Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) - VIPASSANA MEDITATION ตามแนวของพระพุทธศาสนา

"สัตตานัง วิสุทธิยา                         --- ทำกายวาจาใจ ของสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์ หมดจด
โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ  --- ดับความเศร้าโศก ปริเทวนาการต่าง ๆ
ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ --- ดับความทุกข์กาย ดับความทุกข์ใจ
ญาณัสสะ อะธิคะมายะ                    --- เพื่อบรรลุมรรคผล
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ               --- เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง"

         ประโยชน์ของสติปัฏฐาน (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) - Vipassana Mindfulness Meditation ตามแนวของพระพุทธศาสนา มี ๓๑ ประการ

1.     เป็นธุระสำคัญที่สุดของชาวพุทธ และทำให้เป็นพุทธบริษัท ๔ ที่สมบูรณ์
2.     สามารถบรรเทาและกำจัดอารมณ์หรือนิสัยที่ไม่ดีเช่น ความโกรธที่เป็นเหตุของความทุกข์
3.     ทำให้ทุกข์ทางใจน้อยลง เพราะคลายความยึดมั่นในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ และสิ่งทั้งปวงลงได้ ซึ่งทำให้สามารถแก้ไขปัญหาทางใจได้ดี โดยไม่วุ่นวายเดือดร้อนไปตามกระแสของโลก
4.     สามารถกำจัด นิวรณ์ ๕ ประการ ที่เป็นอุปสรรคของการเจริญวิปัสสนา และสมาธิ 
ทำให้จิตนำสู่ เส้นทางของวิปัสสนาญาณ ๑๖ 
5.     ทำให้เกิดความอดทนต่อความยากลำบากได้ดี เช่น การรอคอย การเดินทาง และในชีวิตประจำวัน
6.     ช่วยให้จิตสงบ มีสมาธิ อารมณ์ และความจำดี
7.     ช่วยให้ศึกษาเล่าเรียนดี สติปัญญาเฉียบแหลม และรู้เท่าทันความคิดฟุ้งซ่าน
8.     ช่วยปรับเปลี่ยนนิสัยของตนเอง
9.     ช่วยแก้ปัญหาครอบครัว
10.  ช่วยแก้ปัญหาสังคมได้
11.  ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไร้โรคเบียดเบียน เพราะทำให้ไม่เกิดความเครียด ซึ่งเป็นเหตุของโรคมากมาย
12.  ป้องกันกิเลสและทำลายกิเลสทุกระดับ อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ ลงไปด้วย
   จิตใจที่มั่นคง รู้เท่าทันอารมณ์ภายในตนเอง และไม่เผลอตามสิ่งเร้าหรือสิ่งยั่วยุจาก
   สิ่งแวดล้อมภายนอก
13.  ช่วยให้เกิดปัญญาในการลดละกิเลสในใจ ทำให้ความทุกข์ลดลง และความสงบสุขมากขึ้น
14.  ได้บุญสูงสุด เพราะได้บุญมากกว่า การรักษา ศีล หรือ การทำทาน
15.  ทำให้ความเห็นแก่ตัวน้อยลงและเสียสละบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น ครอบครัวและสังคม
16.  เป็นการพัฒนาต่อตนเอง, การทำงาน, การช่วยงานครอบครัวมากขึ้น, การเป็นเพื่อนที่ดี  
   และการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
17.  ทำให้เกิดหิริและโอตตัปปะ คือความเกรงกลัวและละอายต่อบาป ทางกาย วาจา และใจ
18.  พัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมในใจให้มีมากขึ้นตามลำดับ
19.  ช่วยรักษาโรคบางอย่างได้ เมื่อเจริญวิปัสสนาถึง สังขารุเบกขาญาณ ที่ ๑๒
20.  ทำให้เกิดศรัทราในเรื่อง กฎแห่งกรรม มีอยู่จริง
21.  ทำให้เกิดศรัทราในเรื่อง ชาติหน้า มีอยู่จริง
22.  ทำให้เกิดศรัทธาในคำสอนของพระพุทธศาสนา
23.  ทำให้ปิดประตูอบายภูมิ ๔ เมื่อเจริญวิปัสสนาได้ถึง วิปัสสนาญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณ (จุฬโสดาบัน-ไม่ตกอบายภูมิ ๔ ในชาติต่อไปเท่านั้น) และ เมื่อปฏิบัติถึง วิปัสสนาญาณที่ ๑๖ ปัจเวกขณญาณ (โสดาบัน-ไม่ตกอบายภูมิ ๔ ตลอดไป) 
24.  สามารถบรรลุความเป็นอริยบุคคลตั้งแต่ โสดาบัน เป็นต้น ซึ่งเป็นบุญและมีคุณค่าสูงสุด
   สำหรับมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่แบ่งชนชาติ ฐานะ ตำแหน่ง หรือการศึกษา
25.  เข้าถึงสมาธิสุข (ความสุขในใจภายใน) ที่เป็นความสุขขั้นสูงในปัจจุบันได้ ซึ่งมากกว่า กามสุข (ความสุขทางโลก), ได้เสวยผล เมื่อปฏิบัติถึง ผลญาณที่ ๑๕ และได้ดื่มรสในอริยผล อันเกิดจากการเจริญวิปัสสนา หลังจากได้ผ่านเข้าถึงอารมณ์พระนิพพานใน มรรคญาณที่ ๑๔
26.  สามารถแก้กรรมเก่าที่เคยทำไว้ ซึ่งจะปรากฏขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนา เป็นนิมิตภาพในใจ พร้อมกับ
   เวทนาที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่เจ้ากรรมนายเวรได้รับ
27.  ทำให้เกิดศรัทราในเรื่อง บุญบาป มีอยู่จริง
28.  ตัดวัฏฏสงสารได้ตามกำลังมรรค ทำให้การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ ลดลง
29.  สามารถอธิษฐานเข้า "ผลสมาบัติ" (สำหรับผู้ผ่าน วิปัสสนาญาณ ๑๖ รอบที่ ๑ - โสดาบัน / 
   รอบที่ ๒ - สกทาคามี) และ "นิโรธสมาบัติ" (สำหรับผู้ผ่าน  วิปัสสนาญาณ ๑๖ รอบที่ ๓ – อนาคามี)
30.  ทำให้เกิดศรัทราในเรื่อง พระนิพพาน มีอยู่จริง
31.  ทำให้จิตเข้าถึงพระนิพพานในอนาคตอันใกล้


อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์:

อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์, “การศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนว
ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”, วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, 
สาขาวิชาพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย๒๕๔๙หน้า ๔๓-๔๔.

---------------------------------------


วิปัสสนากัมมัฏฐาน - เหมาะแก่บุคคล ๒ ประเภท


                 .  คนที่มีความทุกข์ทางใจ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมหาเศรษฐี ดารา นักร้อง หรือนายกรัฐมนตรี ย่อมมีความทุกข์ทางใจ ไม่มากก็น้อย เพราะธรรมชาติของจิต ย่อมมีการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ จึงทำให้จมติดและปรุงแต่งอยู่กับความทุกข์ หากปล่อยวางไม่ได้ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในจิตใจ  แม้จะมีเงินทองก็ซื้อความทุกข์ให้หายไปไม่ได้  ทุกครั้งที่เกิดความทุกข์ใดๆ ย่อมเผาตัวเองให้ได้รับทุกขเวทนา และเป็นการทำลายสุขภาพทางกายไปด้วยพร้อมกัน
           .  คนที่แสวงหาความสุขที่สูงกว่ากามสุข ที่ตนเคยมี ซึ่งเป็นความสุขในการเข้าถึง สมาธิสุข ของจิต จนกระทั่งถึง ความสุขสูงสุดของมนุษย์คือ นิพพานสุข

     วิปัสสนากัมมัฏฐาน - การพัฒนาสังคม ๗ ระดับ

           วิปัสสนากัมมัฏฐานคือการอบรมพัฒนาจิตของมนุษย์ เพื่อให้ลดละกิเลส(โมหะ โลภะ โทสะ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุดโดยวัดผลได้เป็นรูปธรรม  ผู้ใดได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนาจนบรรลุสู่อารมณ์พระนิพพานแล้ว ผู้นั้นจะเกิดการพัฒนาจิต ให้เกิดปัญญาและความสุขต่อตนเองก่อน แล้วค่อยๆ ขยายพัฒนาสู่บริบทของสังคม ในระดับกว้างออกไปถึง ๗ ระดับ ดังนี้

