฝึกเจริญสติ-วิปัสสนาแก่ครู สำหรับสอนนักเรียน ตลอดภาคการศึกษา
๕.๓  เพื่อให้เกิดความรู้ในหลักพุทธธรรม สำหรับนำไปใช้พัฒนานิสัยตนเองการเรียนสร้างความสุขในครอบครัวการทำงานในอนาคต และเป็นคนดีของสังคม
๕.๔  เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศของการเจริญสติ-วิปัสสนา ในโรงเรียนวิถีพุทธ
๕.๕  เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา การเรียนรู้เรื่องเหตุ/ผล  และการสร้างเป้าหมายสู่ความสำเร็จในอนาคต ตามหลักธรรมของ อริยสัจ ๔
๕.๖  เพื่อให้มีความรู้เรื่อง ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม ในการป้องกันปัญหาโรคทางใจ
๕.๗  เพื่อพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษา การสนทนา และการสื่อสาร
๕.๘  เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานด้านสมองจิตวิทยาโรคทางใจทางการแพทย์ และความรู้อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์
๕.๙  เพื่อให้มีความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล

๖.  คำอธิบายสาระหลักสูตร

        ฝึกอบรมการเจริญสติให้กับครู เพื่อนำมาสอนนักเรียนในโรงเรียนและใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับศึกษาหลักธรรมของพุทธศาสนา ที่เหมาะสมกับวัย จากง่ายไปหายาก ทำให้เห็นประโยชน์ เกิดความสนใจ มีฉันทะ และสนุกไปกับการเจริญสติ/พัฒนาปัญญาทุกวัน ให้เป็นคนดี ตลอดภาคการศึกษา จนสามารถนำไปใช้ให้เกิดผลได้จริง  เข้าใจเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา (สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน-สติปัฎฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยการฝึกเจริญสติในท่า เดินสติ นั่งเจริญสติ ยืนสติ และนอนสติ เพื่อให้หลับได้เร็ว) 

     พัฒนาแนวคิดกุศลเชิงบวก รู้ทันคิดอกุศลเชิงลบ และนำหลักการเจริญสติมาใช้ในทุกสังคมได้อย่างต่อเนื่อง ในชีวิตประจำวันตลอดภาคการศึกษา สามารถนำเอาหลักอริยสัจ ๔ ไปใช้แก้ไขปัญหา เรียนรู้เรื่องเหตุ/ผล เพื่อประยุกต์ใช้ในทุกสถานการณ์ และสร้างเป้าหมายจนนำไปสู่ความสำเร็จ

     เพื่อพัฒนาการเรียน ด้วยการฝึกสติให้รู้ทันความคิด/อารมณ์-ความรู้สึก/พฤติกรรมสร้างความสุขในครอบครัวรู้แนวทางดำเนินชีวิต และเป็นคนดีของสังคมเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสุข บุญ และปัญญาในทางพระพุทธศาสนา สามารถพัฒนาทางด้านภาษา เพิ่มทักษะด้านการสนทนา การสื่อสารกับผู้คน และมีความมั่นใจในการนำพูดหน้าชั้น

     พัฒนาความรู้ทางด้านสมองจิตวิทยาทางการแพทย์ และความรู้ด้านอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ในฐานะนักศึกษาคนทำงานผู้ปกครองพลเมืองที่ดี และในฐานะชาวพุทธ เรียนรู้วิธีการค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบมีเหตุผล

๗.  เนื้อหาการอบรมของหลักสูตร

           ๗.๑  การอบรมครู ในเรื่องการเจริญสติ-วิปัสสนา ในโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อสอนแก่นักเรียน และให้จดบันทีกในสมุด เพื่อเก็บไว้ทบทวนในอนาคต ในเนื้อหาดังนี้
         -องค์ประกอบของชีวิต และการทำงานของจิต
         -ประวัติความเป็นมาของการเจริญสติ-วิปัสสนาในพุทธศาสนา
         -ความหมายของการเจริญสติ
         -ประโยชน์ของการเจริญสติ-วิปัสสนาต่อสมอง ร่างกาย ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม
         -การทำงานของจิต อารมณ์ต่างๆ และวิธีควบคุมจิต ตามหลักพุทธศาสนา  
         -วิธีฝึกเจริญสติ
         -การประเมินผล/สอบอารมณ์
         -การฝึกให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น, การถาม/ตอบ
         -การเจริญสติกับหลักจิตวิทยาทางการแพทย์
         -การเจริญสติสำหรับการคลายเครียด
         -การเจริญสติกับการป้องกันโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า เครียด ย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล อารมณ์โกรธ นอนหลับยาก ฯลฯ      
         -การเจริญสติกับการป้องกันเรื่องยาเสพติด
         -ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  
         นอกจากนั้นยังให้ความรู้และสนับสนุนครู เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ในการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน เป็นการส่วนตัว หรือเป็นกลุ่มในห้องเรียน สำหรับปัญหาของส่วนตัว การเรียน เพื่อน และครอบครัว ตลอดภาคการศึกษา

