Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร

            แม่ชีบุญมี เวชสาร ถึงแก่กรรม สู่สุคติสัมปรายภพ เมื่อเช้าวันพฤหัสที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลาประมาณ ๐๔.๓๐ น. นับตั้งแต่ที่ท่านได้บวชมา ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ กิจวัตรหลักและเป้าหมายของท่านคือ การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติของการบวช เพื่อมุ่งหน้าสู่ปฏิเวธ พ้นทุกข์ในอริยสัจ ๔ และเข้าสู่ความสุขสูงสุด คือพระนิพพาน ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
            ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผู้เขียนได้เริ่มฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สนทนาธรรม สอบถาม สัมภาษณ์ และฟังเรื่องเล่าต่างๆ จากคุณแม่บุญมี กับ อ.ชัยพร ชยานุรักษ์ คุณแม่จะสอนแต่เรื่องภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานเท่านั้น ตลอดระยะเวลาที่รู้จักท่าน คุณแม่จะมีจิตที่เป็นกลาง ปล่อยวางอยู่ใน อารมณ์สงบนิ่งเสมอมา สามารถควบคุมอารมณ์โลภะและโทสะได้ดีเยี่ยม โดยมิได้แสดงออกมาให้เห็นเลย เวลาทั้งหมดของท่านได้ทุ่มเทให้กับงานเผยแผ่ เรื่องการสอนวิปัสสนา ส่งสอบอารมณ์ปฏิบัติ ร่วมงานบุญ ร่วมสร้างศาสนวัตถุ ช่วยเหลือลูกศิษย์ หรือสนทนาธรรมเท่านั้น 
ลูกศิษย์ส่วนใหญ่จะเรียก แม่ชีบุญมี เวชสาร สั้นๆ ว่า คุณแม่ หรือ คุณยาย เพราะเคารพและสนิทสนมกับท่านเสมือนหนึ่งเป็น คุณแม่ หรือ ญาติมิตรสนิทที่เคารพรัก  แม้ว่าท่านจะมีลูกศิษย์มากมายหลายกลุ่มที่ไม่ค่อยรู้จักสนิทสนมกัน แต่ลูกศิษย์ทุกกลุ่มทุกคนจะศรัทธารักเคารพคุณแม่เท่ากันหมด ซึ่งแสดงถึงความเป็นกลางในความเมตตา กรุณาและอุเบกขาของคุณแม่ แก่ลูกศิษย์ทุกคนเท่าเทียม ไม่แตกต่างกัน ไม่แยกว่าจนหรือรวย คนต่างจังหวัดหรือคนกรุงฯ และ จบ ป.๔หรือปริญญาเอก  
นอกจากการสั่งสอนดูแลลูกศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกันแล้ว ท่านจะเข้าร่วมกิจกรรมของทางวัดในวันสำคัญต่างๆ ทุกครั้งไม่เคยพลาด และให้ความสำคัญมากทุกครั้ง ด้วยความเคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ทุกรูป ในวัดสัมพันธวงศ์ที่ท่านพึ่งพิงอาศัยอยู่ คุณแม่จะเมตตาตั้งใจสอนวิปัสสนาแก่ ทุกคนที่มาฝึกกับท่านเท่าเทียมกันหมด และก็ไม่เคยอวดโชว์ผู้ใดว่า ท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่มีลูกศิษย์มากมาย ท่านจะถ่อมเนื้อถ่อมตัว และนอบน้อมอย่างจริงใจ ต่อพระสงฆ์ทุกรูปในวัด เสมือนหนึ่งแม่ชีธรรมดาทั่วไป ที่มาพึ่งพาอาศัยวัดอยู่ ด้วยความกตัญญูรู้คุณของสถานที่ ซึ่งพฤติกรรมของท่านนี้เอง ที่ทำให้พระผู้ใหญ่ในวัดไว้วางใจ และสนับสนุนคุณแม่ในทุกๆ เรื่อง ลูกศิษย์ใกล้ชิดจะทราบถึงเรื่องเหล่านี้ดี  ถึงแม้ว่าคุณแม่จะมีชื่อเสียง ด้านการสอนวิปัสสนาและมีผู้คนจำนวนมากโทรมาที่วัด เพื่อติดต่อหาคุณแม่ก็ตาม ท่านยังคงประพฤติตนได้ อย่างถ่อมเนื้อถ่อมตัวมาตลอด
นอกจากประวัติของท่านแล้ว จะขออนุญาตเล่าเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ที่แสดงถึงจิตที่เข้มแข็งของคุณแม่ในการควบคุมโทสะได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อหลายปีก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรม ลูกศิษย์ที่หวังดีกับคุณแม่ ได้พาคุณแม่ไปรักษาแพทย์ทางเลือกแถวชานเมืองกรุงเทพฯ ด้วยวิธีทาน้ำมันจนทั่วท้อง จากนั้นก็กดนิ้วชี้ลงที่ท้อง กวาดวนเวียนไปมาอย่างรุนแรงมากอยู่หลายนาที  คุณแม่แม้ในขณะนั้นจะมีอายุมาก ป่วยหลายโรค และมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง  แต่ในขณะที่อาจารย์กดนิ้วชี้ และกวาดท้องคุณแม่ไปนั้น ท่านจะมีสีหน้านิ่งๆ เหมือนนอนเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไรเลย ซึ่งแสดงถึงจิตใจที่มีสติสมาธิที่เข็มแข็งมาก  และวางเฉยต่อเวทนาได้จริงๆ เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ไปรับการรักษา จะร้องโอยโอยกันจนกว่าอาจารย์จะกดกวาดท้องเสร็จ หลังจากกดกวาดเสร็จ พอกลับไปบ้านวันรุ่งขึ้น จะเกิดอาการเขียวช้ำดำไปทั้งท้อง ซึ่งต้องรอเกือบเดือน ถึงจะหายเป็นปกติ หลังจากรับการรักษา คุณแม่มีอาการเขียวช้ำไปทั่วท้องเช่นกัน  จากการไปรักษาครั้งนั้นพิสูจน์ได้ว่า คุณแม่วางเฉยต่อเวทนาหรือโทสะได้ ในระดับสูงจริงๆ ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพจิต การมีสติทนต่อเวทนาอย่างรุนแรงได้ และการฝึกฝนที่ทำให้จิตเข้าถึง พุทธธรรมที่อัศจรรย์บางอย่างที่น้อยคนนักจะเข้าถึงได้
นอกจากเวทนาหรือโทสะแล้ว ก็ไม่เคยเห็นคุณแม่มีการแสดงออก ด้านอกุศลอื่นๆ เช่น ความโลภะ ลำเอียง พูดอวดอ้าง บ่น จู้จี้ ขี้อ้อน หรือ  ยอมแพ้ต่อการสอน ในเหตุการณ์ใดๆ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่ ท่านกำลังมีสุขภาพไม่ดีเอามากๆ  หลายต่อหลายครั้งที่ท่านได้สนทนาธรรมสอนลูกศิษย์ จนกระทั่งหมดสติน็อคไป คาเก้าอี้หรือตั่งที่นั่งอยู่ หรือบางครั้งที่หลังจากลูกศิษย์ไปแล้ว ท่านจะป่วยมาก จนต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที เหตุผลที่คุณแม่ไม่หยุดสอนหรือพูดธรรมะ แก่ลูกศิษย์ทุกคนที่มาเยี่ยม เพราะคุณแม่มีเมตตา ท่านรู้ว่าลูกศิษย์ส่วนใหญ่เดินทางมาแดนไกล เพื่อเยี่ยมเยียน ให้สอนวิปัสสนาหรือสนทนาธรรมด้วย
คุณแม่มีความอดทนอย่างสูงมากต่อเวทนาและความเจ็บป่วยหลายโรคที่ท่านเป็นอยู่ ท่านจะไม่เคยบอกลูกศิษยสักคำเดียวเลยว่า “ไม่ไหวแล้วลูก ขอพักก่อน” ตรงกันข้ามท่านกลับคุยต่อในท่าทางปกติไปเรื่อยจนกว่าจะจบสนทนา  ลูกศิษย์ที่รู้ทันสภาพร่างกายของคุณแม่จะช่วยป้องกันโดยการถามคุณแม่ว่า คุณแม่มีอาการรู้สึกอย่างไรบ้าง จนช่วงหลังๆ ต้องถามเพื่อให้ท่านตอบว่า ถ้าจาก 0-100 ตอนนี้ท่านปวดประมาณกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว เพราะรู้ว่าท่านไม่เคยมุสาโกหกเลย ท่านถึงจะตอบตรงตามความเป็นจริง พวกเราถึงยอมเลิกสนทนา กับท่านและจากไปด้วยความเสียดายในเวลาที่จำกัด แม้ว่าอยากจะคุยอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ก็ตาม  ถึงกระนั้นลูกศิษย์หลายท่านก็ยังไม่รู้อยู่ดี ว่าคุณแม่ไม่ค่อยสบาย เพราะหน้าตาท่านจะเฉยๆ ดูไม่ออกว่าป่วย และไม่เคยแสดงอาการ หรือบ่นออกจากปากแสดงความเจ็บป่วยนั่นเอง
จากการสังเกตเห็นผู้ที่เข้าพบกับคุณแม่ แทบทุกท่านอยากจะนั่งคุยกับท่านเพลินๆ ไปทีละหลายชั่วโมงครึ่งวัน หรือทั้งวันยังได้เลย  คุณแม่ยังมีลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา และฝึกวิปัสสนาผ่านโทรศัพท์ทางไกลจากต่างประเทศหลายคน  ลูกศิษย์คุณแม่ที่อยู่อังกฤษท่านหนึ่งที่ศรัทธาคุณแม่ ถึงกับเอยปาก ยกที่ดินหลายไร่ให้คุณแม่ เพื่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม แต่คุณแม่ก็ไม่รับการบริจาค กลับตอบปฏิเสธไป ด้วยเหตุผลที่ท่านมีอายุมากแล้ว ไม่พร้อมที่จะบริหารจัดการ เพราะสุขภาพท่านไม่ค่อยดีในช่วงหลังๆ เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้ง 
คุณแม่เคยได้เล่าเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของท่านในอดีตให้ฟังว่า คุณแม่เริ่มฝึกแนวพองยุบมาตั้งแต่แรก จนต่อมาได้มาฝึกจริงจัง กับพระอาจารย์ใหญ่(พระภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ) วิปัสสนาจารย์สายพองยุบชาวพม่ารูปแรกที่มาสอนในประเทศไทย ผู้ที่มีคุณูปการอย่างสูงต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชน  ท่านได้รับนิมนต์จาก พระพิมลธรรม(อาจ อาสโภ) มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์เผยแผ่สอนในประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ ที่วัดมหาธาตุฯ คณะ ๕ กรุงเทพฯ ต่อมาได้ย้ายไปสอนที่ สำนักวิเวกอาศรม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จนกระทั่งท่านมรณภาพไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา  จุดเริ่มต้นในการนิมนต์ครั้งนั้น ก่อให้เกิดวิปัสสนาจารย์ และสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน กระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้เคยฝึกรูปแบบพองยุบมาแล้ว น่าจะเกือบหรือมากกว่า ๑ ล้านคน ปัจจุบันวิปัสสนากัมมัฏฐานยังคงเป็นที่นิยมมาก แก่ทั้งชาวพุทธ และชาวต่างประเทศ ที่สนใจเรื่องการเจริญสติ หรือที่สากลเรียกกันว่า Mindfulness Meditation  ซึ่งเป็นงานเผยแผ่หลักด้านวิปัสสนาธุระและคันถธุระ  ในหลายประเทศของพระธรรมฑูตสายมหานิกายของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การสอนวิปัสสนาแนวพองยุบในประเทศไทยที่คุณแม่สอนอยู่นี้ เกิดขึ้นมาได้จากหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “พระวิสุทธิมัคคเผด็จ” ที่ถูกอ่านโดย พระพิมลธรรม(อาจ อาสโภ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ในช่วงก่อนปี พ.. ๒๕๐๐  หลังจากอ่านจนจบแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและกล้าคิดกล้าทำของท่าน ประกอบกับเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามรูปแบบในคัมภีร์ที่ปัจจุบันเรียกว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่รจนาขึ้นจากประสบการณ์การปฏิบัติวิปัสสนา และทฤษฎีในพระไตรปิฎกมาเรียบเรียงขึ้นจนสำเร็จในช่วงปี พ.. ๑๐๐๐ เป็น ๓ ภาคส่วน คือ ศีลนิเทศ สมาธินิเทศ และปัญญานิเทศ  หนังสือวิสุทธิมรรคคือคัมภีร์สำคัญ สำหรับโยคีผู้เจริญวิปัสสนาสายพองยุบทุกท่าน และยังเป็นต้นฉบับที่สรุปย่อ เรื่องไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ศึกษาง่ายด้วยการเรียบเรียงจากในพระไตรปิฎก จนกลายเป็นคัมภีร์ปริยัติธรรมศึกษา สำหรับพระสงฆ์ไทย ที่ใช้ในการศึกษาภาษาบาลี เปรียญธรรมประโยค ๘ และ ๙ ในปัจจุบัน
คุณแม่เล่าให้ฟังต่อเรื่องประวัติและประสบการณ์ปฏิบัติวิปัสสนาของคุณแม่กับพระอาจารย์ใหญ่ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ที่สำนักวิเวกอาศรม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี  คุณแม่ได้ตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนา โดยกำหนดอารมณ์ทั้งวันตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับไป โดยไม่คุยเล่นหรือนั่งเล่นที่ไหนเลย ตลอดเวลาที่ไปฝึกท่านจะกำหนดเจริญสติ อย่างต่อเนื่องทั้งวัน และไปสอบอารมณ์ วันละครั้งกับหลวงพ่อใหญ่ (คุณแม่จะเรียก พระอาจารย์อย่างนั้น) คุณแม่บอกว่าหลวงพ่อใหญ่จะสอน ให้กำหนดเสียง และทุกอารมณ์ที่ปรากฎด้วย ไม่ใช่แต่ข้างในอย่างเดียว โดยจะไม่ให้กำหนดจี้ เพ่ง บังคับ หรือจมอยู่กับอารมณ์ใด  คุณแม่เน้นว่าท่านสอนให้กำหนดเสียงด้วยว่า ยินหนอ ซึ่งคุณแม่เอายินหนอมาใช้กำหนด ในเวลาขณะที่ท่านจมสมาธิ หรือช่วงที่มีสมาธิมากเกินไป ท่านเล่าว่า ท่านแก้สภาวะจมสมาธิ ด้วยวิธีกำหนดสติขยับย้ายไปแตะ ยิน ยิน ถูก ถูก ไปเรื่อยๆ แม้บางครั้งกำหนดบริกรรมจะไม่ค่อยออก ก็ใช้เพียงจิตที่รู้ไปแตะ รู้ยิน รู้ยิน รู้เย็น รู้ถูก รู้นิ่ง รู้อารมณ์ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีองค์บริกรรมเป็นคำในใจ ท่านบอกว่าบางครั้งยิ่งบริกรรม ยินหนอในใจ ยิ่งทำให้จมสมาธิ เพราะท่านยังบอกอีกว่าท่านมีสมาธิมากเป็นฐานอยู่แล้ว และในบางครั้งท่านจะบริกรรมไม่ออก
