Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


MINDFULNESS DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS - สติพัฒนาโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด (Stress) โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคเครียดรุนแรงจากสงคราม (Posttraumatic Stress Disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องและประยุกต์จากวิธีบำบัดทางจิตวิทยา (Cognitive Behavior Therapy - CBT และ Mindfulness-based cognitive therapy - MBCT)

ความเป็นมาของการสอนเจริญสติพัฒนา และบรรเทาโรคทางใจ:

      การปฏิบัติธรรมตามแนวของวิปัสสนากัมมัฏฐานหรือสติปัฎฐาน ๔ ของพุทธศาสนา มีประโยชน์มากในด้าน การศึกษาเพื่อเข้าถึงจิต ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาทางใจต่างๆ  การฝึกจิตเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ที่สามารถช่วยบรรเทา จนถึงช่วยบำบัดโรคทางใจ พร้อมกับการทานยาร่วมกันไป  สติปัฏฐาน ๔ (Mindfulness Meditation) ถูกนำไปประยุกต์สอน คลายเครียดตามหลักสูตร MBSR (Mindfulness Based Stress Reduction) และ MBCT (Mindfulness-based cognitive therapy) ซึ่งในอดีตชาวตะวันตกได้เริ่มสนใจ และทดลอง ฝึกเจริญสติกันมาตั้งแต่ประมาณราวปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513)  
    
     ปัจจุบันการฝึกสติกำลังเป็นที่นิยมมาก ในอเมริกา ยุโรป อินเดีย เอเซีย และออสเตรเลีย ภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา และแพร่หลายต่อไป อย่างไม่หยุด เช่น การเปิดศูนย์ Mindfulness Center ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ โดยเน้นการสอน เรื่องการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด และประโยชน์มากต่อ การกระตุ้นการทำงานของสมอง ในส่วนหน้าที่เรียกว่า Prefrontal Cortex, การกระตุ้นสมอง ให้ทำงานพร้อมกันทั้งสองด้านHippocampus, กระตุ้นเพิ่มระดับ Serotonin และเกิดผลดีในหลายส่วนของสมอง
อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานของ สมองส่วนกลาง(Amygdala) ที่แสดง อารมณ์ความกลัว วิตก โกรธ เครียด กร้าวร้าว ให้ทำงานน้อยลงได้อีกด้วย

     ผู้ที่เริ่มนำเอาสติมาสอนในหลักสูตร MBSR ตามมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ และโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลก เช่น Dr.Jon Kabat-Zinn, Dr.Rick Hanson, Dr.Diana Winston, Dr.Bob Stahl, Dr.Richard Davidson (Neuroscientest - นักวิทยาศาสตร์ ด้านสมอง), Dr.Dan Siegel, ล้วนแต่ได้เคยมาฝึกสมาธิ กับพุทธศาสนาแนวทั้งจาก สายเถรวาท Vipassana Meditation, สายท่านโกแองก้า Goenka Vipassana และสมาธิสายธิเบต นอกจากประโยชน์การคลายเครียดแล้ว ยังทำให้มีสุขอีกด้วย Dr. Richard Davidson ได้ศึกษาวิจัยหาบุคคล ที่มีความสุขมากที่สุดในโลก จากการวัดคลื่นสมอง และได้พบว่าท่านนั้นคือ Ven. Matthieu Ricard (นักบวชธิเบต ชาวฝรั่งเศสที่ได้รับฉายาว่า World's Happiest Man ในนิตยสารTime Magazine)

     นักวิชาการด้านจิตแพทย์ในประเทศไทยได้คาดคะเนว่า มีผู้ป่วยซึมเศร้าประมาณ ๓ เปอร์เซ็นต์ หรือ เกือบ ๒ ล้านคน จากประชากรทั้งหมด ที่กระจายอยู่ทั่วทุกชุมชน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวเอง  จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หากรักษาด้วยยามีอาการดีขึ้นแล้ว มีโอกาสกลับมาซึมเศร้าเป็นครั้งที่ 2 ได้ราว 50% ส่วนผู้เป็นและหาย 2 ครั้ง มีโอกาสกลับมาเป็นอีกราว 80%  และผู้ที่เป็นครั้งที่ 3 มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกราว 90% ดังนั้นยิ่งนานวันไปยิ่งรักษายาก และอาจต้องพึ่งพาการใช้ยารักษาไปตลอดชีวิต  นักจิตวิทยา Dr. Ronald Siegel แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ผู้สอนการเจริญสติคลายเครียด และสติบำบัดโรค กล่าวว่า ผู้ที่ฝึกการเจริญสติบำบัดโรค (Mindfulness Based Cognitive Therapy) จะช่วยลดการกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าได้ถึง 50%   ฉะนั้นโอกาสที่จะหายจากโรคซึมเศร้า ด้วยการฝึกเจริญสติคู่ไปกับการใช้ยารักษานี้ ช่วยบำบัดโรคทางใจได้ผลดีกว่า การรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

     ประโยชน์ของสติไม่ใช่แค่คลายเครียดได้ ยังมีผลดีต่อสมอง เส้นเลือด หัวใจ และทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิต อย่างมีผาสุขต่อ ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ  การเจริญสติตามแนววิปัสสนากัมมัฏฐาน หากทำถูกวิธีจะสามารถนำจิต เข้าสู่เบื้องลึกในระดับ จิตใต้สำนึก เพื่อปรับเปลี่ยนนิสัย พฤติกรรม ความทุกข์ และอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์ เป้าหมายสูงสุดของ พุทธศาสนา สอนให้เข้าถึงความสุขสูงสุด ที่มากกว่า 
กามสุข ทั่วไป คือ สมาธิสุข  และ นิพพานสุข
        
  
วัตถุประสงค์:    

-เพื่อช่วยพัฒนา และบำบัดโรคทางใจ
-เพื่อใช้ ยา(ที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ) ที่เรียกว่าสติปัญญา ในการพัฒนาและบรรเทาโรค

