Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


ภาคปฏิเวธ


พระอริยบุคคล ๔ ประเภท
          ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานผ่านญาณ ๑๖ จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ๔ ประเภทมีดังนี้

๑.    พระโสดาบัน คือผู้ที่ปฏิบัติผ่านวิปัสสนาญาณ ๑๖ ครั้งแรก และได้ปฐมมรรคเป็นโสดาปัตติผล ซึ่งมีคุณค่าที่ประเสริฐ มากกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในมนุษยโลก, ท้าวสักกเทวราชใน เทวโลก หรือแม้แต่ท้าวมหาพรหมผู้มีมหิทธานุภาพยิ่งใหญ่ พรั่งพร้อมด้วย ทิพยสมบัติในพรหมโลก  โสดาบันจะบรรลุเป็นพระอรหันต์อีกไม่เกิน ๗ ชาติ และไม่ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ อย่างเด็ดขาด

๑.๑  พระโสดาบัน ๓ ประเภท
  ๑)  เอกพีซีโสดาบัน คืออริยบุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู ที่จะปฏิสนธิต่อไปข้าง หน้าอีกชาติเดียว ก็จะได้บรรลุอรหัตตผล แล้วจักปรินิพพาน  เนื่องจากได้สะสมบารมีมาอย่างแก่กล้า ในด้านปัญญาและเคยเจริญสมถภาวนามาน้อย
๒)  โกลังโกลโสดาบัน คืออริยบุคคลประเภทวิปัญจิตัญญู ที่จะปฏิสนธิต่อไปอีก ตั้งแต่ ๒ ถึง ๖ ชาติ เป็นอย่างมาก ก็จะบรรลุอรหัตตผลแล้วจักปรินิพพาน  เนื่องจากได้สะสมบารมีมา อย่างปานกลาง ในด้านปัญญาและสมาธิเท่าๆ กัน หรือเคยเจริญวิปัสสนา และสมถภาวนาพอๆ กัน
๓)  สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คืออริยบุคคลประเภทเนยยะที่จะปฏิสนธิในมนุษยภูมิและเทวภูมิอีกเพียง ๗ ชาติก็จะบรรลุ อรหัตตผล แล้วจักปรินิพพาน  เนื่องจากได้สะสมบารมีด้าน สมาธิมากแต่ปัญญาน้อย และเคยเจริญสมถภาวนา มากกว่าวิปัสสนาภาวนา

๑.๒  อกุศล ๓ ประเภทที่พระโสดาบันประหารได้มีดังนี้
๑)  กิเลส ๕ ประเภท
(๑)  สักกายทิฏฐิ              คือความเห็นผิดว่ามีอัตตา
(๒)  วิจิกิจฉา                   คือความสงสัยในพระรัตนตรัย
(๓)  สีสัพพตปรามาส        คือความยึดถือศีลพรตนอกรีต ที่ไม่ใช่พุทธศาสนา
(๔)  อปายคมนียกามราคะ คือความกำหนัดในกามชนิดที่ทำให้ไปเกิดในอบาย
(๕)  อปายคมนียปฏิฆะ      คือความโกรธเคืองขัดแค้นที่ทำให้ไปเกิดในอบาย
๒)  อุปกิเลส ประเภท
 (๑)  มักขะ                        การลบหลู่คุณท่าน
 (๒)  ปลาสะ                      การตีเสมอ คือยกตนเทียมท่าน
 (๓)  อิสสา                        ความริษยา คือเห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้
 (๔)  มัจฉริยะ                    คือความตระหนี่
 (๕)  มายา                        คือเจ้าเล่ห์
 (๖)  สาเถยยะ                   คือโอ้อวด
๓)  อกุศลกรรมบถ ประเภทที่ประหารได้ถาวร
(๑)  ปาณาติบาต               การฆ่าสัตว์
(๒)  อทินนาทาน               การลักทรัพย์
(๓)  กาเมสุมิจฉาจาร         การประพฤติผิดในกาม
(๔)  มุสาวาท                    การพูดเท็จ
(๕)  มิจฉาทิฏฐิ                 ความเห็นผิด

            ๒.  พระสกทาคามี คือผู้ที่ปฏิบัติผ่านวิปัสสนาญาณ ๑๖ ครั้งที่สอง และประหารกิเลส อย่างเดียวกับพระโสดาบัน ด้วยการทำกามราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงได้ที่เรียกว่า ตนุกรปหาน(เบาบาง กว่าโสดาบัน)  พระสกทาคามี จะปฏิสนธิกลับมายัง มนุษยโลกนี้อีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น