คุณแม่เอ่ยปากชมเชยหลวงพ่อใหญ่ว่า สอบอารมณ์ได้เก่งและละเอียดที่สุด ไม่มีท่านใดสอนได้ลึกซึ่ง เหมือนหลวงพ่อใหญ่เลย แม้ว่าจะได้เคยเดินธุดงค์ ไปหลายจังหวัด ผ่านวัดต่างๆ และได้กราบพบเจอพระสงฆ์มามากมายก็ตาม แต่ก็ไม่มีใครสอนได้ดีละเอียดเท่ากับหลวงพ่อใหญ่  คุณแม่สอนต่อว่า การปฏิบัติวิปัสสนาทำให้เรามีความทุกข์น้อยลง และทำให้เกิดความสุขทางใจมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการเจริญสติ กำหนดรูปกับนามไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนเห็นพระไตรลักษณ์ หลังจากนั้นปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน โดยกำหนดสติ ให้ทันตามอารมณ์ อย่างเป็นธรรมชาติไปเรื่อยๆ จะเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาญาณ ๑๖ ในไม่ช้า สุดท้ายปัญญาในการลดละกิเลส จะเกิดขึ้นเองในใจ โดยไม่ต้องนึกคิดหลักธรรม หรือท่องจำในตำราคัมภีร์ เพราะถ้าจำธรรมะได้ แต่ไม่ปฏิบัติ จิตก็ยังมีกิเลสอยู่ คุณแม่บอกว่า “มันเป็นเพียงความจำหรือสัญญา ยังไม่ใช่ปัญญาแท้” 
ผมเองได้ไปฝึกปฏิบัติวิปัสสนาที่วิเวกอาศรมในปี พ..๒๕๓๖ ในสมัยพระอาจารย์ชาลี จารุวณฺโณ (วิปัสสนาจารย์ลูกศิษย์หลวงพ่อใหญ่ ที่เป็นผู้ช่วยสอน รองจากท่านในวิเวกอาศรม ได้เป็นพระธรรมทูตรุ่นที่ ๕ อยู่ประเทศอเมริกาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนปัจจุบัน) และได้มีโอกาสในการรับฟัง การสอนวิปัสสนาจาก พระอาจารย์ใหญ่ ภัททันตะ อาสภเถระ ประเด็นที่สำคัญในครั้งนั้นคือ ท่านกล่าวว่า “การปฏิบัติวิปัสสนา ให้กำหนดสั้นๆ ไม่ใช้กำหนด ขวาขวาขวาขวาขวา ย่างย่างย่างย่างย่าง หนอหนอหนอหนอหนอ ยาวๆ ยืดๆ  ท่านบอกว่ากำหนดแบบนี้ ไม่ถูกหลักวิปัสสนา” เพราะการกำหนดยาวๆ เป็นการเจริญสมถะหรือสมาธิ ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา 
ในช่วงนั้นมีพระสงฆ์ไปฝึกวิปัสสนาที่วิเวกอาศรมมากกว่าฆราวาส ส่วนใหญ่จะฝึกกันในศาลาใหญ่ชั้นล่าง ครั้งหนึ่งบังเอิญเห็นพระสงฆ์ท่านหนึ่ง เจริญวิปัสสนาในท่านั่งสมาธิ ท่านนั่งหลับตาตัวสั่นกระตุกหายใจเข้าออกอย่างรุนแรงมาก อย่างไม่เคยเห็นมาก่อนเป็นเวลานานมาก พร้อมกับเสียงลมหายใจพุบพับเข้าออกดังมาก สภาวะเช่นนี้หลายคนอาจเข้าใจว่านั่งสมาธิแล้ว จะต้องนั่งตัวตั้งตรงตลอดถึงจะถูก แต่ความจริงแล้ว ถ้าปฏิบัติจนเข้าถึงสภาวะอารมณ์ปรมัตถ์แล้ว มักจะมีสภาวะแปลกๆ ปรากฎขึ้นภายในร่างกายเอง จะไม่มีใครเลยสามารถประคองตัวนั่งตรงได้ตลอดเวลา เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นเท่ากับบังคับตัว ซึ่งเป็นการน้อมกลับเข้าสู่อารมณ์บัญญัติ คล้ายกับถอยไปเริ่มต้นใหม่นั่นเอง  การเจริญวิปัสสนานั่นมีอะไรลึกซึ้งที่เกี่ยวกับ สภาวะของจิตมากมาย อย่างพิสดารที่นึกไม่ถึง คล้ายกับฉายหนังโรงใหญ่ให้ดู ด้วยอารมณ์ที่จิตจะแสดงเกิดขึ้นเอง ในหลากหลายอารมณ์ เช่น ชัด/เบลอ ช้า/เร็ว แผ่วเบา/รุนแรง นุ่มนวล/หนักแน่น สดใส/เศร้าหมอง สม่ำเสมอ/มามาหายหาย กำหนดได้/กำหนดไม่ได้ สุข/ทุกเวทนา อารมณ์ที่หลากหลาย/อารมณ์ที่เหมือนกันหมด มี/ไม่มี คล้ายง่วง/คล้ายตื่น ดี/ไม่ดี เป็นต้น
หลังจากผ่านมาหนึ่งปี อาจารย์สอนหนังสือรุ่นพี่ นักปฏิบัติที่รู้จักกันมานาน เล่าเรื่องหลวงพ่อใหญ่ให้ฟังว่า เขาเคยเข้าร่วมคอร์สวิปัสสนากรรมฐานของคุณแม่สิริ กริณชัย และต้องการฝึกปฏิบัติเดี่ยวอย่างต่อเนื่อง เขาจึงเดินทางมาฝึกวิปัสสนา กับหลวงพ่อใหญ่ ที่วิเวกอาศรมในช่วงปิดเทอม เพราะไม่ต้องสอนหนังสือ เป็นเวลาตลอด ๓ เดือน เขาตั้งใจเอาจริงเอาจังปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน โดยแทบจะไม่ค่อยคุยกับใครเลย ยกเว้นตอนส่งอารมณ์กับหลวงพ่อใหญ่ เขาปฏิบัติได้ดีมากคล้ายๆ กับคุณแม่ เขาเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อใหญ่ชมว่าปฏิบัติได้เก่ง ตั้งใจปฏิบัติดีมาก และมีสภาวะดี หลวงพ่อใหญ่ชอบสอนคนแบบนี้ เพราะสอนไปแล้ว มีการบ้านมาส่งทุกวันไม่ซ้ำกันเลย(สภาวะ)  พอครบ ๓ เดือนก่อน จะกราบลาหลวงพ่อใหญ่ ท่านกล่าวกับอาจารย์ผู้นี้ว่า ตั้งใจทำได้ดี มีสภาวะมาส่งทุกวัน หลวงพ่อชอบสอนคนแบบนี้ ก่อนกลับหลวงพ่อใหญ่ทิ้งประโยคสุดท้ายไว้ว่า ในอนาคตให้มาเป็นลูกศิษย์ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อ  กับหลวงพ่อใหญ่อีกนะที่จังหวัดอยุธยา เพราะหลวงพ่อใหญ่อยากจะพูดภาษาไทยให้ได้เก่งกว่านี้ และจะกลับมาสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับคนไทยอีก ในอนาคตที่จังหวัดอยุธยา นี่เป็นเรื่องเล่าสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้
การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ผู้ฝึกจะต้องทำเองเห็นเองโดยที่วิปัสสนาจารย์ จะไม่สอนอะไรล่วงหน้า ทั้งไม่นิยมบันทึกสภาวะทำเป็นตำรา ให้อ่านศึกษาก่อน ผู้ที่ศึกษาแต่ปริยัติ และไม่ได้ฝึกวิปัสสนายากที่จะเข้าใจ วิปัสสนาจารย์ในอดีต จะไม่นิยมเขียนเป็นหนังสือ อธิบายในเรื่องสภาวะธรรม ที่ปรากฎจากการปฏิบัติ เพราะจะเป็นการบอกล่วงหน้าทำให้ฟุ้งซ่านเกิดการพิจารณานึกคิด ซึ่งจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีแก่ผู้ฝึกปฏิบัติ  วิปัสสนาจารย์จะให้ฝึกเองเห็นเอง ถึงจะได้ของแท้จริงที่เกิดขึ้นในใจ ทำให้จิตเดินตรงนำเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนา โดยมีเป้าหมายคืออารมณ์พระนิพพาน
การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานของคุณแม่ในช่วงแรกจะเริ่มต้นฝึกด้วยการฝึกกำหนด พองหนอ ยุบหนอ และกำหนดเดินจงกรมแบบเคลื่อนขยับขา ช้าๆ ค่อยๆ ขยับเขยื่อนเคลื่อนไปทีละน้อย หลังจากเดินจงกรมเสร็จ จะนั่งสมาธิกำหนด พองหนอ ยุบหนอ เป็นหลัก  หลังจากฝึกไปสักพักท่านบอกว่า ได้เพิ่มการกำหนดเสียง และอารมณ์อื่นๆ ด้วย ตามที่หลวงพ่อใหญ่สอนไว้ ซึ่งช่วยทำให้ไม่จมสมาธิ ตราบใดที่มีการกำหนดไปเรื่อยๆ จนเกิดสติสัมปชัญญะคล่องแคล่ว กำหนดต่ออารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นได้ทัน  จากนั้นคุณแม่ก็ได้มุ่นมั่น ปฏิบัติจริงจังไปเรื่อย จนเกิดสภาวะธรรมก้าวหน้า อยู่ในเส้นทางของวิปัสสนา จนมาถึงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ท่านเล่าว่า คุณแม่ได้เก็บเสื้อผ้าเก็บของ เพื่อจะเดินทางกลับบ้าน ก่อนกลับจะไปกราบลาหลวงพ่อใหญ่ เพราะในใจรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้อยากกลับบ้าน คิดว่าหมดบุญวาสนาแล้วในการปฏิบัติ วันหน้าค่อยมาฝึกใหม่  ในขณะที่เดินออกจากที่พักในวิเวกอาศรม คุณแม่เรียกที่พักของท่านว่า คอนโด เป็นตึกคล้ายๆ อพาร์ทเม้นท์ ระหว่างทางเดิน ท่านฉุกคิดขึ้นมาว่า “มาปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนาไม่ใช่หรือ ออกไปแล้วจะไปทำอะไร” ท่านคิดไปคิดมาอยู่ครู่ใหญ่ จนในที่สุดก็ตอบในใจขึ้นมาว่า ยังปฏิบัติไปไม่ถึงไหน ท่านจึงหันหลังเดินกลับไปที่พัก เพื่อปฏิบัติวิปัสสนาต่อ พอถึงตอนไปสนทนากับหลวงพ่อใหญ่ ท่านเอยปากชมคุณแม่ว่า คุณแม่เป็นคนอีสาน คนอีสานมีความอดทนสูง จากนั้นคุณแม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติต่อ โดยมาส่งอารมณ์ทุกวันกับหลวงพ่อใหญ่เพื่อแก้สภาวะให้ รวมเป็นเวลาต่อเนื่องราว ๓ เดือน จนเป็นที่พอใจ จากนั้นคุณแม่จึงกราบลาหลวงพ่อใหญ่ เพื่อเดินทางกลับมาพักอาศัย และเริ่มสอนวิปัสสนาแก่ญาติโยมที่กรุงเทพฯ
ตั้งแต่เริ่มสอน จนถึงราวปี พ.. ๒๕๔๕ คุณแม่ยังสอนวิปัสสนาด้วยรูปแบบ ที่ให้เดินจงกรมช้าๆ และนั่งสมาธิกำหนดพองยุบแบบเงียบๆ ไม่ให้มีเสียงดัง ในศาลาหลวงปู่แหวน วัดสัมพันธวงศ์ นับตั้งแต่เริ่มสอนมา จะมีลูกศิษย์มาฝึกปฏิบัติวิปัสสนา กับคุณแม่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่ขาดสาย ท่านได้สอนวิปัสสนาแก่ลูกศิษย์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งได้มีโอกาส สอนวิปัสสนาให้กับคุณชัยพร ชยานุรักษ์  ในช่วงแรกๆ ของการฝึกวิปัสสนา คุณแม่เล่าว่าคุณชัยพรไม่ปรากฎมีพองยุบ มีแน่นิ่งๆ ไม่เจอพองยุบ คุณแม่จึงให้ใช้การกำหนด นั่งหนอ ถูกหนอ แทนความนิ่งของอารมณ์ที่ไม่มีพองหรือยุบ วิธีนี้กลับทำให้ได้ผลดี แก่ผู้ที่ไม่มีพองยุบ เพราะทำให้ไม่จมไม่นิ่งไม่เพ่ง ช่วยให้เกิดสติกำหนดอารมณ์ต่างๆ ได้ดี และที่สำคัญทำให้เข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาได้เหมือนกัน
จากนั้นมาไม่นานคุณแม่ได้ค้นพบว่า การที่กำหนดถูกหนอ นั้นกลับได้ผลดีมากแก่ผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ และก็ถูกหลักปฏิบัติวิปัสสนาได้เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยพองหนอ ยุบหนอ เพราะว่าการกำหนดอารมณ์เป็นจุด ไม่จมอยู่กับที่ มีการกำหนดขยับย้ายไปเรื่อยๆ ทำให้เห็นพระไตรลักษณ์ได้เร็ว และนำพาจิตมุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาญาณได้แบบเดียวกับ วิธีการกำหนดพองยุบ ประสบการณ์การสอนครั้งนี้ เป็นแบบทดลองที่ดี ทำให้คุณแม่นำเอาไปพัฒนาสอนวิปัสสนา แก่ลูกศิษย์ใหม่ๆ จากที่เคยปฏิบัติยากมาก กลับกลายเป็นที่ปฏิบัติได้ง่าย จนบางท่านที่ไม่เข้าใจ และคิดไปเองว่า คุณแม่อาจจะสอนผิด เพราะสอนไม่เหมือนแนวหลวงพ่อใหญ่ ที่สอนให้กำหนดพองยุบ หลังจากนั้นคุณแม่ได้สอบอารมณ์คุณชัยพร อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน บังเอิญในช่วงนั้นคุณชัยพร มีเวลาปฏิบัติวิปัสสนามาก เข้าใจวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาได้เร็ว และปฏิบัติจริงจังต่อเนื่อง จนกระทั่งคุณแม่ทราบถึงผลของการปฏิบัติ จนเป็นที่พอใจ ท่านจึงได้เชิญคุณชัยพร และอนุญาตให้มาเป็นวิปัสสนาจารย์แทนคุณแม่ เพื่อช่วยสอนลูกศิษย์ในศาลาหลวงปู่แหวนนับแต่นั้นมา 
คุณแม่พูดเสมอว่าการจะเป็นวิปัสสนาจารย์ได้ จะต้องปฏิบัติผ่านมาหมดก่อน แล้วจึงจะสอนคนอื่นได้ ถ้าปฏิบัติไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถเป็นวิปัสสนาจารย์ได้ และจะสอนนำพาคนไปให้ถูกทางได้อย่างไร ในสมัยที่คุณแม่อยู่วิเวกอาศรม ท่านบอกว่าปีๆ หนึ่งจะมีคนผ่านน้อยมาก วิปัสสนาจารย์ในสมัยนั้นจะต้องปฏิบัติได้จริง โดยอยู่ในการควบคุมดูแลของหลวงพ่อใหญ่  ฉะนั้นคำว่าวิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนนั้น ท่านบอกว่ามันไม่ได้มาง่ายๆ  มีน้อยคนมากที่จะผ่านในแต่ละปี คุณแม่สอนต่อว่า ถ้าสอนใครไปผิดทาง จะเป็นวิบากกรรมนะลูก ไม่แน่ใจอย่าสอน
นับตั้งแต่รุ่นคุณชัยพรเป็นต้นมา คุณแม่จะสอนแก่โยคีใหม่โดย เปลี่ยนกำหนดพองยุบ มาเป็นการกำหนด ถูกหนอ ๔ จุด(อารมณ์ภายใน) โดยให้เอามือไปแตะเบาๆ ที่บนขา ๔ มุมไปมาช้าบ้างเร็วบ้าง แล้วค่อยให้กำหนดเอง พร้อมกับการกำหนดเสียง ยินหนอ(อารมณ์ภายนอก) ผสมผสานกันด้วย เพราะวิธีนี้ท่านบอกว่าได้ผลดี ทำให้เข้าสู่อารมณ์ปรมัตถ์ได้เร็ว แม้ว่ารูปแบบนี้จะเป็นวิธีแบบใหม่ ที่ไม่เหมือนกับพองยุบแบบดั้งเดิมก็ตาม แต่ฝึกไปแล้วได้ผลดีเช่นเดียวกัน 
นอกจากนั่งสมาธิไม่ใช้พองยุบเป็นการกำหนดเบื้องต้นแล้ว มิใช่ว่าไม่ให้กำหนด คุณแม่สอนว่าถ้ามีพอง หรือ ยุบ ก็ต้องกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ตามความเป็นจริงด้วย สำหรับบางท่านที่เคยฝึกมา เพราะทำไปสักพัก พองยุบจะมาเองทุกคน ที่สำคัญท่านสอนว่าอย่าไปตามพองยุบ อย่าเพ่ง อย่าจี้ อย่าจมแต่กับ พองหนอ หรือยุบหนอ  คำสอนของคุณแม่เน้นเสมอว่า “กำหนดแล้วย้ายนะลูก” ประโยคนี้จะได้ฟังบ่อยมากจากคุณแม่ เสมือนเป็นประโยคกุญแจสำคัญ ในการเจริญวิปัสสนาทีเดียว ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ สำหรับผู้ที่ได้รับการฝึก
