หลักสูตรสอน การเจริญสติ และ
การปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวสติปัฎฐาน ๔
(พองหนอ ยุบหนอ) ถวายแด่ พระภิกษุ(และฆราวาส) เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ ในการจัดตั้ง
ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ในวัด
สำหรับสอน การเจริญสติเพื่อคลายทุกข์ พัฒนาสติปัญญา เพิ่มความสุข และนำสู่พระนิพพาน แก่ พุทธบริษัท
-เป้าหมาย ฝึกสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานถวายแด่พระภิกษุ
เพื่อสร้างและจัดตั้ง ศุนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ภายในวัด
-วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกอบรมแก่พระภิกษุ จนสำเร็จตามหลักสูตรเป็น พระวิปัสสนาจารย์ สำหรับสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน
และการเจริญสติเพื่อพัฒนาปัญญาทางพุทธศาสนา แก่ชุมชนและผู้สนใจ
ทุกวันอย่างต่อเนื่อง หลังเลิกงาน หรือ ช่วงที่มีเวลาว่าง ในอนาคตหากมีสถานที่พร้อม
สามารถจัดหลักสูตร 3, 7, 14, 30 วัน หรือมากกว่า เพื่อปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นต่อเนื่องไป
-กิจกรรมเพิ่มเติม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ในภายหลังเพื่อช่วยเหลือสังคม เช่น การสอนธรรมะทั้งปฏิบัติและทฤษฎี,
จัดทำเวปไซด์, จัดตั้งห้องสมุด, มีบริการปรึกษาปัญหาชีวิต, โทรศัพท์ฮอตไลน์คลายทุกข์, มีที่ให้ญาติโยม เพื่ิอสนทนาคลายทุกข์, ศูนย์กลาง บริหารร่างกายดูแลสุขภาพ, ศูนย์แนะนำอาชีพการทำงาน, และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่พระภิกษุได้มีกิจกรรมเผยแผ่ที่ดีต่อสังคม
จัดทำเวปไซด์, จัดตั้งห้องสมุด, มีบริการปรึกษาปัญหาชีวิต, โทรศัพท์ฮอตไลน์คลายทุกข์, มีที่ให้ญาติโยม เพื่ิอสนทนาคลายทุกข์, ศูนย์กลาง บริหารร่างกายดูแลสุขภาพ, ศูนย์แนะนำอาชีพการทำงาน, และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่พระภิกษุได้มีกิจกรรมเผยแผ่ที่ดีต่อสังคม
-ระยะเวลาการอบรม ๖ เดือน (ช่วงแรก)
-สถานที่อบรม อาคารปฎิบัติธรรม วัดลาดพร้าว กรุงเทพ หรือปฏิบัติได้ที่วัดของท่าน
-ช่วงเวลาปฏิบัติ ทุกวัน ช่วงบ่าย ถึง ๒๑.๓๐ น. และ ตามตารางที่จะกำหนดให้
-ผู้เข้าร่วมอบรม พระภิกษุในวัด
หรือ ฆราวาส ที่ต้องการฝึกปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในพระไตรปิฎก และคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อร่วมเผยแผ่วิปัสสนาต่อไปเป็นวิทยาทาน
เนื้อหาของหลักสูตรอบรม:
๑. ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานทุกวัน ตามแนวทางในวิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมาย ของวิปัสสนากรรมฐาน
๑.๑ ปฏิบัติครบตามเส้นทางของวิปัสสนาญาณ
๑.๒ อธิษฐานดับนาน และดับมาก
๑.๓ ทวนวิปัสสนาญาณ
๒. สนธนาธรรม และ ส่งอารมณ์ ทุกรอบ หลังเดินจงกรมและนั่งสมาธิเสร็จ รวมถึง การเจริญสติในระหว่างวันด้วย โดยปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามหลักการสติปัฏฐาน 4 จนครบหลักสูตรปฏิบัติทุกประการ
๓. การศึกษาด้านปริยัติ ช่วงที่ ๑ - เนื้อหาด้านปริยัติ หลังจากภาคปฏิบัติ
๓.๑ ประวัติกัมมัฏฐาน และการบรรลุธรรมในสมัยพุทธกาล
๓.๒ ประวัติกัมมัฏฐานในประเทศไทย, รูปแบบกัมมัฏฐานต่างๆ ในประเทศไทย และวิปัสสนาวงศ์
๓.๓ ความหมายและความแตกต่างระหว่าง สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๓.๔ การกำหนด และคุณประโยชน์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๓.๕ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนว ไตรสิกขา และ มหาสติปัฎฐานสูตร ๒๑ บรรพ