-เพื่อลดยาทานลง จนกระทั่งหยุดกิน และพัฒนา สติปัญญา เพื่อไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
-เพื่อบรรเทาความทุกข์ ของผู้เข้าฝึก และครอบครัว

-เพื่อช่วยเหลือ ชุมชน
-เพื่อศึกษาและพัฒนา วิธีการบำบัดโรคด้วยสติ ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

-เพื่อเป็นที่ปรึกษา และเป็นที่พึ่งทางใจ แก่ผู้เข้าฝึก
-เพื่อทำหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ ให้บริบูรณ์


เนื้อหาบรรยาย / ภาคปฏิบัติ ในการเจริญ สติพัฒนา และความรู้เพื่อช่วยบำบัดโรคทางใจ :

๑. ปัญหาที่เกิดขึ้น (ทุกข์)


-เรียนรู้ ทำความเข้าใจ พื้นฐานของโรค
-เข้าใจอาการของโรค

-ผลที่จะตามมาในอนาคต ด้านกายและใจ
-ทุกขทัศนนิยม หรือ ความคิดลบ

-พฤติกรรมทางกาย
-พฤติกรรมทางวาจา
-พฤติกรรมทางใจ

๒. สาเหตุของโรค (สมุทัย)

-ศึกษาพื้นฐานความรู้และประวัติ
-การศึกษาหาเหตุในอดีต (เหตุการณ์ที่สำคัญที่มีผลต่อจิตใจ)

-วิธีการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากครอบครัว
-สภาพแวดล้อม จากสังคม ครอบครัว / เพื่อน / ที่ทำงาน

๓. สร้างเป้าหมาย (นิโรธ)

-เพื่อบรรเทาโรค
-เพื่อพัฒนา สติปัญญา

-เพื่อลดยาทานลง จนกระทั่งหยุดกิน ด้วยการพัฒนาสติปัญญา และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
-เพื่อใช้ จิต ไปรักษา จิต ด้วย สติ ซึ่งเป็น ยามหัศจรรย์ ในการช่วยบรรเทาบำบัดโรค ด้วยการฝึกต่อเนื่องระยะยาว

-สร้าง สุขทัศนนิยม หรือ ความคิดบวก มีเหตุผล
-เพื่อเพิ่มความสุข และลดความทุกข์

-เพื่อพัฒนา ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ
-เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การตัดวัฏฏสงสาร และ เข้าถึงพระนิพพาน

๔. วิธีการรักษาโรค ด้านทฤษฎี และ การฝึกปฏิบัติ (มรรค)

   ศึกษาประวัติของผู้ฝึก ในช่วงแรกด้วย:

-การสนทนาประวัติ ย้อนอดีตในเหตุการณ์ และปัจจัยของการเจ็บป่วย เพื่อค้นหา, ศึกษา และยอมรับเพื่อนำสู่การรักษา (เฉพาะสำหรับ ผู้ใหญ่) ซึ่งคล้ายกับการรักษาย้อนอดีต ที่เรียกว่า Regression Therapy - การสะกดจิตย้อนอดีตเพื่อบำบัดโรคบางอย่าง และเป็นผลดีมีประโยชน์ต่อผู้ฝึก ทำให้เข้าใจในเหตุของปัญหา

-เรียนรู้เหตุการณ์ในอดีต (LEARNING PAST EVENTS AND BEHAVIORS)

-แสดงความคิดเห็นด้วยตัวเอง ในเหตุการณ์ของอดีต (AWARE NEGATIVE THOUGHT, THINK POSITIVE AND SELF COMMENT)

-ฝึกวิเคราะห์ด้วยตนเอง ในสิ่งที่ได้และเป็นประโยชน์ในอนาคต จากเหตุการณ์ในอดีต (SELF ANALYSIS FOR BENEFIT TO PRACTICE)

-ทดสอบการนับเลข และการเคลื่อนไหวของร่ายกาย เพื่อตรวจสอบสมอง และอาการของสมาธิสั้น - Brain and Body Movement Test for Attention deficit hyperactivity disorder(ADHD)

   ๔.๑ ฝึกด้านทฤษฎี

-จากการสนทนา ออกความคิดเห็น ถามคำถาม ฝึกการฟังจากแหล่งที่มีประโยชน์
-ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง อ่านหนังสือ ค้นคว้าด้วยตนเองให้เป็น

-เรียนรู้จากชีวิตประจำวันในตนเอง อาชีพ ครอบครัว
-ชมรายการที่ดีสร้างสรรค์เชิงบวก

-ฝึกความจำ การใช้ภาษา และการคำนวน
-ฝึกการจับประเด็นสนทนา การอ่าน การดู และการฟัง

-ฝึกหาเหตุในอดีตให้เป็น
-ฝึกเล็งถึงผลในอนาคตเป็น

-ทันความคิดลบ และคิดบวกเป็น
-ปรับเปลี่ยนโปรแกรมสมองใหม่ ด้วย จินตนาภาพและภาษา

-สร้างนิสัยของการพัฒนาตนเองตลอด และฝึกเรียนรู้ตลอดไป
-เรียนรู้หลักพุทธธรรมด้าน ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
-เรียนรู้ ความสุข ๓ ประเภท ของ พุทธศาสนา คือ กามสุข สมาธิสุข และ นิพพานสุข

---------------

-สร้างความเชื่อมั่น (SELF CONFIDENCE)
-สร้างแรงบันดาลใจ (INSPIRATION)

-สร้างเป้าหมายแห่งความสุข (POSITIVE HAPPINESS) ในการพัฒนาและบำบัดอย่างเป็นลำดับ
-ฝึกพฤติกรรมสร้างการเป็นตัวของตัวเองแก่ครอบครัว (SELF INDEPENDENCE AND SUPPORT)
-ฝึกพฤติกรรมสร้างการเป็นผู้ให้แก่ครอบครัว (GIVER NOT TAKER)