         ๗.๒  การฝึกเจริญสติ ด้วยรูปแบบอานาปานสติ/พองหนอ-ยุบหนอ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ในอิริยาบถต่อไปนี้
         -นั่งเก้าอี้สติ
         -นั่งพื้นสติ
         -เดินสติ
         -ยืนสติ
         -สติในอิริยาบถย่อยอื่นๆ ระหว่างวันที่โรงเรียน ที่บ้าน และนอกสถานที่
         -นอนสติ (ปัจจุบันเป็นปัญหาของคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการนอนหลับยาก)
         การฝึกเจริญสติเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในโรงเรียนทุกวัน เช่น ก่อนเข้าห้องเรียน ก่อนเรียน หลังเลิกเรียน และในกิจกรรมหลักอื่นๆ

10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์

1.PREPARATION  เตรียมใจ เตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน

3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ

5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป

6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ

7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป


         ๗.๓  หลักพุทธธรรมด้านทฤษฎีที่จะนำมาสอนแก่นักเรียน เช่น
         -ส่วนประกอบของชีวิต (ขันธ์ ๕)
         -การทำงานของจิต, ประเภทของอารมณ์ กิเลสในใจ (โมหะ โลภะ โทสะ) และวิธีการควบคุม
         -การเป็นคนดีแก่ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และสังคม
         -ประเภทของความสุข ปัญญาทางพุทธศาสนา และบุญกุศล เพื่อสร้างเป้าหมายสู่ความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
         -กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในโรงเรียน และชีวิตประจำวัน
         -หลักพรหมวิหาร ๔ (ความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา)
         -การพัฒนาจิตด้วย ทาน ศีล และภาวนา (สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ด้วยรูปแบบอานาปานสติ หรือ พองหนอ-ยุบหนอ คู่กับการเจริญสติปัฏฐาน ๔) ด้วยภาษาที่ทันสมัย และเข้าใจง่ายตามอายุวัย
         -หลักธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับนักเรียน ฆราวาส การทำงาน ครอบครัวและสังคม

         ๗.๔  การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างบรรยากาศ ในการสนับสนุนกิจกรรมการเจริญสติ ภายในโรงเรียนทุกพื้นที่ และบริเวณรั้วโรงเรียน เช่น ป้าย บอร์ด สติกเกอร์ เชือก โบว์ ผ้า เข็มกลัด เสียงระฆังของสติ หรือสัญญลักษณ์เสียงของการเตือนให้เจริญสติทุกระยะเวลา

         ๗.๕  วิธีวิเคราะห์หา “เหตุ (ในอดีต)” และการเล็งเห็นถึง “ผล (ในอนาคต)” และ เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ด้วยหลักอริยสัจ ๔ เพื่อความสำเร็จ พร้อมกับการยกตัวอย่าง และเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาในอนาคต เช่น ปัญหาจากเหตุการณ์ต่างๆ, ข้อดีข้อเสียและอันครายจากการใช้โทรศัพท์มือถือ, อินเตอร์เนท, สื่อสารมวลชน, สารเสพติดมึนเมา, ปัญหาการเรียน, ปัญหาวัยรุ่น, ปัญหาในครอบครัว และอื่นๆ

         ๗.๖  ผลกระทบของ ความคิดลบ (อกุศล) และคิดบวก (กุศล) สู่อารมณ์/ความรู้สึก และพฤติกรรม ตามแนวจิตวิทยา ที่เรียกว่า สติบำบัดโรคตามแนวกรมสุขภาพจิต MCBT (Mindfulness Cognitive Behavior Therapy)และ แนวจิตวิทยาตะวันตก MBCT (Mindfulness-Based Cognitive Therapy) ในการนำไปใช้ป้องกัน และบำบัดโรคทางใจ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ทั่วโลก  เป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในอนาคตตลอดไป สำหรับลดความทุกข์ สร้างสุข และเพื่อเตรียมพร้อมต่อปัญหาโรคทางใจในอนาคต

