๑. นั่งสติ/สมาธิ (ท่าจำเป็นในการฝึกเบื้องต้น)
๒. เดินจงกรม
๓. การเจริญสติในระหว่างวัน (อิริยาบถย่อย) - มีความสำคัญเพื่อใช้ในชีวิตจริง
การปฏิบัติจะเริ่มฝึกด้วยการเดินจงกรม ซึ่งฝึกได้จากทั้ง การเดินจงกรมช้าและเร็ว ๒ วิธี
๑. การเดินจงกรม (แบบช้า และแบบเร็ว)
๑.๑ การเดินจงกรมช้า(ค่อยๆ เคลื่อนไหว) ๓๐ นาที
๑.๑ การเดินจงกรมช้า(ค่อยๆ เคลื่อนไหว) ๓๐ นาที
วิธีเดินจงกรมช้าเป็นที่นิยมของการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานรูปแบบพองยุบ
ซึ่งมีการสอนตาม บูรพาจารย์ที่ถ่ายทอดกันมา ในสถานที่ปฏิบัติที่เงียบสงัด
ด้วยการเดินจงกรมให้ช้าที่สุดและ กำหนด อิริยาบถย่อยให้ละเอียดที่สุดเช่น
ขณะก้มลงกราบพระรัตนตรัย ขณะทานอาหาร เดิน อาบน้ำ เป็นต้น การกำหนดเดินจงกรมช้า ๖
ระยะมีวิธีการปฏิบัติด้วยการกำหนดอารมณ์ภายในและภายนอก ดังนี้
๑) กำหนดอารมณ์หลักของการเดินจงกรม
๖ ระยะ(อารมณ์ภายใน)
(๑)
กำหนด ยืนหนอ ก่อนเริ่มเดินจงกรม
๑ ครั้ง ด้วยท่ายืนตรง จับมือด้านหน้า หรือด้านหลัง แต่ความรู้สึกต้องอยู่สติระลึกรู้อาการยืนจริงๆ
ไม่ใช่ติดอยู่กับคำบริกรรม โดยอย่าจม นิ่ง หรือแช่อยู่กับยืนหนอ นานเกินไป
เพียงระลึกรู้อาการยืนพร้อมกับกำหนดขณะจิตเดียว จากนั้นให้เตรียม กำหนดต้นจิตว่า อยากเดินหนอ
ต่อไปทันที
(๒)
กำหนด อยากเดินหนอ ๑ ครั้ง
ที่ต้นจิตบริเวณภายในกลางหน้าอกเพียงขณะเดียว จากนั้นเคลื่อนย้ายหรือส่งความรู้สึกลงไปที่ ฝ่าเท้าซ้าย(ถ้าเริ่มเดินด้วยเท้าซ้าย)
และขวา(ถ้าเริ่มเดินด้วยเท้าขวา) เพื่อเตรียมกำหนดการเดิน จงกรมระยะที่ ๑ ต่อไป
(๓)
เดินระยะที่ ๑ (ซ้ายย่างหนอ –
ขวาย่างหนอ) ด้วยการส่งความรู้สึกให้อยู่กับการระลึกรู้อาการเคลื่อนไหวของฝ่าเท้าที่เคลื่อนไปจริง
พร้อมกับกำหนด เบาๆ สั้นๆ ว่า ซ้ายย่างหนอ หรือขวาย่างหนอ ตามฝ่าเท้าของข้างที่เคลื่อนจากจุดเริ่มขยับไป จน ฝ่าเท้าเหยียบพื้น
(๔)
เดินระยะที่ ๒ (ยกหนอ - เหยียบหนอ) ด้วยการกำหนดความรู้สึกของฝ่าเท้าที่ยกขึ้น ๑
ขณะ พร้อมกับกำหนดเบาๆ สั้นๆ ว่า ยกหนอ แล้วกำหนดความรู้สึกของฝ่าเท้าที่เคลื่อนไปเหยียบถึงพื้นว่า
เหยียบหนอ
(๕)
เดินระยะที่ ๓ (ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ) ด้วยการกำหนดความรู้สึกของเท้าที่ยกขึ้น
๑ ขณะว่า ยกหนอ แล้วกำหนดความรู้สึกของฝ่าเท้า ที่เคลื่อนย่างไปว่า ย่างหนอ
๑ ขณะ จากนั้นกำหนดความรู้สึกของอาการเคลื่อนฝ่าเท้า ลงเหยียบ ถึงพื้นว่า เหยียบหนอ
อีก ๑ ขณะ
(๖)
เดินระยะที่ ๔ (ยกส้นหนอ -
ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ) ด้วยการกำหนดอาการเคลื่อนขณะยกส้นเท้าว่า ยกส้นหนอ,
ยกฝ่าเท้าขึ้นจากพื้นว่า ยกหนอ, ย่างฝ่าเท้าไปข้างหน้าว่า ย่างหนอ และเคลื่อนฝ่าเท้าเหยียบลงถึงพื้นว่า
เหยียบหนอ
(๗)
เดินระยะที่ ๕ (ยกส้นหนอ -
ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ
- ถูกหนอ) ด้วยการกำหนดอาการเคลื่อนขณะยกส้นเท้าว่า
ยกส้นหนอ, ยกฝ่าเท้าขึ้นจากพื้นว่า ยกหนอ, ย่างฝ่าเท้าไปข้างหน้าว่า ย่างหนอ,
เคลื่อนฝ่าเท้าลงครึ่งหนึ่งแต่ยังไม่ถึงพื้นว่า ลงหนอ และเคลื่อน ฝ่าเท้าลงสัมผัสพื้นว่า
ถูกหนอ
(๘)
เดินระยะที่ ๖ (ยกส้นหนอ -
ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ
- ถูกหนอ - กดหนอ)
ด้วยการกำหนดอาการเคลื่อนขณะยกส้นเท้าว่า ยกส้นหนอ, ยกฝ่าเท้าขึ้นจากพื้นว่า ยก
หนอ, ย่างฝ่าเท้าไปข้างหน้าว่า ย่างหนอ, เคลื่อนฝ่าเท้าลงครึ่งหนึ่งแต่ยังไม่ถึงพื้นว่า
ลงหนอ, เคลื่อนปลายฝ่าเท้าด้านหน้าลงแตะสัมผัสพื้นว่า ถูกหนอ และวางฝ่าเท้าทั้งหมดลงสัมผัสพื้นว่า
กดหนอ
โยคีใหม่จะเริ่มฝึกด้วยการเดินจงกรมระยะที่ ๑ และอย่าเดินระยะอื่นตามใจตนเอง
เมื่อโยคี ปฏิบัติได้ดีแล้ว วิปัสสนาจารย์จะเป็นผู้แนะนำให้เดินระยะอื่นตามความเหมาะสมแก่โยคีเท่านั้น
(๙)
กำหนด ยืนหนอ ๑ หรือ ๓ ครั้ง
เพื่อเตรียมตัวหมุนขยับร่างกายกลับ
(๑๐) กำหนด อยากกลับหนอ ๑ หรือ ๓ ครั้ง ที่ต้นจิตภายในกลางหน้าอก
แล้วเคลื่อนย้ายความรู้สึกลงไปที่ ฝ่าเท้าซ้ายหรือขวา เพื่อเตรียมขยับฝ่าเท้ากลับ
๓ คู่
(๑๑) กำหนด กลับหนอ ของอาการเคลื่อนหมุนกลับของฝ่าเท้าซ้าย(ถ้าหมุนไป ด้านซ้าย)
หรือขวา(ถ้าหมุนไปด้านขวา)
แล้วเคลื่อนเท้ากลับไปทีละ ๓ คู่ (กลับหนอ - เท้าซ้าย, กลับหนอ - เท้าขวา)
จนหมุนตัวกลับหลังหันครบ ๑๘๐ องศา
(๑๒) กำหนด ยืนหนอ ๑ หรือ ๓ ครั้ง ด้วยการระลึกรู้อาการยืนของร่างกาย เพื่อ เตรียมกำหนด
อยากเดินหนอ ต่อไป
(๑๓) กำหนด อยากเดินหนอ ๑ หรือ
๓ ครั้ง ด้วยการส่งความรู้สึก ย้ายมาที่ ภายใน กลางหน้าอกเพื่อกำหนดต้นจิต แล้วเคลื่อนความรู้สึกลงไปที่ฝ่าเท้า
เพื่อกำหนดเดินต่อไป
๒) กำหนดอารมณ์อื่นๆ
และอารมณ์ภายนอก
วิธีการกำหนดอารมณ์อื่นๆ
เช่น คิดหนอ ยินหนอ เย็นหนอ ร้อนหนอ เห็นหนอ กลิ่นหนอ เป็นต้น ที่อาจเกิดแทรกขึ้นในขณะเดินจงกรม
ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ พุทโธ หรือ พองยุบ มี ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑
คือเมื่อมีอารมณ์อื่นปรากฎขึ้นในระหว่างเดินจงกรม ให้โยคีหยุดเดิน ด้วยการ กำหนดอารมณ์นั้น
จนกว่าอารมณ์นั้นจะดับหายไปก่อน ถึงจะเริ่มขยับเดินต่อไป
วิธีที่ ๒
คือเมื่อมีอารมณ์อื่นปรากฎขึ้น ไม่ต้องหยุดเดิน ให้โยคีเพียงกำหนดอาการ เคลื่อน เท้าเดินต่อไปเป็นปกติตามระยะของการเดินจงกรม ถ้ามีอารมณ์อื่นๆ เกิดขึ้น ให้โยคีกำหนดอารมณ์นั้น
แล้วกลับมากำหนดอารมณ์หลักของการเดินจงกรมต่อไป โดยไม่ต้องหยุดเดินหรือหยุดอาการเคลื่อน เท้า
วิธีที่ ๑ ที่ให้หยุดเดิน
เพื่อให้อารมณ์อื่นที่แทรกขึ้นหายไปก่อน จึงเริ่มเดินต่อนั้นเป็นวิธีที่นิยม ใช้ฝึกฝนตามรูปแบบบริกรรมพองยุบ
เพียงแต่อย่าให้โยคีหยุดกำหนดและให้กำหนดจนกว่า อารมณ์นั้น จะดับหายไป วิธีหยุดเดินนี้คือบางครั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ
เนื่องจากเป็นการนำโยคีกลับไปสู่ อารมณ์บัญญัติหยาบเริ่มต้นใหม่
ซึ่งทำให้ขาดการกำหนดอย่างต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ
ส่วนการกำหนด โดยไม่หยุดเดิน แม้ว่าจะกำหนดได้ไม่ง่าย แต่เป็นการเกื้อหนุนต่อการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
เพราะทำให้เกิดความต่อเนื่องของการกำหนด ซึ่งจะช่วยให้ป้องกัน การแทรกแซงหรือการเบี่ยงเบนของอารมณ์ในขณะเช่น
การบังคับหยุด อาการเคลื่อนเท้าลง และความรู้สึกของเท้าที่กระทบพื้น