๒.๑  พระสกทาคามี ๕ ประเภท
  ๑) พระสกทาคามีประเภทที่สำเร็จเป็นสกทาคามีในมนุษยโลกนี้ แล้วไปเกิดในเทวโลก เป็นเทวดาในสวรรค์  เมื่อจุติจากเทวโลกกลับมาเกิดในมนุษยโลกนี้อีกครั้ง แล้วก็ได้บรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง
  ๒)  พระสกทาคามีประเภทที่สำเร็จเป็นสกทาคามีในมนุษยโลกนี้ แล้วกระทำความเพียร เจริญวิปัสสนาต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพานใน มนุษยโลกนี้
 ๓) พระสกทาคามีประเภทที่สำเร็จเป็นสกทาคามีในมนุษยโลกนี้ แล้วไปเกิดในเทวโลก จากนั้นได้ปฏิบัติจนบรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลก(สวรรค์)
 ๔)  พระสกทาคามีประเภทที่สำเร็จเป็นสกทาคามีในเทวโลก จากนั้นได้ปฏิบัติต่อ จนบรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพาน ณ เทวโลก(สวรรค์) นั่นเอง
 ๕) พระสกทาคามีประเภทที่สำเร็จเป็นสกทาคามีในเทวโลก แล้วมาเกิดต่อในมนุษยโลก จากนั้นได้ปฏิบัติต่อจนบรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพานในมนุษยโลกนี้เอง

          ๓.  พระอนาคามี คือผู้ที่ปฏิบัติผ่านวิปัสสนาญาณ ๑๖ ครั้งที่สาม ซึ่งประหารโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ อย่างได้เด็ดขาดและจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพานในพรหมโลก ชั้นสุทธาวาสภูมิ(สูงกว่าสวรรค์ หรือเทวโลก) โดยไม่หวนกลับมายัง มนุษยโลกอีก เพราะเมื่อขณะใกล้จะจุติ(มรณะ) มัคคสิทธิฌานจะบังเกิดขึ้นอันเป็นปัจจัยให้ท่าน ไปเกิดต่อในพรหมโลก
            แม้ว่าโยคีที่บรรลุมรรคผลที่ ๑ (ผ่านญาณ ๑๖ ครั้งแรก) และเข้าถึงมรรคผลที่ ๒ ได้ อย่างรวดเร็วก็ตาม  แต่การที่จะเข้าถึงมรรคผลที่ ๓ (อนาคามี) นั้นมิใช่ของง่ายเพราะพระโสดาบัน และพระสกทาคามี ต่างเป็นบุคคลผู้บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์และมีระดับศีลสิกขาเท่ากัน  ส่วนพระอนาคามี คือบุคคลผู้ต้องบำเพ็ญสมาธิให้บริบูรณ์  ดังนั้นมรรคผลที่ ๒ จึงเป็นเพียงขั้นศีล จึงไม่สามารถเข้าถึง มรรคผลที่ ๓ ได้โดยง่าย ขอให้โยคีเพียรกำหนดให้ได้รอบเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วยการปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างต่อเนื่องทุกวันให้เป็นนิจ และกำหนดอิริยาบถในชีวิตประจำวันให้มากด้วย โดยเฉพาะโลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งจะทำให้มรรคผลที่ ๓ ปรากฏภายในไม่ช้า

๓.๑  ปฏิสนธิภูมิของพระอนาคามี ในสุทธาวาสภูมิ ๕
พระอนาคามีส่วนใหญ่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิ โดยบางส่วนสามารถไปเกิด ในชั้นที่ ต่ำกว่าได้แล้วแต่ใจปรารถนา หรือเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ ตามบารมีที่ เคยสะสม มาของอินทรีย์ ๕ ประเภทดังต่อไปนี้
 ๑)  สัทธินทรีย์ คืออินทรีย์ที่พระอนาคามีบำเพ็ญบารมีด้านศรัทธา แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหาภูมิ
 ๒)  วิริยินทรีย์ คืออินทรีย์ที่พระอนาคามีบำเพ็ญบารมีด้านวิริยะ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ  เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลกชั้นอตัปปาภูมิ
 ๓)  สตินทรีย์ คืออินทรีย์ที่พระอนาคามีบำเพ็ญบารมีด้านสติ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ  เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทัสสาภูมิ
 ๔)  สมาธินทรีย์ คืออินทรีย์ที่พระอนาคามีบำเพ็ญบารมีด้านสมาธิ แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ  เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทัสสีภูมิ
 ๕)  ปัญญินทรีย์ คืออินทรีย์ที่พระอนาคามีบำเพ็ญบารมีด้านปัญญา แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่นๆ  เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลกชั้นอกนิฏฐาภูมิ