         ๗.๗  การฝึกอบรมนักเรียนในเรื่องการฟังด้วยการนึกภาพและจิตนาการ การสรุปประเด็นเนื้อหา ความเข้าใจ ความจำในเนื้อหา การพูดสนทนา การรู้จักถาม/ตอบ และการสร้างความมั่นใจต่อหมู่คณะภายในห้องเรียนพร้อมกับการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาการใช้ภาษา การสนทนา และการสื่อสาร

                     ๗.๘ การอบรมความรู้ด้านจิตวิทยาเชิงบวก (Posiive Psychology), จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education), การสร้างความคิดเชิงบวก (Positive Thinking), ความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล จิตเภท สมาธิสั้น ย้ำคิดย้ำทำ การควบคุมอารม์ นอนหลับยาก และความรู้ด้านอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง การเรียน การทำงาน ครอบครัว และสังคม

                  ๗.๙  การฝึกนักเรียนให้สามารถค้นคว้า และหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่ง เช่น ห้องสมุด หนังสือ สื่อต่างๆ การสอบถาม การสังเกตุ จากอินเตอร์เนท และอื่นๆ โดยการพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยตรรกะเหตุผล

๘.  ขอบข่ายเนื้อหาการอบรม

          ๘.๑  การอบรมครูเพื่อการสอนนักเรียน ด้วยการอธิบายอย่างมีเหตุ/ผล โดยไม่ใช้จากการบังคับหรือสั่งให้ทำ และใช้ภาษาที่ง่าย น่าสนใจ ทันสมัย พร้อมกับการใช้เนื้อหาเรื่องการพัฒนาจิต การเจริญสติแบบง่ายสำหรับนักเรียน ประโยชน์ของการเจริญสติต่อสมอง ร่างกายและจิตใจด้านจิตวิทยาทางการแพทย์
    
        ๘.๒  การฝึกสอนเจริญสติ-วิปัสสนา ด้วยภาษาที่ทันสมัยและรูปแบบที่ง่าย พร้อมกับมีการพูดนำการปฏิบัติเป็นระยะๆ สำหรับการฝึกเป็นเวลานาน  ในการฝึกเจริญสติ-วิปัสสนาประจำวัน จะให้ฝึกเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนและหลังทุกกิจกรรม ด้วยรูปแบบอานาปานสติ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ในทุกอายตนะ โดยเฉพาะการมีสติรู้ทันความคิด อารมณ์และความรู้สึก เพราะเป็นการฝึกที่ง่ายสำหรับนักเรียนในช่วงเริ่มต้น เมื่อชำนาญแล้ว จึงฝึกรูปแบบพองหนอ-ยุบหนอ เพื่อให้เกิดทักษะทำเป็นทั้ง ๒ รูปแบบ
         หลังจากฝึกแล้ว จะมีการประเมินผล/สอบอารมณ์ ด้วยความเข้าใจ และเมตตากรุณาด้วยการรับฟังปัญหาอย่างมีเหตุ/ผล อีกทั้งยังสนับสนุนให้ครูเป็นที่ปรึกษาแนะนำปัญหาต่างๆ ให้กับนักเรียน เพื่อรับฟังปัญหา/ความคิดเห็นจากนักเรียน เมื่อรับฟังแล้วควรมีคำชมเชย การสร้างแรงจูงใจ และการได้รับรางวัลทางใจตามความเหมาะสม
        การสอนให้มีสติรู้ทันความคิด การพูดจา และการประพฤติ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขในอนาคต  เป้าหมายของการเจริญสติเพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อพฤติกรรมกุศลเชิงบวก สร้างความสุขภายใน ที่บ้านในครอบครัว สังคมเพื่อน และเพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคม

        ๘.๓  หนังสือธรรมะ และหลักธรรมของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกสอนจากเนื้อหาที่ง่าย ทันสมัย น่าสนใจ และใช้ภาษาเหมาะสมกับวัย เพื่อสร้างให้เป็นคนดี

        ๘.๔  เนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างบรรยากาศ กิจกรรมการเจริญสติ ประกอบด้วยสื่อหลัก และสื่อจร เช่น เรื่องการเจริญสติ ประโยชน์ต่อสมอง ร่างกายและจิตใจ การพัฒนาการเรียน การควบคุมอารมณ์ การรู้ทันความคิด (คิดลบ ความรู้สึก อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคทางใจ) การรู้ทันคำพูด การรู้ทันการกระทำ และ เนื้อหาความรู้ที่อบรมในแต่ละช่วงเวลา ตลอดภาคการศึกษาจนครบ