สรุป องค์ความรู้ ที่จะศึกษาเพิ่มเติมในระยะเวลาต่อเนื่องอีก 9 สัปดาห์ ดังต่อไปนี้
-ชีวิต ด้านกายและใจ (ขันธ์ 5) / การทำงานของจิต (ย่อ)
-จิตวิทยาพื้นฐาน 4 ประเภท
-ความคิด (คิดลบ และ คิดบวก)
-จิตวิทยาเชิงบวก (คิดบวก คำบวก ประโยคเชิงบวก)
-เหตุ และ ผล / กฎแห่งกรรม / การวิเคราะห์ความจริง
-วิธีแก้ปัญหา ๓ ด้าน (ตน ครอบครัว โรงเรียน) ด้วย หลักอริยสัจ 4
-สติ/เหตุผล หรือ อารมณ์ ในชีวิตประจำวัน
-ความทุกข์ และความสุข
-ปัญญา ความสำเร็จ และบุญกุศล 
-การบริหารจัดการเวลา
-พรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
-การเป็นผู้ให้ ช่วยเหลือ เห็นแก่ผู้อื่น และสร้างสันติสุข
-การรู้หน้าที่รับผิดชอบ
-การใช้ภาษา (การรับรู้ การถาม/ตอบ การสนทนา)
-อันตรายและกับดักของการหลงในการเจริญสติ/สมาธิ
-การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเอง
-รายงานผล / สนทนากลุ่ม ในแต่ละสัปดาห์

   ๔.๒ ฝึกการเจริญ สติ ไปพัฒนา บรรเทาโรคทางใจ

-แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของโรค คือ เรื่องของจิต

-ใช้จิต ไปพัฒนาจิต ด้วย(สติ)

-ฝึกการเจริญสติ ใน ทุกอารมณ์ของจิต (ตัวรู้ ความคิดลบ และ อารมณ์ต่างๆ)

-ปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงก่อนหลับ

-กระทำให้ได้จริง หรือ เบียงเบนพฤติกรรม หรือ ปล่อยวาง หรือ หยุด ให้ได้

--------------------------------------------------------------

วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์ - 10 steps of Mindfulness

1.PREPARATION  เตรียมใจ และเตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้น

3.FOCUS จดจ่อ อารมณ์แต่ละขณะ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT กำหนดสติ ให้ทันอารมณ์ปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ

5.AWARENESS มีสติย้าย ไปสู่อารมณ์ ที่เกิดขึ้นถัดไป

6.LETGO มีสติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ไม่ไหลไปกับความคิด 

7.NON-JUDGEMENT มีสติเฉยๆ ปราศจากการพิจารณา/ตัดสิน/ปรุงแต่ง

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW มีสติรู้เฉย ไหลไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT for Adjustment and Development รายงานการฝึก สอบถามปัญหา กับผู้สอนเป็นประจำ 


   ๔.๓ ฝึกสติรู้ทันความคิดลบ และอารมณ์ลบ ในระหว่างวัน

   ๔.๔ ฝึกกระตุ้นสมอง สุขทัศนนิยม หรือ ความคิดบวก

   ๔.๕ ฝึกกระตุ้นสมอง คิดอย่างมี เหตุ(อดีต) และ ผล(อนาคต)

   ๔.๖ ฝึกการทำ และพูด ให้ได้จริง ตามที่คิด

   ๔.๗ ฝึกกระตุ้นสมอง ในเรื่อง พึ่งตนเองด้วยเหตุผล / ความพอเพียง(ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น) / การปล่อยวาง(ทิ้งคิดลบ) และ ทางสายกลาง(พอดีพอเหมาะตามฐานะตนเอง) โดยลดความอยากความโลภ และ ลดความเพอเฟคชั่นนิสต์(ไม่ต้องได้สูงสุดทุกอย่าง)  ให้เหมาะสมกับบุคคล

   ๔.๘ ฝึกการสร้างโปรแกรมสมองใหม่ ด้วย จินตนาภาพและภาษา

   ๔.๙ รายงานผลการปฏิบัติทุกวัน

   ๔.๑๐  ฝึกแก้ปัญหาด้วยสติเหตุผล หาความรู้ ด้วยตนเองตลอดไป

-----------

กิจกรรมฝึกปฏิบัติประจำวัน:

-สวดมนต์ อาราธนาศีล ๕ และแผ่เมตตา ทุกวัน หรือสวดอธิษฐานตามศาสนา

-ฝึกภาคปฏิบัติเจริญสติทุกวัน ใน อิริยาบถย่อยระหว่างวัน เดินจงกรม นั่งสมาธิ (ที่บ้าน ทุกวันๆ ละ ๔ ครั้ง) เช้า ก่อนออกจากบ้าน กลางวัน หลังอาหารก่อนทำงาน ช่วงเย็น  นั่งเจริญสติอย่างเดียว เริ่มต้นจาก ๕ ๑๐ ๑๕ นาที และก่อนนอน เดินเจริญสติ เท่ากับนั่ง ๒๐ ๒๕ ๓๐ นาที

-ฝึกภาคทฤษฎีด้านปัญญา ด้วยการสร้างปัญญา หาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเอง และนำหัวข้อในแต่ละอาทิตย์ ที่มอบหมายให้ศึกษา มาฝึกพูด/นำเสนอ แก่กลุ่มสนทนา (เนื้อหาในแต่สัปดาห์ เช่น หน้าที่รับผิดชอบ สติ ปัญญา ความสุข ความคิดเชิงบวก เหตุในอดีตและผลในอนาคต พรหมวิหาร ๔ วิธีแก้ปัญหา และการเป็นผู้ให้)

-ฝึกปฏิบัติกับผู้สอน อาทิตย์ละครั้ง ในทุกวันอาทิตย์ ด้วยการ เดินจงกรม นั่งสมาธิ และนำไปฝึกต่อที่บ้านเป็นระยะเวลา  ต่อเนื่อง ๙ สัปดาห์ในช่วงแรก

-สนทนาส่งบันทึกระหว่างวัน ถามตอบ และฝึกต่อเนื่องได้ทางโทรศัพท์

-จดรายงานภาคปฏิบัติ และบันทึกเหตุการณ์หรือพฤติกรรม เฉพาะเรื่องที่ผิดปกติ หรือ ความคิดลบ ที่เกิดขึ้น
-ฝึกวิธีคิด และวิธีปฏิบัติ เพื่อบริหารจัดการแก้ไข ด้วยตนเองระหว่างวัน

