Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


เปิดสอนการเจริญสติ บรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED

การเจริญสติ บรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ
(MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED and RELAPSE PREVENTION - คล้ายบางส่วนกับหลักสูตร MBRP)

ความเป็นมาของการสอนเจริญสติพัฒนา การติดยาเสพติด:

      การปฏิบัติธรรมตามแนวของวิปัสสนากัมมัฏฐานหรือสติปัฎฐาน ๔ ของพุทธศาสนา มีประโยชน์มากในด้าน การศึกษาเพื่อเข้าถึงจิต ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาทางใจต่างๆ การฝึกจิตเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ที่สามารถช่วยบำบัด พร้อมกับทานยาคู่กัน  สติปัฏฐาน ๔ ถูกนำไปประยุกต์สอนคลายเครียดในหลักสูตร MBSR (Mindfulness Based Stress Reduction) และ MBCT (Mindfulness-based cognitive therapy)  ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมาก ในอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย ภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา และยังขยายต่อไปไม่หยุด โดยเน้นการบำบัดผู้ป่วย เรื่องความเครียด และยังมีประโยชน์ต่อ การพัฒนาสมอง ด้านสติ เหตุผล การตอบสนอง และยับยั้งชั่งใจ

      ปัจจุบันการฝึกสติกำลังเป็นที่นิยมมากในอเมริกา ยุโรป อินเดีย เอเซีย และออสเตรเลีย เช่น การเปิดศูนย์เจริญสติ - Mindfulness Center ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ โดยเน้นการสอน เรื่องการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของสมองในส่วนหน้า ที่เรียกว่า Prefrontal Cortex, ารกระตุ้นสมองให้ทำงานทั้งสองฝั่ง, ดีต่อ Hippocampus, กระตุ้นเพิ่มระดับ Serotonin และยังมีผลดี ในหลายส่วนของสมอง  เมื่อสมองส่วนดีถูกพัฒนาสร้างขึ้น การเจริญสติยังช่วยลด การทำงานของสมองส่วนกลาง (Amygdala) ที่แสดง อารมณ์ความกลัว วิตก โกรธ เครียด กร้าวร้าว ให้ทำงานน้อยลงได้ด้วย 

     ผู้ที่ริเริ่มนำเอาสติมาสอนในหลักสูตร MBSR ตามมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ และโรงพยาบาล หลายแห่งทั่วโลก เช่น Dr.Jon Kabat-Zinn, Dr.Rick Hanson, Dr.Diana Winston, Dr.Bob Stahl, Dr.Richard Davidson (Neuroscientest - นักวิทยาศาสตร์ ด้านสมอง), Dr.Dan Siegel, ล้วนแต่ได้เคยฝึก มาจากพุทธศาสนาแนวทั้งจาก สายเถรวาท Vipassana Meditation, สายท่าน โกแองก้า Goenka Vipassana และ สายธิเบต นอกจากประโยชน์การคลายเครียดแล้ว ยังทำให้มีสุขอีกด้วย Dr. Richard Davidsonได้ศึกษาวิจัยหาบุคคล ที่มีความสุขมากที่สุดในโลกจากการวัดคลื่นสมอง และได้พบว่าบุคคลท่านนั้นคือ Ven. Matthieu Ricard (นักบวชธิเบต ชาวฝรั่งเศสที่ได้รับฉายาว่า World's Happiest Man)


    ประโยชน์ของสติไม่ใช่แค่คลายเครียดได้ ยังมีผลดีต่อสมอง เส้นเลือด หัวใจ และทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิต อย่างมีผาสุขต่อ ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ  ผลที่จะเกิดขึ้นคือการช่วยพัฒนา ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม แก่สังคมการเจริญสติ ตามแนววิปัสสนากัมมัฏฐาน หากทำถูกวิธีจะสามารถนำจิต เข้าสู่เบื้องลึกในระดับ จิตใต้สำนึก เพื่อปรับเปลี่ยนนิสัย พฤติกรรม ความทุกข์ และอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์  เป้าหมายสูงสุดของ พุทธศาสนา สอนให้เข้าถึงความสุขสูงสุด ที่มากกว่า กามสุขทั่วไป คือ สมาธิสุข และ นิพพานสุข      

