หลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐานรูปแบบบริกรรมพองยุบ ปรากฎหลักฐานทางทฤษฎี(ปริยัติ)ซึ่งอ้างอิงได้ จากในพระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญดังนี้
๑. สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐานคือความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มีความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ
๔ ประการประกอบด้วยกาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งจะอธิบายเพิ่มอย่างละเอียด ในพระไตรปิฎกหมวดมหาสติปัฏฐานสูตร
๒๑ บรรพ(ฐาน)
หลักปฏิบัติด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประเภท ทางร่างกายและจิตใจดังนี้
๑.๑) กาย
๑.๒) เวทนา
๑.๓)
จิต
๑.๔)
ธรรม
๒. โพธิปักขิยธรรม ๓๗
โพธิปักขิยธรรมคือธรรมที่เป็นฝ่ายให้รู้ถึงฌาน,
มรรคผล และนิพพาน วิปัสสนากัมมัฏฐานคือ วิิธีการฝึกให้จิตเกิดปัญญา (วิปัสสนาญาณ)
และเพื่อพัฒนาให้โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ(ทั้งหมด ๗ กอง) ประชุมกันและเกิดขึ้นอย่างบริบูรณ์ พร้อมกันหมดในขณะจิตเดียว ก่อนการบรรลุธรรม(ขณะจิตก่อน เข้าสู่อารมณ์พระนิพพาน) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมีดังต่อไปนี้
๒.๑)
สติปัฏฐาน ๔ - การตั้งสติระลึกรู้ กำหนดอยู่ใน ๔ ฐานคือ กาย เวทนา จิต
และธรรม
๒.๒)
สัมมัปปธาน ๔ - ความเพียรชอบ
(๑) สังวรปธาน
(๒) ปหานปธาน
(๓) ภาวนาปธาน
(๔) อนุรักขนาปธาน
๒.๓) อิทธิบาท
๔ - ธรรมอันให้บรรลุสู่ความสำเร็จ
(๑) ฉันทะ
(๒) วิริยะ
(๓) จิตตะ
(๔) วิมังสา
๒.๔) อินทรีย์ ๕ - ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนในขณะเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
(๑) สัทธินทรีย์
(๒) วิริยนทรีย์
(๓) สตินทรีย์
(๔) สมาธินทรีย์
(๕) ปัญญินทรีย์
๒.๕) พละ ๕ - ธรรมอันเป็นกำลังจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพราะอินทรีย์
๕ เกิดความสมดุล
(๑) สัทธาพละ
(๒) วิริยพละ
(๓) สติพละ
(๔) สมาธิพละ
(๕) ปัญญาพละ
๒.๖) โพชฌงค์
๗ - ธรรมที่เป็นองค์ประกอบในการบรรลุธรรมเริ่มตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ-วิปัสสนาญาณที่
๔
(๑) สติ
(๒) ธัมมวิจยะ
(๓) วิริยะ
(๔) ปีติ
(๕) ปัสสิทธิ
(๖) สมาธิ
(๗) อุเบกขา
๒.๗) มรรคมีองค์ ๘ - ข้อปฏิบัติ
หรือหนทางดำเนินไปสู่อารมณ์พระนิพพาน
(๑) สัมมาทิฏฐิ
(๒) สัมมาสังกัปปะ
(๓) สัมมาวาจา
(๔) สัมมากัมมันตะ
(๕) สัมมาอาชีวะ
(๖) สัมมาวายามะ
(๗) สัมมาสติ
(๘) สัมมาสมาธิ
๓.