        ๘.๕  การให้ความรู้ การยกตัวอย่าง การนำกรณีตัวอย่างมาสนทนา ในเรื่องหลักการหาเหตุ (ในอดีต) การเห็นถึงผล (ในอนาคต) และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยหลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ด้วยการใช้ตัวอย่างจริงในหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ที่บ้าน และนอกโรงเรียน

        ๘.๖  เนื้อหาในความรู้เรื่องสติบำบัดโรคทางใจตามแนวทางพุทธ เรื่องของกาย วาจา ใจ, การเจริญสติแนวจิตวิทยาตะวันตก, ความรูู้ทางการแพทย์, เรื่องของ ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาสติให้รู้ทันความคิดลบ และความคิดฟุ้งซ่าน ซึ่งมีผลกระทบต่อ ความตั้งใจ ความจดจ่อ การมีสมาธิ การรับรู้นึกคิด ความจำ ความเข้าใจ สำหรับนำไปพัฒนาการเรียน การสร้างความคิดเชิงบวก และวิธีควบคุมความคิด/อารมณ์/พฤติกรรม (กาย วาจา ใจ) ที่โรงเรียน ที่บ้าน และทุกสถานที่
         การพัฒนาสติและเหตุผล ในข้อดี/ข้อเสีย ของการใช้โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนท และสารเสพติด/สารมึนเมา ที่จะเป็นอันตรายต่อสมอง การเรียน นิสัย ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม

        ๘.๗  การสอนในหลักธรรมนิเทศ โยนิโสมนสิการ วิภัชชวาท และหลักความรู้เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาและการสื่อสาร

        ๘.๘  การให้ความรู้ทางจิตวิทยา หลักทางการแพทย์ สุขอนามัยการกินการดื่ม และความรู้อื่นๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ การประยุกต์ใช้ในการรู้ทัน ความคิด/นิสัยตนเอง เพื่อการพัฒนาอารมณ์ตนเอง เพื่อสร้างพฤติกรรมกุศลเชิงบวก และสร้างความสุขภายในการเจริญสติที่บ้านในครอบครัว และใช้กับสังคมเพื่อน

        ๘.๙  การพัฒนาความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถสร้างโจทย์ เป้าหมาย หาปัญหา และค้นคว้าจนกระทั่งหาคำตอบได้ อย่างถูกวิธีในสื่อสารมวลชนที่มีอยู่   

๙. วิธีการสอน

        ๙.๑  การบรรยายพร้อมกับสื่อ/สไลด์
        ๙.๒  การฝึกเจริญสติ-วิปัสสนา ในอิริยาบถต่างๆ
        ๙.๓  การส่งสอบอารมณ์ (ถาม/ตอบ)
        ๙.๔  การให้แสดงความคิดเห็น
        ๙.๕  การใช้การสังเกต และการวิเคราะห์ในพฤติกรรม
       
๑๐. วิธีการประเมินผล

        ๑๐.๑  การสังเกตพฤติกรรมในของการเจริญสติ ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ
        ๑๐.๒  การสนทนาถาม/ตอบ การแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
        ๑๐.๓  แบบประเมินผลของการเจริญสติในตนเอง สังคมเพื่อน ในครอบครัว ที่โรงเรียน และหลักธรรมทางทฤษฎีที่เข้าใจ
         ๑๐.๔  ผลของการเรียน ก่อนและหลังการอบรม
       