คุณแม่จะให้กำหนดแล้วย้าย ไม่ให้จี้ ไม่ให้เพ่ง เช่นเดียวกับ คำสอนของพระอาจารย์สมภาร สมภาโร วิปัสสนาจารย์ วัดมหาธาตุฯ คณะ ๕ และวิปัสสนาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อีกท่านที่คุ้นเคยกับคุณแม่ เพราะคุณแม่ทราบว่าท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ ในช่วงรุ่นเดียวกับคุณแม่ คือเป็นศิษย์สำนักวิเวกอาศรมเหมือนกัน  คุณแม่จะให้ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ที่ต้องการทำบุญ หรือมีเคราะห์ไปถวายสิ่งของ กับพระอาจารย์สมภารเสมอ  พระอาจารย์สมภารก็กล่าวสอนวิปัสสนา ในแนวเดียวกับคุณแม่ว่า วิปัสสนาต้องไม่จี้ ไม่เพ่ง ไม่บังคับ ไม่แช่ แต่ให้กำหนดอารมณ์ ตามความเป็นจริงที่ปรากฎขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วิธีการกำหนดแล้วย้ายของคุณแม่ สอดคล้องกับการสอนกำหนดเวทนาครั้งเดียว แล้วย้ายเช่นกัน เนื่องจากรูปแบบการสอนกำหนดเวทนาในปัจจุบัน มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ กำหนดเวทนาจนกว่าจะหาย / กำหนดปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ ๓ ครั้ง / หรือ กำหนด ปวดหนอ ครั้งเดียว แล้วย้ายไปสู่อารมณ์อื่น ไม่ให้จมแช่เพ่งอยู่กับปวดหนอ เพราะบ่อยครั้งยิ่งกำหนดปวดหนอ ยิ่งปวดมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ทนไม่ได้ และเกิดการเข็ดขยาดกลัวต่อวิปัสสนาไปเลย คุณแม่และพระอาจารย์สมภาร ได้สอนในทำนองเดียวกันว่า ถ้ากำหนดปวดหนอ หลายๆ ครั้ง 
โยคีส่วนมากยิ่งกำหนดยิ่งดิ่งจมอยู่กับเวทนา ทำให้ยิ่งปวดมาก ทำให้เกิดโทสะเพิ่มขึ้น และในที่สุดจะทนเวทนาไม่ไหว ซึ่งทำให้เข็ดขยาดต่อการปฏิบัติวิปัสสนาไปเลย ดังนั้นวิธีกำหนดแล้วย้าย เป็นเทคนิคสำคัญมากช่วยทำให้ทนต่อเวทนาได้ดี และยังเป็นการเจริญสติปัฏฐานเหมือนกัน เพราะถ้ามีอารมณ์อื่นเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดอารมณ์อื่นได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องแช่อยู่กับปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ อย่างเดียว
อีกอารมณ์หนึ่งที่สำคัญมากในการสอนวิปัสสนาของคุณแม่ คือการให้กำหนดเสียงว่า ยินหนอ ท่านเน้นสอนเสมอว่าการกำหนดเสียงสำคัญมาก เพราะเสียงช่วยให้ไม่จมสมาธิ ช่วยให้คลายออกจากสมาธิ(ถ้าสมาธิมากเกินไป) ช่วยให้ไม่ติดอยู่แต่อารมณ์ภายใน และที่สำคัญช่วยทำให้ก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนา  ดังนั้นท่านจึงได้พัฒนารูปแบบการสอนในศาลาหลวงปู่แหวนโดยไม่ให้อยู่ในห้องเงียบ ด้วยการใช้เสียงกระดิ่งมาช่วย ใช้ฝ่ามือตบให้เกิดเสียงบางช่วงเพื่อช่วยในการกำหนด ใช้กบไม้มาเคาะให้เกิดเสียง และให้กำหนดเสียงที่หลากหลายภายในศาลา วิธีนี้เป็นเทคนิคและตัวช่วยสำคัญของวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานของคุณแม่ ลูกศิษย์ที่ฝึกปฏิบัติต่อเนื่องจะรับรู้และเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
การสอนเดินจงกรมของท่านยังปรับเปลี่ยนไปจากรูปแบบอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม คือ เดินจงกรมในห้องเงียบ ด้วยอาการเคลื่อนไหวที่ช้าที่สุด ในอิริยาบถค่อยๆ เคลื่อนไป กำหนดไปช้าๆ รูปแบบใหม่ที่คุณแม่พัฒนาขึ้นจากเดิม คือให้เดินจงกรม ความเร็วปกติ ไม่ให้เดินช้า เพราะท่านสอนว่าเดินช้าบางทีทำให้ไปเพ่ง และจะจมสมาธิได้ มิใช่การมีสมาธินั้นไม่ดี แต่ในการเจริญวิปัสสนา สตินั้นสำคัญมาก ถ้าสมาธิมากเกินไปจะทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติ  ฉะนั้นอารมณ์ที่สมดุลย์คือ สตินำหรือสติคู่กับสมาธิ เมื่ออินทรีย์สมดุลย์แล้วสติกับสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นเองคู่กันไปตลอดเส้นทาง จนกระทั่งสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นไปตามลำดับคู่กับสติ จนถึงสมาธิลึกสุดคืออัปปนาสมาธิ  รูปแบบการสอนเดินจงกรมของท่าน จึงปรับเปลี่ยนให้เดินเร็วปกติ ไม่ต้องเดินช้าๆ เคลื่อนเท้าที่ละนิด แต่ให้เดินธรรมดาและกำหนด ยินหนอ เห็นหนอ เย็นหนอ กลิ่นหนอ ไปด้วยนอกเหนือจากการกำหนดเดิน ถ้ามีอารมณ์อะไรปรากฎก็ให้กำหนดด้วย  ท่านสอนต่อว่าจะได้เอาไปใช้ในระหว่างวันได้ดี เพราะในชีวิตจริงของฆราวาส ระหว่างวันเราเดินเร็ว เราไม่ได้เดินช้าๆ ถ้าฝึกกำหนดเดินช้าๆ เวลาเดินเร็วจะกำหนดไม่ทัน กำหนดไม่เป็น หรือลืมกำหนด ซึ่งลูกศิษย์ที่ฝึกกำหนดเดินปกติอย่างต่อเนื่อง จะเข้าใจได้ดี เพราะสามารถนำไปเจริญสติในระหว่างวันเพิ่มมากขึ้นได้ ตามคำสอนของท่าน
นอกจากการสอนเดินและนั่งสมาธิแล้ว คุณแม่ยังเน้นและให้ความสำคัญแก่โยคี ให้ไปปฏิบัติเจริญสติในระหว่างวันด้วย ไม่ใช่แค่ฝึกเดินจงกรม และนั่งสมาธิในวัดเท่านั้น ท่านจะให้ไปกำหนดในระหว่างวันด้วย เพราะวันๆ เราทำงานหรืออยู่กับครอบครัว นานหลายชั่วโมง อย่าปล่อยเวลาไปเปล่าๆ ให้กำหนดสติด้วย และนำเรื่องราวในระหว่างวัน มาส่งอารมณ์กับคุณแม่ด้วย
         ในอดีตแม้ว่าคุณแม่จะเคยฝึกด้วยการกำหนดพองยุบ และเดินจงกรมช้ามาก่อน แต่ท่านกลับปรับการสอน ให้กำหนดถูกหนอแทนพองยุบ และเดินจงกรมปกติ แทนการเดินช้าๆ เพราะท่านเรียนรู้จากประสบการณ์การสอนลูกศิษย์จำนวนมากว่า ปฏิบัติด้วยแบบของท่านแล้วได้ผลดีเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่ารูปแบบดังเดิมนั้นผิด ท่านว่าปฏิบัติได้เหมือนกัน แล้วแต่นักปฏิบัติ  ตลอดเวลาที่รู้จักกับคุณแม่ ท่านไม่เคยบอกสักคำเลยว่า รูปแบบนั้นหรือรูปแบบนี้สอนผิด พระสงฆ์ท่านนั้นพระสงฆ์ท่านนี้สอนผิด  อีกทั้งไม่เคยบอกเลยว่ารูปแบบที่ท่านสอนอยู่นี้ ดีหรือถูกที่สุด ท่านจะไม่เคยอวดและเปรียบกับใครหรือสำนักใดๆ ทั้งสิ้น ท่านเพียงแต่สอนวิปัสสนาแก่ลูกศิษย์ที่ศรัทธา และต้องการปฏิบัติกับคุณแม่ โดยไม่ยึดติด ไม่อวดอ้าง หรือไม่เคยกล่าวโจมตีรูปแบบกัมมัฏฐานอื่นใดเลย  ใครมาก็สอนด้วยความเมตตาเท่าเทียมกันหมด และไม่เคยตำหนิว่าผู้ใด ที่ไม่ได้สนใจในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเลย ท่านเพียงแต่บอกว่า แต่ละคนมีบุญวาสนา และศรัทธาไม่เหมือนกัน จะบังคับกันไม่ได้
           ประสบการณ์การปฏิบัติของคุณแม่ในรูปแบบดั้งเดิมและการสอนในรูปแบบใหม่นี้ทำให้เชื่อว่า ท่านจะต้องมีความมั่นใจในฐานะวิปัสสนาจารย์ ที่ขึ้นทำเนียบ ของวิเวกอาศรมว่า รูปแบบการสอนใหม่ ที่ให้เดินปกติและกำหนดแล้วย้าย เป็นวิธีการที่ได้ผลดีมากกับผู้ปฏิบัติ จนกระทั่งลูกศิษย์รุ่นหลังๆ ก็มีแต่เพิ่มมาก ดังนั้นรูปแบบของการฝึกวิปัสสนาของคุณแม่ แม้จะเริ่มฝึกแตกต่างกันไปบ้าง จากรูปแบบดั้งเดิม การที่จะพิสูจน์ว่ารูปแบบนี้ได้ผลเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับอีกหลายประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอต่อไป
            ประเด็นแรก ผลที่ได้ในรูปแบบใหม่ ทุกท่านที่ฝึกต่อเนื่องจะเกิดฉันทะชอบ ยังคงมาปฏิบัติวิปัสสนาอย่างต่อเนื่องตราบจนทุกวันนี้ทุกคน ไม่มีใครเข็ดขยาด หรือกลัววิปัสสนาเลย แม้ว่าบางท่านจะมีเวทนารุนแรงมากในขณะปฏิบัติก็ตาม ยังคงมาทำต่อเนื่อง นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของการปฏิบัติ 
ประเด็นที่สอง ทุกคนที่ฝึกแล้วเกิดสติมีธรรมะขึ้นเองในใจ โดยไม่มีคนมาบอกมาพร่ำสอน กิเลส ๓ (โมหะ โลภะ โทสะ) ลดลงในระดับหนึ่งทุกคน  ตัวอย่างเช่น หลังจากฝึกไปแล้วลูกศิษย์บางท่านเคยโกรธง่าย ขี้บ่นก็ดีขึ้น เคยฆ่าสัตว์ก็เลิกฆ่าเลิกกิน เคยชอบกินเหล้าก็หยุดได้เอง เคยอิจฉาริษยาก็ลดน้อยลง เคยเปิดธุรกิจขายเหล้าก็หยุดกิจการไปเอง โดยต้องมีใครมาพร่ำสอน  เจ้าตัวเห็นเองเลิกได้ด้วยตัวเอง เกิดการพัฒนาปัญญาในใจของผู้ปฏิบัติ เกิดหิริโอตัปปะขึ้นในใจ และยังไม่เคยได้ยินใครบอกว่าปฏิบัติแล้วไม่ดีไม่ได้ผล เลยสักคนเดียว ยกเว้นท่านที่ปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง หรือเลิกทำไปเพราะขาดศรัทธา
ประเด็นสุดท้าย ทุกท่านที่ฝึกอย่างต่อเนื่องจะเกิดผล ในการครองตนให้อยู่ใน ศีล ๕ ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องบังคับ หรือมีคนมาคอยบอกคอยสั่งสอนให้ยึดศีล ๕  ส่วนใหญ่จะได้มาตรฐานในทำนองเดียวกัน พร้อมไปกับเกิดหิริโอตตัปปะ (เกรงกลัว และละอายต่อบาป) ที่บางครั้งเผลอทำไป ทางความคิด คำพูด และการกระทำต่อผู้อื่น แม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนิดเดียว ก็ยังผุดขึ้นคาอยู่ในใจหลายต่อหลายครั้งตามมาภายหลัง
ฉะนั้นการสอนทั้งเดินช้าหรือเดินเร็ว กำหนดพองยุบ หรือ ถูกหนอ ก็ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ วิปัสสนาจารย์ในการสอบอารมณ์ เพราะบางขณะที่ไม่มีพอง หรือ ยุบ ท่านจะให้กำหนดถูกหนอแทน ผลที่ได้จากการกำหนดพองยุบ หรือกำหนดถูกหนอเหมือนกัน และยังถูกหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 
สรุปเรื่องรูปแบบการสอนวิปัสสนาของคุณแม่ ที่ทำให้ผู้เขียนเชื่อมั่น ว่าสอนถูกทางใน ๓ ประเด็นดังนี้คือ ๑.คุณแม่เคยฝึกเดินช้า กำหนดพองยุบมาก่อน แล้วพัฒนาให้ฝึกเดินเร็ว กำหนดถูกหนอแทน  ๒. ผู้เขียนเคยฝึกเดินช้า กำหนดพองยุบมาก่อนเช่นกัน แล้วมาฝึกเดินเร็วและกำหนดถูกหนอ ตามรูปแบบของคุณแม่ ๓. ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเผยแผ่วิปัสสนา แก่คนฝึกใหม่ด้วยวิธีเดินเร็ว และกำหนดถูกหนอ ต่อมาได้รับเชิญ ให้ไปช่วยสอนภาคปฏิบัติ ด้วยวิธีเดินช้า และกำหนดพองยุบ แก่นิสิตปริญญาโทและเอก ในหลักสูตรภาคบังคับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นเวลา ๓๐ วัน ที่มหาจุฬาอาศรม อ.ปากช่อง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐  ฉะนั้นด้วยรูปแบบที่เคยสอนทั้งเดินเร็วและเดินช้า ผลของการปฏิบัติทั้ง ๒ วิธีปรากฎออกมาเช่นเดียวกันทุกประการ จึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่า รูปแบบเดินเร็ว และกำหนดถูกหนอถูกหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามในพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์วิสุทธิมรรค หลักวิปัสสนาญาณ ๑๖ การอธิษฐานเข้าผลสมาบัติ และการอธิษฐานทวนวิปัสสนาญาณตั้งแต่ญาณที่ ๔ ถึง ๑๒ ได้ครบทุกประการ
 การสอนวิปัสสนาด้วยรูปแบบของคุณแม่ ก่อให้เกิดผลตรงตามหลักอริยสัจ ๔ และคำสอนของพระพุทธศาสนาทุกประการ ผลจากการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญสติ ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่ลดละกิเลส ๓ (โมหะ โลภะ โทสะ) เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์สอนการเจริญสติให้เกิดผลดี กับสังคมในอีกหลายๆ ด้าน  นอกจากการลดกิเลสทั้ง ๓ แล้ว การเจริญสติ(Mindfulness Meditation) ยังเป็นเครื่องมือช่วยในการบำบัดโรคทางกายและทางจิต ที่ปัจจุบันเป็นที่นิยม แพร่หลายในหลายประเทศ และถูกนำไปประยุกต์สอนคลายเครียดตามหลักสูตร MBSR (Mindfulness Based Stress Reduction) และ MBCT (Mindfulness-based cognitive therapy) ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก  การสอนเจริญสติในระดับสากล ได้ถูกนำมาเป็นหลักสูตรเจริญสติคลายเครียด เรื่อยมาตั้งแต่ปี ค.. 1974 (.. ๒๕๑๗) ราวกว่า ๔๐ ปีมาแล้ว  ปัจจุบันในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา หลักสูตรการเจริญสติ เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมากในทุกทวีป เช่น อเมริกา ยุโรป อินเดีย เอเซีย และออสเตรเลีย  และได้แพร่หลายเป็นหลักสูตรที่มีคุณค่ามาก แก่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ด้วยการเปิดศูนย์ Mindfulness Center ภายในมหาวิทยาลัย OXFORD มหาวิทยาลัย UCLA มหาวิทยาลัย STANFORD และมหาวิทยาลัย MIT เป็นต้นทั่วโลก