-จดเหตุการณ์ระหว่างวัน หรือ ข้อสงสัย แล้วนำมาถามเพื่อฝึกหัดคิดและสร้างคิดบวกให้เป็น

   ๔.๑๑ ทำการปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น

-ฝึกสอนตนเองให้ยอมรับความจริง เพื่อการแก้ไข และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
-ฝึกให้เป็นคนใฝ่รู้ และหาความรู้ จากแหล่งต่างๆ ตลอดไป
-คิด พูด ทำ ดี และนำไปปฏิบัติต่อ ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ
-พัฒนา ศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ดังนี้

---------------------------------------------------

50 วิธี ในการพัฒนาสมองบวก สร้างความสุข และช่วยลดบรรเทา ต่อโรคซึมเศร้า  

  1. รับการรักษาจากโรงพยาบาลด้วยการใช้ยา  (การใช้ยาแม้ว่าจะเป็นการพึ่งพาช่วยเหลือที่มีประโยชน์ แต่ในอนาคตให้สร้าง แนวคิดตนพึ่งตนเอง และพัฒนาแก้ไขต้นเหตุของปัญหาที่ จิตของตน
  2. เรียนรู้และเข้าใจ โรคซึมเศร้าว่า เกิดจาก การเลี้ยงดู เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ ในอดีต ที่ค่อยๆ สร้างความคิดลบ จนเกิดอารมณ์ซึมเศร้า
  3. หาที่ฝึกจิต ด้วย การเจริญสติ / ฝึกสมาธิ  ทำให้เข้าใจเรื่องจิต การทำงานของจิต อารมณ์ต่างๆ และวิธีจัดการควบคุมอารมณ์
  4. สร้าง ทาน / รักษาศีล / เจริญภาวนา (สติ / สมาธิ) อย่างต่อเนื่อง
  5. สวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย และ อาราธนาศีล ๕ ทุกวัน ตอนเช้า
  6. อธิษฐาน แผ่เมตตา ทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน
  7. มีสติรู้ทัน ความคิดลบ และอารมณ์อกุศล
  8. สร้างกระตุ้น ความคิดบวก และมองไปข้างหน้าอนาคต (ปัญหาที่เกิด มีไว้ให้คิด แก้ วางแผน ไม่ได้มีไว้ให้เศร้า หรือ กลุ้มใจ ถ้ายิ่งแก้ปัญหาได้ ยิ่งเก่ง และได้ความรู้)
  9. ***เต้น แอโรบิค 45 นาที ทุกวัน เป็นการช่วยปรับสาร Seratonin ในสมอง
  10. อกไปเดินนอกบ้าน เพื่อรับแสงแดดยามเช้า
  11. **เดินออกกำลังกาย หรือ วิ่งออกกำลังกาย ครั้งละ 30 นาที และแกว่งแขนไปด้วย ทุกวันเท่ากับ เพิ่มสารสุขในสมอง คล้ายๆ กับการได้รับประทานยา Prozac or AntiDepression  https://www.youtube.com/watch?v=DzmcmkXYrB4
  12. ฝึก Brain Yoga ทุกวัน 2 ครั้งๆ ละ 5 นาที ทำต่อเนื่อง 3 เดือน (มือไขว้จับหู แล้ว ย่อลำตัว ลงหายใจเข้า ยกขึ้นหายใจ ออก) และอีกหลายวิธีบริหาร  https://www.youtube.com/watch?v=YL4-oADTy_c  https://www.youtube.com/watch?v=8IhKCgyasZo  
  13. ออกกำลังกาย  Yoga-โยคะ หรือ Mindfulness Yoga-โยคะคู่กับเจริญสติ 
  14. ออกกำลังกาย ไทเก๊ก ชี่กง รำมวย แบบจีน ในสวนสาธารณะ
  15. ฝึกพัฒนา หลัก หา เหตุ(อดีต) ให้เป็น และ เล็งถึง ผล(อนาคต) ได้
  16. ฝึก คิด พูด ทำ สิ่งใหม่ๆ ไม่ทำซ้ำแบบเดิมๆ ลองทำสิ่งใหม่ ที่ต้องใช้ความคิด ไม่ใช่ความเคยชิน 
  17. รู้จัก หน้าที่ของเรา ว่ามีอะไร จดบันทึกลงในสมุด และไปทำตามหน้าที่
  18. การฟัง - คลิปเสียงสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดอาการซึมเศร้า ชมรมจิตวิทยาสมาธิ ในยูทูป  www.medihealing.com         https://www.youtube.com/watch?v=IsmcCVuLXOI
  19. ออกกำลังกาย ด้วยการฝึก ลมหายใจ (พลังลมปราณบำบัดโรค)  https://www.youtube.com/watch?v=FGcQHbC9fVs&t=1110s
  20. ฟังเพลงบรรเลงต่างๆ บรรเลงพิณ เพลงคลาสสิค และบรรเลงโดยเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อสมาธิ ผ่อนคลาย ปรับสมอง  https://www.youtube.com/watch?v=USYnsFD2f3Y     https://www.youtube.com/watch?v=NdHP-w0F6fY
  21. ฟัง เสียง สวดมนต์ ธรรมะ แบบไทย และ อินเดีย                                                               https://www.youtube.com/watch?v=v1xxXz1T5PI&list=RDv1xxXz1T5PI   หรือฟังก่อนนอน https://www.youtube.com/watch?v=5hkdXmGLOII&list=RDv1xxXz1T5PI&index=16 
  22. ศึกษา เรื่องราวของ ผู้คนที่สามารถ เอาชนะ และลดอาการโรคซึมเศร้า หรือ โรคทางใจอื่นๆ จนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และประสบความสำเร็จมีมากมาย เพื่อเป็นแรงจูงใจ สร้างพลังการเปลี่ยนนิสัย และเอาชนะความทุกข์ - ที่ทำไม่ได้ผล เพราะไม่ได้ทำ ไม่สู้ ยอมแพ้ ไม่ทำต่อเนื่อง แต่ถ้าฝึกมาก ย่อมได้ผลมาก ฝึกน้อย ก็ได้น้อย เช่นกัน 