๑๑. คุณลักษณะของผู้ผ่านการอบรมที่พึงได้รับ

        ๑๑.๑  มีความรู้ถึง ความเป็นมา หลักการ และประโยชน์ของการเจริญสติ-วิปัสสนา
        ๑๑.๒  สามารถฝึกการเจริญสติ-วิปัสสนา เป็นประจำทุกวัน ได้ถูกต้องตามหลักสติปัฏฐาน
        ๑๑.๓  สามารถนำการเจริญสติไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ที่โรงเรียน ที่บ้าน กับสังคมเพื่อน และในชีวิตประจำวัน
        ๑๑.๔  มีความเข้าใจองค์ประกอบของชีวิต (ร่างกาย/จิตใจ)การทำงานของจิตอารมณ์ต่างๆ
                  วิธีควบคุมจิตใจ/อารมณ์ความสุขภายในการดำเนินชีวิตในอนาคต และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
        ๑๑.๕  เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยหลักอริยสัจ ๔ และการพัฒนาการใช้หลัก เหตุ/ผล 
        ๑๑.๖  รู้ทันคิดลบ (อกุศล) อารมณ์ลบ และพฤติกรรม พร้อมกับ การสร้างความคิดเชิงบวก (กุศล) เป็น
        ๑๑.๗  มีความสามารถด้านการใช้ภาษา การสนทนา และการแสดงออกที่ถูกต้อง
        ๑๑.๘  สามารถค้นคว้า และหาความรู้ด้วยตนเองเป็นอย่างมีเหตุผล
        ๑๑.๙  มีความรู้ทางด้านจิตวิทยา และทางการแพทย์ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิต
        ๑๑.๑๐  ได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์นอกเหนือจากวิชาที่เรียน


๑๒. แผนและกิจกรรมการอบรม

กำหนดการฝึกอบรมครู
หลักสูตร การเจริญสติ ในโรงเรียน

สำหรับ "ภาคการศึกษาแรก" จัดอบรม อาทิตย์ละครั้ง / ครึ่งวัน รวมเวลาประมาณ ๑๐ ครั้ง 

สำหรับ "ภาคการศึกษาต่อไป" สามารถปรับลดการอบรมตามความเหมาะสม

******************

การอบรมการเจริญสติในแต่ละครั้ง ประกอบด้วย

          ๑.  การบรรยายเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์
          ๒.  การฝึกเจริญสติ ในท่า นั่งเก้าอี้ / นั่งพื้น / เดิน / นอน / อิริยาบถระหว่างวัน
          ๓.  การสอบอารมณ์ถามตอบ ประเมินผล และแสดงความคิดเห็น
          ๔.  การมอบหมายงานค้นคว้า ในเนื้อหาของสัปดาห์ต่อไป เพื่อนำมาสนทนาในกลุ่ม
         

------------------------

*****หลักสูตรการเจริญสติในโรงเรียน เรียบเรียงขึ้นเพื่อนำเสนอสำหรับการพัฒนากิจกรรม แก่ 
สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย ธ.ค. 2560

-------------------

***ตัวอย่าง หลักสูตร การเจริญสติในโรงเรียน ๒ วัน ครึ่ง

...........................................................................................................................................................................

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ 
“สติเชิงรุก - Mindfulness Active Practice”
ณ โรงเรียน____________ จ.เชียงราย
ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒

……………………………………….....................................................................................................

วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒

                                                           
เวลา  ๑๘.๓๐ – ๒๐.๐๐ น.             - บรรยาย
ประวัติความเป็นมาของการเจริญสติ – วิปัสสนา ในประเทศไทย”
การเจริญสติสากล แนวจิตวิทยาการแพทย์”
“ประโยชน์ของการเจริญสติ”

 ๒๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.             - สนทนา ถาม/ตอบ ของกิจกรรมในโรงเรียน
                                           - ปัญหา/อุปสรรค ของการเจริญสติ และการสอน
                                                       - แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๒ 
                               
เวลา  ๐๗.๐๐ – ๐๘.๐๐ น.             รับประทานอาหารเช้า

๐๘.๐๐ ๐๙.๐๐ .            - บรรยาย     
                                              การเจริญสติเชิงรุก (MINDFULNESS ACTIVE LEARNING)
                                              “วิธีการเจริญสติ และ สมาธิ”         
                           
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.            - การฝึกปฏิบัติ สำหรับครูผู้สอน ช่วงที่ ๑
สมาธิในท่านั่ง (Sitting Concentration Meditation)
สติในการรับรู้ความรู้สึกในร่างกาย (Body Scan)
สติในท่านั่ง ด้วย ลมหายใจ (Breath Sitting)
- ประเมินผล / ถามตอบ ในแต่ละท่าของการฝึก

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.           รับประทานอาหารกลางวัน ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)

๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.            - บรรยาย “การเจริญสติเชิงรุก ในโรงเรียน”
๑๔.๐๐ ๑๗.๐๐ น.            - การฝึกปฏิบัติ สำหรับครูผู้สอน ช่วงที่ ๒
สติในท่านั่ง ด้วย การกำหนด พอง/ยุบ และ ถูกหนอ
สติในท่าเดิน
สติในท่านอน
สติในระหว่างวัน
๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.            รับประทานอาหารเย็น ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)