หลักสูตรการเจริญสติหรือMBSR มุ่งเน้นการสอนเพื่อการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด และมีประโยชน์มากต่อการพัฒนากระตุ้นสมองส่วนหน้า ที่เรียกว่า Prefrontal Cortex ซึ่งทำหน้าที่การมีสติย้ำยั้ง การมีเหตุผล การควบคุมอารมณ์ และการตอบสนองต่อสิ่งภายนอกได้ดี อีกทั้งยังควบคุมสมองด้านในส่วนกลางที่เรียกว่า Amygdala ซึ่งแสดงอารมณ์ความกลัว วิตกกังวล โกรธ ความรุนแรง ให้น้อยลง หรือทำงานให้ช้าลงได้ผลดีมากอีกด้วย
นักวิจัยหลายท่านที่มีชื่อเสียง ได้นำเอาการเจริญสติมาสอนบำบัดผู้ป่วยในหลักสูตร MBSR ตามมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ และโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลก เช่น Dr. Jon Kabat-Zinn, Dr. Rick Hanson, Dr. Diana Winston, Dr. Bob Stahl, Dr. Richard Davidson(Neuroscientest - นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง), Dr. Dan Siegel และอีกหลายท่านทั่วโลก  นักวิจัยทั้งหมดล้วนแต่ได้เคยมาฝึกวิปัสสนา หรือการเจริญสติกับพุทธศาสนาจากสายเถรวาท, Vipassana Meditation แบบพองยุบของพม่า, สายท่านโกเอ็นก้า Goenka Vipassana, สายท่านติช นัทฮัน หรือจากสายธิเบต มาแล้วทั้งสิ้น
นอกจากประโยชน์ในการคลายเครียดแล้ว การเจริญสติยังพัฒนา ทำให้มีความสุขเกิดขึ้นอีกด้วย  ผู้วิจัยอีกท่านหนึ่งคือ Dr. Richard Davidson ได้ศึกษาวิจัยค้นหาว่า ใครคือบุคคลที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ด้วยอุปกรณ์จากการวัดคลื่นสมอง  จนในที่สุดได้ค้นพบว่า ผู้ที่มีความสุขมากที่สุดในโลกคือ Matthieu Ricard (นักบวชธิเบตชาวฝรั่งเศสที่นิยมการทำสมาธิ จนได้รับฉายาว่า ผู้ชายที่มีความสุขมากที่สุดในโลก World's Happiest Man ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Time  Magazine มาแล้ว)     
นอกเหนือจากผลดีด้านความสุข สุขภาพจิต และการพัฒนาสมองแล้ว ผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือ Mindfulness Meditation ได้ถูกวิธีและปฏิบัติต่อเนื่อง จะเกิดผลแก่ผู้ฝึกในด้าน การพัฒนาจิตวิญญาณ Spiritual Quotient - SQ, การพัฒนาศีลธรรม Moral Quotient - MQ, การพัฒนาด้านอารมณ์ Emotion Quotient - EQ and การพัฒนาความฉลาดทางปัญญา Intelligence Quotient - IQ พร้อมกันไปทั้งหมด โดยจะช่วยเริ่มพัฒนาจากภายในจิตใจสู่ภายนอก 
จากกประสบการณ์การสอนเผยแผ่แก่ชุมชน ตามแนวของวิปัสสนากัมมัฏฐาน (การเจริญสติ) ในรูปแบบที่คุณแม่สอน ทำให้เกิดการพัฒนาการสอน ผสมผสานกับความรู้ ด้านจิตวิทยาตะวันตก จนสามารถประยุกต์การสอนให้ได้กว้างขวาง แก่ทุกช่วงระดับอายุ ด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรสติพัฒนาตนเอง / สติพัฒนาการเรียน / สติพัฒนาการทำงาน / สติพัฒนาในการเลือกคู่ครอง / สติพัฒนาการเลี้ยงลูก / สติพัฒนาผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาอารมณ์ ป้องกันความจำเสื่อมและเตรียมตัวก่อนตาย / สติบำบัดโรค ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ OCD เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ติดบุหรี่ และโรคทางใจอื่นๆ (Mental Disorders)  ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคทางใจอื่นๆ มากกว่าหลายแสนคนกระจายอยู่ในทุกชุมชนทั่วประเทศ
ประโยชน์จากการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญสติที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีคุณประโยชน์มากแก่ผู้คน เพราะเป็นอาหารใจและเป็นยามหัศจรรย์ที่ไม่ใช่ยา ที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ บำบัดโรคทางใจต่างๆ และทำให้เกิดความสุขสูงสุด สำหรับผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาต่อเนื่องถึงขั้นเข้าถึงพระนิพพาน และตัดการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสังสารได้
การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะเกิดผล เกิดปัญญา และลดกิเลสได้ ด้วยการเจริญสติและปฏิบัติที่จิตจริงๆ เท่านั้น ถ้าเพียงแค่อ่านหนังสือ และจำหลักการได้ แต่ไม่เคยฝึกปฏิบัติที่จิต คุณแม่สอนว่าเป็นแค่ความจำ  ท่านพูดเสมอว่า “ท่านไม่ใช่ นักปริยัติ ไม่เก่งในวิชาการ และก็ไม่รู้ด้านตำรามากหรอก” แม้ว่าท่านจะมีความรู้ ด้านตำราน้อย แต่ท่านได้เข้าถึงจิตถึงพุทธธรรม ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา ฉะนั้นประสบการณ์ด้านปฏิบัติ สำคัญมากกว่าประสบการณ์ด้านปริยัติ ผู้ที่รู้ตำรามากมักจะเกิดอุปสรรค ในระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งทำให้ต้องหยุดการปฏิบัติไปเลยก็เคยมี
ในอดีตมีเรื่องเล่าที่วิเวกอาศรมว่า มีพระมหาเปรียญ ๙ ประโยครูปหนึ่ง มาฝึกวิปัสสนากับหลวงพ่อใหญ่ ในขณะสอบอารมณ์ มักจะเอาทฤษฎีมาตอบ จนหลวงพ่อใหญ่บอกว่าให้เอาความรู้ในเปรียญ ๙ ประโยคไว้นอกวัดก่อน มาในนี้ให้ปฏิบัติจริง นำเอาที่ปฏิบัติจริงมาส่งเท่านั้นและอย่าเอาตำรามาส่ง แต่พระมหาท่านนั้นยังเกิดความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติและไม่ได้ทำตามที่สอน เพราะท่านมีความรู้มากและจดจำทฤษฎีในเรื่องวิปัสสนาได้หมด ซึ่งทำให้พิจารณาเปรียบเทียบกับในตำราจนเกิดความฟุ้งซ่าน ในที่สุดไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่หลวงพ่อใหญ่สอน ท่านจึงบอกให้หยุดการเจริญวิปัสสนา ในอนาคตค่อยกลับมาฝึกปฏิบัติใหม่ แม้ว่าความรู้ด้านปริยัติจะมีประโยชน์มาก แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่เกื้อหนุนการปฏิบัติ ซึ่งทั้ง ๒ นั้นเป็นคนละส่วนกัน ในสายปฏิบัติจะสอนเสมอก่อนฝึกปฏิบัติว่า ไม่ต้องเอาตำรามาด้วย ฝึกได้ก่อนแล้วค่อยไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นความรู้รอบตัวในการเผยแผ่ต่อไป
แม้ว่าปัจจุบันรูปแบบการสอนวิปัสสนาของคุณแม่จะยังไม่แพร่หลาย แต่ผู้เขียนมั่นใจว่าลูกศิษย์รุ่นหลังจะสามารถนำไปเผยแผ่ และในอนาคตอันใกล้ จะเป็นที่ยอมรับในวงการวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ถ้าหากมีปริญญาด้านการปฏิบัติแล้ว แม่ชีบุญมี เวชสาร สมควรให้ได้รับการยกย่อง และได้รับปริญญาเทียบเท่ากับ ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในสาขาวิปัสสนากัมมัฏฐาน
แม่ชีบุญมี เวชสาร ผู้มีคุณูปการต่อวงการวิปัสสนา เป็นนักปฏิบัติ ที่มีประสบการณ์จริง ผู้ที่เข้าถึงหลักพุทธธรรม ผู้ร่วมพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติ ผู้กล้าบุกเบิกกล้าสอนในรูปแบบที่แตกต่าง ผู้สร้างธรรมะให้แก่ลูกศิษย์ ผู้เสียสละ ผู้มีความเมตตากรุณา ผู้ให้ ผู้เป็นพุทธบริษัท ๔ ที่สมบูรณ์แบบ และเชื่อว่าลูกศิษย์ทุกคน จะไม่มีวันลืมเลือนแม่ชีบุญมี เวชสาร จากความทรงจำ เพราะท่านได้ดำรงสถิตย์อยู่ใน เบื้องลึกของจิตใจของลูกศิษย์ทุกคนตลอดกาลนาน 

รวบรวมจากการสนทนาและสัมภาษณ์กับ แม่ชีบุญมี เวชสาร รวมระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปี
โดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - พ.ค. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๙


ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - ศาลาสามัคคีมีบุญ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี


            
           แม่ชีบุญมี เวชสาร เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ เวลา ๙.๐๐ น. บิดาชื่อ นายสุด และมารดาชื่อ นางเทา ซึ่งบ้านเดิมอยู่ที่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพี่น้องรวมกัน ๓ คน  ในสมัยเด็กๆ บิดามารดาจะคอยสอนท่าน ให้เป็นคนมีศีลมีธรรม อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน และช่วยใครได้ให้ช่วยเหลือไป  ครั้งหนึ่งในวัยเด็ก พี่เขยของคุณแม่ให้เอาปลาไหลไปฆ่า เพื่อทำอาหารด้วยการผูกมันไว้ แล้วเอาขี้เถ้ารูดตัวจนกว่าจะตาย  คุณแม่ได้ยินแล้ว รู้สึกมีจิตเมตตาต่อสัตว์และฆ่ามันไม่ลง ท่านจึงปล่อยปลาไหลตัวนั้นลงน้ำไป ทำให้ถูกพี่เขยดุและลงโทษคุณแม่ โดยให้กินแต่ข้าวเปล่าอย่างเดียวในเย็นวันนั้น
            ตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ ท่านไม่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ จึงสนใจในการทำงานโดยเริ่มค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการเอาผักและแตงไปขายที่ตลาดจนถึงอายุ ๑๗  จากนั้นได้ไปเรียนเย็บผ้าอยู่ ๖ เดือน แต่เรียนไม่จบ พอถึงอายุ ๑๘ ท่านพอมีทุนเก็บออมพอสมควร จึงได้ซื้อสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปขายที่ ปากเซ ประเทศลาว และขากลับซื้อของจากลาวมาขายในไทยทำกำไรอีกทอดหนึ่ง
ในช่วงวัยรุ่นคุณแม่มีความคิดว่าอยากจะออกบวชชี จึงไปหาพระอาจารย์ประเสริฐ วัดวาริน จ.อุบลฯ และกราบเรียนท่าน  พระอาจารย์ตอบกลับว่า บวชอะไร อายุยังน้อยอยู่ เดี๋ยวจะพาพระสึกหนีหรอก  คุณแม่จึงไม่มีโอกาสได้บวช และกลับบ้านมาทำค้าขาย ด้วยการจ้างรถไปซื้อมันสำปะหลังที่ไร่เพื่อมาขายส่งที่โรงงาน  ถึงหน้ามะม่วง ท่านจะเอามาขายที่ตลาด แล้วรวมรายได้ทั้งหมดมาเป็นค่าใช้จ่าย ส่งเสียสมาชิกในบ้านทั้งหมดถึง ๙ คน  จากนั้นคุณแม่ได้ยึดอาชีพรับจ้างนำสินค้าไปขายยังประเทศลาว จนต่อมาได้ดำเนินกิจการเป็นของตนเอง  ในช่วงที่ทำธุรกิจอยู่ เพราะต้องรับผิดชอบครอบครัว
อยู่มาวันหนึ่ง คุณแม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์พบว่า มีพระสงฆ์รูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดแสนสุข อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ชื่อหลวงพ่อท้วม ได้ทำนายอนาคตของบุคคลสำคัญหลายท่านไว้ เช่น พระเอกมิตรชัยบัญชาจะประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต, ประธานเหมาเจอตุงจะตาย โดยสามารถระบุเวลาที่จะตายได้, คุณอาภัสรา หงสกุลจะได้เป็นนางงามจักรวาล, และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ของสหรัฐอเมริกาจะถูกยิงตาย  ซึ่งคำทำนายจากญาณวิเศษของหลวงพ่อ ได้เกิดขึ้นจริงทั้งหมด คุณแม่จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส คิดว่าจะต้องไปกราบสักการะท่านสักครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นคุณแม่จึงเดิน ทางไปกราบหลวงพ่อท้วม
            ครั้งแรกที่คุณแม่ได้ไปกราบหลวงพ่อท้วมและสนทนากันสักพัก ท่านได้ทักคุณแม่ว่า “อีหนูเอ็งไปค้า ขายที่ลาว ให้ระวังตัว เอ็งจะหมดเนื้อหมดตัว”  เมื่อสนทนาเสร็จ คุณแม่ได้กลับไปอุบลราชธานีและดำเนินธุรกิจต่อ แต่เหตุการณ์ที่ท่านทำนายไว้ เกิดขึ้นจริงดั่งตาเห็น โดยเริ่มต้นขณะที่ ค่าเงินลาวตกอย่างมาก จากเงินลาว ๑๐๐ กีปที่เคยแลกเงินไทยได้ ๒๕ บาท ตกลงเหลือเพียง ๔ บาทเท่านั้น แต่คุณแม่ก็ยังไม่เลิกกิจการและยังคงขายต่อ จนกระทั่งประเทศลาวถูกกลุ่มลาวแดงปฏิวัติ จึงทำให้คุณแม่สูญเสียสินค้าและเก็บเงินไม่ได้ เนื่องจากพรมแดนถูกปิด ท่านจึงหมดตัวจากการค้าที่ลาว ในที่สุดต้องเลิกกิจการไป 