๓.๒  พระอนาคามี ๔ ประเภท
            พระอนาคามีที่ไปเกิด(ปฏิสนธิ)ในพรหมโลก แล้วสำเร็จพระอรหันต์และดับขันธปรินิพพานมี ๔ ประเภทดังนี้
๑)  อันตราปรินิพพายี คือพระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ(หนึ่งในห้าภูมิ) ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรก(ในช่วงครึ่งแรกของอายุ)               
๒)  อุปหัจจปรินิพพายี คือพระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ(หนึ่งในห้าภูมิ) ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลัง(ในช่วงครึ่งหลังของอายุ)              
๓)  อสังขารปรินิพพายี คือพระอนาคามีที่ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ(หนึ่งในห้าภูมิ) ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์ปรินิพพานในภูมินั้นโดยสะดวกสบาย โดยไม่ต้องใช้ ความพยายามมาก
 ๔)  อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี คือพระอนาคามีที่ไปเกิด ในสุทธาวาสภูมิชั้นต่ำ (อวิหาภูมิ)  เมื่อจุติ(ตาย)แล้วไปเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับคือ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ อกนิฏฐาภูมิ แล้วจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธปรินิพพานที่อกนิฏฐาภูมินั่นเอง

๓.๓  กิเลส ๕ ประเภทที่พระอนาคามี ละได้เด็ดขาด
                       ๑)  สักกายทิฏฐิ          ละได้ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบัน                 
                            ๒)  วิจิกิจฉา              ละได้ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบัน
                            ๓)  สีลัพพตปรามาส    ละได้ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบัน
                       ๔)  กามฉันทะ           ความพอใจในกาม ความกำหนดในกาม หรือกามราคะ
                       ๕)  พยาบาท             ความปองร้าย ความขัดเคือง หรือปฏิฆะ

            พระอรหันต์ คือผู้ที่ปฏิบัติผ่านวิปัสสนาญาณ ๑๖ ครั้งที่สี่ และจะเกิดชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย ซึ่งประหารอุทธัมภาคิสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องสูง)และกิเลสที่ยังเหลืออยู่ ในขันธสันดานได้หมด