วิปัสสนาภูมิ ๖
กัมมัฏฐานและธรรมอันเป็นที่ตั้งสำหรับเป็นทางเดินของวิปัสสนา
ซึ่งเป็นพื้นฐานของการฝึกปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ(ปัญญา)นั้นมีอยู่
๖ หมวดดังนี้
๓.๑)
ขันธ์ ๕
๓.๒)
อายตนะ ๑๒
(๑)
จักขายตนะ - จักขุปสาท ประสาททางตา
(๒)
โสตายตนะ - โสตปสาท ประสาททางหู
(๓)
ฆานายตนะ - ฆานปสาท ประสาททางจมูก
(๔)
ชิวหายตนะ - ชิวหาปสาท ประสาททางลิ้น
(๕)
กายายตนะ - กายปสาท ประสาททางกาย
(๖)
มนายตนะ - จิตทั้งหมด
(๗)
รูปายตนะ(รูปารมณ์) - อารมณ์ของจิตเกิดขึ้นทางตา เช่น สีต่างๆ
(๘)
สัททายตนะ(สัททารมณ์) - อารมณ์ของจิตเกิดขึ้นทางหู เช่น เสียงต่างๆ
(๙)
คันธายตนะ(คันธารมณ์) - อารมณ์ของจิตเกิดขึ้นทางจมูก เช่น กลิ่นต่างๆ
(๑๐)
รสายตนะ(รสารมณ์) - อารมณ์ของจิตเกิดขึ้นทางลิ้น เช่น รสต่างๆ
(๑๑) โผฏฐัพพายตนะ(โผฏฐัพพารมณ์) - อารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นทางกายสัมผัส เช่น
สัมผัสต่างๆ ได้แก่ ความรู้สึกแข็ง อ่อน ร้อน เย็น หย่อน ตึง
(๑๒) ธัมมายตนะ(ธัมมารมณ์) - อารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นทางใจได้แก่ ธรรม ๖๙ ประกอบด้วย
สุขุมรูป ๑๖, เจตสิก๕๒ และนิพพาน ๑ ตามคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
๓.๓)
ธาตุ ๑๘ - รูป, อารมณ์ และวิญญาณ ทาง ตา หู จมูก
ลิ้น กาย และใจ
-ทวาร ๖ (ธาตุรับ) -อารมณ์
๖ (ธาตุกระทบ)
-วิญญาณ ๖ (ธาตุรู้)
จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ
โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ
มโนทวาร
ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
๓.๔)
อินทรีย์ ๒๒
(๑)
จักขุปสาท
(๒) โสตปสาท
(๓)
ฆานปสาท
(๔)
ชิวหาปสาท
(๕)
กายปสาท
(๖)
อิตถีภาวรูป (ความเป็นหญิง)
(๗)
ปุริสภาวรูป (ความเป็นชาย)
(๘)
ชีวิตรูป(รักษารูปและนาม)
(๙)
มนินทรีย์ (จิตทั้งหมด)
(๑๐) สุขินทรีย์ (การเสวยความสุขกาย)
(๑๑) ทุกขินทรีย์ (การเสวยความทุกข์กาย)
(๑๒) โสมนัสสินทรีย์ (การเสวยความสุขใจ)
(๑๓) โทมนัสสินทรีย์ (การเสวยความทุกข์ใจ)
(๑๔) อุเปกขินทรีย์ (การเสวยอารมณ์เป็นกลาง)
(๑๕) สัทธินทรีย์ (ความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อ)
(๑๖) วิริยินทรีย์ (ความเพียร)
(๑๗) สตินทรีย์ (การระลึกชอบ)
(๑๘) สมาธินทรีย์ (การตั้งมั่นในอารมณ์)
(๑๙)
ปัญญินทรีย์ (การรู้ตามความเป็นจริง)
(๒๐)
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ (รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ที่ไม่เคยรู้ - โสดาปัตติมรรคจิต)
(๒๑)
อัญญินทรีย์ (รู้แจ้งอริยสัจ
๔ ที่เคยรู้ - มรรคจิตเบื้องบน ๓ และผลจิตต่ำ ๓)
(๒๒)
อัญญาตาวินทรีย์
(รู้แจ้งอริยสัจ ๔ สิ้นสุดแล้ว - อรหัตตผลจิต)
๓.๕)
อริยสัจ ๔
(๑) ทุกข์
ได้แก่ร่างกายที่ประกอบด้วย รูปกับนาม หรือ ขันธ์ ๕
(๒) สมุทัย
ได้แก่ตัณหาที่ให้เป็นเหตุให้เกิด รูปกับนาม
(๓) นิโรธ
ได้แก่การดับ รูปกับนาม ด้วยการเข้าถึงพระนิพพาน
(๔) มรรค ได้แก่การกำหนดรูปนามอย่างต่อเนื่องจนได้ทันปัจจุบัน อย่างเป็น ธรรมชาติหรือการเจริญสติปัฏฐาน
๔ (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) ที่ถูกวิธีโดยมีวิปัสสนาจารย์คอยสั่งสอน
๓.๖)
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
(๑) อวิชชา
(๒) สังขาร
(๓) วิญญาณ
(๔) นามรูป
(๕) สฬายตนะ
(๖) ผัสสะ
(๗) เวทนา
(๘) ตัณหา
(๙) อุปาทาน
(๑๐) ภพ(ภวะ)
(๑๑) ชาติ
(๑๒) ชรา(แก่)
มรณะ(ตาย) โสกะ(เศร้าโศก) ปริเทวะ(ร้องไห้) ทุกขะ(ทุกข์) โทมนัส(เสียใจ) และ อุปายาส (ลำบากใจ)