โดยมิได้กำหนดที่อาการตามความเป็นจริงของการเคลื่อนเท้าว่า หยุดหนอ, ลงหนอ
หรือถูกหนอ
ทั้ง ๒
วิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่จากประสบการณ์ของการสอนพบว่า การไม่หยุดเดิน มักจะได้ผลดีกว่าการหยุดเดิน ฉะนั้นในขณะเดินจงกรม
หากมีอารมณ์อื่นชัดเจนเกิดขึ้น ให้กำหนด อารมณ์นั้นด้วย แล้วกลับมากำหนดอารมณ์หลักต่อไป
โดยไม่ต้องหยุดเดินหรือ หยุดเคลื่อนเท้า ลงกับพื้น
ตัวอย่างการกำหนดโดยไม่ต้องหยุดเดินเช่น
ในขณะกำหนดเดินระยะที่ ๓ (ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ) หลังจากกำหนด ยกหนอ
แล้วเกิดมีความคิดแทรกขึ้น ให้กำหนด คิดหนอ ทันที โดยไม่ต้องหยุดเดินหรือหยุดย่าง
และให้เคลื่อนเท้าย่างต่อไปตามปกติ
เมื่อความคิดหายไปแล้ว ให้เคลื่อนความรู้สึกกลับมากำหนดการเดินต่อ
ไม่ว่าจะเป็นระยะใด ให้กำหนดระยะนั้นได้ทันที ตามความเป็นจริง ถ้าย้ายกลับมาแล้วเป็นระยะเหยียบหนอ ให้กำหนด
เหยียบหนอ ทันที โดยข้ามการกำหนด ย่างหนอ ไป ๑ ระยะ สำหรับกรณีที่กำหนดความคิด แล้วความรู้สึกกลับมาที่เท้า ปรากฎว่าได้ผ่านเลยการกำหนดไปแล้ว
๒ ระยะ(ย่างหนอ และ เหยียบหนอ) ก็ให้กำหนดระยะต่อไป ได้ทันทีคือ ยกหนอ
โดยข้ามการกำหนดไป ๒ ระยะ เพื่อให้การกำหนดเกิดความต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ ไปเรื่อยๆ
จนครบเวลา
วิธีกำหนดโดยไม่หยุดเดินช่วยทำให้เกิดสติปัฏฐานจดจ่อไปที่อารมณ์(รูปนาม)
ด้วยความ ต่อเนื่องอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งทำให้เห็นการเกิดดับของอารมณ์(รูปนาม)ได้เร็ว
แล้วนำเข้าสู่การปฏิบัติ ทำให้เกิดอารมณ์ปรมัตถ์อย่างต่อเนื่อง
จนทำให้เกิดวิปัสสนาญาณเบื้องสูงตามลำดับ โดยนำไปสู่ เป้าหมายสูงสุดของวิปัสสนากัมมัฏฐานคือการนำพาจิตเคลื่อนลงสู่อารมณ์พระนิพพานในที่สุด
การกำหนดอารมณ์อื่นๆ และอารมณ์ภายนอก ที่อาจเกิดขึ้นในขณะเดินจงกรมเพื่อใช้ ฝึกกำหนด เกิดขึ้นได้ทางทวาร ของตา
หู จมูก กาย และใจ(ไม่มีทางลิ้น
เพราะโยคีไม่ได้ทานอาหาร ในขณะเดิน) มีดังนี้
(๑) กำหนด ยินหนอ ต่อเสียงที่เกิดขึ้นทางหู เมื่อจิตได้รับคลื่นเสียง ไม่ว่าจะเป็นคลื่นเสียงในระดับใดเช่น
คลื่นเสียงเบาจนถึงดัง ทุ้มไปถึงแหลม และเสียงเป็นจุดหรือ เสียงเกิดดังต่อเนื่อง ล้วนแต่มีค่าเท่ากันหมด เพราะมันเป็นเพียงคลื่นเสียงหรืออารมณ์หนึ่งเท่านั้น
ในขณะกำหนด ให้ย้ายความรู้สึกจริงๆ
ไปแตะเบาๆ ตรงเสียงที่กำหนดว่า ยินหนอ สั้นๆ เบาๆ โดยไม่คิดหรือปรุงแต่งไปกับเสียง
แล้วย้ายไปกำหนดอารมณ์ใหม่ชัดเจนต่อไปจนครบเวลา
ถ้ากำหนดยินหนอแล้วหลงไปกับเสียงหรือมีภาพของเสียงปรากฎขึ้น ให้กำหนดทันทีว่า
คิดหนอ โดยไม่ให้แช่หรือจมอยู่กับความคิดจนขาดการกำหนดไปชั่วขณะ
(๒) กำหนด เห็นหนอ ต่อภาพที่เกิดขึ้นทางตา เมื่อจิตได้รับภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพใหญ่ กลาง
หรือเล็ก ล้วนแต่มีค่าเท่ากันเพราะเป็นเพียงภาพหรืออารมณ์หนึ่งเท่านั้น แต่ในขณะเดินจงกรม
อย่ากำหนดเห็นหนออย่างเดียวมากจนเกินไป ให้โยคีกำหนดเห็นหนอ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แม้ว่าจะเกิดการเห็นตลอดเวลาที่เดินก็ตาม
(๓) กำหนด กลิ่นหนอ ต่อกลิ่นที่เกิดขึ้นทางจมูก เมื่อจิตได้รับกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นหอม ชื้น อับ
หรือเหม็น ล้วนแต่มีค่าเท่ากัน เพราะเป็นเพียงกลิ่นหรืออารมณ์หนึ่งเท่านั้น
(๔) กำหนด เย็นหนอ ต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกาย เมื่อจิตได้รับรู้ การกระทบของลมที่พัดมาถูกตัว
แล้วทำให้รู้สึกเย็นในขณะเดิน หรือกำหนดร้อนหนอ ถ้าหากรู้สึก ร้อนที่ร่างกาย
(๕) กำหนด คิดหนอ ต่อความคิดที่เกิดขึ้นทางใจ เมื่อจิตเกิดความคิด ไม่ว่าจะเป็นความคิดเรื่องใดๆ
ล้วนแต่มีค่าเท่ากัน เพราะเป็นเพียงความคิดทางใจ หรืออารมณ์หนึ่ง เท่านั้น
(๖) กำหนดอารมณ์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น คันหนอ เมื่อยหนอ ชาหนอ
ตึงหนอ ปวดหนอ ง่วงหนอ เบื่อหนอ กลัวหนอ นิ่งหนอ มึนหนอ หรือ รู้หนอ(สำหรับอารมณ์ที่ไม่รู้จะเรียกอย่างไร
แล้วมาถามวิปัสสนาจารย์ว่ากำหนดถูกไหม)
สรุปวิธีของการกำหนดขณะเดินจงกรมช้า
จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดอารมณ์หลัก ของการเดินระยะที่ ๑ (ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ)
โดยความรู้สึกของโยคีจะต้องน้อมไปที่ อาการเคลื่อนไหวของเท้าจริงๆ และอย่า่แช่ จม
หรือแนบแน่นจนเกินไป เพราะขณะใดที่มีอารมณ์อื่นๆ เกิดขึ้นชัดเจน ให้กำหนดอารมณ์นั้นๆ
ด้วย เช่น ยินหนอ เย็นหนอ ร้อนหนอ คิดหนอ เมื่อยหนอ เบื่อหนอ ง่วงหนอ ปวดหนอ
เห็นหนอ กลิ่นหนอ นิ่งหนอ มึนหนอ รู้หนอ เป็นต้น
ถ้ากำหนดแล้วอารมณ์นั้นดับหายไป
ให้เคลื่อนย้ายความรู้สึกกลับมากำหนดที่ อาการเดิน ต่อไปไม่ว่าจะอยู่ระยะใดก็ตาม โยคีเพียงกำหนดตามความรู้สึกจริงว่าเป็นระยะ
ยกหนอ หรือ ย่างหนอ หรือ เหยียบหนอ หรืออะไรก็ตาม โดยไม่ต้องหยุดเดินหรือหยุดอาการเคลื่อนเท้า
๑.๒ การเดินจงกรมเร็ว (ฝึกง่ายสำหรับคนในเมืองและผู้ต้องทำงานระหว่างวัน) ๓๐ นาที
๑.๒ การเดินจงกรมเร็ว (ฝึกง่ายสำหรับคนในเมืองและผู้ต้องทำงานระหว่างวัน) ๓๐ นาที
การเดินจงกรมเร็วเหมือนเดินปกติเป็นรูปแบบของสายพุทโธที่นิยมใช้ฝึก
ซึ่งการกำหน ด เดินเร็ว ช่วยให้จิตคุ้นเคยกับการเจริญสติได้ดีในอิริยาบถต่างๆ และเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันเพื่อควบคุม
โมหะ โลภะ โทสะ ทางความคิด คำพูด หรือการกระทำ ไม่ว่าจะเป็น ขณะเดินในตลาด, เดินในห้างสรรพสินค้า,
ทุกที่ของการทำธุระ, ซื้อข้าวของหรือในสถานที่ทำงาน
การเดินจงกรมสามารถฝึกได้อีกวิธีหนึ่ง
ด้วยการเดินความเร็วปกติ พร้อมกับการกำหนด อารมณ์ ๒ ประเภท คือ อารมณ์หลัก
และอารมณ์รองอื่นๆ ดังนี้
๑) กำหนดอารมณ์หลัก ๗ ประเภท (ให้กำหนดด้วยจิต สั้นๆ บางๆ และ เบาๆ)
(๑) กำหนด ยินหนอ ทางหู (กำหนดเสียงหรือคลื่นเสียงต่างๆ ในทุกระดับประเภท โดยไม่เลือกแต่เฉพาะเสียงแหลม หรือดัง) เสียงจะวิ่งมาหาเราเอง อย่าออกไปหาหรือรอเสียง
(๒) กำหนด กลิ่นหนอ ทางจมูก(กำหนดทุกกลิ่นที่มากระทบไม่ว่า หอมหรือเหม็น โดยไม่กำหนดว่า หอมหนอ หรือเหม็นหนอ)
(๓) กำหนด เย็นหนอ ทางกาย(กำหนดลมที่พัดมากระทบตัว) หรือ ร้อนหนอ ถ้ารู้สึกร้อนที่ร่างกาย
(๔) กำหนด เห็นหนอ ทางตาขณะเดียว(กำหนดภาพที่เห็นทันที ไม่ว่าภาพใหญ่ กลาง หรือเล็ก โดยไม่ให้พิจารณาหรือคิดหลงตามภาพที่เห็นไป)