            หลังหมดตัวจากการค้าขายที่ลาว คุณแม่ได้เริ่มปฏิบัติธรรมครั้งแรกในชีวิตขณะที่มีอายุ ๓๘ ปี กับพระอาจารย์ประเสริฐ วัดวาริน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี  คุณแม่ได้เริ่มต้นฝึกปฏิบัติ นอนค้างที่วัดกับหลาน โดยบวชถือศีล ๘ พร้อมกับปฏิบัติธรรม ด้วยการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ บริกรรมรูปแบบพองหนอ ยุบหนอ เป็นเวลาที่ตั้งใจไว้ ๗ วัน
ช่วงวันแรกของการปฏิบัติ คุณแม่เล่าว่า รู้ว่ามีเสียงต่างๆ แต่ไม่ได้กำหนด เพราะกำหนดแต่ พองหนอ ยุบหนอ  พอวันที่ ๒ ขณะที่นั่งสมาธิ อยู่ๆ จิตก็นิ่งหายเงียบไป  ต่อมาวันที่ ๓ ท่านนั่งได้นานกว่าเก่า แต่มีสภาวะคันเกิดขึ้นแล้วหายไปหลายแห่งที่ร่างกาย นั่งไปอีกซักพักรู้สึกตัวคันยุบยิบเข้าตาเข้าจมูกเลย เมื่อถึงวันที่ ๔ ที่เป็นวันพระ ท่านนั่งได้นิ่งเป็นชั่วโมง จนพี่สาวคุณแม่เห็นเข้า คิดว่าคุณแม่สำเร็จแล้ว เลยก้มลงกราบคุณแม่ต่อหน้า ด้วยความเคารพศรัทธาว่าคงได้บรรลุธรรมวิเศษ  
เข้าวันที่ ๕ คุณแม่ได้อธิษฐานจิตกับเจ้าอาวาสวัดวาริน ทุกพระองค์ตั้งแต่ องค์แรกจนถึงองค์สุดท้ายว่า อยากเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น  จากนั้นได้นั่งสมาธิต่อ ซึ่งครั้งนี้จิตไม่นิ่งหายไปเหมือนครั้งก่อน แต่กลับเห็นรูปพระพุทธเจ้ารูปร่างใหญ่เหมือนองค์จริง สวยงามมาก ขนาดแค่ครึ่งอก โดยมีเกสา(ผม) เกล้ามวยสวยมาก ในทุกสัดส่วนที่เห็น ซึ่งเกสาไม่โล้นเหมือนพระสงฆ์ทั่วไป อีกทั้งผิวพรรณของพระพุทธเจ้าเหมือนคน ไม่เหมือนพระพุทธรูปทั่วไป  คุณแม่เห็นอยู่นานพอสมควร จนกระทั่งองค์พระพุทธเจ้าหัวเราะออกมา ด้วยเสียงที่ไพเราะมาก จากนั้นรูปพระพุทธเจ้าได้ขยับหันหน้าไปทางด้านซ้าย และทันใดนั้นปรากฎมีสายรุ้งพุ่งออกมาจากตาทั้ง ๒ ข้าง ในอิริยาบถที่เคลื่อนไหวไปช้าๆ พร้อมกับเสียงหัวเราะที่ไพเราะมาก ซึ่งคุณแม่เห็นได้ชัดเจนมากอยู่สักครู่ จนเสียงค่อยๆ บาลง พร้อมกับภาพได้ค่อยๆ เลือนหายไป  วันนั้นคุณแม่นั่งสมาธิได้นานมากกว่าชั่วโมง ด้วยความรู้สึกเบาโปร่งโล่งสบาย ที่สำคัญคือไม่เคยประสบกับความสุขเช่นนี้มาก่อนในชีวิต  พอตอนเย็นท่านได้ไปส่งอารมณ์โดยรายงานว่า ดิฉันได้เห็นพระพุทธเจ้า  พระอาจารย์ดุเอาว่า พระพุทธเจ้าที่ไหน ท่านดับไปนานแล้ว แต่คุณแม่ตอบกลับว่า เห็นจริงๆ  พระอาจารย์บอกว่า คุณแม่เหมือนพึ่งหัดเดิน แต่ดีแล้วที่ได้เห็น อย่างไรก็ดีท่านบอกว่า คุณแม่มีแวว และกล่าวให้มาปฏิบัติต่อในอนาคต
วันที่ ๖ คุณแม่นั่งแล้วไม่หายนิ่งไป แต่กลับรับอารมณ์ต่างๆ ได้ เสียงไม่ว่าใกล้หรือไกล ได้ยินทันทุกอารมณ์ แต่ไม่ได้บริกรรม เพียงรู้อยู่เฉยๆ และมีความคิดน้อย จึงทำให้ท่านรู้สึกหงุดหงิด เพราะวันนี้ไม่เห็นอะไรเลยในจิต  คุณแม่เข้าใจว่าเมื่อวานนี้ปฏิบัติได้ดีกว่าวันนี้  พอไปส่งอารมณ์ ท่านบอกว่าได้ส่งใจไปที่อารมณ์ต่างๆ ไปแล้วกลับ ทีแรกคุณแม่คิดว่าคงปฏิบัติแบบเสียข้าวสุกเปล่าๆ แต่พระอาจารย์กลับบอกว่า ดี และหันไปบอกคนอื่นๆ ที่มาร่วมปฏิบัติ ให้เอาคุณแม่เป็นแบบอย่าง 
ถึงวันที่ ๗ ท่านไม่ได้นั่งในศาลาแล้ว เพราะรู้สึกว่ามีเสียงมากเกินไป จึงย้ายไปนั่งบริเวณโล่งๆ ด้านหน้า โบสถ์ ไม่มีอะไรรบกวนและไม่มีอะไรบนพื้น  พอนั่งสมาธิไปสักพัก รู้สึกเหมือนมีตัวแมลงไต่ยั้วเยี้ยขึ้นมาที่ขาจนถึงเอว พอลืมตาขึ้น ปรากฎว่าเป็นฝูงมดแดงเต็มไปหมด  ถ้าลุกขึ้นทันที มดคงกัดท่านแน่เลย ในวินาทีเดียวกันนั้นจิตของท่านผุดคิดถึงเรื่องในอดีตขึ้นมาทันทีว่า สมัยเด็กๆ เมื่อครั้งขูดมะพร้าวด้วยเหล็กรูปกระต่ายเสร็จ จะเหลือเศษมะพร้าวในกะลาที่ทิ้งไว้ มีมดมากินมะพร้าวขึ้นเต็มไปหมด คุณแม่เลยเคาะมดในกะลา ลงไปยังกองไฟ และเผาไหม้มดจนมีเสียงป๊อะแป๊ะ  เหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น ทำให้คุณแม่คิดถึง ฝูงมดที่อยู่บนตัว ท่านจึงหลับตานิ่งไม่ขยับแล้วอธิษฐานว่า หากคุณแม่ได้เคยทำบุญกุศล ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ขอยกให้มดหมดเลย ถ้าท่านรับแล้วจงไปเถิด แต่หากไม่อโหสิกรรมให้ ก็เชิญเลย  หลังจากนั้นรู้สึกว่าฝูงมดที่ตัวท่านได้เริ่มเดินไต่กลับลงไป
พอคุณแม่แผ่เมตตาเสร็จ ลืมตาขึ้น เห็นมดเยอะมาก เดินออกจากตัวไป คุณแม่จึงหลับตาแล้วนั่งสมาธิต่อไป สักครู่ ท่านรู้สึกเหมือนคล้ายมีแสงจากดอกไม้ไฟสวยงามมาก พุ่งออกจากตัวและดูไปเรื่อยๆ จนมันออกไปหมด จากนั้นท่านรู้สึกตัวโล่งไม่มีตัวตนเหลืออยู่ มีแต่ความว่างเปล่า เหลือแต่ตัวจิตที่รู้อยู่อย่างเดียว  ความสุขที่ไม่มีตัวตนครั้งนี้มีมากกว่าครั้งก่อนๆ ทำให้นั่งสมาธิต่อเนื่องได้นานถึง ๒ ชั่วโมง  ระหว่างนั้นมีแต่ความว่าง รู้สึกว่ามีแต่หัวใจเต้นตุ๊บๆ ช่วงท้ายเริ่มรู้สึกมีแต่รูปส่วนหัว แต่ไม่มีตัว และรู้สึกตัวเบาลง  ต่อมาจึงค่อยๆ กลับมารู้สึกตัวเองชัดเจนขึ้น  ท่านเลยไปส่งอารมณ์กับพระอาจารย์ว่า รู้แล้วว่านิพพานเป็นอย่างไร เหมือนลูกไฟคล้ายพลุกระจายออกไป  แต่พระอาจารย์บอกว่านั่นไม่ใช่นิพพาน นิพพานดีกว่านี้ นั่นเป็นเพียงโอภาส จึงทำให้คุณแม่อยากให้ได้ไปถึงพระนิพพาน ซึ่งคงจะทำให้มีความสุขมากกว่าที่เคยได้  วันนั้นก่อนกลับพระอาจารย์สอนเพิ่มว่า“นามเป็นตัวสั่งรูป คล้ายกับตุ๊กตาไขลาน ตัวจิตต้องสั่ง รูปถึงเดินได้”  ก่อนกลับคุณแม่ได้กราบลาโดยเดินกลับบ้าน ด้วยความดีใจและมีปีติสุขมาก  เมื่อถึงบ้าน แม่บุญธรรมเห็นคุณแม่บุญมี แล้วพูดว่า“เทวดามาแล้ว” พร้อมกับบอกว่า “ให้พาแม่บุญธรรมไปสวรรค์ด้วย” 
ต่อมาคุณแม่ถูกเรียกให้ไปช่วยเฝ้าร้านทำผม เพราะหลานที่เป็นเจ้าของร้าน ต้องไปเรียนที่กรุงเทพฯ จึงต้องปิดร้านชั่วคราว  ในขณะที่เฝ้าร้าน ท่านได้ฝึกเดินจงกรมนั่งสมาธิทั้งวัน ในช่วงที่มีเวลาว่าง และได้ชวนคนรู้จักที่เป็นภรรยาของทหารบริเวณนั้น ไปร่วมฝึกปฏิบัติธรรมต่อ ที่วัดวารินในช่วงกลางคืน  คืนวันนั้นพระอาจารย์เทศน์ และบอกผู้มาร่วมปฏิบัติราว ๗ ๘ คนว่า ทำไมพวกท่านไม่ปฏิบัติให้ได้เหมือนคุณแม่ เนื่องจากมีคนมาปฏิบัติมาก แต่กลับชอบคุยกัน ทำให้ไม่ได้อะไร แม้ว่าจะอยู่ในวัดถึง ๗ วันก็ตาม
จากนั้นน้องสาวคุณแม่ได้ชักชวนท่านให้ไปช่วยดูแลกิจการที่จังหวัดพิษณุโลก  คุณแม่จึงเดินทางจาก จ.อุบลฯ เพื่อไปกราบหลวงพ่อท้วมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไปช่วยงานน้องสาว  เมื่อไปถึงวัดแสนสุข ความโชคร้ายของคุณแม่ยังไม่หมดไป เพราะหลวงพ่อท้วมได้ทำนาย คุณแม่อีกครั้ง ถึงเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง และเลวร้ายที่สุดแก่คุณแม่ว่า “อีหนูถ้าเอ็งก้าวขาออกจากวัด เอ็งจะตายทันที ต้องบวชเท่านั้นถึงจะรอดได้”  ครั้นคุณแม่ได้ยินเข้า ถึงกับร้องไห้ทันที คำทำนายนี้ทำให้คุณแม่ตกใจ และเสียใจเป็นอย่างมาก หากกลับไปช้า จะทำให้คุณแม่เสียสัจจะ และไม่สามารถไปช่วยงานน้องบุญธรรมชื่อคุณประภาพร ที่จ.พิษณุโลกได้ เพราะได้รับปากน้องบุญธรรมไว้ว่าจะไปช่วยงาน หลวงพ่อท้วมถามคุณแม่ว่า “จะเลือกตายหรืออยู่ เลือกเอาเอง”  คุณแม่ได้เลือกที่จะอยู่ จึงทำให้ต้องตัดสินใจบวชในวันนั้นทันที  ท่านถามว่า เมื่อบวชแล้วจะเดินทางกลับไปหาน้องเลยได้หรือไม่  หลวงพ่อบอกว่าไม่ได้ จะต้องบวชให้ครบ ๗ วันก่อน 
เนื่องจากคุณแม่มีเงินติดตัวมาแค่ ๒๐๐ บาทเท่านั้น ซึ่งไม่พอใช้ในการบวช หลวงพ่อจึงให้แม่ชีในวัดแสนสุข ยืมชุดแก่คุณแม่บุญมี ๒ ชุด เมื่อบวชเสร็จแล้ว ในดึกคืนวันนั้น ขณะที่คุณแม่นอนหลับอยู่ ท่านได้ยินแต่เสียงผู้ชาย ๒ คน ถามกันว่า ไหนๆ อยู่กุฏิไหน โดยไม่เห็นตัว ก็ทราบทันทีว่าเขาจะมาเอาชีวิต  เมื่อสิ้นเสียงผู้ชาย ขณะนั่นเอง คุณแม่เห็นนิมิตภาพหลวงพ่อท้วมลอยมาที่ตัวคุณแม่ แล้วยกมือคล้ายลูบเหนือตัว จากศรีษะถึงปลายเท้า แต่ไม่ได้ถูกตัว พร้อมกับกล่าวให้พรว่า อย่าตายนะลูก ๓ ครั้ง แล้วท่านก็ลอยออกจากห้องไป  พอสิ้นเสียงหลวงพ่อ ก็ไม่ได้ยินเสียงของผู้ชาย ๒ คนนั้นอีกเลย คงเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อที่มาช่วย ไม่เช่นนั้นคุณแม่คิดว่าชีวิตท่านคงไม่ผ่านคืนนั้นแน่ 
ชีวิตของคุณแม่ได้เริ่มหันเหสู่ร่มกาสาวพักตร์ โดยบวชชีเป็นครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ ๔๐ ปี  ครั้นบวชอยู่วัดแสนสุขครบ ๗ วัน คุณแม่จึงได้กราบลาหลวงพ่อ และเดินทางไปหาน้องบุญธรรมชื่อ คุณประภาพร  เมื่อพบคุณประภาพร คุณแม่ได้ขอโทษพร้อมกับหลั่งน้ำตา เนื่องจากคุณแม่กลัวจะเสียสัจจะ ที่เคยได้รับปากไว้ว่าจะไปช่วยทำงาน แต่น้องบุญธรรมก็มิได้ต่อว่าแต่อย่างใด แต่กลับร่วมทำบุญด้วยการซื้อชุดแม่ชีให้ใหม่ แทนชุดเก่าที่ยืมมาจากวัดแสนสุข เพราะเข้าใจในเหตุผลของการมาล่าช้า และยังให้การอุปถัมภ์เกื้อหนุนคุณแม่มาโดยตลอด
ช่วงที่คุณแม่บวชอยู่ที่วัดแสนสุข จ.ชลบุรี คุณแม่ต้องทนอาศัยอยู่อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะเรื่องความทุกข์ทางใจที่ถูกกดดันมาจาก แม่ชีกับคุณยายอีกท่านหนึ่งที่อาศัยอยู่ในวัด  ในช่วงแรกคุณแม่เล่าว่าท่านต้องเสียน้ำตาร้องไห้ทุกวัน ด้วยความทุกข์ทรมานใจในด้านการเป็นอยู่  วันหนึ่งขณะที่ร้องไห้อยู่ ท่านเดินไปด้านหลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่ของวัด โดยเหลือบไปเห็นรูปถ่ายของ หลวงพ่อโอภาสีและกรมหลวงชุมพรฯ  คุณแม่นึกพูดในใจให้หลวงพ่อช่วยด้วย เสร็จแล้วมองกลับไปที่ภาพถ่าย รู้สึกเหมือนกับภาพนั้นยิ้มให้คุณแม่ ทำให้ท่านเกิดปิติ มีกำลังใจขึ้นมากอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งเป็นผลทำให้จิตของคุณแม่ผุดคิดขึ้นเองว่า “ถ้าเราชนะใจเราไม่ได้ แล้วจะชนะคนอื่นได้อย่างไร” 
แรงดลบันดาลใจครั้งนี้ทำให้คุณแม่อดทนทำงานต่อไปในวัดอย่างไม่ท้อถอย นอกจากช่วยงานในวัดแล้ว ยังช่วยงานให้คุณยาย แม้ว่าจะเคยกดดันดุด่าท่านอยู่เป็นนิจ ด้วยการนำหัวปลาและเศษปลามาให้สุนัขกิน  จากการที่ช่วยแบ่งเบางานในวัด ทำให้เป็นที่พอใจแก่คุณยายและหยุดดุว่าตั้งแต่นั้นมา  เมื่อเสร็จจากให้อาหารสุนัข ท่านยังช่วยตำน้ำพริกและหุงข้าวจนเป็นที่พอใจมากอีก
นอกเหนือจากงานในวัด คุณแม่ยังได้ฝึกกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อท้วม ด้วยการฝึกนั่งสมาธิให้จิตนิ่งๆ และดูจิตตัวเองด้วย ท่านยังบอกว่า เอ็งจะสามารถได้ยินและเห็นสิ่งที่คนอยู่จังหวัดอุบลฯ พูดและทำได้ ถ้าเอ็งอยากได้ยินเอ็งจะได้ยินสิ่งที่เค้าพูด ถ้าเอ็งอยากจะเห็นเอ็งจะได้เห็นสิ่งที่เค้าทำ แต่จิตของคุณแม่กลับคิดค้านขึ้นในใจว่า การได้อภิญญาหรือความสามารถแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ  เมื่อฝึกได้ซักพัก แม้ว่าท่านจะไม่มีพื้นฐานทางธรรมมากก็ตาม แต่ในใจนั้นคิดขึ้นเองว่า เราไม่อยากปฏิบัติแบบนี้อีกต่อไป โดยไม่รู้เพราะอะไร เพียงรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์เท่านั้น