  23. มีกิจกรรมที่มีความสุข ร่วมกับ ครอบครัว / ตนเอง / สังคม
  24. ร้องเพลง คาราโอเกะ สังสรรค์กับเพื่อน ครอบครัว เป็นบางครั้ง
  25. การออกกำลังกายด้วยการ เต้นลีลาศ - Dance Ballroom
  26. สร้างคุณค่าและเห็นความสำคัญในตนเอง เพื่อทำประโยชน์ต่อผู้อื่น
  27. ทำกิจกรรมช่วยเหลือครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม
  28. สร้างความหวังและจินตนาภาพที่เหมาะสม ให้กับตนเอง
  29. ไปเที่ยว ทะเล ภูเขา ห้างสรรพสินค้า ทานข่าวร่วมกัน เที่ยวต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศ 
  30. อ่านหนังสือ เพื่อทำสมาธิ ให้จดจ่อกับเนื้อหา ทำให้ลืมคิดลบ และสร้างสมองให้ฉลาดเชิงบวกได้ดี
  31. ดูรายการทีวี สารคดี ที่ดีมีประโยชน์ ทำให้มีความสุข
  32. หัวเราะ กับ การสนทนา อ่านหนังสือ หรือ รายการทีวี 
  33. ยิ้ม และ ชมเชย ให้กับตนเอง และผู้อื่น บ่อยๆ
  34. ฝึกพัฒนาภาษาไทย ด้วย การอ่านหนังสือ แล้วออกเสียงตาม
  35. ฝึกพัฒนาภาษาไทย ด้วย การฟังรายการทีวี แล้วออกเสียงพูดตาม
  36. ฝึกการฟัง การตั้งคำถาม และการเล่าเรื่อง (ด้วยการนึกภาพ จินตนาการภาพ แล้วเล่าตามที่คิด)
  37. ฝึกนับเลข เดินหน้า และ ถอยหลัง
  38. ฝึกพัฒนา การคำนวณ เลข เพื่อกระตุ้นสมอง
  39. กินอาหาร และ ดื่มน้ำ ที่มีประโยชน์ ให้ถูกต้องตามหลัก
  40. ฝึกเล่น เกมส์ จากในหนังสือ เกมส์พัฒนาสมอง เพิ่มไอคิว เชาว์ไหวพริบ ปัญญา และ เกมส์ ใน โทรศัพท์มือถือ (ในเวลาที่จำกัด ครั้งละ 15 นาที - ถ้าเล่นนานจะติดเป็นผลเสีย)
  41. เรียนรู้ เข้าใจ เรื่อง ความสุข 3 ประเภท ในพุทธศาสนา (กามสุข สมาธิสุข และ นิพพานสุข)
  42. การสนทนากลุ่มจากคนซึมเศร้า และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น -  Group Discussion for Depression Therapy
  43. หาและเข้ากลุ่ม กัลยาณมิตร หรือ หาที่ปรึกษาแนะนำช่วยแก้ปัญหาให้ได้
  44. ไปเข้าอบรม เข้าคอร์ส เรียนรู้ หลักวิชาการ ต่างๆ เพื่อทำชีวิตให้สนุกในการเข้าร่วมสังคม
  45. ฝึกสติ เพื่อช่วยให้หลับเร็วและง่าย ถ้านอนหลับยาก รีบหาวิธีแก้ไข
  46. ฝึกการนอนให้พอประมาณ 8 ชั่วโมง  ถ้าเมื่อไหร่นอนไม่หลับ รีบหาวิธีแก้ไข
  47. ศึกษากรณีตัวอย่าง คนเป็นซึมเศร้า แล้วเอาชนะได้ด้วยตนเอง ใน อินเตอร์เนท - Youtube VDO
  48. ทานอาหาร ที่มี TRYPTOPHAN เพื่อไปสร้าง SEROTONIN / DOPAMINE / ENDORPHINE / OXYTOCIN สารสุขมีประโยชน์ให้กับสมอง เช่น ผักขม ผักใบเขียวเข้ม ไข่ไก่ สาหร่ายสไปรูลิน่า ปลาแซลมอน ปลาธรรมชาติ เนยชีส โยเกิร์ต เนื้อแดง ไก่ งา เต้าหู้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ธัญพืช เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต น้ำผึ้งแท้ น้ำมันมะพร้าว ข้าวกล้องน้ำตาล/แดง/ดำ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วขาว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเขียว มันฝรั่ง เผือก ฟักทอง กล้วย อโวคาโด ลูกเบอร์รี่ เห็ดหอม หอมแดง หอมใหญ่ มะเขือเทศ ส้ม มะนาว แอปเปิ้ล ฝรั่ง สับปะรด ะละกอ แตงโม กีวี มะม่วง กระเทียม ช็อคโกแลต ดื่มชาคาโมไมล์ ***ดื่มชาเขียวแท้ หอยนางรม ผักบล๊อกคอลี่ หนอไม้ฝรั่ง ดื่มนมวัวอุ่น หรือนมถั่วเหลืองอุ่นก่อนนอน
  49. หลีกเลี่ยงอาหาร เช่น ข้าวขาว ซาลาเปา เส้นสีขาว ผงชูรส น้ำตาล น้ำตาลเทียม เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ของมึนเมา สารเสพติด บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (กาแฟ ชาเย็น น้ำอัลลม) อาหารจานด่วน FAST FOOD เค๊ก โดนัท อาหารกระป๋อง ไส้กรอก อาหารแปรรูป อาหารหวานและเค็มจัด
  50. ทานสมุนไพรอัดเม็ด ราคาถูก เช่น ใบบัวบกอัดเม็ด คู่กับ ขมิ้นชันอัดเม็ด ก่อนนอน และ ตอนเช้า อย่างละเม็ดจนหมดกระปุก แล้วหยุดทานระยะหนึ่ง ตามคำแนะนำ (ตามสูตรของ รพ.อภัยภูเบศร์)   
จัดทำและรวบรวมโดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้สอนสติพัฒนาโรคทางใจ ตั้งแต่ ต.ค. ๒๕๕๖ เป็นต้นมา