(๕) กำหนด ซ้ายหนอ เมื่อเท้าซ้ายกระทบพื้น
(๖) กำหนด ขวาหนอ เมื่อเท้าขวากระทบพื้น
(๗) กำหนด ถูกหนอ ถ้าความรู้สึกมาตรงที่มือทั้งสองสัมผัสกับร่างกาย
(๒) กำหนด กลิ่นหนอ ทางจมูก(กำหนดทุกกลิ่นที่มากระทบไม่ว่า หอมหรือเหม็น โดยไม่กำหนดว่า หอมหนอ หรือเหม็นหนอ)
(๓) กำหนด เย็นหนอ ทางกาย(กำหนดลมที่พัดมากระทบตัว) หรือ ร้อนหนอ ถ้ารู้สึกร้อนที่ร่างกาย
(๔) กำหนด เห็นหนอ ทางตาขณะเดียว(กำหนดภาพที่เห็นทันที ไม่ว่าภาพใหญ่ กลาง หรือเล็ก โดยไม่ให้พิจารณาหรือคิดหลงตามภาพที่เห็นไป)
(๕) กำหนด ซ้ายหนอ เมื่อเท้าซ้ายกระทบพื้น
(๖) กำหนด ขวาหนอ เมื่อเท้าขวากระทบพื้น
(๗) กำหนด ถูกหนอ ถ้าความรู้สึกมาตรงที่มือทั้งสองสัมผัสกับร่างกาย
เมื่อกำหนดเดินจงกรมจนครบเวลาแล้วให้เดินไปนั่งสมาธิทันทีและอย่าเดินไปคุยเล่น กินข้าว หรือไปทำธุระ เพราะจะทำให้กัมมัฏฐานรั่วและเป็นอุปสรรคต่อการกำหนดปฏิบัติ หากจำเป็นต้องคุย, ทานข้าว หรือทำธุระ ให้ทำกิจเสร็จก่อนจึงค่อยไปเดินจงกรมแล้วนั่งสมาธิต่อทันที
๒) กำหนดอารมณ์จร ๓ ประเภท - ความคิด / ความรู้สึก / อารมณ์ (ถ้ามี)
ในขณะกำหนดอารมณ์หลักของการเดินจงกรม
ถ้ามีอารมณ์แทรกเกิดขึ้น ให้กำหนดทันที แล้วกลับมากำหนดอารมณ์หลัก กำหนดตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ๓ ประเภท
(๑) กำหนด ความคิด ว่า คิดหนอ ทุกประเภทของความคิด
(๒) กำหนด ความรู้สึก ทางร่างกายและจิตใจ เช่น คันหนอ เมื่อยหนอ ชาหนอ ตึงหนอ ปวดหนอ ร้อนหนอ ง่วงหนอ กลัวหนอ มึนหนอ เป็นต้น
(๓) กำหนด อารมณ์ เช่น เบื่อหนอ สุขหนอ สบายหนอ นิ่งหนอ
(๒) กำหนด ความรู้สึก ทางร่างกายและจิตใจ เช่น คันหนอ เมื่อยหนอ ชาหนอ ตึงหนอ ปวดหนอ ร้อนหนอ ง่วงหนอ กลัวหนอ มึนหนอ เป็นต้น
(๓) กำหนด อารมณ์ เช่น เบื่อหนอ สุขหนอ สบายหนอ นิ่งหนอ
เมื่อกำหนดเดินจงกรมจนครบเวลาแล้วให้เดินไปนั่งสมาธิทันทีและอย่าเดินไปคุยเล่น
กินข้าว หรือไปทำธุระ เพราะจะทำให้กัมมัฏฐานรั่วและเป็นอุปสรรคต่อการกำหนดปฏิบัติ หากจำเป็นต้องคุย, ทานข้าว หรือทำธุระ
ให้ทำกิจเสร็จก่อนจึงค่อยไปเดินจงกรมแล้วนั่งสมาธิต่อทันที
๒. การนั่งสมาธิ
๑) กำหนดอารมณ์หลัก ๕ ประเภท
การนั่งสมาธิจะเริ่มด้วยการหลับตานั่งขัดสมาธิหรือในท่าสบายผ่อนคลาย
สำหรับคนที่มีปัญหา สุขภาพ ให้นั่งเก้าอี้แทนได้แต่ไม่ให้พิงยกเว้นคนปวดหลัง การกำหนดขณะนั่งจะเริ่มต้นด้วยการเคลื่อน ความรู้สึกของจิตไปที่บริเวณภายในกลางท้องบริเวณสะดือ
ด้วยการกำหนดตามความเป็นจริงว่ารู้สึก และรับรู้สิ่งใด ก็ให้กำหนดสิ่งนั้น โดยไม่ต้องสนใจว่าการหายใจเข้าเป็นพองหนอ
หรือหายใจออกว่า เป็นยุบหนอ การกำหนดพองยุบจะไม่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลมหายใจเข้าออก
เพราะถ้านำลมหายใจ เข้ามาเกี่ยวข้อง โยคีอาจจะติดอยู่กับลมหายใจเข้าออก และพยายามสร้าง หรือเบ่งท้องเพื่อให้เกิดมี พองยุบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแน่นอึดอัดและตึงเครียดจากการกำหนดอย่างไม่เป็นธรรมชาติ
ในช่วงเริ่มต้นกำหนดพองยุบขณะนั่งสมาธิ
ให้เคลื่อนความรู้สึกมาที่บริเวณสะดือภายในท้อง
เพื่อกำหนดอารมณ์ที่ระลึกรู้ได้จริงและอารมณ์หลัก ๕ ประเภทที่จะปรากฎตรงบริเวณท้อง
โดยให้โยคีกำหนดอารมณ์ที่ปรากฎจริงไม่ว่าจะเป็นนิ่งหนอ พองหนอ ยุบหนอ
หรือเบ่งหนอ(เบ่งท้อง) อันใดอันหนึ่ง ตามความรู้สึกระลึกรู้จริงที่ละอารมณ์ ดังนี้
(๑)
กำหนด พองหนอ ถ้ารู้สึกหรือรับรู้ถึงอาการความเคลื่อนไหวภายในท้องที่ขยับไปด้านหน้า(วาโยธาตุ หรือ ธาตุลม)
คล้ายกับความรู้สึกพองภายในท้อง
(๒)
กำหนด ยุบหนอ ถ้ารู้สึกถึงอาการความเคลื่อนไหวภายในท้องที่ขยับไปด้านหลัง(วาโยธาตุหรือธาตุลม)
คล้ายกับความรู้สึกยุบภายในท้องโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีพองหนอก่อนจึงจะมียุบหนอ บางครั้งอาจ กำหนด ขณะยุบหนอก่อนพองหนอ ก็ได้ตามความเป็นจริง
คล้ายกับความรู้สึกยุบภายในท้องโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีพองหนอก่อนจึงจะมียุบหนอ บางครั้งอาจ กำหนด ขณะยุบหนอก่อนพองหนอ ก็ได้ตามความเป็นจริง
(๓)
กำหนด นิ่งหนอ ถ้ารู้สึกถึงอาการนิ่ง
ไม่มีพอง ไม่มียุบ หรือการหายไปของ พองยุบ
เมื่อใดไม่มีพองยุบ ไม่ต้องเบ่งท้อง, ควานหาพองยุบ หรือทำให้มีพองยุบ ข้อสำคัญคืออย่าเข้าใจผิดว่าการที่ไม่มีพองยุบ
แปลว่าปฏิบัติผิดหรือทำไม่ถูก และอย่าคิดว่าพองยุบ จะต้องมีตลอดเวลาถึงจะดี
ดังนั้นถ้าไม่มีพองหรือยุบ ให้กำหนดว่า นิ่งหนอ แทนทันทีในขณะนั้น จากนั้นให้กำหนดอารมณ์อื่นต่อไป
(๔)
กำหนด เบ่งหนอ
ถ้ารู้สึกว่ากำลังเบ่งท้องหรือสร้างเพื่อให้มีพองยุบ ในขณะที่ไม่มีพองยุบหรือพองยุบหายไป
(๕)
กำหนด ถูกหนอ ๔ จุด
สำหรับในกรณีที่พองยุบ หายไป
หลังจากกำหนดนิ่งหนอแล้ว พองยุบก็ยังไม่ปรากฎ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้จม เผลอ คิดปรุงแต่ง
หรือดิ่งในอารมณ์ ให้โยคีกำหนดถูกหนอ ๔ จุด สลับไปมาแบบเฉลี่ยโดยไม่ต้องเป็นรูปแบบ
และกำหนดเป็นจุดเล็กๆ ตรงที่ร่างกายสัมผัสพื้นตรง ก้นย้อยซ้าย, ก้นย้อยขวา, และด้านหน้าของ มุมซ้ายขวาของขาที่สัมผัสพื้น
พร้อมกับกำหนดตามความรู้สึกจริงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยอย่าลากเป็นเส้น
อย่าจี้ อย่าแช่ และอย่าเน้นที่จุดกำหนดทั้ง ๔
การกำหนดถูกหนอที่ถูกต้องคือการส่งความรู้สึกจริงๆ ย้ายไปแตะเบาๆ
(สติหรือการระลึกรู้) บริเวณจุดที่กำหนด คล้ายกับแตะตรงที่กระดาษบางๆ โดยไม่ทำให้ขาด
ด้วยการกำหนดว่า ถูกหนอ สั้นๆ เบาๆ เมื่อกำหนดเสร็จแล้ว ให้กำหนดถูกหนอไปที่จุดอื่นต่อไป
ซึ่งอาจจะช้าหรือเร็วก็ได้ ตาม ธรรมชาติของความรู้สึกที่เป็นจริง หากในขณะกำหนด ถ้ามีความรู้สึกถึงรูปนั่ง
ให้กำหนดนั่งหนอได้ด้วย
(๖) กำหนดยินหนอ ด้วย แต่อย่าให้เกิน ๕๐% เมื่อจิตได้รับคลื่นเสียงที่มากระทบ โดยไม่เลือกกำหนดแต่เสียงที่ดังชัดเจน หรือแหลมเท่านั้น แต่ให้กำหนดทุกคลื่นเสียงที่หลากหลายเช่น เบา ทุ้ม แหลม ชัด ดัง เสียงต่อเนื่อง หรือเสียงดับเร็วเป็นจุด เพื่อป้องกันไม่ให้ติดในรูปแบบของเสียง ให้กำหนดเสียงที่้หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ไม่ติดกำหนดแต่ที่เสียงแหลม ดัง หรือเสียงที่สั้นไม่ต่อเนื่อง
๒) กำหนดอารมณ์จร ๓ ประเภท