ในวันหนึ่งที่วัดแสนสุข คุณแม่ได้ยินเสียง หลวงพ่อองค์หนึ่งกำลังเดินไล่ตีเณร อยู่ด้านหลังวัด จึงทำให้เณรวิ่งหลบหนีมาเจอคุณแม่ และได้สนทนากันถึงเรื่องกัมมัฏฐาน เณรได้บอกคุณแม่ให้ไปฝึกที่ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิเวกอาศรม ที่อยู่ไม่ไกลจากวัด เป็นที่ฝึกปฏิบัติดีจริง ๆ  เณรได้เห็นคนปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งเดินจงกรม ทั้งนั่งสมาธิ  เมื่อคุยเสร็จ จิตคุณแม่บอกขึ้นมาเลยทันทีว่า อยากไปฝึกปฏิบัติที่นั่น
แม้ว่าคุณแม่อยากจะไปปฏิบัติที่วิเวกอาศรม แต่ยังไม่มีโอกาสไป ต่อมาไม่นานได้กราบเรียนหลวงพ่อท้วม ถึงความมุ่งมั่นที่ต้องการจะไปฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านจึงได้ฝากคุณแม่ให้ไปฝึกที่ สำนักประชุมนารี จ.ราชบุรี เนื่องจากหลวงพ่อรู้จักที่นั่นดีและเคยบริจาคข้าวสารเป็นประจำอยู่หลายปี คุณแม่ได้ไปอยู่ที่นั่นแบบเด็กฝาก ด้วยความเกรงใจของทุกคน  พออยู่ครบเดือนหลวงพ่อก็มารับกลับหลังจากออกพรรษา  เมื่อกลับถึงวัดแสนสุขพบคุณยายวาสที่เคยดุว่าคุณแม่เป็นประจำ คุณแม่สังเกตุได้ถึงพฤติกรรมของคุณยาย ที่เริ่มมีทัศนคติดีขึ้นว่าเริ่มรักและคิดถึงคุณแม่แล้ว ในอดีตคุณแม่เคยช่วยงานคุณยายทุกเรื่อง ครั้นคุณแม่ไม่อยู่วัด คุณยายต้องทำงานเองทั้งหมด ครั้นเมื่อคุณแม่กลับมาช่วยแบ่งเบางานคุณยายเหมือนเดิม จึงรู้สึกดีๆ ต่อคุณแม่เป็นอย่างมาก คุณแม่จึงถามตัวเองว่า ชนะใจคนอื่นหรือยัง จิตบอกทันทีว่า ชนะแล้ว เพราะท่านได้เอาชนะใจคุณยายด้วยความขยัน อดทน ความเมตตากรุณา และการให้ด้วยการช่วยเหลืองานทุกอย่าง ทั้งๆ ที่งานหลายอย่างคุณแม่ไม่จำเป็นต้องทำ
ต่อมาคุณแม่มีความคิดอยากจะกลับบ้าน ซึ่งไม่นานก็ได้เดินทางกลับไปอาศัยอยู่ที่ วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี  หัวหน้าแม่ชีที่นั่นบังคับให้คุณแม่เรียนนักธรรมชั้น จุลตรี จุลโท จนถึง จุลเอก เมื่อเรียนจบไประยะหนึ่ง ก็ถูกมอบหมายให้สอนพระเณรในวัด  แต่จิตคุณแม่บอกว่า การสอนปริยัติที่นี่ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์  ในที่สุดคุณแม่จึงหยุดการสอนปริยัติและได้กราบลาเจ้าอาวาส เพื่อไปปฏิบัติธรรมต่อ ท่านตอบคุณแม่ว่า คิดถูกแล้ว  จิตใจคุณแม่ขณะนั้นคิดถึงแต่เรื่องธุดงค์ปลีกวิเวก  ก่อนจะจากวัดไป หัวหน้าแม่ชีที่วัด ได้บอกคุณแม่ว่า ให้เรียนจบชั้นจุลเอกก่อนค่อยไป แต่คุณแม่ได้ย้อนถามไปว่า คุณพี่ รู้วันตายไหมค่ะ ก็ได้คำตอบว่า “ไม่รู้”  คุณแม่จึงไม่อยู่ต่อเพื่อเรียนปริยัติ และมุ่งหน้าสู่การธุดงค์ปลีกวิเวก เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เจ้าอาวาสวัดป่าใหญ่ได้ทราบวัตถุประสงค์อันแน่วแน่ของคุณแม่ ในความต้องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านจึงอนุญาตให้คุณแม่ออกจากวัด โดยมีหัวหน้าแม่ชีเป็นผู้ร่วมเดินทางไปที่สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี เนื่องจากเจ้าอาวาสเคยได้รับฟังเรื่องราว และชื่อเสียงของวิเวกอาศรมจาก พระสงฆ์ที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ 
คุณแม่ได้เข้าฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ เป็นครั้งแรกในชีวิตกับพระอาจารย์ ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ด้วยองค์บริกรรมภาวนา พองหนอ ยุบหนอ คุณแม่มักจะเรียกหลวงพ่ออาสภะว่า หลวงพ่อใหญ่ หรือ พระอาจารย์ใหญ่ ท่านสอนให้คุณแม่ฝึกกำหนด เช่น ความคิดมีก็กำหนด เสียงมีก็กำหนด อะไรชัดเจนก็กำหนดไป  ตอนเริ่มเดินจงกรมใหม่ๆ คุณแม่เดินช้า พร้อมกับกำหนด ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ครั้นพระอาจารย์เห็นเข้าและสอนว่า ตอนขณะกำหนดเดิน คุณแม่ได้กำหนดเสียงไหม กำหนดเห็นไหม กำหนดเย็นด้วยไหม
จากนั้นคุณแม่เริ่มปฏิบัติอย่างจริงจังในห้องพักคนเดียว โดยปิดประตูห้อง ไม่ออกมาพูดคุย ไม่ไปเดินเล่น และยังส่งสอบอารมณ์ทุกวัน ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์จึงชมคุณแม่ว่า มีความขยันอดทนมาก พอปฏิบัติไปได้ประมาณเดือนครึ่ง อยู่ๆ คุณแม่ก็เดินไปกราบลาพระอาจารย์ ด้วยมีความรู้สึกว่าไม่อยากปฏิบัติต่อไปอีกแล้ว และไม่รู้เพราะอะไร เพียงแต่รู้สึกถึงอารมณ์เบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น จนอยากกลับบ้านทันที  พระอาจารย์พูดว่า แก่แล้วยังตามใจตัวเองอีก และถ้าเลิกปฏิบัติแล้วจะไปไหน  หลังสนทนาจบ ก่อนจะออกจากสำนักวิเวกอาศรม จิตของท่านผุดคิดขึ้นว่า “เราเป็นคนไม่ใช่ไก่ เราเห็นเพชรอันล้ำค่า ทำไมไม่เอา ออกไปแล้วจะไปทำอะไรต่อ เรามาอยู่ที่นี่เพื่อฝึกกัมมัฏฐานมิใช่หรือ”  ในที่สุดคุณแม่ก็เปลี่ยนใจ เดินกลับขึ้นกุฏิกัมมัฏฐาน พอรุ่งเช้าขึ้นมาไปส่งอารมณ์กับพระอาจารย์ ท่านก็หัวเราะถามว่ายังไม่ไปอีกหรือ ท่านทราบว่าอารมณ์อยากกลับบ้าน เป็นสภาวะธรรมของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านจึงชมคุณแม่ว่าปฏิบัติได้ดี เพราะมีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติ 
คุณแม่ได้เจริญวิปัสสนาต่ออย่างขยันหมั่นเพียรด้วยความอดทน จนถึงสภาวะธรรมที่ซ้ำไปซ้ำมา และไม่มีอะไรใหม่ปรากฎหรือเปลี่ยนแปลง  จนกระทั่งพระอาจารย์ใหญ่ให้คุณแม่อธิษฐานถอนพุทธภูมิ พอทำเสร็จสภาวะธรรมของคุณแม่พัฒนาก้าวหน้าต่อไปทันที จนสามารถปฏิบัติ ถึงเป้าหมายเป็นที่พอใจ ภายในระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน จากเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม ที่สำนักวิเวกอาศรม
ก่อนคุณแม่ธุดงค์ออกจากวิเวกอาศรม ท่านเกิดความประทับใจมากเรื่อง ทานบารมี อย่างที่ไม่เคยลืมเลือนอยู่ ๒ เรื่อง  เรื่องแรกเกิดขึ้น ในวันหนึ่งขณะที่คุณแม่กำลังปฏิบัติ กับแม่ชีท่านหนึ่งบนชั้น ๒ ของที่พัก คุณแม่แลเห็นหมาผอมมากตัวหนึ่งข้างล่าง เดินโซเซไปมาเพราะไม่มีแรง  ด้วยความเมตตา คุณแม่จึงบอกให้แม่ชีท่านหนึ่ง เอานมผงละลายน้ำผสมกับเนสตุ้มธัญพืชใส่ปิ่นโตให้หมากินจนอิ่ม ก่อนนำไปให้หมากิน คุณแม่ได้อธิษฐานว่า ถ้าแม้มี ๑๐ คน ๑๐๐ คน ๑๐๐๐ คน ก็ขอเลี้ยงทุกคนให้อิ่ม”  จากนั้น คุณแม่ก็เดินจงกรมต่อที่ชั้น ๒ อีกซักพัก แล้วได้มองกลับลงไปข้างล่าง ตรงที่หมากำลังกินอยู่ ซึ่งเป็นขณะเดียวกับที่หมาผอม มองสวนขึ้นมาสบตาคุณแม่พอดี  คุณแม่รู้สึกว่าตาทั้งคู่ของหมาผอมโซตัวนั้น เหมือนอยู่ใกล้ชิดกับคุณแม่ไม่ถึงคืบ ขณะที่สบตากันนั้น จิตของคุณแม่คล้ายรับรู้จากจิตของหมาผอมตัวนั้น  พร้อมกับประโยคที่ผุดขึ้นในใจว่า คุณแม่ปราราถสิ่งใด ขอให้คุณแม่ได้รับสิ่งนั้น  คุณแม่จึงกลับไปเดินจงกรมต่อ ซักพักมองกลับไปก็ไม่พบหมาผอมตัวนั้น มันคงเดินจากวิเวกอาศรมออกไป พร้อมกับความสุขจากอาหารที่ได้รับ นับแต่นั้นมาคุณแม่บอกว่า ไม่เคยอดข้าวปลาอาหารอีกเลย แถมยังได้ผลไม้ดีๆ มาวางที่หน้าห้องในวิเวกอาศรม ตลอดมาอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ทานบารมีเรื่องที่สอง เกิดขึ้นตอนที่มีผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยมีฐานะดีมาก่อน เข้ามาอาศัยในวิเวกอาศรม พร้อมกับลูกเล็กๆ ๓ คน เพราะหมดตัวจากธุรกิจและยังสูญเสียสามีไปอีกคน เนื่องจากสามีถูกฆ่าตายโดยไม่ได้ทิ้งทรัพย์สินใดๆ ไว้ให้เลย  แม่ลูก ๓ คนจึงไม่รู้จะไปพึ่งใคร ได้เข้ามาอาศัยที่นี่ชั่วคราว  อยู่มาวันหนึ่งคุณแม่ได้ยินเสียงลูกน้อยอายุ ๑ เดือนของหญิงน่าสงสารคนนั้น ร้องไห้งอแงส่งเสียงดัง คุณแม่จึงเดินเข้าไปดูเด็ก เห็นพี่สาวของเด็กเอาขวดนมซึ่งมีแต่น้ำเปล่าให้น้องกิน ขณะนั้นแม่เด็กกำลังทำอาหารให้โยคีทาน โดยแม่เด็กบอกคุณแม่ว่า ไม่มีเงินซื้อนมแม้แต่บาทเดียว  ด้วยความกรุณาที่ผุดขึ้นในจิตของคุณแม่ จึงหยิบเงินในกระเป๋ามอบให้ ๕๐๐ บาท แก่หญิงผู้น่าสงสาร บอกให้ไปซื้อนมให้ลูกน้อยกิน  
ต่อมาลูกอายุ ๓ ขวบอีกคนของหญิงคนนี้ ถูกหมากัดหัวขณะวิ่งตามแม่ และร้องไห้อยู่ในอ้อมกอดของแม่  คุณแม่เห็นเข้าจึงหยิบเงินให้อีก ๑,๐๐๐ บาท เพื่อพาลูกไปหาหมอ  ขณะที่คุณแม่ส่งมอบเงินให้ หญิงอาภัพได้ทรุดตัวลงกับพื้น พร้อมกับร้องไห้โฮด้วยน้ำตา อยู่นานตรงที่เท้าของคุณแม่ ด้วยความซาบซึ้งในมิตรไมตรี ของคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่กลับหยิบยื่นเงินให้เหมือนกับคนใกล้ชิดในครอบครัว เมื่อรับเงินเสร็จก็พาลูกไปหาหมอ  จากนั้นไม่นานคุณแม่ต้องเดินทางกลับไป จ.อุบลฯ และก่อนออกจากวิเวกอาศรม หญิงอาภัพได้เดินมาส่งและไม่อยากให้คุณแม่จากไป ด้วยการจับขาดึงไว้ แต่ก็รั้งไม่อยู่เพราะท่านมุ่งมั่นต้องการออกธุดงค์ และจากวิเวกอาศรมไปด้วยปีติในทาน ๒ ครั้งที่ไม่เคยลืมแก่หมาผอมและหญิงอาภัพ
หลังคุณแม่ได้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านเคยคิดไว้ว่า พระสงฆ์ธุดงค์ได้ คุณแม่(แม่ชี)ก็น่าจะธุดงค์ได้เช่นกัน ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปกับแม่ชีอีกท่าน โดยร่วมปฏิบัติธุดงค์อาศัยตามวัดต่างๆ  ประสบการณ์ในระหว่างการเดินธุดงค์ ท่านเล่าว่า พระอาจารย์ตลอดเส้นทางที่รู้จักส่วนมาก สอนวิปัสสนากัมมัฏฐานและสอบอารมณ์ ได้ไม่ละเอียดเท่ากับพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ที่สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี  เนื่องจากวัดส่วนใหญ่ยังขาดวิปัสสนาจารย์ ที่มีประสบการณ์ และส่วนมากเคยฝึกปฏิบัติแต่สมถกัมมัฏฐาน(สมาธิ)  ทุกปีหลังออกพรรษา คุณแม่จะเดินธุดงค์ออกจากวัด โดยไม่ได้อาศัยอยู่เป็นที่ประจำ จนชาวบ้านเรียกคุณแม่ว่า แม่ชีล่องหน เพราะเดี๋ยวอยู่เดี๋ยวไป พบเจอตัวได้ยาก 
ในช่วงที่ออกจากวิเวกอาศรม กลับไปอาศัยอยู่ที่วัดป่าใหญ่ จ. อุบลฯ คุณแม่ได้ทำทานบารมีเป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งจดจำได้ไม่เคยลืมจนท่านต้องเล่าให้ฟังว่า ท่านพบผู้หญิงโคราชคนหนึ่งที่ได้เช่าที่ปลูกไร่มันสำปะหลังอยู่ที่ อ.หนองกี่ สามีของเธอได้จากเธอไปเพื่อหางานทำที่ จ.อุบลฯ และไม่ได้ติดต่อหรือส่งเงินกลับบ้านเลย จึงทำให้ผู้หญิงคนนี้ไม่มีเงินซื้ออะไรกินเพราะยากจนมาก  ผู้หญิงคนนี้มีลูก ๒ คน วันๆ กินแต่ยอดมันสำปะหลังกับข้าว ผสมเกลือหรือน้ำปลา อยู่มาวันหนึ่งพี่สาวของสามี ถามว่าอยากไปตามหาสามีที่ จ.อุบลฯ ไหม และจะให้ยืมเงินเป็นค่าเดินทาง ๕๐๐ บาท ทั้ง ๒ จึงชวนกันนั่งรถมาถึงอุบลฯ  เมื่อมาถึงนอกจากพี่สาวจะไม่ได้ให้เงินไว้แล้ว ยังปล่อยทิ้งหญิงคนนี้ซึ่งมากับลูกไว้ที่นี่  เนื่องจากไม่มีเงินกินข้าว แม่และลูกจึงเดินไปหาตำรวจให้ช่วย  จากนั้นตำรวจจึงพาไปวัดป่าใหญ่ เพื่อให้พระสงฆ์ช่วยหาอาหารและจัดหาที่พักชั่วคราวให้  พระภิกษุจึงพาไปหาหัวหน้าแม่ชี เนื่องจากเป็นผู้หญิง  หัวหน้าแม่ชีจึงนำเพียงข้าวกับน้ำปลา มาให้แม่ลูกกินเท่านั้น แม้ว่าจะมีปลาที่เก็บไว้ให้แมวกินก็ตาม 
พอคุณแม่ทราบเรื่อง ท่านจึงขออนุญาตให้แม่ลูก ๒ ไปนอนกับคุณแม่ แต่แม่ชีตุ๋ยเพื่อนคุณแม่บอกให้ไปนอนกับเขา เพราะห้องของเขาใหญ่กว่า  วันต่อมาหลังจากบิณฑบาต คุณแม่มอบเงินให้แม่ลูก ๒ คนไป ๗๐ บาท และแม่ชีตุ๋ยให้อีก ๔๐ บาท พร้อมกับอาหารครบถ้วน  ขณะที่มอบเงินให้กับแม่ลูกทั้ง ๒ หญิงคนนั้นเกิดความซาบซึ้งอย่างมาก ได้ก้มลงกราบเท้าคุณแม่ด้วยน้ำตา ที่ไหลหยดลงใส่เท้าคุณแม่  จากนั้นคุณแม่ได้พาไปขึ้นรถกลับโคราช โดยฝากไปกับคนขับรถโดยสารที่คุณแม่รู้จัก และไม่ได้เก็บเงินค่าโดยสารแต่อย่างไรตามคำขอของคุณแม่  ก่อนขึ้นรถ คุณแม่เจอเพื่อนที่ขายอาหาร เพื่อนคนนี้ได้ถวายไก่ย่างกับ ข้าวเหนียวแก่คุณแม่ แต่คุณแม่กลับมอบไก่ย่างและข้าวเหนียวทั้งหมด ให้แก่แม่ลูกทั้ง ๒ เพื่อกินในระหว่างทางกลับเพราะกลัวจะหิว  ทันทีที่มอบอาหารให้เป็นครั้งสุดท้าย หญิงคนนั้นได้ทรุดตัวลง และกราบขอบพระคุณคุณแม่ เพราะนึกไม่ถึงว่าคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน จะช่วยเหลือหาที่พักให้ มอบเงินค่าเดินทาง ส่งขึ้นรถกลับ และมอบอาหารให้กินบนรถ  ทานครั้งนี้เป็นเรื่องที่คุณแม่ประทับใจอย่างไม่เคยลืมเลือน จนต้องมาเล่าให้ฟัง