***ศึกษาอ่านเพิ่มเติมด้วยตนเอง ตามแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น จากอินเตอร์เนท ห้องสมุด ฟัง/ดูรายการมีสาระ และอ่านหนังสือ

**** ทุกวิธีจะเกิดผลได้ ด้วยการฝึกปฏิบัติทุกวันๆ ละหลายครั้ง ต่อเนื่อง 9 สัปดาห์ ในช่วงแรก และฝึกต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง ความคิดลบน้อยลงจน ความทุกข์น้อยลง ความสุขเกิดขึ้น ทำงานทำหน้าที่ได้ และนอนหลับได้ปกติ

--------------


การสอนประกอบด้วย

-หลัก16 ขั้นตอน ช่วยพัฒนานิสัย และ กิเลส ด้วยการฝึกเจริญสติ และปัญญา

(สำหรับโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรควิตกกังวล โรคตื่นตระหนก โรคกลัว โรคเครียด โรคทางใจอื่นๆ )


-16 Steps to Habit Changing by Vipassana Mindfulness Meditation and Wisdom Development

For Depression Disorder / OCD / Panic Disorder / Bipolar / Anxiety / Stress / Sleep Disorder and etc.
--------------

1. Search / Reflect - เริ่มค้นหา สะท้อน (นิสัย)
   1.1 คิดลบ
   1.2 อารมณ์ลบ
   1.3 พฤติกรรมลบ
ทางพุทธศาสนาคือ การค้นหา กิเลส ในตัวเอง
   1) มโนกรรม(ความคิด กิเลส 3-โมหะ โลภะ โทสะ / เวทนา)
   2) วจีกรรม(คำพูด)
   3) กายกรรม(พฤติกรรม)


2. Analysis – Cause Effect - มองเห็น ผล ในอนาคตที่จะตามมา และ เหตุ ของปัญหา


3. Note Down - เขียนบันทึกในสมุด เพื่อเห็นปัญหาชัด มีเป้าหมายและกลับมาทบทวน


4. Accept as a problem - ยอมรับด้วยใจว่ามีปัญหา ใน ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม


5. Goal - ตั้งเป้าหมายในอนาคต มีเจตนามุ่งมั่น และเล็งถึงผลที่จะได้รับ


6. Need to change - บอกตนว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยน โดยเริ่มแต่วินาทีนี้ วันนี้


7. Learn and Practice - ค้นหาความรู้ ได้รับการสอน ด้านทฤษฎีหลักการ ให้
เข้าใจง่ายเหมาะแก่บุคคล และ ปฏิบัติ ด้วย การเจริญสติ ที่มุ่งเน้น คนฝึกเป็นศูนย์กลาง - People Center (ไม่ใช่ รูปแบบเป็นศูนย์กลาง - Pattern Center)


8. Consistency / Intension - ตั้งใจทำ ด้วยความเพียร สม่ำเสมอ ทุกวัน ๆ ละ หลายรอบ


9. Keep Doing / Never Give Up - เมื่อขี้เกียจ ลืมทำ มีงานยุ่ง ก็ยังหาเวลาฝึกประจำ ไม่ล้มเลิก พร้อมกับจดบันทึกการฝึกในรายงานประจำวัน


10. Take Time / Patience - ฝึกเจริญสติไปเรื่อยๆ จะค่อยเปลี่ยน ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม


11. Evaluation – รายงานผลเป็นประจำ กับ อาจารย์ผู้ให้คำแนะนำสอน


12. Reward – เมื่อปรับเปลี่ยนนิสัยตนได้บางอย่าง ให้ชมเชย ในความสำเร็จ ทีละเรื่อง


13. Develop and Correct – เมื่อเกิดปัญหาให้จดรายงาน ประจำวัน ส่งอาจารย์ เพื่อเรียนรู้ต่อไป


14. Continue Practice Development – กลับไปฝึกเจริญสติ คู่ กับปัญญาความรู้ ทุกวัน


15. Success / Happiness / Habit Changed – ความสำเร็จ ความสุข การเปลี่ยนนิสัยจะเกิดขึ้น และ ความคิด อารมณ์ลบ พฤติกรรมลบ จะค่อยจางหายไป คล้ายๆ กับ ลืมนิสัยนั้นไปเลย


16. Life Learning and Practicing – นิสัยลบอาจกลับมาได้อีกหรือมีนิสัยที่ไม่ดีหลงเหลืออยู่ จึงควรฝึกไปเรื่อยๆ จนเป็นนิสัยตลอดชีวิต ยิ่งทำมาก ยิ่งดีกับการดำรงชีวิต เพราะการเจริญสติช่วย พัฒนานิสัย กระตุ้นสร้างสมองฝ่ายดี ควบคุมอารมณ์ สร้างความสุขภายใน รู้จักเหตุและผล พัฒนาการทำงาน รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้ทันคิดลบ คิดบวกเป็น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง มีความรับผิดชอบ มีการวางแผนในอนาคต สร้างความเมตตากรุณา มีจิตอาสาเป็นผู้ให้ในการช่วยเหลือสังคม อยู่คนเดียวได้ ไม่กลัวเหงา และไม่กลัวความตาย


*****เรียบเรียงสอน เฉพาะบุคคล และสอนทางไกล โดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์
ผู้ก่อตั้ง/สอนเพื่อช่วยเหลือสังคม - ชมรมศูนย์เจริญสติ-วิปัสสนา วัดลาดพร้าว กทม.
โทร 097 984 9355 Line ID: aniwat5593
email: anipetch@gmail.com
facebook : vipassana meditation thailand

-----------------------------


ตัวอย่าง ผู้เข้ารับการฝึก เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561
ขอสนับสนุนเผยแผ่วิธีการสอนเป็นวิทยาทาน เพื่อช่วยเหลือสังคม
และร่วมสนับสนุน ทุกวัด ร่วมสร้างบุคลากร และกิจกรรมเจริญสติ ในชุมชนของท่าน


ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

*****การเจริญ อานาปานสติ และ สติปัฏฐาน
คู่กับ การสอนหลัก อริจสัจ ๔ / หลักจิตวิทยา / คิดบวก และหลักเหตุ/ผล ในการบรรเทา
โรค แพนิค Panic Disorder, วิตกกังวล Anxiety และ ซึมเศร้า Depression

ผู้เข้ารับการฝึกสติ
-แม่บ้านหญิง เคยรับราชการ อายุ 64 มีสามี และลูกสาว 2 คน
ขั้นตอนการสอนเพื่อช่วยเหลือ โรคแพนิค วิตกกังวล ซึมเศร้า

1. ปัญหาที่เกิด
น้อยใจลูก ลูกไม่รัก เพราะลูกกำลังจะแต่งและจะย้ายออกไปอยู่เอง เลยคิดลบมาก เครียด
ตกใจกลัวง่าย นอนไม่หลับ หลับยาก เป็นมาหลายเดือนแล้ว ต้องกินยานอนหลับ

ช่วงหลายเดือนนี้ อยู่ๆ ก็มีอารมณ์เศร้า และร้องไห้ออกมาเอง
วันละประมาณ ๑๐ ครั้งๆ ละ ๑ นาที
ต่อมามีโรคกรดไหลย้อนเพิ่มด้วย

2. เหตุของปัญหา
เคยเป็นแพนิคมา เริ่มตั้งแต่ปี 2546
ช่วงนั้นไม่ค่อยได้นอน ทำงานขายขนม หลังเลิกงาน
เลยเจ็บป่วย นอนไม่หลับ จุกคอ ใจสั่น มือเท้าเย็น วิงเวียน
รู้สึกตัวโคลงเคลง ทำให้มีปัญหากับสามี แต่ต่อมากลับมาคืนดีกันเป็นปกติจนทุกวันนี้
ประวัติทาน ยา Zanax จาก รพ สมิตติเวช มาได้ 10 กว่าปี
แล้วย้ายไปรักษาที่ รพ อาภากรณ์ สัตหีบ หมอจ่ายยา Lexapro ให้ ทานแล้วดีขึ้น
แต่กลับมาเป็นอีก ตอนที่มีเหตุการณ์ทำให้ตกใจมาก
คือในขณะต้มกล้วยไว้ แล้วลืมปิดไฟ ใจวิตกกังวล ตกใจจนใจเต้นมาก เพราะกลัวบ้านไฟไหม้ จึงเป็นเหตุให้เริ่มกลับมามี อาการแพนิค
ตอนนี้ ทานยาแต่ Lexapro 10mg 1 เม็ด ตอนเช้า
ทานยามา สิบกว่าปีแล้ว

3. เป้าหมาย
เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ อาการร้องไห้ ตกใจง่าย คิดฟุ้งซ่าน
เพื่อบรรเทาความทุกข์
เพื่อสร้าง สติ และ ปัญญาความรู้เชิงบวก
เพื่อความสุขในตน และ ครอบครัว
เพื่อลดยาลง จนกระทั่งหยุดยาได้ จาก ความเห็นของแพทย์

4. วิธีการฝึก
-เตรียม สมุด จนบันทึก การสอน หลักการ คิดบวก การสนทนา สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเหตุการณ์ระหว่างวัน
-สอนเรื่อง ความคิดลบ อารมณ์ลบ ความรู้สึกทางร่างกาย/ใจ และพฤติกรรม
-สอนให้ฝึกกระตุ้นสมอง คิดบวก ในเรื่องลูก และความคิด อารมณ์ตนเอง
-สอน วิธีการเจริญสติ ด้วย อานาปานสติ คู่ กับ สติปัฏฐาน
ในการรับรู้ต่างๆ โดยเฉพาะฝึกให้รู้ทัน ความคิด และ อารมณ์
เมื่อรู้ทันแล้ว เพียงรู้เฉย ปล่อยวาง จากนั้นย้ายไปรับรู้อารมณ์อื่นๆ แทน หรือ ย้ายไปทำกิจกรรม ภารกิจ หน้าที่ อื่น เพื่อไม่ให้จมไปกับ อารมณ์

*****การเจริญสติ ฝึกทำใน 4 อิริยาบถ ดังนี้
1) นั่งสติ - เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ครั้งละ 15 นาที หรือทำเพิ่มได้เมื่อมีเวลาว่าง
2) เดินสติ - ทำครั้งละ 15 นาที ร่วมกับนั่งสติ
3) สติในระหว่างวัน - ฝึกทำเองทุกวัน แล้วรายงานการฝึกช่วงเย็น
4) นอนสติ – เพื่อให้มีสติ ปล่อยวางความคิด ทำให้หลับเร็ว

ช่วงค่ำให้บันทึกการฝึกลงในตารางการฝึกทุกวัน และเล่าเหตุการณ์ประจำวันด้วย โดยส่งกลับทางไลน์ อาทิตย์ละหน
-สอนให้เพิ่ม การดื่มน้ำเปล่าทุกชั่วโมงให้ได้วันละ
อย่างน้อย 2 ลิตร
-สอนให้ ฝึกการแกว่งแขน 200 - 500 ครั้ง หลังดื่มน้ำ ก่อน เจริญสติ เพื่อให้เลือดหมุนเวียน
เพิ่มคุณภาพเลือดไปเลี้ยงสมอง
-สอนให้ทานอาหารสุขภาพ ข้าวกล้อง ผัก ธัญพืช
ในช่วงค่ำ ให้ลดปริมาณอาหาร ระวังน้ำตาล
เพื่อช่วยโรคกรดไหลย้อน
-ให้ทานสมุนไพร ขมิ้นชัน คู่ ใบบัวบก อัดเม็ด อย่างละ 1 เม็ด ช่วงค่ำ และ หลังอาหารเช้า และหยุดทานเป็นระยะ
เพื่อบำรุงเลือด และสมอง ด้วยสมุนไพรธรรมชาติ 
-ให้ทานผลไม้สลับกัน ทุกวัน ช่วงท้องว่าง ไม่ทานหลังอาหาร