        
วัตถุประสงค์:    

-เพื่อช่วยพัฒนา การติดยาเสพติด
-เพื่อใช้ ยา(ที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ) ที่เรียกว่า สติ คู่ ปัญญา ในการพัฒนาและบรรเทาโรค

-เพื่อหยุดเสพยา และพัฒนา สติปัญญา เพื่อไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
-เพื่อบรรเทาความทุกข์ ของผู้เข้าฝึก และครอบครัว

-เพื่อช่วยเหลือ ชุมชน
-เพื่อศึกษาและพัฒนา วิธีการบำบัดโรคด้วยสติ ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

-เพื่อเป็นที่ปรึกษา และเป็นที่พึ่งทางใจ แก่ผู้เข้าฝึก
-เพื่อทำหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ ให้บริบูรณ์


เนื้อหาบรรยาย / ภาคปฏิบัติ ในการเจริญ สติพัฒนา และความรู้เพื่อช่วยบำบัดโรคทางใจ :


๑. ปัญหาที่เกิดขึ้น (ทุกข์)


-เรียนรู้ ทำความเข้าใจ พื้นฐานของโรค
-เข้าใจอาการของโรค

-ผลที่จะตามมาในอนาคต ด้านกายและใจ
-ทุกขทัศนนิยม หรือ ความคิดลบ

-พฤติกรรมทางกาย
-พฤติกรรมทางวาจา
-พฤติกรรมทางใจ


๒. สาเหตุของโรค (สมุทัย)

-ศึกษาพื้นฐานความรู้และประวัติ
-การศึกษาหาเหตุในอดีต (เหตุการณ์ที่สำคัญที่มีผลต่อจิตใจ)

-วิธีการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากครอบครัว
-สภาพแวดล้อม จากสังคม ครอบครัว / เพื่อน / ที่ทำงาน


๓. สร้างเป้าหมาย (นิโรธ)

-เพื่อบรรเทาโรค
-เพื่อพัฒนา สติปัญญา

-เพื่อหยุดเสพ ด้วยการพัฒนาสติปัญญา และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
-เพื่อใช้ จิต ไปรักษา จิต ด้วย สติ ซึ่งเป็น ยามหัศจรรย์ ในการช่วยบรรเทาบำบัดโรค ด้วยการฝึกต่อเนื่องระยะยาว

-สร้าง สุขทัศนนิยม หรือ ความคิดบวก มีเหตุผล
-เพื่อเพิ่มความสุข และลดความทุกข์

-เพื่อพัฒนา ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ
-เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การตัดวัฏฏสงสาร และ เข้าถึงพระนิพพาน



๔. วิธีการรักษาโรค ด้านทฤษฎี และ วิธีการฝึกปฏิบัติ (มรรค)

   ศึกษาประวัติของผู้ฝึก ในช่วงแรกด้วย:

-การสนทนาประวัติ ย้อนอดีตในเหตุการณ์ และปัจจัยของการเจ็บป่วย เพื่อค้นหา, ศึกษา และยอมรับเพื่อนำสู่การรักษา (เฉพาะสำหรับ ผู้ใหญ่) ซึ่งคล้ายกับการรักษาย้อนอดีต ที่เรียกว่า Regression Therapy - การสะกดจิตย้อนอดีตเพื่อบำบัดโรคบางอย่าง และเป็นผลดีมีประโยชน์ต่อผู้ฝึก ทำให้เข้าใจในเหตุของปัญหา

-เรียนรู้เหตุการณ์ในอดีต (LEARNING PAST EVENTS AND BEHAVIORS)

-แสดงความคิดเห็นด้วยตัวเอง ในเหตุการณ์ของอดีต (AWARE NEGATIVE THOUGHT, THINK POSITIVE AND SELF COMMENT)