ตอนใกล้จะออกพรรษา คุณแม่อยากจะธุดงค์ต่อไปและไปกราบลาเจ้าอาวาส  ทีแรกท่านพยายามห้ามไม่ให้ออก เพราะอยากให้ช่วยสอนพระเรื่องอภิธรรมที่เคยเรียนมา  แต่คุณแม่คงยืนกรานที่จะออกธุดงค์ จนในที่สุดท่านได้ออกจากวัด เดินทางสู่วัดพระพุทธบาตรตากผ้า จ.ลำพูน โดยอยู่ที่นั้นเดือนกว่า แล้วธุดงค์ต่อไปยัง วัดพระนอนม่อนช้าง ซึ่งที่วัดนี้ คุณแม่เล่าว่า อาหารที่ทาน มีแต่อาหารมังสวิรัติ
วันหนึ่งมีพระภิกษุมาถามคุณแม่ว่า จะไปปฏิบัติธรรมและนอนในป่าช้าได้ไหม ท่านตอบว่าได้ ท่านได้ปักกลดให้ทันทีที่ข้างหลุมฝังศพ  กลางวันคุณแม่อยู่ได้สบาย แต่พอวันนั้นประมาณ ๖ โมงเย็น คุณแม่ก็เริ่มกลัว พอลมพัดวูบ ก็สะดุ้ง ใบไม้หล่นลงมากระทบกัน ก็สะดุ้งกลัวจนน้ำตาไหล กลัวอยู่อย่างนั้นจนถึง ๓ ทุ่ม  แล้วจิตถามตัวเองว่า กลัวอะไร จิตอีกดวงตอบกลับว่า กลัวผี  จิตดวงแรกถามอีกว่า ผีอยู่ที่ไหน จิตตอบว่า ผีอยู่ใต้ที่เรานั่ง จิตถามอีกว่า เห็นมันแล้วหรือ จิตตอบว่ายังไม่เห็น ไม่เห็นแล้วกลัวทำไม จิตตอบต่อโดยคิดว่าเดี๋ยวผีก็จะโผล่ขึ้นมา จิตถามอีกว่า ไม่เห็นแล้วมันจะโผล่ขึ้นมาได้อย่างไร  ถ้าเผื่อมันโผล่ขึ้นมาจะทำอย่างไร มันยังไม่โผล่ขึ้นมาแล้วกลัวอะไรกันแน่ จิตถามตอบกันอยู่อย่างนั้นจนถึง ๓ ทุ่ม จนสุดท้ายจนตรอก จิตได้ตอบว่า กลัวตาย และจิตได้บอกว่า อยู่ที่ไหนก็ตาย อยู่ป้าช้าก็ตาย อยู่กุฏิก็ตาย จะให้เลือกอยู่ที่ไหน  จิตตอบเองว่า อยู่ป่าช้าดีกว่าอยู่กุฏิ เพราะทำให้มีสติดีระวังภัยได้มากกว่า  จากนั้นจิตรู้สึกว่างสบายสงบ คล้ายหัวระเบิดออกทำให้รู้สึกเบา โล่ง โปร่งสบายมากเลย เป็นผลให้รู้สึกไม่กลัวตายแล้วอีกต่อไป พอถึงตอนเช้า พระท่านได้ถามคุณแม่ว่า เมื่อคืนเป็นอย่างไร กลัวไหม คุณแม่ตอบว่า โอ๊ยท่านกลัวแทบตายเลยตั้งแต่ ๖ โมงจนถึง ๓ ทุ่มถึงได้หายจากความกลัว
จากที่ป่าช้าคุณแม่ได้ธุดงค์ต่อและปักกลดอยู่ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง ที่ตรงนั้นคุณแม่พบเห็นงูตัวหนึ่ง เลื้อยขึ้นทางรูข้างกลดที่คุณแม่นั่งสมาธิอยู่  งูได้โผล่ขึ้นมาข้างกายอย่างคาดไม่ถึง ทำให้คุณแม่รู้สึกว่ากำลังอยู่ใกล้ความตายมากที่สุด  แต่ก็ไม่ได้กลัว ท่านใช้สติและอธิษฐานจิตไปว่า ถ้างูตัวนี้เคยมีวิบากกรรมกับคุณแม่มาก่อน ขอให้ชดใช้บาปกรรมกันไปในชาตินี้ พร้อมกับแผ่เมตตาในบุญกุศลทั้งหมดที่คุณแม่ได้เคยทำมา มอบให้กับงูดุร้ายตัวนี้  พอแผ่เมตตาเสร็จงูไม่ได้ทำร้ายคุณแม่แต่กลับเลื้อยหายออกไป
ท่านอยู่ที่นั่นจนมีความคิดว่าถึงเวลาธุดงค์ต่อไปที่อื่น จึงบอกกับชาวบ้านแถวนั้นว่าจะไปธุดงค์  ชาวบ้านอ้อนวอนคุณแม่ว่า อย่าไปเลย ไม่อยากให้ไป อยากให้ประจำอยู่ที่นี่และไม่ยอมให้ไป  แต่ในที่สุดคุณแม่จำเป็นต้องจากไปเพราะต้องการธุดงค์ต่อ เมื่อชาวบ้านทราบว่าคุณแม่ ได้เดินออกจากวัด จึงพากันวิ่งตามคุณแม่ เพื่อถวายของให้คุณแม่ เพราะไม่รู้จะตอบแทนคุณแม่อย่างไร ที่เคยเมตตาชาวบ้านด้วยการแบ่งอาหาร ให้เด็กกินก่อนไปโรงเรียนและสอนธรรมะให้ชาวบ้านตามโอกาส  ก่อนจากกันคุณแม่ยังสอนธรรมะ และสอนให้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจริงจังต่อเนื่อง เพื่อตอบแทนคุณแม่และพุทธศาสนาอีกด้วย 
จากนั้นคุณแม่ธุดงค์ไปที่วัดห้วยบง จ. ลำพูน มีเจ้าอาวาสชื่อ ท่านครูบาวงศ์ พักอาศัยเป็นเวลา ๒ คืน ที่นี่ชาวบ้านแถบนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา  และต่อไปที่วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย ระหว่างธุดงค์ไปภาคเหนือ ท่านได้ธุดงค์ผ่านวัดแห่งหนึ่งที่มีพระภิกษุมาเข้าพิธีปริวาสกรรมประมาณ ๕๐๐ รูป โดยพักอยู่ที่วัดนี้ ๙ วัน  ที่นี่คุณแม่ได้พบกับสามเณรอายุ ๑๙ ปี นามว่า สามเณรกิตติพงศ์ ท่านสังเกตเห็นผ้าไตรจีวรของสามเณรอยู่ในสภาพเก่ามาก ท่านจึงคิดอยากจะถวายของใหม่ให้ เมื่อมีโอกาส  ด้วยเหตุอันใดหรืออะไรดลใจไม่ทราบ ในงานปริวาสกรรมครั้งนี้ มีฆราวาสและพระสงฆ์รวมกันประมาณ ๗๐๐ รูป/คน สามเณรรูปนี้ไม่เคยรู้จักคุณแม่มาก่อน แต่กลับได้มอบถวายพระบรมสารีริกธาตุครึ่งหนึ่งจากที่มี มอบให้แก่ ๔ ท่านในงานนี้เท่านั้น ได้แก่  ๑.เจ้าอาวาสวัดถ้ำเสือ ๒.เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาจม ๓.แม่ชีบุญมี เวชสาร ๔.แม่ชีรุ้งดาว  เมื่อได้รับมาบูชาแล้วคุณแม่เล่าว่า ได้แบ่งถวายมอบพระบรมสารีริกธาตุให้กับคนที่รู้จัก บางคนที่ศรัทธาพระบรมสารีริกธาตุ จะเพิ่มจำนวนขึ้นเอง แต่บางคนที่ไม่ศรัทธาพระบรมสารีริกธาตุ กลับหายไปเองได้
หลังจากแบ่งพระธาตุเสร็จ สามเณรเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์แปลกๆ ถึงสาเหตุที่ได้รับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุว่า แต่เดิมท่านชอบธุดงค์ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี โดยไม่ชอบอยู่จำวัดกับคนหมู่มาก ในเช้าวันหนึ่งขณะที่ธุดงค์เข้าไปในป่าลึก พบผู้ชายคนหนึ่งเดินมาจากที่ใดไม่ทราบ เข้ามาหาเพื่อมอบโกฐ พร้อมพระบรมสารีริกธาตุให้ ๑ ชุด โดยบอกให้นำไปสร้างเจดีย์บรรจุ แล้วเดินหายเข้าไปในป่าลึกอย่างแปลกประหลาด ว่าเป็นใครมาจากไหน
หลังจากเสร็จพิธีปริวาสกรรม คุณแม่ได้ธุดงค์ร่วมไปกับคณะพระสงฆ์ต่อไปยังภาคเหนือ ในระหว่างทางคุณแม่กับสามเณรกิตติพงศ์ ได้แยกทางกับคณะพระสงฆ์ เพื่อธุดงค์ต่อไปยังฝั่งประเทศพม่า  ท่านเล่าว่าวันหนึ่งทั้ง ๒ ได้เดินธุดงค์เข้าไปในป่าแห่งหนึ่ง จู่ๆ มีน้ำป่าทะลักไหลเข้ามาสูงขึ้นเรื่อยๆ จากเข่า เอว หน้าอกจนถึงระดับคอ ซึ่งทำให้คิดว่าระดับน้ำสูงจนอยู่ในช่วงใกล้ความตาย คุณแม่จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า หากเคยมีบุญบารมีมาก่อน ก็ขอให้น้ำป่าลดลง อย่าได้จมเสียชีวิตอยู่ในน้ำป่าแห่งนี้เลย  ชั่วครู่เดียวระดับน้ำป่าหยุดท่วมแค่ที่ระดับคอ และจะเพราะด้วยแรงอธิษฐานหรืออย่างไรไม่ทราบ ในเวลาไม่นานน้ำป่าได้ค่อยๆ ลดลงจนปลอดภัยเป็นที่อัศจรรย์ 
เมื่อระดับน้ำลดแล้วได้ ท่านได้เข้าไปหลบพักหลับในถ้ำแห่งหนึ่ง ด้วยสภาพที่เปียกปอนและเหนื่อยล้า  ขณะที่พักอยู่ครู่ใหญ่ รู้สึกว่าตัวเองกำลังจะเป็นไข้จากความชื้น แต่อยู่ๆ ก็มีผู้หญิงนุ่งผ้าถุงท่านหนึ่ง ซึ่งบริเวณนั้นไม่น่าจะมีผู้คนอาศัยอยู่ และรู้ได้อย่างไรว่าต้องการอาหาร ได้เดินเข้ามาหาในถ้ำแล้วถวายอาหารที่ประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากถ้ำแห่งนี้อยู่ลึกเข้าไปในป่าห่างไกลจากหมู่บ้าน  หลังจากสามเณรและคุณแม่ฉันท์อาหารเสร็จ สักครู่เดียวรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ และหายจากอาการเกือบจะเป็นไข้ทันที เพราะคุณค่าในสารอาหารที่ได้รับ จากนั้นอยู่ในถ้ำอีกไม่นานจึงเดินทางต่อ
ท่านได้ธุดงค์ลึกเข้าไปในเขตพม่า โดยระหว่างทางมีชาวพม่าบิณฑบาตอาหาร ขนม และเงินให้ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งฝังแน่นในวิถีชีวิตชาวพม่า เมื่อเดินลึกเข้าไปเรื่อยๆ จนพบกับแม่ชีสวมชุดสีชมพู ตามแบบของพม่า และพยายามคุยกันด้วยภาษามือ คุณแม่จับใจความได้ว่า แม่ชีชาวพม่าชวนให้อาศัยค้างที่วัดของเขา ๑ คืน  พอรุ่งเช้าแม่ชีชาวพม่าใช้ภาษามือห้ามไม่ให้เดินทางลึกเข้าไปมากกว่านี้ในดินแดนพม่า เพราะระหว่างทางอาจจะถูกกองทหารพม่าไม่ทราบฝ่ายฆ่าหรือปล้นได้  ดังนั้นคุณแม่และสามเณรจึงไม่ดื้อรั้นและเดินกลับไปยังฝั่งไทยที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อเดินทางกลับถึง จ. อุบลฯ คุณแม่ได้ซื้อจีวรใหม่ถวายให้แก่สามเณรตามที่ตั้งใจไว้ครั้งแรกที่พบ  
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ คุณแม่และสามเณรได้ร่วมธุดงค์กับคณะของอดีตพระอาจารย์ยันตระ ไปที่ จ.ศรีสะเกษ และเลยต่อไปที่ จ.จันทบุรี  ในระหว่างทางไป จ.จันทบุรี คุณแม่ต้องร่วมเดินทางไปกับรถเสบียง ซึ่งนั่งกันเต็มคันรถ แต่ทุกคนจำเป็นต้องขยับที่นั่งอันคับแคบ เพื่อแบ่งให้คุณแม่นั่งไปด้วยอย่างเบียดเสียด  ระหว่างเดินทางทุกคนนั่งอย่างอึดอัด ทำให้คุณแม่ถูกดุตำหนิตลอดทาง จากแม่ชีอาวุโสท่านหนึ่งที่ต้องนั่งอย่างอึดอัด และรู้สึกเมื่อยล้าจนเป็นทุกข์ เนื่องจากนอนไม่ค่อยหลับ  ตลอดเส้นทางคุณแม่ต้องกำหนดเสียงตำหนิบ่นไปตลอดทางจากแม่ชีอาวุโส  นอกจากคุณแม่จะไม่ตอบโต้กลับแล้ว ยังรู้สึกสงสารและเมตตาแก่แม่ชีท่านนั้น  เมื่อรถถึงที่พัก แม่ชีอาวุโสคงสงสัยว่าทำไมคุณแม่วางเฉยได้ไม่พูดอะไรตลอดทาง ท่านจึงเข้ามาสนทนาถามคุณแม่ว่า คุณแม่แยกรูปนามได้หรือยัง  คุณแม่เลยสอนเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ กลุ่มแม่ชีอาวุโสและอีกหลายคนพร้อมกัน 
เมื่อสนทนาธรรมะกันเสร็จ แม่ชีอาวุโสขอโทษคุณแม่เรื่องที่ดุว่าบนรถ คุณแม่ตอบกลับว่าท่านให้อภัยตั้งแต่ที่เริ่มดุด่าคุณแม่บนรถแล้ว โดยอธิษฐานในใจเพิ่มว่า ไม่ขอเอาโทษกับแม่ชีอาวุโสและอย่ามีเวรกรรมต่อกันอีกเลย  ช่วงท้ายก่อนจากกัน ท่านยังถามคุณแม่ว่าไปฝึกปฏิบัติที่ไหนมา  คุณแม่บอกว่าได้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากสำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี  ครั้นถึง จ.จันทบุรี คุณแม่ได้ต่อไป จ.เพชรบุรี ซึ่ง ท่านได้แยกทางกับสามเณรกิตติพงศ์ที่นี่ และไม่เคยได้พบกับท่านอีกเลยตราบจนทุกวันนี้
ต่อมาคุณแม่กลับไปวัดป่าใหญ่ จ.อุบลฯ โดยหัวหน้าแม่ชี ให้โอกาสคุณแม่อาศัยอยู่และให้เรียนอภิธรรม จนจบจุลตรี เป็นเวลา ๖ เดือน  พอขึ้นชั้นจุลโท มอบหมายให้คุณแม่สอน พระเณรที่เรียนชั้นจุลตรี  ในระหว่างที่สอน คุณแม่ได้สอดแทรกการสอนวิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานไปด้วย  กิจกรรมของคุณแม่ช่วงนั้นคือ ตอนเช้าเรียนชั้นจุลโท กลางวันทำงาน และตอน ๖ โมงเย็นสอนชั้นจุลตรี  ต่อมาคุณแม่บอกกับตัวเองว่า ไม่อยากเรียน และสอนปริยัติ(อภิธรรม) อีกต่อไป  ท่านจึงตัดสินใจธุดงค์ต่อไปที่ จ.นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี และมาจบเส้นทางธุดงค์ที่ กรุงเทพฯ
ตลอดระยะเวลาธุดงค์หลังออกพรรษาประมาณ ๑๐ ปี  สิ่งที่คุณแม่ได้รับคือ ความอดทนเข้มแข้ง และความแข็งแกร่งของร่างกาย แม้ว่าคุณแม่จะเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าตลอดเส้นทาง  ท่านเล่าว่า เช้าวันหนึ่งในขณะบิณฑบาตตอนเช้า เดินจนเท้าพอง ทำให้ปวดแสบปวดร้อนที่เท้ามาก  แต่ด้วยธรรมปีติจากวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยการกำหนดเดินจงกรม และกำหนดเวทนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถแยกจิตออกจากเวทนาได้ โดยที่อาการปวดสักแต่ว่าปวด ใจไม่รู้สึกทุกข์เวทนา และไม่ได้ปรุงแต่งตามอาการปวดเลย จึงทำให้การเกิดปีติเย็นซาบซ่านข้างในทั่วกาย  เช้าวันนั้นถึงแม้ว่าเท้าจะพอง คุณแม่ก็เดินเท้าบิณฑบาตอย่างเพลิดเพลินราบรื่นด้วยผรณาปีติ เพราะด้วยอานิสงส์จากวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ช่วงปีพ.ศ. ๒๕๒๙ คุณแม่เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมผ่าตัดตา พอได้รักษาตาเสร็จแล้ว คุณแม่จะขึ้นรถกลับไป จ.อุบลราชธานี แต่ไปไม่ทัน จึงได้ไปอาศัยที่ วัดอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย แต่ทางวัดไม่มีที่ จึงแนะนำให้ไปอาศัยอยู่ที่กุฏิแม่ชีเฉลิมศรี ในวัดนางชี เขตบางขุนเทียน โดยที่คุณประภาพร น้องบุญธรรมของคุณแม่ เป็นผู้อุปถัมภ์ออกค่าน้ำไฟของกุฎิให้ประมาณเดือนละ ๕๐๐ บาท