ในขณะกำหนดอารมณ์หลัก ถ้ามีอารมณ์อื่นๆ แทรกปรากฏขึ้น ให้กำหนดอารมณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นด้วยดัง เช่น
(๖) กำหนดยินหนอ ด้วย แต่อย่าให้เกิน ๕๐% เมื่อจิตได้รับคลื่นเสียงที่มากระทบ โดยไม่เลือกกำหนดแต่เสียงที่ดังชัดเจน หรือแหลมเท่านั้น แต่ให้กำหนดทุกคลื่นเสียงที่หลากหลายเช่น เบา ทุ้ม แหลม ชัด ดัง เสียงต่อเนื่อง หรือเสียงดับเร็วเป็นจุด เพื่อป้องกันไม่ให้ติดในรูปแบบของเสียง ให้กำหนดเสียงที่้หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ไม่ติดกำหนดแต่ที่เสียงแหลม ดัง หรือเสียงที่สั้นไม่ต่อเนื่อง
๒) กำหนดอารมณ์จร ๓ ประเภท
ในขณะกำหนดอารมณ์หลัก ถ้ามีอารมณ์อื่นๆ แทรกปรากฏขึ้น ให้กำหนดอารมณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นด้วยดัง เช่น
(๑) กำหนด ความคิด เมื่อความคิดทุกประเภทเกิดขึ้นในเรื่องต่างๆ เช่น
เรื่องส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน และสังคม เป็นต้น โดยกำหนดทุกความคิดว่า คิดหนอ
เหมือนกันหมด
(๒) กำหนด ความรู้สึกทางร่างกายและจิตใจ เช่น เย็นหนอ ร้อนหนอ
กลิ่นหนอ เมื่อยหนอ คันหนอ ชาหนอ
ตึงหนอ ปวดหนอ นิ่งหนอ เอนหนอ โยกหนอ ขยับหนอ ง่วงหนอ เบื่อหนอ กลัวหนอ รู้หนอ เป็นต้น
ตึงหนอ ปวดหนอ นิ่งหนอ เอนหนอ โยกหนอ ขยับหนอ ง่วงหนอ เบื่อหนอ กลัวหนอ รู้หนอ เป็นต้น
(๓) กำหนด อารมณ์ (สุข ทุกข์ และอุเบกขา)เช่น สุขหนอ เบาหนอ
แน่นหนอ รู้หนอในอารมณ์ที่รู้สึกอึดอัด หรือทนไม่ไหว เฉยหนอ เป็นต้น
ในขณะนั่งสมาธิ ให้โยคีกำหนดอารมณ์หลัก
๕ ประเภท (อันใดอันหนึ่งอย่างต่อเนื่อง)สลับกับอารมณ์จร ๓ ประเภท เช่น
ความคิด, ความรู้สึก และอารมณ์ เมื่อกำหนดอารมณ์อื่นๆ แล้ว ให้กลับมาที่อารมณ์หลัก โดยไม่หยุดนิ่งหรือจมอยู่ในอารมณ์ใดอย่างต่อเนื่อง จนครบเวลา และอย่าเพลินติดแต่กำหนดอารมณ์หลักอย่างเดียวจนละเลยกำหนดอารมณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
ความคิด, ความรู้สึก และอารมณ์ เมื่อกำหนดอารมณ์อื่นๆ แล้ว ให้กลับมาที่อารมณ์หลัก โดยไม่หยุดนิ่งหรือจมอยู่ในอารมณ์ใดอย่างต่อเนื่อง จนครบเวลา และอย่าเพลินติดแต่กำหนดอารมณ์หลักอย่างเดียวจนละเลยกำหนดอารมณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
การกำหนดอารมณ์อื่นๆ
เป็นการรวมประเภทของการกำหนดเพื่อให้ง่าย ต่อ ความเข้าใจ ในเชิงปฏิบัติ
แต่ในด้านทฤษฎีแล้วการกำหนดอารมณ์หลักและอารมณ์อื่นๆ
คือการเจริญ วิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต และธรรม)นั่นเอง
เทคนิคการกำหนดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๙ วิธี
๑) กำหนดทุกอารมณ์(รูปนาม)สั้นๆ เบาๆ ด้วยองค์บริกรรมตามความเป็นจริง ที่เป็นคำกิริยาตามอาการนั้นๆ
โดยส่งความรู้สึกย้ายไปแตะที่อารมณ์นั้นจริงๆ เบาๆ แล้วไป กำหนดอารมณ์ใหม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นถัดไปอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งก็คือสติระลึกรู้นั่นเอง และยังช่วย เสริม ให้สติของพละ ๕ (ศรัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา)และสติปัฏฐานเกิดความบริบูรณ์ ถ้ากำหนด โดยความรู้สึกอยู่แค่ที่ปากหรือติดอยู่กับคำบริกรรม
โดยไม่ได้ส่งความรู้สึกไปแตะที่อารมณ์จริงๆ ซึ่งในไม่ช้าอาจจะทำให้มึน,
มีความคิดแทรก, ทำให้สติอ่อนลง และสมาธิมากเกินไป
๒)
กำหนดทุกอารมณ์เพียงครั้งเดียว โดยไม่จมหรือหยุดนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้น
ในช่วง เริ่มต้นให้กำหนดช้าๆ
ไม่ต้องรีบเร่งกำหนดให้ทันทุกอารมณ์ เพราะอาจกำหนดเสียงได้บ้างไม่ได้บ้าง เช่น ถ้ามีหลายเสียงเกิดขึ้นพร้อมกัน
ให้เลือกกำหนดเสียงเดียว
ในช่วงแรกโยคีควรกำหนดให้ได้ คุณภาพ ไม่ใช่เน้นที่ปริมาณจำนวน เมื่อฝึกจนเกิดความชำนาญแล้วจะกำหนดอารมณ์ได้ทันมากขึ้นเอง
๓) กำหนดตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นธรรมชาติโดยไม่เพ่ง
จี้ กด หรือบังคับ
การบังคับอารมณ์หรือการปรุงแต่งเป็นการแทรกแซงการปฏิบัติ และจะทำให้ถอยกลับสู่อารมณ์บัญญัติ (หยาบ) เมื่อใดมีอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเช่น
ความคิดฟุ้งซ่าน โกรธ หงุดหงิด เบื่อ ปวด หรือคัน ซึ่งเป็น อุปสรรคต่อการปฏิบัติ
ให้โยคีมีความอดทนเพื่อกำหนดต่อไป ไม่ใช่กำหนดบังคับให้หายไป หรือห้ามอารมณ์นั้นๆ
ไม่ให้เกิด
ขอให้โยคีกำหนดต่อเนื่องเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ไม่ว่าจะ
เบาลง เท่าเดิม มากขึ้น หรือดับหายไปก็ตาม
โยคีจึงควรนำเอาอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของการกำหนดด้วยเช่น
หลังจากกำหนดปวดหนอ แล้วย้ายไปกำหนดอารมณ์หลัก(พองหนอ ยุบหนอ ถูกหนอ ยินหนอ ฯลฯ)
ถ้าหากยังมีปวดอีก ให้กำหนดปวดหนอ แล้วกำหนดอารมณ์ใหม่อันอื่น ต่อไป
ตราบที่ยังมีความรู้สึกปวดอยู่จนครบเวลา เพราะวิปัสสนากัมมัฏฐานไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อบังคับ ให้เวทนาหายไปหรือควบคุมบังคับบัญชาตามที่ต้องการ
โยคีเพียงกำหนดเวทนาตามความเป็นจริง ไปเรื่อยๆ
๔)
กำหนดรูปนามตามคำแนะนำวิปัสสนาจารย์เท่านั้น ไม่ทำตามใจหรือทำตามรูปแบบ ของตนเอง
ซึ่งอาจทำให้หลุดออกนอกเส้นทางของวิปัสสนา
เนื่องจากประสบการณ์นี้เป็นของใหม่ ที่ไม่เหมือนกับการทำงานหรือเรียนหนังสือ
ซึ่งท่านไม่สามารถนึกคิดได้และไม่เคยประสบเจอมาก่อน
๕) กำหนดแต่ปัจจุบันขณะเท่านั้น ไม่เปรียบเทียบกับอารมณ์ในอดีต
หรืออนาคต
๖)
กำหนดให้ได้ครบองค์ ๓ คือ อาตาปี(ความเพียรกำหนดให้ได้ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง),
สติมา(สติที่ระลึกรู้อารมณ์ได้ แล้วกำหนดอารมณ์ได้ทันถูกต้อง) และสัมปชาโน(สัมปชัญญะ ในการรู้ตัวทั่วพร้อมต่ออารมณ์ใหม่ๆ
ที่จะเกิดขึ้นหลังจากกำหนดอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว)
เมื่อปฏิบัติได้ ถูกต้องจนพละ ๕ สมบูรณ์ สติสัมปชัญญะจะพัฒนาจนเกิดความชำนาญ,
ฉับไวและเท่าทันต่อ ทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้น
๗) กำหนดอย่างเท่าเทียมกันในทุกอารมณ์โดยไม่ติดในความสุข,
ไม่หนีในความทุกข์ และไม่เผลอจมหรือปรุงแต่งไปกับอารมณ์ใดๆ
แต่ให้ติดอยู่อย่างเดียวคือตัวสติระลึกรู้เท่านั้น
๘)
กำหนดเพียงแค่เป็นผู้ดูอารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่เป็นผู้กำกับหรือนักแสดง
๙)
กำหนดรูปนามด้วยความวิริยะ(เพียรกำหนดในรูปนาม