๑.     การพัฒนาตนเอง
ความทุกข์ทางใจของมนุษย์ล้วนเกิดขึ้นจากการเข้าไปยึดมั่น หลงใหล และปรุงแต่งกับอารมณ์ไม่ว่าสุข หรือทุกข์ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นปัจจัยทำให้เกิดความคิด คำพูด หรือการกระทำ  ผู้ใดได้ฝึกเจริญสติจนบรรเทา ลดละ และไม่ยึดติดในกิเลส ๓ ได้แล้ว ความทุกข์ทางใจย่อมจะไม่เกิด  ส่วนปัญหาในชีวิตประจำวันของเรื่องส่วนตัว ครอบครัว หรือการทำงาน โยคีต้องหาความรู้อย่างมีเหตุผล มาช่วยแก้ไขเพิ่มเติมด้วย จึงจะได้ทั้งทางโลกและทางธรรม  แม้ว่าบุคคลจะไม่มีความทุกข์ทางใจ แต่ถ้าต้องการแสวงหาความสุขที่สูงกว่ากามสุข ที่ตนเคยมี สามารถฝึกฝนอบรมเพื่อ เพิ่มความสุขที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่ากามสุข (ระดับ ๑) สู่ สมาธิสุข (ระดับ ๒) จนถึงความสุขสูงสุดคือ นิพพานสุข (ระดับ ๓) ได้ด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน
              วิปัสสนากัมมัฏฐานไม่ใช่การเรียนรู้แค่ทฤษฎีหรือความเข้าใจ แต่เป็นการฝึกฝนเพื่อเข้าถึงจิตภายใน ซึ่งทำให้เข้าใจเรื่องการทำงานของจิต, การรู้จักอารมณ์ต่างๆ ภายในจิต และวิธีจัดการอารมณ์ (อกุศลหรือกิเลส) เช่น โลภหรือโลภะ (ความสุข ความยินดีพอใจ ความยึดติด ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น), โกรธหรือโทสะ (ความโมโห ไม่พอใจ ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น) และหลงหรือโมหะ (ความคิดฟุ้งซ่าน เหม่อลอย ขาดสติ เป็นต้น)  คนจำนวนมากไม่มีโอกาสได้ศึกษาและเรียนรู้ เรื่องของจิตหรืออารมณ์ภายใน เพราะเรียนแต่วิชาการทางโลกเพื่อประกอบอาชีพ คงไม่มีใครโต้แย้งได้ว่าคุณค่าสูงสุดของมนุษย์คือเรื่องของจิต  การศึกษาเรื่องจิตช่วยให้สามารถควบคุมตนเอง สู่พฤติกรรมที่ดี (กุศล)ในระดับความคิด (มโนกรรม-ใจ) คำพูด (วจีกรรม-วาจา) และการกระทำ (กายกรรม-กาย)
              ผลของวิปัสสนากัมมัฏฐานอีกเรื่องที่สังเกตุได้ชัดเจน สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เวลาหนึ่ง คือการมีหิริโอตตัปปะ 
     (การละอายและเกรงกลัวต่อความผิด) ที่เกิดขึ้นเอง ทางกาย วาจา ใจต่อผู้อื่น  แม้แต่ความคิดเล็กน้อย หรือคำพูดที่ไปกระทบผู้อื่นยังผุดขึ้นในใจ เพื่อเตือนตนเองในภายหลัง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีสติรับรู้ และรู้สึกผิดจนไม่กล้าทำผิดเรื่องใหญ่โต เช่น ละเมิดศีล ๕ เป็นต้น  หิริโอตตัปปะที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้นั้นเกิดศรัทธา ในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ที่จะถูกบันทึกเก็บไว้ในจิต ไม่ว่าบุญหรือบาป ทำให้ผู้นั้นยอมรับและเชื่อมั่นในเรื่องกฏแห่งกรรม
         วิปัสสนากัมมัฏฐานคือกระบวนการฝึก เพื่อเสริมสร้างสติกำหนดระลึกรู้อารมณ์ โดยไม่ติดหรือปรุงแต่ง ไปกับทั้งอารมณ์ใดไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์ จนจิตเกิดปัญญาในการลดละกิเลส ๓ (โมหะ โลภะ และโทสะ) ซึ่งสอดคล้องกับการฝึกฝนในระดับ จิตสำนึก (Conscious-จิตรับรู้ทั่วไปในระดับตื้นเพื่อแก้ไข, ปรับเปลี่ยนและพัฒนา จิตใต้สำนึก (Subconscious - จิตในระดับลึกที่เก็บสะสมนิสัย หรือพฤติกรรมตามหลักจิตวิทยาตะวันตก เพราะวิปัสสนาสามารถนำพาจิตลงสู่เบื้องลึก เพื่อเปิดจิตใต้สำนึก แล้วชำระล้างกิเลส ๓ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี ในจิตใต้สำนึกทางด้าน ความคิด, คำพูดและการกระทำ
              นักจิตวิทยายังได้ศึกษาทฤษฎีของจิตในเรื่อง ID, Ego, และSuperEgo ซึ่งสามารถนำมาเปรียบได้กับ พละกำลังของปัญญาจากวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อเอาชนะกิเลสและพัฒนาจิตใจดังนี้
ก)  ID เปรียบคล้ายกับกิเลส ๓(โมหะ โลภะ โทสะ) ที่เป็นสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งเป็นกำลังฝ่ายชั่วที่ไม่ดีของจิต 