ช่วงปลายทางธุดงค์ที่ กรุงเทพฯ  คุณแม่ได้เข้าพักที่ วัดนางชี  ทุกท่านที่มาศัยวัดนี้จะต้องตื่นตี ๔ เพื่อสวดมนต์ คุณแม่ได้ยินคำบอกเล่าว่า หากใครมานอนที่นี่  ถ้าไม่ตื่นสวดมนต์ตอนตี ๔ อาจจะได้ยินเสียงปลุก(ในฝัน)ว่า ถ้าไม่สวด ก็ให้ไปที่อื่น  เช้าวันหนึ่ง ท่านเล่าว่า ได้รู้จักผู้หญิงท่านหนึ่งเป็นภรรยาของคุณสุรเดช  คุณแม่ตั้งชื่อให้ว่า คุณดวงใจ ซึ่งถูกผีเข้าและถูกพามาหาคุณแม่ที่กุฎิ  ในขณะที่สนทนากันอยู่ พระธุดงค์ท่านหนึ่งชื่อ พระวิชัย ซึ่งรู้จักคุณแม่มาประมาณ ๑๐ ปี แวะเข้ามาหาที่กุฎิ เมื่อท่านเห็นคุณดวงใจ ก็บอกคุณแม่ทันทีว่า คุณดวงใจคนนี้ ไม่มีใครรักษาหายได้ ยกเว้นคุณแม่คนเดียว เพียงสวดรักษาจากคาถาหนังสือมนต์พิธีตรงหน้าต่างๆ ที่พระวิชัยเขียนกากบากให้  
เมื่อสวดเสร็จให้เอาน้ำมนต์อาบให้ในเวลา ๖ โมงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก  ด้วยความเมตตาของคุณแม่ ท่านจึงอาสารับรักษาให้ แต่คุณแม่ยังไม่กล้าอาบน้ำมนต์ให้ เพราะเกรงว่าผีจะเข้าตัวเอง คุณแม่จึงเรียก แม่ชีนงค์ ผู้ที่เคยรักษาด้วยไสยศาสตร์แก่ผู้อื่นมาก่อน มาอาบน้ำให้คุณดวงใจ  พอคุณนงค์ราดน้ำมนต์ให้คุณดวงใจ คุณดวงใจก็ร้องกรีดขึ้นมาทันที แล้วหันสายตามาพูดเสียงเข้มว่า กูไม่กลัว ทำให้รักษาไม่ได้ผล  วันรุ่งขึ้นอยู่ๆ พระวิชัยก็กลับมาหาคุณแม่อีก และบอกคุณแม่บอกว่า คุณแม่คนเดียวเท่านั้น ที่จะต้องเป็นคนอาบน้ำมนต์เพื่อให้หาย 
ในที่สุดคุณแม่จึงต้องอาบน้ำมนต์ให้ พอเริ่มอาบ คุณดวงใจร้องกรีดอีกครั้ง แล้วร้องว่า “คุณแม่ งูออกจากซี่โครงหนูแล้ว”  จึงทำให้คุณดวงใจหายเป็นปกติ  แต่ผลตีกลับสู่คุณแม่จริงๆ โดยได้รับทุกข์เวทนาในอาการปวดเมื่อยมากทั้งตัว จนไม่สามารถเดินลงบันไดได้  จากนั้นอีก ๔ วัน พระวิชัยกลับมาหาคุณแม่อีก และแนะนำให้ไปซื้อยาสมุนไพรที่เจ้ากรมเป๋อ เพื่อให้คุณดวงใจกินแล้วจึงให้คุณแม่สวดมนต์ตามหนังสือมนต์พิธีอีกครั้ง และให้เอาน้ำมนต์อาบตัวเอง  พอคุณแม่ได้ทำตามครบทุกอย่าง คุณแม่ก็หายเป็นปลิดทิ้งทันทีเลย  จากนั้นมาคุณแม่เล่าว่า ต่อไปจะไม่รับรักษาคนผีเข้าอีกแล้ว  
ที่พักของท่านที่นี่ในวัดนางชี เป็นกุฏิไม้เก่า อยู่มาวันหนึ่งจู่ๆ ปรากฎมี งูเห่าไผ่ เลื้อยเข้ามาอาศัยยั้วเยี้ยเต็มห้องไปหมดประมาณ ๑๐๐ ตัว  พวกมันเข้ามาอยู่บนกันสาดของห้องน้ำเต็มไปหมด  คุณแม่จะหนีไปไหนก็ไม่ได้ เพราะไม่มีที่ไป ท่านเลยต้องคอยระวังเวลาเดินเข้าห้องน้ำ  และต้องคอยเอามือปิดหัวไว้เพื่อกันงูเห่าตกใส่  คุณแม่จำใจต้องทนอยู่อย่างระมัดระวังกับงูเห่าไผ่ เต็มกุฏิอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นเวลาถึง ๑ เดือน  พอครบเดือน คุณแม่ไปบอกกับแม่ชีเฉลิมศรี เจ้าของกุฏิที่วัดตะเคียน แม่ชีเฉลิมศรีบอกให้ไปบอก เสาวภาหรือให้ที่เล่นงูข้างวัดมาจับงูไป พอคุยเสร็จ จิตท่านผุดขึ้นเองว่า เรายังไม่อยากถูกขัง แล้วงูมันจะอยากถูกขังหรือ 
ต่อมาวันรุ่งขึ้น คุณแม่ได้ยืนหน้าเข้าไปในห้องน้ำ แล้วพูดกับพวกงูเห่าว่า “ท่านกับข้าพเจ้า อยู่กันคนละภพละภูมิ พวกท่านอย่าอยู่ตรงนี้เลย ที่นี่เป็นกุฎิมนุษย์ ให้ท่านไปอยู่ตรงที่ท่านเคยอาศัย  หากพวกท่าน(งู)ไม่ออกไปจากห้อง พรุ่งนี้เขาจะมาจับท่านไปแล้วนะ ขอให้พวกท่านย้ายออกไป จะได้ไม่เป็นอันตราย”  วันต่อมาคุณแม่ตื่นขึ้นสำรวจดู ปรากฎว่างูเห่าหายไปหมดเลยอย่างอัศจรรย์ คล้ายกับเข้าใจคำพูดท่าน  แต่ยังเหลืองูเห่าอยู่อีกตัวหนึ่ง ในช่องตรงซอกประตูเหล็กทางเข้ากุฏิ  คุณแม่เลยเดินไปที่ซอกประตู พูดกับงูเห่าว่า ยังไปไม่หมดอีกหรือ ไปซิ แล้วจากไปทำธุระต่อ  ในวันนั้นคุณแม่มีแขกมาหา สนทนาธรรมกันอยู่ ๒ - ๓ ชั่วโมง  เมื่อสนทนาเสร็จ ท่านส่งแขกกลับและเดินไปดูงูเห่าที่เหลืออีกตัวเดียว ปรากฎว่ามันได้เลื้อยออกจากกุฏิไปคล้ายกับว่า งูเห่าทั้งหมดเข้าใจภาษาคนได้จริง
ต่อมาอีก ๒ ปี คุณแม่ได้รู้จักกับแม่ชีอุษา ที่อยู่วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์  แม่ชีอุษาแนะนำให้คุณแม่มาพักที่ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ เพราะมีแม่ชีอาศัยอยู่ที่นั่นไม่กี่คน ยังมีที่พักอาศัยเหลืออยู่  คุณแม่จึงได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่นี่ และได้ช่วยทำงานในส่วนที่พักของแม่ชี  หากช่วงใดว่าง ท่านจะเดินทางไปสำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และช่วยแนะนำสอนผู้คนบ้างตามโอกาส  คุณแม่เดินทางไปมาระหว่างสำนักวิเวกอาศรมและวัดสัมพันธวงศ์อยู่นาน  จนวันหนึ่ง พระครูสีหนารถ เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง จ.กำแพงเพชร ที่รู้จักกับคุณแม่มานาน แนะนำให้คุณแม่สอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้แล้ว พร้อมกับแนะนำญาติโยมให้มาฝึกปฏิบัติกับคุณแม่
ตั้งแต่นั้นมา คุณแม่ได้สอนประจำอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ เพื่อสอนวิปัสสนาแก่ญาติโยม บริเวณใต้กุฎิ อาคารที่พักเดิมของแม่ชี อยู่ใกล้กับองค์เจดีย์เก่า  ต่อมามีลูกศิษย์มากขึ้น พื้นที่ในการสอนที่ใต้อาคารเก่าไม่เพียงพอและไม่สะดวกในการปฏิบัติ  ท่านจึงขอแม่ชีบุญมา มาสอนปฏิบัติอยู่ที่ห้องเล็กอีกฝั่งหนึ่ง  ในที่สุดได้มาสอนปฏิบัติภายในศาลาหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕  บริเวณระหว่างกลางของอาคารที่พักเดิมกับห้องเล็ก เพื่อสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน แก่แม่ชีและญาติโยม  ในสมัยก่อนศาลานี้จะเป็นที่เก็บของต่างๆ ของวัด อีกทั้งยังมืดและมีของรุงรังไม่เรียบร้อย ท่านจึงขอความจากสามเณรในวัดเพื่อช่วยขนย้ายสิ่งของ และร่วมทำความสะอาดสถานที่จนเป็นที่สัปปายะ  ลูกศิษย์จากสำนักวิเวกอาศรม ที่ทราบว่าคุณแม่ประจำอยู่ที่นี่ จะแนะนำโยคีมาฝึกวิปัสสนากับคุณแม่ที่กรุงเทพฯ 
ต่อมาอีก ๒ ๓ ปี คุณแม่เริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจ และจำเป็นต้องไปพักผ่อนที่ต่างจังหวัด เพื่อถนอมร่างกายของท่าน จึงเดินทางไปพักที่ จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นบ้านลูกศิษย์ ของหลวงพ่อสีหนารถที่ศรัทธาคุณแม่  ถึงแม้จะย้ายไปพักผ่อนที่โน่น คนกรุงเทพฯ ยังตามไปหาท่านถึงที่จนได้  คุณแม่พักอยู่หลายเดือนที่กำแพงเพชร พร้อมๆ กับสอนวิปัสสนาไปด้วย แม้จะมีอาการป่วยอยู่ก็ตาม  ท่านเล่าว่าวันหนึ่งในคืนเดือนหงายที่บ้านหลังนั้น คุณแม่อยู่ๆ ได้ยินเสียงเรียกว่า คุณแม่ข๋า คุณแม่ข๋า  เมื่อคุณแม่เปิดประตูบ้านออกไปดู ก็ไม่เห็นมีใคร แต่รู้สึกเหมือนเห็นคนเดินผ่าน แต่ไม่ค่อยชัด  พอถึงวันก่อนที่คุณแม่จะกลับกรุงเทพฯ คุณแม่ได้ยินเสียงร้องไห้ สะอึกสะอื้น อีกครั้งชัดเจน ทำให้คุณแม่นึกว่า ลูกศิษย์กำลังทะเลาะกัน  สักครู่จำได้ว่าเสียงร้องไห้นั้นเป็นเสียงเดียวกันกับที่เรียก คุณแม่ข๋า คุณแม่ข๋า ในคืนเดือนหงาย ท่านคิดว่าเจ้าของเสียงคงอาลัยที่คุณแม่จะต้องจากไป
เนื่องจากมีศิษย์มาปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้สถานที่ฝึกปฏิบัติเริ่มขับแคบ ทำให้พื้นที่ไม่เพียงพอ  คุณแม่จึงมีดำริที่จะปรับปรุงภายในศาลาหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พร้อมกับสร้างอาคารที่พัก ๓ ชั้นเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม  ต่อมาเมื่อมีโอกาสในปี พ.ศ. ๒๕๔๗  คุณแม่จึงได้นำเรื่องปรับปรุงนี้ เข้ากราบเรียนท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติเมธี(จำนง ธมฺมจารี) ตำแหน่งในอดีต ปัจจุบันได้รับตำแหน่งเป็น พระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เพื่อขออนุญาติดำเนินการก่อสร้างอาคาร และได้รับคำแนะนำปรึกษาอย่างดี  ท่านเจ้าคุณได้เมตตาคุณแม่อย่างสูง พร้อมกับสนับสนุนในงานเผยแผ่วิปัสสนาธุระ และอำนวยความสะดวกแก่นักปฏิบัติ  ท่านเจ้าคุณไม่เพียงแต่อนุญาติเท่านั้น ยังได้ร่วมสนับสนุนเป็นเจ้าภาพด้านปัจจัย และสมทบทุนค่าก่อสร้าง โดยสร้างกองผ้าป่าให้อีกด้วย นับจากนั้นอีก ๘ เดือน ท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติเมธี ได้เป็นประธานผ้าป่า และได้นำเงินจากกองผ้าป่ามาร่วมบริจาคเป็นค่าก่อสร้างอาคารที่พักของผู้ปฏิบัติ โดยที่ท่านเจ้าคุณเป็นผู้ตั้งชื่ออาคารที่พักว่า “สามัคคีมีบุญ”  กองผ้าป่าของท่านเจ้าคุณได้มากถึงประมาณ ๑ ล้านบาท  ส่วนที่เหลือมาจากลูกศิษย์ของคุณแม่ ที่ได้ร่วมกันทำบุญสมทบอีก ๒ ล้านกว่า  รวมค่าก่อสร้างอาคารสามัคคีมีบุญประมาณ ๓ ล้านบาท และได้สร้างเสร็จในปีพ.ศ. ๒๕๔๘   
ตั้งแต่ที่คุณแม่บวชจนถึงปัจจุบัน เวลาทั้งหมดที่ท่านให้กับลูกศิษย์ มีแต่เรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน, การสอบอารมณ์(แนะนำผู้ปฏิบัติ ให้อยู่ในเส้นทางของวิปัสสนา เพื่อเดินทางตรงเข้าสู่อารมณ์พระนิพพาน) และสนทนาธรรมแต่ในเรื่องการปฏิบัติเท่านั้น  คุณแม่จะไม่เน้นเรื่องการบรรยายทฤษฎี หรือให้ไปศึกษาทฤษฎี(ปริยัติ)ก่อน  ท่านจะสอนวิธีปฏิบัติโดยให้ลูกศิษย์ลงมือฝึกทันที  และสอนให้เห็นประสบการณ์จริง ที่เกิดขึ้นกับจิตของตน พร้อม ๆ ไปกับการแนะนำแก้ไขการปฏิบัติ ที่เรียกว่า การสอบอารมณ์ คุณแม่สอนว่าการสอบอารมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี หรือปริยัติเคียงคู่ไปกับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  และการปฏิบัติจะขาดการสอบอารมณ์ไปไม่ได้ 
ท่านได้เริ่มสอนปฏิบัติอย่างจริงจังนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วยรูปแบบการกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ตามแนว ของสำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นต้นแบบของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่สอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ตั้งแต่ที่คุณแม่บวชชีจนมาถึงปัจจุบัน งานด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานหรือวิปัสสนาธุระ เป็นเพียงกิจกรรมหลักอย่างเดียวของท่าน ซึ่งลูกศิษย์ใกล้ชิดจะทราบดีว่าท่านจะสอนวิปัสสนา แก่ลูกศิษย์ที่เดินทางมาหาทุกคน ด้วยความเมตตาเท่ากันทุกคน ถึงแม้ท่านจะป่วยหนักมากก็ตาม จนบางครั้งถึงกับถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังจากจบการสนทนา โดยที่ลูกศิษย์ไม่มีรู้ เพราะท่านจะไม่เคยบอกใครเลยว่า ท่านไม่ไหวแล้ว ท่านป่วยมาก หรือขอหยุดสนทนากับลูกศิษย์คนใด ตลอดชีวิตของการบวช ท่านได้เป็นพุทธบริษัท ๔ ที่สมบูรณ์แบบ เพราะมีความมุ่งมั่นในการเผยแผ่วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของท่าน และเชื่อว่าแม่ชีบุญมี เวชสาร จะดำรงค์อยู่ในจิตใจของลูกศิษย์ทุกคน อย่างไม่มีวันลืมเลือนตลอดไป






รวบรวมจากการสัมภาษณ์ แม่ชีบุญมี เวชสาร 
โดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙


----------------------------------------------------