แต่ต้องได้ปัจจุบันด้วย จึงจะเรียกว่า วิริยะ ถ้ากำหนดไม่ได้ปัจจุบัน จะได้เพียงแค่ความเพียรเท่านั้น)
โดยฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง ทุกวัน เพราะการปฏิบัติน้อยแต่ทำบ่อย จะดีกว่าทำมากแต่นานๆ
ทำที
การส่งอารมณ์
การส่งอารมณ์
ในทุกรอบของการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
โยคีควรส่งอารมณ์กับวิปัสสนาจารย์ เพื่อรายงานถึงผลของการปฏิบัติ และรับฟังคำแนะนำเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในรอบต่อไป การส่งอารมณ์มีความสำคัญและเป็นประโยชน์มากในการปรับอินทรีย์
๕ ของผู้ปฏิบัติ เพราะอินทรีย์ ๕ ที่สมบูรณ์จะทำให้ก้าวหน้าและไม่เดินหลุดออกนอกเส้นทางของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
การส่งอารมณ์ที่ถูกต้องคือการรายงานสภาวะธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นดังนี้
-พอง ยุบ มีลักษณะอย่างไร ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ชัดหรือแผ่ว มีหรือหาย
-กำหนดยินหนอ ได้ทันไหม -ความคิดมีมากหรือน้อย (จำนวน)
-กำหนดคิดหนอ
ได้ทันไหม (สั้นหรือยาว) -มีนิ่ง มีมึน มีเบลอ
มีง่วง มีวูบหลับไหม
-ถูกหนอสม่ำเสมอ
หรือมีช้า มีเร็ว -กำหนดอารมณ์อื่นๆ อะไรได้บ้าง
-กำหนดความรู้สึกทางกายและใจ
อะไรได้บ้าง
ในขณะส่งอารมณ์
โยคีไม่ต้องสรุปว่าดีหรือไม่ดี,
หรือเอาทฤษฎีมาตอบและไม่ควรไปฟัง สภาวะธรรมของผู้อื่นมาตอบ
อีกทั้งไม่ต้องวิเคราะห์วิจารณ์ เพียงรายงานความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง โยคีควรพูดให้สั้น, กระชับ, ไม่พูดนอกเรื่อง,
ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียเวลา และให้รายงาน สิ่งที่ประสบเกิดขึ้นจริงทั้งที่คิดว่าไม่ดีหรือดี
โปรดอย่าเลือกส่งแต่ที่คิดว่าตนทำได้ดีเท่านั้น เนื่องจากเรื่องที่ว่าดีนั้นมักจะไม่ดี แต่ส่วนที่ไม่ดีนั้นมักจะเป็นของดี
ซึ่งไม่เหมือนกับการเรียนหนังสือ เพราะสภาวะธรรมของวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นของใหม่ที่ท่านไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
อีกทั้งวิปัสสนาจารย์จะไม่นิยมเขียนบรรยายสภาวะธรรมของผู้ปฏิบัติไว้ในตำราเพราะจะเป็นผลเสียมาก กว่าผลดีแก่โยคี
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ปัจจัยสำคัญในการเกื้อหนุนวิปัสสนากัมมัฏฐานสู่อารมณ์พระนิพพาน ตามลำดับสำคัญดังนี้
๑) ศรัทธา ในพุทธศาสนาและวิปัสสนากัมมัฏฐานถูกเสริมสร้างและเพิ่มพูนได้ด้วยการศึกษาเล่าเรียนจากแหล่งของสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา
หากศรัทธาที่ปราศจากปัญญาที่ถูกต้อง(หลักการและวิธีปฏิบัติที่ผิด)
จะเป็นเพียงแค่ “ความเชื่อ” เท่านั้น
๒)
วิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎก
เมื่อฝึกไปแล้วจะได้ผลคือ การเกิดปัญญาของจิตหรือวิปัสสนาญาณ
ในการพัฒนาจิตเพื่อลดละ โลภะ โทสะ และโมหะ(โลภ โกรธ หลง)
๓) วิริยะ คือความเพียรในการกำหนดอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ได้อารมณ์ปัจจุบัน หากกำหนดไม่ได้ ปัจจุบันของรูปนาม สมาธิอาจจะมากเกินซึ่งจะทำให้สติอ่อนและทำให้วิริยะไม่สมบูรณ์
จนเหลือเป็นแค่ ความเพียรปฏิบัติเท่านั้น(ได้ปริมาณแต่ไม่ได้คุณภาพ) ตัวอย่างเช่นการปฏิบัติน้อยแต่ทำต่อเนื่องนาน (ปฏิบัติวันละ ๓ ชั่วโมงเป็นเวลา ๒
เดือน) ย่อมได้ผลดีกว่าปฏิบัติมากแต่นานๆ ทำที(ปฏิบัติครั้งละ ๗ วัน หยุดไปนานหลายเดือนหรือปีแล้วจึงกลับมาทำใหม่อีก
๗ วัน)
๔) วิปัสสนาจารย์ที่มีประสบการณ์จริง
จะสามารถปรับอินทรีย์ ๕ ของผู้ปฏิบัติได้ โดยไม่ให้โยคี เดินออกนอกเส้นทางหรือติดในสมาธิ
ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของวิปัสสนาจารย์ และให้ส่งอารมณ์ทุกรอบ โดยไม่ปฏิบัติตามใจหรือทดลองทำด้วยตนเอง
เมื่อโยคีมีองค์ประกอบทั้ง
๔ เบื้องต้นครบ ผลที่จะได้คือสติที่ระลึกรู้อารมณ์ปัจจุบันขณะมากขึ้น
จากวิริยะในการกำหนด ซึ่งทำให้ได้สมาธิที่จะค่อยๆ มากขึ้นพร้อมๆ
ไปกับสติ ในระหว่างเส้นทาง ผลที่ได้คือการก่อเกิดปัญญาของจิตขึ้นเอง
โดยไม่ต้องพิจารณาหรือนึกคิดที่เรียกว่า “วิปัสสนาญาณ” หรือ“ภาวนามยปัญญา”
_________________________________
_________________________________
การกำหนด
สิ่งแรกที่ผู้ฝึกต้องทำความเข้าใจคือเรื่องการกำหนดเพราะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากที่ใช้ฝึกปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นและเป็นตัวช่วยนำพาไปสู่ความสำเร็จ
หรือถึงเป้าหมายของวิปัสสนากัมมัฏฐานคือการเข้าถึงอารมณ์พระนิพพาน
การกำหนดมาจากภาษาบาลีว่า
สัลลักขณา มีความหมายคล้ายคำว่า วิปัสสนา การกำหนดคำว่า “ถูกหนอ ยินหนอ” คือการกำหนดทุกขอริยสัจ (หนึ่งในอริยสัจ
๔) แม้ว่าจะไม่ได้เป็นความเจ็บปวด(ทุกขเวทนา) แต่ก็จัดเป็นทุกข์ในขันธ์ ๕(รูป
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) เพราะตกอยู่ในกฎพระไตรลักษณ์คือการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ต้องการไม่ได้
คำว่า “กำหนดรู้อารมณ์”
คือการกำหนดแล้วรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งและเป็นการเห็นอารมณ์ต่างๆ คือรูปนั้นโดยความสิ้นไปและเสื่อมไป
การกำหนดเป็นบริกรรมภาวนาและเป็นอุปกรณ์เพื่อนำไปสู่การเจริญสติปัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐานเริ่มต้นด้วยการกำหนดพร้อมองค์บริกรรมไปยัง
ณ จุดที่เกิดอารมณ์ของจิต(ผัสสะ-ตรงที่รูปกับนามกระทบกัน)
โดยเอาความรู้สึกไปแตะเบาๆ ตรงผัสสะ พร้อมกับกำหนดตามด้วยองค์บริกรรมสั้นๆ เบาๆ
ให้ตรงกับอารมณ์ที่ปรากฏอยู่และต้องอย่าจมอยู่กับคำบริกรรม
แต่ให้อยู่กับสติระลึกรู้อารมณ์นั้นจริงๆ
ตัวกำหนดคืออารมณ์บัญญัติที่ช่วยให้จิตจดจ่ออยู่ที่รูปนามได้ดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อกำหนดอารมณ์ที่ ๑ เสร็จแล้ว
ให้กำหนดอารมณ์ใหม่อันถัดไปที่เกิดขึ้นต่อไปอย่างไม่หยุดจนกว่าจะครบเวลาของการปฏิบัติ
โดยอย่าให้จิต จม นิ่ง แช่ ติดในอารมณ์ใดหรือเผลอสติ ซึ่งจะทำให้ขาดการกำหนด หากขณะใดที่เผลอหรือขาดตัวกำหนดเรียกว่า กัมมัฏฐานรั่ว
แสดงว่าขณะนั้นกำลังคิด ปรุงแต่ง นิ่ง ซึม เบลอ วูบ เผลอหลับ
หรือติดจมอยู่กับอารมณ์นานเกินไป และควรย้ายความรู้สึกไปจริงๆ อย่างเป็นธรรมชาติไป
ณ จุดที่กำลังกำหนดอยู่ ซึ่งเป็นการฝึกเจริญสติระลึกรู้ในอารมณ์ใหม่ๆ