๑๘.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.            - บรรยายเนื้อหา “ปัญญา/ความรู้ คู่ไปกับ การเจริญสติ สำหรับครู”
 - การฝึกปฏิบัติ สำหรับครูผู้สอน ช่วงที่ ๓
สติในท่านั่ง   
         สติในระหว่างวัน
สติในท่านอน
                                      
วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒


เวลา  ๐๗.๐๐ – ๐๘.๐๐ น.          รับประทานอาหารเช้า ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)

๐๘.๐๐ ๐๙.๐๐ .            - บรรยาย “การเจริญสติเชิงรุก สำหรับนักเรียน”                                 
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.            - การฝึกปฏิบัติ เพื่อสอนแก่นักเรียน ช่วงที่ ๑
สมาธิในท่านั่งนิ่ง
สติในการเรียนรู้อารมณ์ทางอายตนะ ๖
สติในการเรียนรู้ทัน ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
สติในท่านั่ง กำหนด ลมหายใจ และ พอง/ยุบ
สติในท่าเดิน
สติในท่านอน

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.            รับประทานอาหารกลางวัน ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)

๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.             - การฝึกปฏิบัติ เพื่อสอนแก่นักเรียน ช่วงที่ ๒        
สติพัฒนาการเรียน
สติในระหว่างวัน (ที่โรงเรียน และบ้าน)

๑๔.๐๐ ๑๗.๐๐ น.            - บรรยายเนื้อหา
                                         “ปัญญา/ความรู้ คู่ไปกับ การเจริญสติ สำหรับนักเรียน
                                              -ชีวิต ด้านกายและใจ (ขันธ์ ๕)
                                              -ความทุกข์ และความสุข
                                              -ปัญญา ความสำเร็จ และบุญกุศล
                                              -ความหมาย และความแตกต่างของ สติ / สมาธิ
                                              -วิธีพัฒนาการเรียน และประโยชน์ของ สติ / สมาธิ
                                              -จิตวิทยาพื้นฐาน เพื่อป้องกันโรคทางใจ
                                              -ความคิด (คิดลบ และ คิดบวก)
                                              -จิตวิทยาเชิงบวก (คิดบวก คำบวก ประโยคเชิงบวก)
                                              -เหตุ และ ผล
                                              -วิธีแก้ปัญหา ๓ ด้าน (ตน ครอบครัว โรงเรียน) ด้วย หลักอริยสัจ ๔    
                                              -สติและเหตุผล หรือ อารมณ์
                                              -การใช้ภาษา (การรับรู้ การถาม/ตอบ การสนทนา)
                                              -การเป็นผู้ให้ และการสร้างสันติภาพ/สันติสุข
                                              -การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
                                              -สนทนา ถาม/ตอบ และร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ

--------------------------------------------

สอนโดย  อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ 

-วิทยากร “สติเชิงรุก” ในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ส่วนวางแผนและอบรม มจร. อ.วังน้อย จ.อยุธยา
-ผู้ก่อตั้ง/สอนภาคปฏิบัติ -  ชมรมศูนย์เจริญสติ-วิปัสสนา เขตลาดพร้าว กทม.

โทร. 
097 984 9355
Line ID:  aniwat5593
Email:     anipetch@gmail.com

Facebook: vipassanameditationthailand

-------------

หรือที่เวปไซด์
http://mindfulnessatschoolthailand.blogspot.com/

---------------------------------------------------------

๑.  รร อินเตอร์ Prem Tinsulanonda International School ที่นำเอาการเจริญสติแบบสากล มาสอนนักเรียน 





----------------------------------------------------------------

๒.  การสอนเจริญสติของฝรั่งมาถึงเมืองไทยแล้ว โดยสอนที่ รร อินเตอร์ American School of Bangkok (ASB) เป็นแห่งแรกในเอเซีย เริ่ม ปีนี้ 2016 !!!!! ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักเรียน ในการพัฒนา ๑. สติสัมปชัญญะ ๒.การควบคุมอารมณ์ การมีอารมณ์ดีเชิงบวก การสื่อสารเชิงบวก ๓.การพัฒนาจิต - การสอนเจริญสติเป็นแบบใช้ลมหายใจแบบง่ายๆ และฝึกสั้นๆ ตามรูปแบบการสอนใน อเมริกา ---