-ฝึกวิเคราะห์ด้วยตนเอง ในสิ่งที่ได้และเป็นประโยชน์ในอนาคต จากเหตุการณ์ในอดีต (SELF ANALYSIS FOR BENEFIT TO PRACTICE)

-ทดสอบสมอง ด้วยการนับเลข ความจำ การคำนวน และการเคลื่อนไหวของร่ายกาย เพื่อตรวจสอบสมอง และอาการของสมาธิสั้น - Brain and Body Movement Test for Attention deficit hyperactivity disorder(ADHD)

-เรียนรู้ สิ่งแวดล้อมที่จะกระตุ้นให้ คิดนึกถึง อยากเสพ และสั่งซื้อมาเสพ

   ๔.๑ ฝึกด้านทฤษฎี

-จากการสนทนา ออกความคิดเห็น ถามคำถาม ฝึกการฟังจากแหล่งที่มีประโยชน์
-ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง อ่านหนังสือ ค้นคว้าด้วยตนเองให้เป็น

-เรียนรู้จากชีวิตประจำวันในตนเอง อาชีพ ครอบครัว
-ชมรายการที่ดีสร้างสรรค์เชิงบวก

-ฝึกความจำ การใช้ภาษา และการคำนวน
-ฝึกการจับประเด็นสนทนา การอ่าน การดู และการฟัง

-ฝึกหาเหตุในอดีตให้เป็น
-ฝึกเล็งถึงผลในอนาคตเป็น

-ทันความคิดลบ และคิดบวกเป็น
-ปรับเปลี่ยนโปรแกรมสมองใหม่ ด้วย จินตนาภาพและภาษา

-สร้างนิสัยของการพัฒนาตนเองตลอด และฝึกเรียนรู้ตลอดไป
-เรียนรู้หลักพุทธธรรมด้าน ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
-เรียนรู้ ความสุข ๓ ประเภท ของ พุทธศาสนา คือ กามสุข สมาธิสุข และ นิพพานสุข

---------------

-สร้างความเชื่อมั่น (SELF CONFIDENCE)

-สร้างแรงบันดาลใจ (INSPIRATION)

-สร้างเป้าหมายแห่งความสุข (POSITIVE HAPPINESS) ในการพัฒนาและบำบัดอย่างเป็นลำดับ

-ฝึกพฤติกรรมสร้างการเป็นตัวของตัวเองแก่ครอบครัว (SELF INDEPENDENCE AND SUPPORT)

-ฝึกพฤติกรรมสร้างการเป็นผู้ให้แก่ครอบครัว (GIVER NOT TAKER)


   ๔.๒ ฝึกการเจริญ สติ 

-แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของโรค คือ เรื่องของจิต

-ใช้จิต ไปพัฒนาจิต ด้วย(สติ ระลึกรู้)

-ฝึกการเจริญสติ ใน ทุกอารมณ์ของจิต (ตัวรู้ทัน ความคิดลบ และ อารมณ์ต่างๆ)

-ปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงก่อนหลับ

-กระทำให้ได้จริง หรือ เบียงเบนพฤติกรรม หรือ ปล่อยวาง หรือ หยุด ให้ได้


   ๔.๓ ฝึกสติรู้ทันความคิดลบ และอารมณ์ลบ ในระหว่างวัน

   ๔.๔ ฝึกกระตุ้นสมอง สุขทัศนนิยม หรือ ความคิดบวก

   ๔.๕ ฝึกกระตุ้นสมอง คิดอย่างมี เหตุ(อดีต) และ ผล(อนาคต)

   ๔.๖ ฝึกการทำ และพูด ให้ได้จริง ตามที่คิด

   ๔.๗ ฝึกกระตุ้นสมอง ในเรื่อง พึ่งตนเองด้วยเหตุผล / ความพอเพียง (ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น) / การปล่อยวาง(ทิ้งคิดลบ) และ ทางสายกลาง (พอดีพอเหมาะตามฐานะตนเอง) โดยลดความอยากความโลภ และ ลดความเพอเฟคชั่นนิสต์ (ไม่ต้องได้สูงสุดทุกอย่าง)  ให้เหมาะสมกับบุคคล