ที่เกิดขึ้นจริง
วิปัสสนากัมมัฏฐานคือการมีสติระลึกรู้พร้อมกับการกำหนดไปที่รูปนาม(อารมณ์ต่างๆ)
โดยปราศจากการพิจารณา นึกคิด วิเคราะห์ หรือเปรียบเทียบกับในตำรา
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาวธรรมที่เกิดขึ้น วิปัสสนาจะมุ่งเน้นฝึกตัวสติของจิต(ระลึกรู้อารมณ์)
โดยใช้ร่างกาย สิ่งแวดล้อมภายนอก และจิตใจ เป็นเครื่องมือช่วยในการฝึกฝน
ดังตามพุทธพจน์ที่ว่า สักแต่ว่ายิน สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่ารู้อารมณ์
และสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
อารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้สำหรับฝึกเจริญสติเท่านั้น ด้วยการกำหนดอารมณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างถูกต้องตรงตามประเภทเช่น ยินหนอ เห็นหนอ ถูกหนอ คิดหนอ
เย็นหนอ กลิ่นหนอ คันหนอ รู้หนอ เป็นต้นเรื่อยไป
ฉะนั้นทุกอารมณ์ไม่ว่าภายนอกหรือภายใน เป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ฝึกเท่านั้นซึ่งมีคุณค่าเท่ากันหมดโดยไม่ได้แตกต่างกันเลย
การฝึกจะเริ่มด้วยการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
โดยจะเน้นให้กำหนดอิริยาบถย่อยในชีวิต ประจำวันด้วยเพราะไม่ให้ผู้ฝึกติดในรูปแบบหรือสถานที่
ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบที่ผู้คนเคยชินและเข้าใจว่าจะต้องเน้นปฏิบัติแต่ในท่านั่งสมาธิเป็นหลักเท่านั้น
ในช่วงแรก
ผู้ปฏิบัติอาจจะกำหนดอารมณ์ต่างๆ ได้ไม่ค่อยได้ดีซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาและอาจจะประสบกบสิ่งต่างๆ
เช่น กำหนดได้ช้ากว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น, กำหนดไม่ค่อยได้, กำหนดไม่ค่อยทัน,
กำหนดผิดๆ ถูกๆ หรือกำหนดได้ไม่ชัดเจน เป็นต้น
ไม่ว่าจะกำหนดได้ทันหรือไม่ก็ตาม
ขอให้ผู้ปฏิบัติพยายามฝึกกำหนดอย่างต่อเนื่องด้วยความอดทนขยันหมั่นเพียร
และให้ส่งอารมณ์แก่วิปัสสนาจารย์เป็นประจำทุกรอบ
หากทำได้เช่นนี้การปฏิบัติจะค่อยๆ พัฒนาไปเองและจะก้าวหน้าไปเองในไม่ช้าเช่น
กำหนดได้ชัดเจนขึ้น, กำหนดอารมณ์ใหม่ๆ ได้มากขึ้น, และกำหนดสภาวะต่างๆ
ได้เท่าทันถูกต้อง
ตัวอย่างของการกำหนดเช่น
ยินหนอ คิดหนอ เบื่อหนอ ถูกหนอ ยืนหนอ นั่งหนอ นอนหนอ ชาหนอ ตึงหนอ ปวดหนอ โยกหนอ
พองหนอ ยุบหนอ เห็นหนอ เย็นหนอ ร้อนหนอ มึนหนอ ง่วงหนอและถ้าไม่รู้ว่าเรียกอย่างไร
ให้กำหนดว่า “รู้หนอ” ไปก่อน จากนั้นค่อยกลับมาถามวิปัสสนาจารย์
ปัจจัยที่ช่วยให้เข้าใจการกำหนดเพื่อการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๑)
อารมณ์บัญญัติและอารมณ์ปรมัตถ์
วิปัสสนากัมมัฏฐานที่ถูกต้อง
จะต้องไม่ติดอยู่ในอารมณ์บัญญัติ โดยมุ่งหน้าเข้าสู่อารมณ์ปรมัตถ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่รับรู้ได้ด้วยจิตในสภาวะที่เป็นพระไตรลักษณ์(เกิดขึ้น
ตั้งอยู่ และดับไป) ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงๆ
โดยมิได้เป็นไปตามการควบคุมบังคับบัญชาของผู้ปฏิบัติ วิธีฝึกเพื่อเข้าถึงอารมณ์ปรมัตถ์ที่ดีที่สุดคือ
การฝึกกำหนดไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องแบบผิดบ้างถูกบ้างจนกระทั่งทำให้ได้รับรู้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ด้วยตนเอง
ผู้ปฏิบัติต้องเริ่มฝึกกำหนดอารมณ์บัญญัติที่เป็นอารมณ์หยาบไปก่อน แม้ว่าตัวกำหนดที่เป็นบัญญัติอาจจะปรากฎเด่นชัดมากกว่าสติหรือการระลึกรู้อารมณ์จริงๆ
ก็ตาม
แต่เมื่อปฏิบัติได้ชำนาญจนก้าวหน้าแล้ว อารมณ์บัญญัติที่หยาบจะค่อยๆ
ละเอียดขึ้น แผ่วเบาลง สั้นลง คล้ายกับจะหายไปแต่ยังมีอยู่ จนกระทั่งผู้ปฏิบัติรับรู้แต่อารมณ์ปรมัตถ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละขณะจิตพร้อมกับการระลึกรู้พระไตรลักษณ์ในทุกอารมณ์ ในที่สุดตัวกำหนดอารมณ์บัญญัติที่หยาบจะผสมผสานกลมกลืนกับอารมณ์ปรมัตถ์
โดยปรากฏเหลือแต่ตัวสติระลึกรู้ที่เด่นชัดในทุกอารมณ์ที่กำลังกำหนดอยู่
หลังจากได้กำหนดรู้อารมณ์บัญญัติด้วยความเพียร(วิริยะ)แล้ว
สติ สมาธิ และปัญญา(วิปัสสนาญาณ ๑๖) จึงจะเริ่มปรากฎ จนกระทั่งเมื่อปัญญาแก่กล้าถึงที่สุดแล้ว
อารมณ์ที่เป็นบัญญัติทั้งหมดก็จะหายไป เหลือไว้แต่ความโดดเด่นของอารมณ์ปรมัตถ์แท้จริงอย่างเดียว
สาระสำคัญของอารมณ์ปรมัตถ์(Absolute Truth)
ของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีดังนี้
(๑)
อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นที่จิตและรับรู้ได้ด้วยจิตของผู้ปฏิบัติ
ไม่ใช่เกิดจากการอ่านหนังสือ, ความนึกคิด, ความเข้าใจ หรือการคาดเดาขึ้นเอง
(๒)
อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นได้ที่จิตของมนุษย์ทุกคนจากการปฏิบัติให้เข้าถึงได้จากทุกเพศ,
อายุ, ฐานะ, ตำแหน่ง, ศาสนา และเชื้อชาติ
(๓)
อารมณ์ปรมัตถ์ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานทางตา
หู จมูก ลิ้น กายและใจ จะเกิดขึ้นพร้อมกับสภาวธรรมของพระไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา) ซึ่งโยคีจะต้องกำหนดตามสภาวธรรมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
และไม่สามารถบังคับบัญชาหรือควบคุมรูปนามให้เกิดขึ้นตามใจตนเองได้
เพราะถ้าหากบังคับหรือฝืนสภาวธรรมแล้ว จะทำให้เกิดอาการมึน แน่น หรือปวดหัว
(๔)
อารมณ์ปรมัตถ์ของระดับโลกียธรรม
มีรูปและนามเป็นอารมณ์
(๕)
อารมณ์ปรมัตถ์ของระดับโลกุตตรธรรม
มีนิพพานเป็นอารมณ์
(๖)
หลักธรรมที่อธิบายเกี่ยวกับปรมัตถธรรม
๔ ประเภท ประกอบด้วย จิต ๑๒๑, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ และนิพพาน ซึ่งปรากฎในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๑-๙ ซึ่งเรียบเรียงให้ศึกษาได้สะดวกขึ้น
๒) สติสัมปชัญญะ
ในแนวปฏิบัติ
สติสัมปชัญญะคือการน้อมย้ายและส่งความรู้สึกเบาๆ ไปจริงๆ ตรงอารมณ์ที่กำหนด
แต่ในเชิงทฤษฎีคือสติระลึกรู้ในแต่ละขณะอารมณ์ของจิตพร้อมกับการกำหนดอารมณ์ได้ถูกต้องเช่น
การกำหนดยินหนอ คิดหนอ ถูกหนอ เย็นหนอ ฯลฯ โดยที่ผู้ปฏิบัติไม่จม นิ่ง
หรือแช่อยู่ในอารมณ์ใด เพียงแต่รู้เท่าทันอารมณ์ใหม่ชัดเจนที่กำลังเกิดขึ้นจาก ๑
ไป ๒, ๒ ไป ๓, เรื่อยไป
และเป็นการรู้ตัวทั่วพร้อมในแต่ละขณะอารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น
ขณะกำหนดยินหนออยู่ มีความคิดผุดขึ้นมา