๓.๖ หลักฐานอ้างอิงทางทฤษฎีของ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระไตรปิฎก, อรรถกถา, คัมภีร์วิสุทธิมรรค
และคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท
๓.๗ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานในต่างประเทศ การสอนเจริญสติเพื่อรักษาโรคเครียดในต่างประเทศ
๔. การศึกษาด้านปริยัติ ช่วงที่ ๒
๔.๑ ขั้นตอนก่อนการเริ่มปฏิบัติ ได้แก่ การสมาทานพระกัมมัฏฐาน, บูชาพระรัตนตรัย, อาราธนาศีล ๕ และบทแผ่เมตตา
๔.๒ วิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้นใน อิริยาบถย่อยในระหว่างวัน, เดินจงกรม และนั่งสมาธิ
๔.๓ การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ผู้ปฏิบัติที่เคยฝึกกัมมัฏฐานแบบอื่นมาก่อน
๔.๔ การสอนให้ผู้ปฏิบัติมุ่งเน้นการกำหนดอิริยาบถย่อยระหว่างวัน และวิธีสอนการเจริญสติ เพื่อพัฒนา ปัญญา คลายเครียด ลดความโกรธ และเพิ่มความสุข เพื่อนำเอาไปใช้ให้ได้จริง ในชีวิตประจำวันแก่ตนเอง ครอบครัว การงาน และสังคม (หลักการเจริญสติเพื่อพัฒนาตนเอง อาชีพ และครอบครัว)
๔.๕ วิธีการรับฟัง, การสอบอารมณ์ และการแนะนำเพื่อพัฒนาจิต สำหรับการแก้ปัญหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดเป็นการปฏิบัติในการกำหนดอิริยาบถย่อยด้วย
๔.๖ วิธีการสอบอารมณ์ และแก้สภาวธรรมในขณะเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ให้อยู่ในเส้นทางของ วิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐาน ๔
๔.๗ หลักการเจริญสติพัฒนาและช่วยบำบัด โรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Pain) โรคเครียด(Mindfulness Based Stress Reduction - MBSR) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคนอนไม่หลับ โรคโกรธง่าย โรคติดบุหรี่ โรคฟุ้งซ่านเหม่อลอย โรคขาดความมั่นใจ โรคประหม่าตื่นเต้น โรคสมาธิสั้น และโรคทางใจอื่นๆ ซึ่งคล้ายกับวิธีรักษาทางจิตวิทยา (Cognitive Behavior และ Mindfulness-based cognitive therapy - MBCT)
๔.๘ หลักการเจริญสติเพื่อพัฒนาการเรียน สำหรับนักเรียนและนิสิต
๔.๙ สนับสนุนสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์แก่ชุมชน เช่น การให้คำปรึกษาเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ต่างๆ, ส่งเสริมด้านสุขภาพ, ช่วยสร้างพัฒนาอาชีพ, ศูนย์จัดหางาน, สอนเยาวชนให้เป็นคนดี อบรมนักศึกษาและนิสิต และเสริมสร้างความสุขในครอบครัว
--------------
๑. ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานทุกวัน ตามแนวทางในวิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมาย ของวิปัสสนากรรมฐาน
๑.๑ ปฏิบัติครบตามเส้นทางของวิปัสสนาญาณ
๑.๒ อธิษฐานดับนาน และดับมาก
๑.๓ ทวนวิปัสสนาญาณ
๒. สนธนาธรรม และ ส่งอารมณ์ ทุกรอบ หลังเดินจงกรมและนั่งสมาธิเสร็จ รวมถึง การเจริญสติในระหว่างวันด้วย โดยปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๓. การศึกษาด้านปริยัติ ช่วงที่ ๑ - เนื้อหาด้านปริยัติ หลังจากภาคปฏิบัติ
๓.๑ ประวัติกัมมัฏฐาน และการบรรลุธรรมในสมัยพุทธกาล
๓.๒ ประวัติกัมมัฏฐานในประเทศไทย, รูปแบบกัมมัฏฐานต่างๆ ในประเทศไทย และวิปัสสนาวงศ์
๓.๓ ความหมายและความแตกต่างระหว่าง สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๓.๔ การกำหนด และคุณประโยชน์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๓.๕ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนว ไตรสิกขา และ มหาสติปัฎฐานสูตร ๒๑ บรรพ
๓.๖ หลักฐานอ้างอิงทางทฤษฎีของ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระไตรปิฎก, อรรถกถา, คัมภีร์วิสุทธิมรรค
และคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท
๓.๗ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานในต่างประเทศ การสอนเจริญสติเพื่อรักษาโรคเครียดในต่างประเทศ
๔. การศึกษาด้านปริยัติ ช่วงที่ ๒
๔.๑ ขั้นตอนก่อนการเริ่มปฏิบัติ ได้แก่ การสมาทานพระกัมมัฏฐาน, บูชาพระรัตนตรัย, อาราธนาศีล ๕ และบทแผ่เมตตา
๔.๒ วิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้นใน อิริยาบถย่อยในระหว่างวัน, เดินจงกรม และนั่งสมาธิ
๔.๓ การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ผู้ปฏิบัติที่เคยฝึกกัมมัฏฐานแบบอื่นมาก่อน
๔.๔ การสอนให้ผู้ปฏิบัติมุ่งเน้นการกำหนดอิริยาบถย่อยระหว่างวัน และวิธีสอนการเจริญสติ เพื่อพัฒนา ปัญญา คลายเครียด ลดความโกรธ และเพิ่มความสุข เพื่อนำเอาไปใช้ให้ได้จริง ในชีวิตประจำวันแก่ตนเอง ครอบครัว การงาน และสังคม (หลักการเจริญสติเพื่อพัฒนาตนเอง อาชีพ และครอบครัว)
๔.๕ วิธีการรับฟัง, การสอบอารมณ์ และการแนะนำเพื่อพัฒนาจิต สำหรับการแก้ปัญหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดเป็นการปฏิบัติในการกำหนดอิริยาบถย่อยด้วย
๔.๖ วิธีการสอบอารมณ์ และแก้สภาวธรรมในขณะเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ให้อยู่ในเส้นทางของ วิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐาน ๔
๔.๗ หลักการเจริญสติพัฒนาและช่วยบำบัด โรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Pain) โรคเครียด(Mindfulness Based Stress Reduction - MBSR) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคนอนไม่หลับ โรคโกรธง่าย โรคติดบุหรี่ โรคฟุ้งซ่านเหม่อลอย โรคขาดความมั่นใจ โรคประหม่าตื่นเต้น โรคสมาธิสั้น และโรคทางใจอื่นๆ ซึ่งคล้ายกับวิธีรักษาทางจิตวิทยา (Cognitive Behavior และ Mindfulness-based cognitive therapy - MBCT)
๔.๘ หลักการเจริญสติเพื่อพัฒนาการเรียน สำหรับนักเรียนและนิสิต
๔.๙ สนับสนุนสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์แก่ชุมชน เช่น การให้คำปรึกษาเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ต่างๆ, ส่งเสริมด้านสุขภาพ, ช่วยสร้างพัฒนาอาชีพ, ศูนย์จัดหางาน, สอนเยาวชนให้เป็นคนดี อบรมนักศึกษาและนิสิต และเสริมสร้างความสุขในครอบครัว
--------------
กรุณาโหลด ใบรับสมัคร การฝึกปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยกดที่นี่:
(วิธีโหลดใบสมัคร - คัดลอกข้างบน แล้วนำไปเปิด หลังจากนั้น กด Download และ Save เก็บไว้)
(วิธีโหลดใบสมัคร - คัดลอกข้างบน แล้วนำไปเปิด หลังจากนั้น กด Download และ Save เก็บไว้)
**เมื่อกรอกเสร็จ กรุณาส่ง ใบสมัครกลับ พร้อมกับ สำเนาถ่ายใบสุทธิมาที่ anipetch@gmail.com
สอนโดย อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ ณ ชั้น 2 อาคารปฏิบัติธรรม วัดลาดพร้าว กรุงเทพฯ
เพื่อเป็นวิทยาทาน และร่วมเผยแผ่วิปัสสนากัมมัฏฐาน แก่พุทธศาสนาสืบไป
โทร 097 984 9355
กรุณาโทรช่วง 17.00-19.00น.
--------------
รายชื่อวัดที่เข้าร่วมกิจกรรม
1. ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดวิจิตรการนิมิต - บางแวก กทม (วจก-กทม 1)
สอนโดย อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ ณ ชั้น 2 อาคารปฏิบัติธรรม วัดลาดพร้าว กรุงเทพฯ
เพื่อเป็นวิทยาทาน และร่วมเผยแผ่วิปัสสนากัมมัฏฐาน แก่พุทธศาสนาสืบไป
โทร 097 984 9355
กรุณาโทรช่วง 17.00-19.00น.
--------------
รายชื่อวัดที่เข้าร่วมกิจกรรม
1. ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดวิจิตรการนิมิต - บางแวก กทม (วจก-กทม 1)