   ๔.๘ ฝึกการสร้างโปรแกรมสมองใหม่ ด้วย จินตนาภาพและภาษา

   ๔.๙ รายงานผลการปฏิบัติทุกวัน

   ๔.๑๐  ฝึกวิธีแก้ปัญหา

10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์

1.PREPARATION  เตรียมใจ เตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน

3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ

5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป

6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ

7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป

   -----------

กิจกรรมฝึกปฏิบัติประจำวัน:

-สวดมนต์ อาราธนาศีล ๕ และแผ่เมตตา ทุกวัน หรือสวดอธิษฐานตามศาสนา

-ฝึกภาคปฏิบัติเจริญสติทุกวัน ใน อิริยาบถย่อยระหว่างวัน เดินจงกรม นั่งสมาธิ (ที่บ้าน ทุกวันๆ ละ ๔ ครั้ง)  เช้า ก่อนออกจากบ้าน กลางวัน หลังอาหารก่อนทำงาน ช่วงเย็น  นั่งเจริญสติอย่างเดียว เริ่มต้นจาก ๑๐ - ๑๕ นาที และก่อนนอน เดินเจริญสติ เท่ากับนั่ง ๒๐ ๒๕ ๓๐ นาที

-ฝึกภาคทฤษฎีด้านปัญญา ด้วยการสร้างปัญญา หาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเอง และนำหัวข้อในแต่ละอาทิตย์ ที่มอบหมายให้ศึกษา มาฝึกพูด/นำเสนอ แก่กลุ่มสนทนา (เนื้อหาในแต่สัปดาห์ เช่น หน้าที่รับผิดชอบ สติ ปัญญา ความสุข ความคิดเชิงบวก เหตุในอดีตและผลในอนาคต พรหมวิหาร ๔ วิธีแก้ปัญหา และการเป็นผู้ให้)

-ฝึกปฏิบัติกับผู้สอน อาทิตย์ละครั้ง ในทุกวันอาทิตย์ ด้วยการ เดินจงกรม นั่งสมาธิ และนำไปฝึกต่อที่บ้านเป็นระยะเวลา  ต่อเนื่อง ๙ สัปดาห์ในช่วงแรก

-สนทนาส่งอารมณ์ได้ทุกวันทางโทรศัพท์ / ไลน์

-จดรายงานภาคปฏิบัติ และบันทึกเหตุการณ์หรือพฤติกรรม เฉพาะเรื่องที่ผิดปกติ หรือ ความคิดลบ ที่เกิดขึ้น

-ฝึกวิธีคิด และวิธีปฏิบัติ เพื่อบริหารจัดการแก้ไข ด้วยตนเองระหว่างวัน

-จดเหตุการณ์ระหว่างวัน หรือ ข้อสงสัย แล้วนำมาถามเพื่อฝึกหัดคิดและสร้างคิดบวกให้เป็น

   ๔.๑๑ ทำการปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น

-ฝึกสอนตนเองให้ยอมรับความจริง เพื่อการแก้ไข และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

-ฝึกให้เป็นคนใฝ่รู้ และหาความรู้ จากแหล่งต่างๆ ตลอดไป

-คิด พูด ทำ ดี และนำไปปฏิบัติต่อ ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ

-พัฒนา ศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ดังนี้



***ศึกษาอ่านเพิ่มเติมด้วยตนเอง ตามแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น จากอินเตอร์เนท ห้องสมุด ฟัง/ดูรายการมีสาระ และอ่านหนังสือ

**** ทุกวิธีจะเกิดผลได้ ด้วยการฝึกปฏิบัติทุกวันๆ ละหลายครั้ง ต่อเนื่อง 3 เดือน ในช่วงแรก และฝึกต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง ความคิดลบน้อยลงจน ความทุกข์น้อยลง ความสุขเกิดขึ้น ทำงานทำหน้าที่ได้ และนอนหลับได้ปกติ