ความรู้สึกที่สามารถรู้ว่าขณะนี้มีความคิดเกิดขึ้น โดยน้อมความรู้สึกไปสู่อารมณ์ใหม่ที่เป็นความคิดได้ทัน
และกำหนดความคิดได้ถูกต้องว่า คิดหนอ ไม่ผิดเป็นอย่างอื่น นี่คือสติสัมปชัญญะ
สติสัมปชัญญะถูกพัฒนาขึ้นได้ตามพละ
๕ ที่สมดุลของโยคีพร้อมไปกับการสอบอารมณ์โดยวิปัสสนาจารย์
ซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญา(วิปัสสนาญาณ ๑๖) ให้แก่จิตที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
๓)
ระดับของสมาธิ
วิปัสสนากัมมัฏฐานจะใช้เพียงขณิกสมาธิหรือสมาธิชั่วขณะ
ซึ่งเพียงพอต่อการเห็นการเกิดดับของรูปนามในการนำพาจิตสู่เป้าหมายคืออารมณ์พระนิพพาน
โดยในระหว่างเส้นทาง ระดับของสมาธิจะค่อยๆ พัฒนาจากน้อย(ขณิกสมาธิ) ไปกลาง(อุปจารสมาธิ)
จนถึงมาก(อัปปนาสมาธิ) พร้อมๆ ไปกับสติในทุกระดับของสมาธิ
๔)
รูปแบบของการกำหนด
การกำหนดมีอยู่
๓ แบบ คือ ๑. มีหนอ เช่น พองหนอ ยุบหนอ หรือ ถูกหนอ ๒. ไม่มีหนอ เช่น พอง
ยุบ หรือ ถูก และ ๓. กำหนดเพียงว่า รู้หนอ ตามสภาวธรรมที่เกิดขึ้น สำหรับโยคีใหม่จะเริ่มฝึกด้วยวิธีที่ ๑
เท่านั้น หลังจากนั้นวิปัสสนาจารย์จะสอบอารมณ์และปรับเปลี่ยนให้ตามความเหมาะสม
๕)
อุปสรรคและความสงสัย
ผู้ที่เคยฝึกกัมมัฏฐานรูปแบบอื่นมาก่อนหรือโยคีใหม่บางท่านอาจไม่คุ้นเคย
ไม่เข้าใจ เกิดความสงสัย หรืออาจมีคำถามในใจเช่น ทำไมต้องกำหนดในใจด้วยคำบัญญัติ,
ขณะปฏิบัติให้ระลึกรู้อย่างเดียวโดยไม่ต้องกำหนดด้วยองค์บริกรรมได้ไหม, เจริญสติปัฏฐานโดยใช้แต่อารมณ์ปรมัตถ์เลยได้ไหม,
การกำหนดด้วยองค์บริกรรมนั้นเป็นอารมณ์บัญญัติซึ่งเป็นสมถ(สมาธิ)
และผิดไปจากหลักวิปัสสนา, หรือการกำหนดเป็นตัวแทรกแซงอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติซ้อนอารมณ์ปรมัตถ์
อุปสรรคและกับดักของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานคือการติดอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เช่น มีแต่อารมณ์นิ่งๆ สงบ เบาสบาย วูบหลับ คิดฟุ้งซ่าน อึดอัด เครียด มึน ตึง
ปวดหัว เป็นต้น จากอุปสรรคที่กล่าวมา บางท่านอาจมีอารมณ์ของการปฏิบัติเช่น
อยากให้จิตสงบแบบที่เคยฝึก, ติดในความสงบสุข อาจเบื่อเพราะทำไม่ได้, ไม่อยากทำต่อ,
ไม่รู้จะปฏิบัติต่ออย่างไร
หรือแม้กระทั่งคิดว่ารูปแบบที่ปฏิบัติอยู่ผิดหลักวิปัสสนาก็ได้ สาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้นเพราะกำลังของสมาธิมากกว่ากำลังของสติ
จึงทำให้เกิดความไม่สมดุล ดังนั้นวิธีการกำหนดที่ถูกคือการส่งความรู้สึกไปแตะเบาๆ
ตรงอารมณ์ที่กำหนด พร้อมกับบริกรรมสั้นๆ เบาๆ (กำหนดในใจเป็นคำพูด โดยไม่ต้องขยับปากหรือออกเสียง)
ตามด้วยคำกิริยาเติมด้วย“หนอ”เช่น ยินหนอ เห็นหนอ เย็นหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกหนอ คิดหนอ ชาหนอ ตึงหนอ
ปวดหนอ เมื่อยหนอ คันหนอ นิ่งหนอ โยกหนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ เฉยหนอ รู้หนอ เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญของการกำหนดในขณะปฏิบัติ
คือการน้อมจิตและส่งความรู้สึกไปแตะเบาๆ ตรงกับอารมณ์ที่กำหนด แต่ในด้านทฤษฎีเป็นการระลึกรู้ของจิต(สติ) หรือสติปัฏฐาน
๔
ผู้ปฏิบัติควรทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนด
ด้วยองค์บริกรรมที่ลงท้ายด้วย“หนอ” และควรสอบถามให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการกำหนดเพราะจะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดศรัทธา
คลายความสงสัย เชื่อฟัง เริ่มฝึกตามที่สอน และเพียรปฏิบัติไปอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดหมายปลายทาง
ประโยชน์ของการกำหนด
๑๔ ประการ มีดังนี้
๑) ช่วยให้จิตระลึกอยู่ในอารมณ์ต่างๆ(รูปนาม)
ได้ง่าย โดยทำให้ไม่เผลอ และนำพาจิตไปตรงรูปนามที่เกิดขึ้น คล้ายกับมีไฟฉายนำทางไปสู่อารมณ์ต่างๆ
ได้ดี
๒) กั้นไม่ให้จิต(นาม)
จมติดเข้าไปในอารมณ์(รูป) ที่กำลังกำหนดอยู่
๓) ช่วยให้จิตคลายออกจากการจมติดในสมาธิด้วยการกำหนดและช่วยแยกจิตถอยออกมาจากอารมณ์ที่จมเข้าไป
อุปมาคล้ายกับการตีมือให้คลายและปล่อยจากสิ่งที่กำไว้
๔) ช่วยให้สติเจริญมากขึ้นโดยไม่ติดในอารมณ์เพราะมีแต่การกำหนดอารมณ์ใหม่ๆ
เรื่อยไป ซึ่งทำให้สติเข้มแข็งและมีพละกำลังมากขึ้น
๕) ทำให้เกิดขณิกสมาธิตั้งอยู่ได้นานและช่วยให้จดจ่ออยู่กับรูปนามได้ดี
๖) ช่วยตัดและกั้นไม่ให้ติดในอารมณ์ต่างๆ
จนทำให้เห็นพระไตรลักษณ์(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป) ของรูปนาม
๗) เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบว่าตกวิปัสสนากัมมัฏฐานหรือไม่
ด้วยการสำรวจว่าได้กำหนดต่อเนื่องหรือไม่
หากช่วงไหนไม่มีตัวกำหนด แปลว่าช่วงนั้นตก(รั่ว)จากวิปัสสนา เนื่องจากจิตเผลอไหลไปสู่ความคิด,
ปรุงแต่งร่วมกับอารมณ์, นิ่งเฉย, ซึม, เคลิ้ม, หลับ เป็นต้น
๘) ช่วยสกัดกั้นกิเลสไม่ให้บันทึกเก็บในชวนะจิต(เป็นส่วนเก็บบุญบาป
หรือความจำของจิต) ที่ทำให้เกิดวัฏฏสงสารต่อไป ฉะนั้นการกำหนดช่วยให้จิตไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์และไม่เสพอารมณ์ใหม่เพิ่ม
ซึ่งเป็นบุญกุศลที่สูงที่สุดเพราะทำให้เกิดการลดละความโลภ โกรธ และหลง
๙) คอยสำรวจและตรวจตรา
เหมือนตำรวจที่คอยจับผู้ร้าย(กิเลส) และคล้ายกับการสร้างกระจกสะท้อนให้เห็นจิตใจอารมณ์
๑๐) ช่วยทำให้ความทุกข์น้อยลงจากการลดละกิเลส(โลภ
โกรธ และหลง) เช่น อารมณ์โกรธ หงุดหงิด ขี้บ่น กังวล ทุกข์ทางใจ ความอยาก
การเอาเปรียบผู้อื่น เป็นต้น
๑๑) ทำให้เกิดความสุขสูงยิ่งขึ้นได้แก่
สมาธิสุข และนิพพานสุข อีกทั้งยังสามารถอธิษฐานเข้าผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติที่เป็นความสุขสูงสุดทางใจของปัจจุบันชาติได้
๑๒) เสริมสร้างให้เกิดวิริยะ(หนึ่งในอินทรีย์
๕) ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสติ, สมาธิ และปัญญา(วิปัสสนาญาณ ๑๖) ตามลำดับ
๑๓) ย่อมได้เสวยผลหรือดื่มรสแห่งอริยผล
อันเกิดจากการปฏิบัติซึ่งทำให้เข้าถึงอารมณ์พระนิพพาน จนสามารถบรรลุเป็นอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันเป็นต้น
ซึ่งเป็นบุญและมีคุณค่าสูงสุดสำหรับมนุษย์ทุกคนโดยไม่แบ่งฐานะ ยศ ตำแหน่ง เพศ
หรือการศึกษา
๑๔) เป็นการสะสมเหตุปัจจัยและบุญกุศลสู่การปฏิบัติในภพชาติต่อไป
ประโยชน์ของ “หนอ” ในองค์บริกรรม
๑๔) เป็นการสะสมเหตุปัจจัยและบุญกุศลสู่การปฏิบัติในภพชาติต่อไป