                ๔.๑  กิเลส ๗ ประเภทในขันธสันดานที่ละได้อย่างเด็ดขาด มีดังนี้
๑)  โลภะกิเลส คือความกำหนัดยินดีในรูปภพและรูปฌาน(รูปราคะ) รวมถึง ความกำหนัดยินดีในอรูปภพและอรูปฌาน(อรูปราคะ) ซึ่งทั้ง ๒ เป็นโลภกิเลสที่ละเอียดที่สุด
๒)  มานะกิเลส คือความถือตัวโดยยึดเอารูปนามหรือขันธ์ ๕ มาเป็นเราเป็นเขา และเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์(การเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภทดังนี้
(๑)  อยาถาวมานะ  คือความถือตัวไม่เป็นไปตามความเป็นจริง ๖ อย่าง ซึ่งพระโสดาบันละได้เด็ดขาดก่อนแล้วเพราะเป็นกิเลสที่หยาบมากดังนี้
 ก.  ตนเป็นคนชั้นสูง       แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
 ข.  ตนเป็นคนชั้นสูง       แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ
 ค.  ตนเป็นคนชั้นกลาง   แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
 ง.  ตนเป็นคนชั้นกลาง   แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ
 จ.  ตนเป็นคนชั้นต่ำ       แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
 ฉ.  ตนเป็นคนชั้นต่ำ      แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
(๒)  ยาถาวมานะ  คือความถือตัวเป็นไปตามความเป็นจริง ๓ อย่างซึ่งพระอรหันต์เท่านั้นที่ละได้เด็ดขาด เพราะเป็นกิเลสที่ละเอียดมากได้แก่
 ก.  ตนเป็นคนชั้นสูง       แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นสูง
 ข.  ตนเป็นคนชั้นกลาง   แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นกลาง
 ค.  ตนเป็นคนชั้นต่ำ      แต่ถือว่าตนเป็นคนชั้นต่ำ
๓)  อุทธัจจะกิเลส  คือสภาพที่มีจิตฟุ้งซ่านจับอารมณ์ไม่แน่นอน หรือสภาพที่ ไม่สามารถตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวได้นานๆ ซึ่งปิดกั้นความดีไม่ให้เกิดขึ้นนี้ ทำได้เฉพาะ พระอรหันต์เท่านั้น
๔)  ถีนะกิเลส  คือกิเลสที่ทำให้จิตง่วงเหงาท้อถอย  แม้ว่าพระอรหันต์ยังมีการพักผ่อน หลับนอน แต่ก็ไม่ใช่อำนาจของถีนะกิเลส เป็นเพราะร่างกายมีการอ่อนเพลียหมดกำลังลง จิตก็ตกภวังค์ ไปเฉยๆ ตามธรรมดาแห่ง อุปาทินนกสังขาร
๕)  อหิริกะกิเลส  คือสภาพที่ไม่ละอายต่อ อกุศลทุจริต เพราะเป็นที่น่ารังเกียจ เนื่องจากท่านมีใจโน้มสู่ ลัชชีธรรม ที่เป็นความละอายแก่ใจในการที่จะแตะต้องอกุศลทุจริตอันเป็นบาป
๖)  อโนตตัปปะกิเลส  คือสภาพที่ไม่เกรงกลัวต่อ อกุศลทุจริต ที่เป็นเหตุให้ต้องได้ รับทุกข์ในวัฏฏสงสาร
๗)  โมหะกิเลส คือสภาพที่มืดมนปิดบังปัญญาไม่ให้เห็นอริยสัจ ๔(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค) ซึ่งเป็นอวิชชา ความไม่รู้นั่นเอง  พระอรหันต์ทำลายโมหกิเลสจนหมดสิ้น เหมือนฟ้าผ่า ให้หมดไปทันที ที่เรียกว่า วชิรูปมธรรม

๔.๒  พระอรหันต์ ๒ ประเภท
๑)   เจโตวิมุตติ คือบุคคลผู้บำเพ็ญสมถภาวนาได้ฌานมาก่อน แล้วได้บำเพ็ญ วิปัสสนาภาวนาต่อ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์หรือบุคคลผู้บำเพ็ญแต่วิปัสสนา  แต่เมื่อสำเร็จเป็น พระอรหันต์ ฌานก็อุบัติขึ้นพร้อมกันจากอำนาจของบารมีในอดีต  พระอรหันต์ประเภทนี้เรียกว่า ฌานลาภีบุคคล คือสำเร็จฌานสมาบัติได้บรรลุวิชชาและอภิญญา ที่มีคุณวิเศษในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ
๒)   ปัญญาวิมุตติ คือบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาล้วนๆ โดยไม่ได้บำเพ็ญ สมถภาวนามาก่อนเลย  เมื่อบรรลุพระอรหันต์ ฌานก็ไม่เกิดขึ้นร่วมด้วย  พระอรหันต์ประเภทนี้เรียกว่า สุกขวิปัสสก คือผู้ที่แห้งแล้งจากฌานและไม่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้

๔.๓  คุณวิเศษ ๒ ประเภทของพระอรหันต์
๑)  ปฏิสัมภิทาปัตตะคือพระอรหันต์ผู้ซึ่งแตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ ประการดังนี้
(๑)  อัตถปฏิสัมภิทา         คือผู้แตกฉานใน อรรถ
(๒)  ธัมมปฏิสัมภิทา         คือผู้แตกฉานใน ธรรม
(๓)  นิรุตติปฏิสัมภิทา       คือผู้แตกฉานใน ภาษา
(๔)  ปฏิภาณปฏิสัมภิทา   คือผู้แตกฉานใน ปฏิภาณไหวพริบ
                   ๒)  อัปปฏิสัมภิทาปัตตะคือพระอรหันต์ผู้ซึ่งไม่แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ ประการ และไม่เคยได้ตั้งจิตอธิษฐาน  เมื่อได้ทำกุศลกรรม คุณวิเศษคือญาณและปฏิสัมภิทาญาณจึงไม่เกิดขึ้น