------------------

https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3DC2id2TcfVv8&h=ATO8-MMizsbJu12NrJwLqkCUD0fRPWhbKrokaxsHq1dBxnz4JhIkLNVyBhCOmUtZrUpu0N7_aXhl8ey7pV464jVS_3mW50DQWJOVXewHLZVNLuBC_bSmuTobB36nSj0XXbWzz_0_Sn_kWn8N_ZWSHigCiY5fKgkPTvOp5RM1zUJdtit3pHbAouA4qqW05fAxm3GXzhpKrwzJ0fDBetkolmc9C-gbRZxl1c9NWpw_AZYOU7rEE10QyKZphVu0B49UK_wfqqTjpnbeThKLilwtDyFOi-qNM6O_

-------------------------------------------------------------------

๓. การสอนการเจริญสติในรร.ประถมของอเมริกา

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และผู้คนกำลังยืน

https://www.facebook.com/DrNashSiamwallaPhD/photos/a.1374534812801052.1073741828.1374528369468363/1582402665347598/?type=3

การสอนการเจริญสติในรร.ประถมของอเมริกามีที่มาอย่างไร? ซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ จากดร.ณัชร” เรื่องที่ 51 วันนี้จะมาคุยถึงเรื่อง “เด็กอุดมสติ-โรงเรียนสุขสงบ ตอนที่ 2”ค่ะ
กลับมาสู่ชั้นเรียน “ศาสตร์แห่งสุข” หรือ The Science of Happiness ของเรากันต่อนะคะ สำหรับท่านสมาชิกใหม่ นี่คือชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบอร์คลีย์ที่ผู้เขียนได้ไปลงทะเบียนเรียนออนไลน์มาเมื่อภาคการศึกษาที่แล้ว และได้ทยอยนำเรื่องราวต่าง ๆ มาถ่ายทอดให้ท่านผู้อ่านชาวไทยฟังอีกทีค่ะ
สัปดาห์ที่แล้วเราได้คุยกันถึงประสบการณ์การฝึกสติแบบน่ารัก ๆ สำหรับเด็กป.2 ในรร.โทลูก้า เลค ที่นครลอสแองเจลิสไป ท่านผู้อ่านอยากทราบไหมคะว่าอยู่ดี ๆ การเจริญสติเข้าไปเป็นกิจกรรมของรร.รัฐบาลแห่งนี้ได้อย่างไร?
=การเจริญสติเพื่อแก้ปัญหา=
โทลูก้า เลค เป็นหนึ่งในหลายโรงเรียนที่ใช้การฝึกสติเพื่อจัดการกับปัญหาความวิตกกังวล ความกระวนกระวาย ความขัดแย้งในกลุ่ม และปัญหาสมาธิสั้นในเด็ก ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ
ทุกสัปดาห์เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 10 ถึง 12 สัปดาห์ เด็กนักเรียนของโทลูก้า เลค จะฝึกเทคนิคที่นำมาจากการเจริญสติภาวนาของพระพุทธศาสนา ซึ่งในที่นี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความเป็นไปของตนเองและสิ่งแวดล้อมของตน
ซูซาน ไคเซอร์ ครูผู้สอนการเจริญสติกล่าวว่า การนำการฝึกเช่นนี้เข้าสู่โรงเรียนนั้นเป็นการ “สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักว่าเราจะเอาใจเข้ามาจดจ่อด้วยสติและสมาธิได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถรับรู้ความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ทางร่างกายและอารมณ์โดยไม่เข้าไปตัดสินมัน แต่จะรับรู้มันด้วยความสนใจและใจที่เปิดกว้างค่ะ”
=ฝรั่งเน้นการเจริญสติเพื่อปัญญา ไทยเน้นฝึกสมาธิเพื่อความสงบ=
ในประเด็นนี้ผู้เขียนอยากชี้ให้เห็นสักเล็กน้อยนะคะว่า ฝรั่งนั้นเข้าถึงแก่นของการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐาน 4 จริง ๆ คือเน้นให้ “รับด้วยสติ และ รู้ด้วยสัมปชัญญะ” ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบกายใจ
อีกทั้งฝึกในลักษณะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ด้วยคือ “รู้สักแต่ว่ารู้” คือไม่เข้าไปตัดสิน หากเป็นการ “รู้เพื่อที่จะเรียนรู้” จากมัน และ “รู้เพื่อจะปล่อยวาง” ค่ะ