5. ผลที่ได้รับ
เริ่มฝึกตั้งแต่ วันที่ 17 เมษายน 2561
เมื่อผ่านไปเกือบ 2 อาทิตย์ ในวันที่ 30 เมษายน
ได้ฝึกเจริญสติ ประจำทุกวัน เข้าใจที่สอน
ทันความคิด อารมณ์มากขึ้น
ตอนนี้ไม่ร้องไห้เลย เข้าใจลูก คิดบวกได้ เฉยได้แล้ว
ความทุกข์หายไปราว 80-90%
แต่วันนี้ไป รพ. รู้สึกเหนื่อย คนมาก เลยมีใจเต้นแรง แต่คิดบวกได้ทันใน รพ. ที่มีคนมาก
ฝึกทำได้ดี และคิดบวกมากขึ้น ตอนนี้มีความสุขสงบ รู้เฉย ปล่อยวางได้มาก
ส่วนอาการ กรดไหลย้อน ตอนนี้ ดีขึ้นมากแล้ว เริ่มหยุดยา แต่ยังมีแน่นๆ นิดหน่อย

-สอนให้ฝึกต่อเนื่องไปตลอด เพราะอาจกลับมาเป็นได้อีกในอนาคต เมื่อมีสิ่งกระตุ้น
-ให้ฝึกต่อเนื่องไปอีก 3 เดือน เมื่อครบแล้ว ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอลดยา

กรณีตัวอย่างนี้ - สิ่งที่ทำให้อาการบรรเทาอย่างรวดเร็ว
เพราะมีระเบียบวินัย มุ่งมั่น ตั้งใจฝึกเจริญสติปฏิบัติเองที่บ้าน มีศรัทธา เข้าใจในหลักการ ทำการบ้าน 
และโทรทางไกล ส่งรายงานผลเป็นประจำ ทางไลน์

นอกจากกรณีนี้แล้ว การเจริญสติ ได้ช่วยเหลือ
โรคซึมเศร้า / วิตกกังวล / เครียด / นอนหลับยาก / ย้ำคิดย้ำทำ มาแล้วอย่างได้ผลดี 
ถ้าผู้ฝึก ได้ปฏิบัติตามเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 3 เดือนช่วงแรก และประเมินผลต่อเนื่องอีก 1 ปี

*****ทุกท่านที่เคยฝึกจนมีอาการดีขึ้นมากแล้ว ยังต้องฝึกเจริญสติต่อเนื่องไปตลอด 
ถ้าหยุดปฏิบัติเพราะคิดว่าดีขึ้นมากแล้ว ในอนาคตท่านมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นอีกได้
การเจริญสติ คือ การป้องกันมิให้กลับมาเป็นซ้ำในระยะยาว อย่างได้ผล 
ตามหลักสูตรเจริญสติสากล เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ 
(MINDFULNESS-BASED RELAPSE PREVENTION - MBRP 2010)

---------------------------------------

ผู้เข้าการฝึกที่ผ่านมาแล้ว



โรคซึมเศร้า Depression Disorder


โรคย้ำคิดย้ำทำ OCD Obsessive Compulsive Disorder

โรคย้ำคิดย้ำทำ OCD Obsessive Compulsive Disorder

โรคซึมเศร้า Depression Disorder

โรคซึมเศร้า Depression Disorder

โรคย้ำคิดย้ำทำ OCD Obsessive Compulsive Disorder

โรคซึมเศร้า Depression และโรคสมองเสื่อม Dementia

โรคซึมเศร้า Depression Disorder

โรคซึมเศร้า Depression Disorder

โรคตื่นตระหนก วิตกกังวล PANIC DISORDER

โรคตื่นตระหนก วิตกกังวล PANIC DISORDER
-------------------

ตัวอย่าง การสอนการเจริญสติ บรรเทา โรคแพนิค (PANIC & ANXIETY DISORDER) 



โรคทางใจต่างๆ สามารถเบาเทาและช่วยรักษาได้ด้วยการฝึกอบรมจิตโดย:
การฝึกเจริญสติอย่างต่อเนื่อง โดยใช้จิตเข้าไปปรับเปลี่ยนจิต เป็นการบำบัดทางเลือก ที่นิยมมากในต่างประเทศ โดยไม่ได้ใช้ยารักษา เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 เดือนในช่วงแรก

เชิญฟังบรรยาย สนทนากลุ่ม แลกเปลี่ยน/ออกความคิดเห็น พร้อมกับ ฝึกปฏิบัติการเจริญสติ ทุกวันเสาร์/อาทิตย์ โดยสอนแยกรายบุคคล เพื่อนำไปปฏิบัติต่อด้วยตนเองทุกวันที่ บ้าน/ทำงาน   

"การเจริญสติพัฒนาโรคทางใจ 
MINDFULNESS and KNOWLEDGE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDER AND SUFFERING"
สอนฟรี เป็นวิทยาทาน แก่ทุกศาสนา ทั้งภาษาไทย และ อังกฤษ
  
ณ ชั้น 2 อาคารปฏิบัติธรรม วัดลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 41 กทม 
***ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 15.30 ถึง 19.30 น. (หยุดทุกวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของทุกต้นเดือน)
 
***ในช่วงโควิดระบาด ตั้งแต่ ปี 2564 ทางชมรม จะเปิดสอนทางโทรศัพท์ หรือ ทางไลน์ เท่านั้น ในช่วงบ่าย วันจันทร์ ถึง ศุกร์ แทน กิจกรรม ที่ วัดลาดพร้าว ครับ

สิ่งที่ต้องเตรียมมาด้วย (เสื้อขาว / กางเกงหลวมเข้ม / ถุงเท้าดำ 1 คู่ / น้ำ 1 ขวด / สมุดใหญ่เพื่อจด และเล็กพกติดตัว อย่างละ 1 เล่ม)

โดย อ. อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ โทร 097 984 9355
***กรุณาโทรนัดล่วงหน้า