--------------

การอบรมสอน การเจริญสติ เพื่องานวิจัยใช้ป้องกันการกลับมาเสพยาซ้ำ ของ

รพ.ธัญญารักษ์ปัตตานี 12-13 กย 2560 


MINDFULNESS MEDITATION - การเจริญสติ เพื่อพัฒนาตนเอง ป้องกันโรคทางใจ และการกลับมาเสพยาเสพติดซ้ำ 

-MBSR คลายเครียด เจ็บป่วยเรื้อรัง 1979
-MBCT บำบัดโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล นอนหลับยาก อารมณ์รุนแรง โรคทางใจ 1991
-MBRP - Mindfulness-Based Relapse Prevention เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำยาเสพติด/โรคซึมเศร้า 2010 

โดยเน้นสอนเชิงปฏิบัติการเป็นเวลา 2 วัน แก่ พยาบาลวิชาชีพ 5 จว.ภาคใต้ สำหรับใช้ใน งานวิจัย และจะใช้บำบัดผู้เสพยาในอนาคต ด้วยการฝึกปฏิบัติในอิริยาบถ เช่น
-นั่งสติ ท่านั่งเก้าอี้ และนั่งพื้น 
-เดินสติ 
-นอนสติ เพื่อให้หลับได้เร็ว ลดความคิด ความกังวล ฟุ้งซ่าน
-ยืนสติ
-สติในอิริยาบถย่อยระหว่างวัน ตื่นนอน อยู่บ้าน เดินทาง ทำงาน กลับบ้าน ไปเที่ยว ทานข้าว อยู่กับครอบครัว นอน 
-BODY SCAN MEDITATION เพื่อเรียนรู้
-BREATHING SITTING MEDITATION (เริ่มต้นจาก ง่าย ไปสู่ ละเอียด)
-LOVING KINDNESS & COMPASSION MEDITATION - สอนโดย อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ 
-YOGA MINDFULNESS MEDITATION - สอน โดย น.ท.(หญิง) นภัมกมล เพชรนรรัตน์
-การสอนหลักการ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และพฤติกรรม ที่ทำให้เกิดปัญหา และวิธีปรับเปลี่ยนแก้ไขสู่ความสุข


การพัฒนาสติในแนวสากลเพื่องานวิจัยใช้ป้องกันการกลับมาเสพยาซ้ำของ รพ.ธัญญารักษ์ปัตตานี 12-13 กย 2560

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, งานแต่งงาน และ สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

โรคทางใจต่างๆ สามารถเบาเทาและช่วยรักษาได้ด้วยการฝึกอบรมจิตโดย:
การฝึกเจริญสติอย่างต่อเนื่อง โดยใช้จิตเข้าไปปรับเปลี่ยนจิต เป็นการบำบัดทางเลือก ที่นิยมมากในต่างประเทศ โดยคู่กับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 เดือนในช่วงแรก

เชิญฟังบรรยาย สนทนากลุ่ม แลกเปลี่ยน/ออกความคิดเห็น พร้อมกับ ฝึกปฏิบัติการเจริญสติ ทุกวันเสาร์/อาทิตย์ โดยสอนแยกรายบุคคล เพื่อนำไปปฏิบัติต่อด้วยตนเองทุกวันที่ บ้าน/ทำงาน   

สอนฟรี เป็นวิทยาทาน แก่ ทุกศาสนา ทั้งภาษาไทย และ อังกฤษ
  
ณ ชั้น 2 อาคารปฏิบัติธรรม วัดลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 41 กทม 
วันจันทร์ - ศุกร์ 17.00 - 20.00 น. (สำหรับผู้พักอาศัยอยู่ใกล้เขตลาดพร้าว กทม.)
ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 15.00 ถึง 19.30 น.  

***หยุดทุกวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของทุกต้นเดือน

สิ่งที่ต้องเตรียมมาด้วย (เสื้อขาว / กางเกงหลวมเข้ม / ถุงเท้าดำ 1 คู่ / น้ำ 1 ขวด / สมุดใหญ่เพื่อจด และเล็กพกติดตัว อย่างละ 1 เล่ม)

โดย อ. อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ โทร 097 984 9355
     

-------------------------