________________________

ธรรมะหลากหลาย 


-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ที่ กรุงพาราณสี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน)  
“ที่สุด ๒ อย่าง อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค การเสวยสุขในกามคุณ และ อัตตกิลมถานุโยค การบำเพ็ญตนให้ลำบาก” และทรงแสดง อริยสัจ ๔ เพิ่มเติมด้วย
(แสดงโอวาทปาติโมกข์ ที่ กรุงราชคฤห์ พระเวฬุวันวิหาร)
              “ขันติเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสได้ดียิ่ง นิพพานเป็นธรรมสูงสุด ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ,
              การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ครบถ้วน การทำจิตให้ผ่องใส,
              การไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมในพระปาติโมกข์ การรู้ประมาณในการบริโภค นั่งนอนในที่สงบ ประกอบความเพียรในจิตให้ยิ่ง นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

-หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล (วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พ.ศ. ๒๔๐๒ – ๒๔๘๔)
              วิปัสสนานี้มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหาร ภาวนาย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติ ไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพคือมนุษย์ และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้า หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน  ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว

-หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๑๓ – ๒๔๙๒)
              การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก... การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจแล้วคือเห็นธรรม รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจตน แล้วคือถึงพระนิพพาน

-หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๓๐ – ๒๕๒๘)
              เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ รู้ทันมันเดี๋ยวนี้ มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ  ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุมมันหละ ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ พอใจไม่พอใจก็ดับลงทันทีที่ตัวสติ

-พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) - (วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๓๑ – ๒๕๒๖)
           การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์ วิมาน หรือแม้พระนิพพาน ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง

-ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต(ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ) - (วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๕๑๔)        
ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครอง กาย วาจา ใจ อยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติคือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า - กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม

-พระธรรมโกศาจารย์(ท่านพุทธทาสภิกขุ) - (วัดสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๒๕๓๖)
จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ที่สุดนั้น จะต้องมีวิธีฝึกไปในทางที่จะคอยเฝ้ากำหนด การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ เวทนา สัญญา และวิตก  ถ้าใครสามารถเอาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้ามากำกับอยู่กับชีวิตประจำวันแล้ว คนนั้นได้ชื่อว่ามีเชื่อต้านทานโรคสูงสุด แล้วอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส นั้นจะไม่เกิดเป็นพิษขึ้นมาได้ เราจะมีอยู่ เป็นอยู่อย่างมีความเกษม

-พระโพธิญาณเถร(หลวงพ่อชา สุภทฺโท) - (วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี พ.ศ. ๒๔๖๑ – ๒๕๓๕)
              การปฏิบัติจริงๆ ต้องปฏิบัติเมื่อประสบอารมณ์ มีสติตามรู้เท่าทันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกเวลา สถานที่ หรือโอกาส ทุกอิริยาบถ เป็นการปฏิบัติอยู่ทั้งนั้น  ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็ได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา


-แม่ชีบุญมี เวชสาร - (วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จ.กรุงเทพฯ)
ทุกข์อยู่ที่จิต ทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ  ทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เรื่องผัสสะ         
การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง  สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา(ความจำ)  การศึกษาธรรม ด้วยการลงมือปฏิบัติ  สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม
หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ การกำหนดให้มีสติทันปัจจุบันอารมณ์ที่มากระทบทางอายตนะภายใน -ภายนอก รู้จิตรู้อารมณ์ตัวเอง เมื่อเข้าถึงจิตตัวเองลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้ชื่อว่าเข้าถึงหลักธรรม
ถึงจะท่องจำตำราได้น้อย  แต่ประพฤติธรรม  ละ ราคะ โทสะ และโมหะได้  รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น  ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต

-อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - (กรุงเทพฯ)   

-จงหมั่นเจริญ สติ ในชีวิตระหว่างวันให้มาก / เดินจงกรม และนั่งสมาธิทุกวัน

-คิดดี คิดบวก คิดเป็นบุญ คิดได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก คิดหาเหตุเป็น คิดถึงผลได้

-แล้ว พูด หรือ กระทำสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่เป็นบุญ ตามที่คิดได้จริงๆ
_______________________________

สติ / รูปนาม / เห็นพระไตรลักษณ์ /

เป็นอุปกรณ์สำคัญนำพาจิตสู่ทางพ้นทุกข์คือ พระนิพพาน