น่าเสียดายที่ในเมืองไทยส่วนใหญ่ยังไปไม่ค่อยถึงจุดนั้น แต่จะออกมาทางสมถะภาวนา คือ เพ่งดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ไม่ว่าจะเป็นคำบริกรรมคำเดียว หรือ ดูลมหายใจ เพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สอนให้รับรู้และปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบกาย/ใจ ตลอดจนความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
สมถะภาวนานั้นมีข้อดีคือถ้าทำถูกต้องต่อเนื่องจะเกิดความ "สงบชั่วครั้งชั่วคราว" ในขณะที่ปฏิบัติอยู่ค่ะ แต่ยังไปไม่ถึงตัวปัญญา
ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าเป้าหมายของการเจริญสติคือปัญญาไม่ใช่ความสงบ แต่ตัวปัญญาที่เกิดจากการเข้าใจตนเอง เข้าใจชีวิต เข้าใจโลกนั้นจะสามารถนำไปสู่ความ "สงบอย่างยั่งยืน" ได้ด้วยใจที่ปล่อยวางแล้ว ซึ่งเด็กประถมของอเมริกาทำได้เช่นนั้นจริง ๆ ค่ะ
=คุณครูผู้ห่วงใยและมีใจเปิดกว้าง=
คุณครูสตีฟ รีดแมน เริ่มนำการเจริญสติเข้าสู่รร.โทลูก้า เลค มาได้ 6 ปี แล้ว ตอนนั้นคุณครูรีดแมนเป็นครูสอนชั้นป.4 และเริ่มพบปัญหา เด็ก ๆ มีการทะเลาะเบาะแว้งและขัดแย้งกันในสนามเด็กเล่นมากขึ้นและส่งผลให้เด็ก ๆ ไม่สามารถสงบจิตใจลงและมีสมาธิในการเรียนได้
เมื่อคุณครูรีดแมนเล่าปัญหานี้ให้ซูซาน ไคเซอร์ ผู้เป็นเพื่อนฟัง เธอก็อาสาที่จะมาสอนการเจริญสติให้กับชั้นเรียนของเขาค่ะ โดยไคเซอร์นั้นเคยเป็นจิตอาสาสอนการเจริญสติให้กับชมรมเด็กต่าง ๆ มาก่อนแล้ว
=เห็นผลทันที=
“ผมเห็นผลดีของการเจริญสติทันทีครับ” คุณครูรีดแมนกล่าว “การทะเลาะกันในสนามเด็กเล่นลดลงมาก และความกังวลก่อนการสอบก็ลดลงมากด้วย แม้แต่วิธีที่เด็กเดินเข้าห้องเรียนยังเปลี่ยนไปเลยครับ! นอกจากนี้ในปีนั้นคะแนนการสอบข้อสอบรัฐของรร.เราก็สูงขึ้นด้วย”
“ความจริงผมก็อยากจะอ้างเครดิตว่าเป็นเพราะผมสอนดีอยู่หรอกครับ แต่ความจริงผมว่าเป็นเพราะกิจกรรมตามดูลมหายใจด้วยสติที่พวกเด็ก ๆ ทำก่อนจะลงมือทำข้อสอบมากกว่า” คุณครูรีดแมนสรุป
น่าประทับใจมากเลยใช่ไหมคะ ในเมื่อประสบความสำเร็จมากเช่นนี้ การเจริญสติย่อมแพร่หลายไปยังรร.อื่น ๆ ในอเมริกาแน่นอนค่ะ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อ โปรดติดตามในครั้งหน้านะคะ
ระหว่างนี้ถ้าท่านอยากฝึกการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกวิธี เชิญไปฝึกได้ฟรีในที่ที่ผู้เขียนไปฝึกเป็นประจำได้ตามลิ้งค์นี้นะคะ   http://goo.gl/ALKOvv 
--------------

๔.  การสอน การเจริญสติ ใน โรงเรียน ที่กำลังนิยม แพร่หลาย และมีประโยชน์ต่อเด็ก 
มากถึง กว่า 100 ประเทศ และได้สอนไปแล้ว กว่า 2,000,000 ล้านคนทั่วโลก
------------------------------------------

๕.  การสอนเจริญสติ ในโรงเรียนชั้นประถม ที่ เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ

เด็กๆในโรงเรียนธรรมะวิถีพุทธในไบรตันกำลังเรียนวิชา การเจริญสติ

โรงเรียนในอังกฤษเอาจริงกับโครงการ การเจริญสติ

http://www.winnews.tv/news/9392

---------------------------------------













การสอนเชิงปฏิบัติ  "สติเชิงรุก แบบผู้ฝึกเป็นศูนย์กลาง" ที่ รร ดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ จ. มหาสารคาม 29-30 ต.ค. 2562