ประโยชน์ของ “หนอ” ในองค์บริกรรม
หนอ เป็นภาษาไทยที่แปลมาจากคำว่า
วฏฺฏ(วัตตะ) ในภาษาบาลี คำว่าหนอ
แม้จะเป็นคำบัญญัติ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดหรือบริกรรมภาวนา ซึ่งมีประโยชน์ต่อวิปัสสนากัมมัฏฐานดังนี้
๑) หนอ เป็นตัวตัดหรือตัวกั้นกลางระหว่างตัวกำหนด
ซึ่งช่วยให้จิตไม่จมสมาธิ
หากบริกรรมโดยไม่มีหนอแล้ว
ผู้ปฏิบัติอาจจะมึนงงและเผลอต่อองค์บริกรรมที่สั้น(ไม่มีหนอ)
เนื่องจากการกำหนดต่างๆ ดูเหมือนกันหมด จนในที่สุดทำให้จมสมาธิได้
๒) หนอ ช่วยทำให้สมาธิตั้งมั่นอยู่ได้นานที่รูปนาม
ถ้าบริกรรมแต่ ยิน ยิน ถูก ถูก คิด ยิน เป็นต้น โดยไม่มีหนอแล้ว
สติอาจจะคลาดเคลื่อนหลุดออกจากการกำหนดรูปนามได้ง่าย
๓) หนอ
ช่วยเพิ่มกำลังให้ได้ขณิกสมาธิและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๔) หนอ ช่วยทำให้เกิดสติจดจ่ออยู่กับรูปนาม
จนทำให้เห็นพระไตรลักษณ์
-------------------------
สรุป
-------------------------
สรุป
๑. การเจริญสติ
และ การกำหนดของวิปัสสนาในขณะปฏิบัติ คือ
การมีสติระลึกรู้
ในขณะที่เกิดอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 ผุดขึ้นในจิตขณะเดียว แล้วกำหนดในใจสั้นๆ เช่น
พองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ยินหนอ คันหนอ
โดยที่ไม่ แช่ เพ่ง จี้ จม ไหลไปกับอารมณ์ใดๆ และ ไม่นึกเป็นภาพ เพียงแค่ส่งความรู้สึก ไปตรงนั้นพร้อมกับ คำบริกรรมของการกำหนดเรียกอารมณ์ในใจ
สั้นๆ เบาๆ แต่ให้ระลึกรู้อารมณ์จริงๆ ไม่ใส่ใจ ไม่แช่หรือจมอยู่กับ
คำบริกรรม
เมื่อกำหนดแล้วให้ปล่อยวางอารมณ์นั้น จากนั้นให้กำหนดอารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น ทีละหนึ่ง
ไปเรื่อยๆ ต่อเนื่อง ไม่หยุด จนครบเวลา และไม่ต้องคิดพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น
เพียงกำหนดตามจิตไปเรื่อยๆ ทันบ้างไม่ทันบ้าง ให้กำหนดไปเรื่อยๆ ไม่จมไปกับอดีต
หรือ นึกถึงอนาคต คล้ายกับการสาวเชือกจับแล้วปล่อย
จนครบเวลา
การเจริญวิปัสสนาจะกำหนดสติ ตามอารมณ์ของจิต
ช้าบ้าง เร็วบ้าง โดยที่ไม่เข้าไปบังคับบัญชา
เพียงกำหนดตามจิตหรือกำหนดทิ้งไปเรื่อยๆ เพื่อเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาญาณ 16
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
๒. เทคนิคการเจริญสติระลึกรู้
/ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ใน ท่าเดิน ด้วยรูปแบบการกำหนด ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
:
1.กำหนดสติไปตามความรู้สึกจริงๆ
เช่น รู้สึกยก กำหนด ยกหนอ ตรงอาการเคลื่อนไหวจริงๆ ที่รับรู้ได้ด้วยจิต
ไม่ใช่นึกเป็นภาพ / รู้สึกย่าง
กำหนดย่างหนอ / รู้สึกเหยียบ กำหนดเหยียบหนอ
2.ผ่อนคลาย
ไม่นึกเป็นภาพ เพียงใช้ความรู้สึกของจิตในการกำหนดสติ
3.กำหนดให้อยู่กับปัจจุบันขณะไปเรื่อยๆ ปล่อยวางความคิด หรือนึกเป็นภาพ
4.ระวังความคิดให้ดี
หากเกิดความคิด ให้มีสติกำหนดคิดหนอให้ทัน เพื่อกั้นการจมไปกับความคิด ถ้าคิดอีก กำหนดคิดหนออีก อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาการกำหนด
5.ให้กำหนดอารมณ์อื่นๆ
ด้วยถ้ามี เช่น ความคิด ความรู้สึกทางกาย/ใจ และอารมณ์เวทนาต่างๆ
๓. เทคนิคการเจริญสติระลึกรู้
/ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ใน ท่านั่ง ด้วยรูปแบบการกำหนด พองหนอ ยุบหนอ :
1.นั่งในท่าเหมาะสม ตัวนิ่งทุกส่วน
ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ไม่กั้นลมหายใจ และไม่ขยับ เท้า มือ ตัว ไหล คอ ศรีษะ ไม่นึกเป็นภาพ เมื่อได้ท่าเหมาะสมแล้ว
ให้อยู่กับการกำหนดเท่านั้น ตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลในท่านั่ง
การนั่งนิ่งตั้งตรงตลอดเวลาไม่ได้หมายความว่าปฏิบัติได้ดี
การปฏิบัติได้ดีคือการกำหนดตามความเป็นจริง และร่างกายอาจจะไม่นั่งตั้งตรง
ก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่ว่านั่งเอนแล้วปฏิบัติผิดหรือไม่มีสติ/สมาธิ
2.เคลื่อนความรู้สึกของจิตไปตั้งฐานแถวๆ
บริเวณ ตรงกลาง ท้อง แล้วรู้สึกถึงอาการไหวๆ ด้วยจิต ไม่นึกเป็นภาพ ว่า
พองหนอ(รู้สึกอาการไหวๆ ไปข้างหน้า) หรือ ยุบหนอ(รู้สึกอาการไหวๆ ไปข้างหลัง)
3.
กำหนดเพียงพองหนอ หรือ ยุบหนอ ไม่ว่า อาการไหวๆ นั้น จะ สั้น ยาว ชัด แผ่ว
ถี่หรือห่าง
4.
ในขณะตั้งฐานที่ท้อง จะมี อารมณ์หลัก 4 ชนิด คือ อาการ พองหนอ / ยุบหนอ
/ นิ่งหนอ หรือ เบ่งหนอ (เบ่งลมหายใจเข้าออก เพื่อหาพองยุบ)
5.กำหนดเพียง
อาการพองหนอ/ยุบหนอ โดยไมเปรียบเทียบ กับ ลมหายใจเข้าหรือออก
6.ถ้าไม่มีพองหนอ
ยุบหนอ (ไม่ได้หมายความว่าต้องมีพองหนอ ยุบหนอ ตลอดเวลาจึงจะถูก ) ให้กำหนดว่า
นิ่งหนอ แทน เพราะการกำหนดนิ่งหนอเป็นอารมณ์ปัจจุบันตามความเป็นจริง และไม่ต้องหา
พอง/ยุบ
7.เมื่อไม่มีพอง/ยุบ
ไม่ต้องเบ่งลมหายใจเข้าออก เพื่อสร้างให้เกิด พอง/ยุบ
8.ขณะที่กำหนดพอง/ยุบ
ถ้ามีอารมณ์อื่นๆ เกิดขึ้น ให้กำหนดอารมณ์นั้นให้ทัน เช่น ยินหนอ เย็นหนอ กลิ่นหนอ
คิดหนอ คันหนอ ชาหนอ ตึงหนอ ปวดหนอ ขยับหนอ โยกหนอ ง่วงหนอ กลัวหนอ วูบหนอ หรือ
ถ้าไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ให้ใช้คำว่า รู้หนอ
9.ไม่หาอารมณ์เพื่อจะกำหนด
แต่ให้กำหนดตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงๆ แต่ละขณะความรู้สึกเท่านั้น ถ้าไม่มีอะไร ก็ให้กำหนด นิ่งหนอ
จนกว่าจะมีอารมณ์อื่นปรากฏ
10.ถ้านิ่งหนอ
สักพัก ไม่ต้องไปหา พอง/ยุบ ให้กำหนด จุดเล็กๆ ที่ร่างกายสัมผัสพื้น 4 มุม ว่า ถูกหนอ
แทน พอง/ยุบ โดยกำหนด ถูกหนอ ทีละจุด โดยไม่ต้องเรียงหรือเป็นรูปแบบ
และไม่ต้องลากเส้นจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ให้กำหนดจุด ถูกหนอ แบบสุ่ม
ตรงไหนก็ได้ โดย ส่งความรู้สึกไปมุมนั้นแล้วกำหนดว่า ถูกหนอ
11.ถ้ามี
2 อารมณ์มาใกล้กัน ให้เลือกกำหนด ไปอันเดียว แล้วทิ้งอีกอันไป
12.ถ้ามีอารมณ์มา
3-4 อย่าง ให้กำหนดอันเดียว แล้วทิ้งที่เหลือไป
13.กำหนดความคิด
ให้ทัน และให้สั้น หากมีความคิดอีก กำหนดคิดหนอ ไปเรื่อยๆ อย่าหยุด
14.กำหนดตามจิตไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะช้า จะเร็ว จะชัด จะแผ่ว จะทัน
จะไม่ทัน จะได้ หรือ จะไม่ได้ ก็ให้กำหนดรู้หนอแทน หากกำหนดไม่ได้
15.ผู้เจริญวิปัสสนาเป็นเพียง
"ผู้ดู ผู้รู้ ผู้สังเกตุการณ์ ไม่ใช่ ผู้กำกับ หรือ นักแสดง"