ข)  Ego คล้ายกับสติที่เป็นตัวระลึกรู้สันดานดิบหรืออกุศล  เหตุการณ์บางอย่างจิตจะเลือกทำตามอารมณ์ของสันดานดิบ(ฝ่ายชั่วหรืออกุศล) หรือเลือกทำตามพลังกุศลฝ่ายดี ขึ้นอยู่กับพละกำลังปัญญาที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาจาก SuperEgo
ค)  SuperEgo คล้ายกับปัญญา คือพลังกุศลฝ่ายดีที่ช่วยดึงออกจากอำนาจฝ่ายชั่วในจิต  ถ้าการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน(พลังฝ่ายดี)ไม่เพียงพอ จิตจะขาดพละกำลัง แล้วมักจะไหลไปสู่การกระทำตามใจในกิเลส ๓  แต่ถ้าฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจนทำให้มีพลังกุศลฝ่ายดีมากกว่าฝ่ายชั่ว  จิตสามารถยับยั้งกิเลส ๓ ได้ในระดับหนึ่ง แล้วเลือกปฏิบัติไปสู่ความคิดดี พูดดี และทำดี ซึ่งมีส่วนทำให้มนุษย์มีความทุกข์น้อยลงโดยใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุขทั้งแก่ตนและสังคมรอบข้าง
           ทฤษฎีของตะวันตกอีกเรื่องที่นิยมในปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์คือหลักQuotient ที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาความฉลาดด้านต่างๆ ตามหลักจิตวิทยา โดยมุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาจิตวิญญาณ ซึ่งจิตของพุทธศาสนาในฝ่ายตะวันออกที่นิยมใช้คือ วิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณ และเมื่อพัฒนาจิตตนเองได้แล้ว การพัฒนาในระดับอื่น ก็จะเกิดผลตามมาอีกหลายด้านดังนี้
              ๑)  Spiritual Quotient(SQ) คือการพัฒนาความฉลาดในจิตวิญญาณ เพื่อสันติสุขของตนและผู้อื่น  วิปัสสนากัมมัฏฐานหรือการเจริญสติปัฏฐานเป็นหลักสำคัญที่สุดของพุทธศาสนาในการพัฒนาจิตวิญญาณโดยตรง  หลังจากได้พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาแล้ว ย่อมส่งผลดีและเป็นปัจจัยต่อการพัฒนาความฉลาดทางศีลธรรม(MQ) และความฉลาดด้านอื่นๆ ต่อไป
              ๒)  Moral Quotient(MQ) คือการพัฒนาความฉลาดทางศีลธรรมในด้านกาย วาจา ใจ หรือความคิด คำพูด และพฤติกรรม ซึ่งเป็นความฉลาดทางจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ โดยเน้นไปที่ผู้มีศีลธรรม มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ประพฤติปฏิบัติในทางดีงาม และเป็นผู้มีน้ำใจช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ  เมื่อได้พัฒนาด้านศีลธรรมแล้ว ผลที่ตามมายังช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์ตัวเอง(EQ)
              ๓)  Emotional Quotient(EQ) คือการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในสติปัญญา และเป็นความสามารถของบุคคลในการนำไปสู่การเป็นคนดีและมีความสุข โดยมุ่งเน้นการเป็นคนมีอารมณ์ดีและใจเย็น ซึ่งมักจะเป็นคนมองโลกในแง่ดี ไม่เครียดและมีชีวิตที่เป็นสุข  เมื่อได้พัฒนาทางด้านอารมณ์แล้ว จิตสามารถควบคุมกิเลสทางกาย วาจา และใจได้ดี ทำให้ไม่เสียเวลาไปกับเรื่องไร้สาระ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเรียน วิชาชีพ และการทำงาน ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนาความฉลาด(IQ)
              ๔)  Intelligence Quotient(IQ) คือการพัฒนาความฉลาดในด้านความรู้ การเรียน และการทำงาน  มนุษย์ที่มีความรู้ IQ สูง มิได้หมายความว่า เป็นคนดีมีศีลธรรมทุกคน  ส่วนคนที่เป็นคนดีก็มิได้หมายความว่าจะมี IQ สูง  แต่คนดีที่ได้พัฒนาจิตวิญญาณแล้ว จะสามารถช่วยพัฒนาตนให้เรียนหนังสือเก่ง หรือทำงานเก่งได้ดีกว่าคนขี้เกียจ ตัวอย่างของฆาตกรรมหลายคดีเกิดจากผู้ต้องหามีความรู้ระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า คนเก่งมี IQ สูง ไม่ได้เป็นคนดีทุกคน
              วิปัสสนากัมมัฏฐานของพระพุทธศาสนา คืออุปกรณ์ในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาจิตได้อย่างยั่งยืนถาวร เพื่อลดความทุกข์และเสริมสร้างความสุข ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกได้ว่าเป็นการสร้างจิตพอเพียงที่นำพาไปสู่ การปฏิบัติตามแนวคิด  เศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี

๒.     ครอบครัวสันติสุข
วิปัสสนากัมมัฏฐานที่ฝึกดีแล้วสามารถควบคุม ลด และละกิเลส ๓ ในระดับหนึ่งได้  เมื่อกลับไปสู่สังคมครอบครัว สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดสันติสุขได้เช่น การปรับตัวเองให้เข้ากับครอบครัวได้ดีขึ้น, ไม่สร้างปัญหาเรื่องเดือดร้อน, ช่วยเหลืองานครอบครัวมากขึ้น, ลดความขัดแย้ง, มีความรับผิดชอบมากขึ้น และเป็นผู้เผยแผ่สร้างความดีงามแก่ครอบครัว ด้วยความเมตตากรุณาที่อยากแนะนำให้คนในครอบครัวได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนา  ถ้าหากมีบุตรธิดา ย่อมเป็นพ่อแม่ตัวอย่างที่ดีในการสั่งสอนลูกหลานให้มีวิถีชีวิตที่ดีงาม ทำให้ครอบครัวและสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

๓.     การทำงานและวิชาชีพ
วิปัสสนาช่วยให้บุคคลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ, มีความจดจ่อในการงาน และทำงานเสร็จเร็วขึ้น เพราะไม่ไปเสียเวลากับความคิดเหม่อลอยฟุ้งซ่านหรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงาน  อีกทั้งยังมีสติตามรู้จิตตนเองได้ทัน, ควบคุมความคิด คำพูดและการกระทำได้ดี, ลดอคติกับเพื่อนร่วมงาน, มีสติเข้าใจประเด็นเนื้อหาของการทำงานได้เร็ว, มีความซื่อสัตย์สุจริต, มีความอดทน, ยึดเหตุผลเป็นหลักและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง

๔.     คู่ครองและสังคมเพื่อน
บุคคลที่ได้รับการพัฒนาจิตแล้ว ย่อมไม่เอาเปรียบเพื่อน หรือนำพาเรื่องเดือดร้อนมาให้ แต่กลับมีความเมตตากรุณา โดยเป็นกัลยาณมิตรที่ดี(เพื่อนแท้)และยังชักชวนกันมาฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน  นอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบหากิเลส ๓ และเป็นอุปกรณ์ช่วยคัดสรรหาคู่ครองได้อย่างดี เพราะถ้าเลือกคนที่มีกิเลส ๓ มาก ย่อมเสี่ยงต่อเรื่องทุกข์ใจ และเรื่องเดือดร้อนในอนาคต  แต่ถ้าคู่ครองที่มีกิเลสน้อย ย่อมลดเรื่องขัดแย้ง, ทะเลาะกัน, เอาแต่ใจ หรือการเบียดเบียนเอาเปรียบกัน ซึ่งในระยะยาวย่อมจะทำให้อยู่กันได้ อย่างสันติสุขยั่งยืน  หากหญิงชายทั้ง ๒ ชักชวนกันมาปฏิบัติวิปัสสนาเป็นประจำ จะนำความสุขแก่ตนและครอบครัว ดังนั้นหากชวนใครมาฟังหลักการและวิธีปฏิบัติวิปัสสนาแล้วไม่ชอบใจ, เกิดความเบื่อ, กระวนกระวายใจ แล้วอยากรีบกลับ หรือหาข้ออ้างชวนไปทำอย่างอื่น ยกเว้นคนที่ไม่มีเวลา หรือมีงานสำคัญต้องทำแล้ว สาเหตุเป็นเพราะบุคคลไม่ได้สะสมบุญด้านวิปัสสนาภาวนามาก่อน และยังสะท้อนถึงกิเลสในใจ  แต่สำหรับคนที่สนใจ และยินดีฝึกปฏิบัติวิปัสสนาได้อย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงถึงคุณสมบัติที่ดี ควรค่าต่อการพิจารณาเป็นคู่ครอง

๕.     สังคมภายในประเทศ
วิปัสสนากัมมัฏฐานช่วยให้บุคคลมีหิริโอตตัปปะ(เกรงกลัวและละอายใจต่อบาปกรรม), รู้หน้าที่ของพลเมืองที่ดี, รับผิดชอบต่อสังคม, ไม่เอาเปรียบสังคม, ไม่อยากทำให้ใครเดือดร้อน หรือคดโกงต่อประเทศ อีกทั้งยังเป็นคนมีเหตุมีผล, คำนึงถึงสังคม และช่วยพัฒนาประเทศ
คำสอนของพุทธศาสนาเป็นแบบอย่างของหลักประชาธิปไตย เพราะพุทธศาสนาได้รับการยอมรับว่า เป็นศาสนาที่มีความเหมาะสมมาก สำหรับสังคมประชาธิปไตย  ใน ๓ ด้าน คือ เสรีภาพ  (ทำให้มีอิสระเสรีในสังคมภายใต้กฎหมาย และยังสอนให้มีอิสรภาพหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ หรือรูปนามโดยมีเป้าหมาย คือพระนิพพาน), เสมอภาพ  (คนทุกวรรณะ ฐานะ ความรู้ หรือชนชั้น มีความเท่าเทียมกัน และยังสามารถปฏิบัติได้ถึงเท่าเทียมกัน โดยไม่กีดกันแบ่งแยก) และภราดรภาพ  (ให้มีเมตตาต่อทุกชีวิตของสังคม เพราะว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เคยเป็นครอบครัวเดียวกัน)
 วิปัสสนาคือการพัฒนาพฤติกรรมให้เกิดศีล ๕ ครบบริบูรณ์, รู้จักใช้จ่าย, รู้จักเก็บออม และรู้จักลงทุน ซึ่งทำให้สังคมมีสันติสุข และย่อมสนับสนุนให้เกิดสังคม เศรษฐกิจพอเพียง  ได้อย่างยั่งยืน

๖.     สังคมโลก
เมื่อพลเมืองไม่ละเมิดศีล ๕ แล้ว ย่อมมีผลดีต่อชุมชน, สังคม และประเทศ ซึ่งทำให้เกิดสันติสุข, ความสงบเรียบร้อย และสันติภาพภายในประเทศ ความดีงามเหล่านั้น จะแพร่ขยายไปสู่สังคมโลกในวงกว้าง หากสันติภาพภายในไม่สงบ ภายนอกก็ไม่สงบเช่นกัน ดังนั้นถ้าทุกประเทศมุ่งพัฒนาจิตของพลเมือง  โลกนี้จะเกิดการแบ่งปัน, ไม่เอาเปรียบกัน, ช่วยเหลือกันอย่างสร้างสรรค์และเกิดความสงบสุข จนในที่สุดสามารถนำพาสังคมให้เกิดสันติภาพโลก และการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development)


อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์:

อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์, “การศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”, วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย๒๕๔๙หน้า ๔๓-๔๔.