กัมมัฏฐานสมัยก่อนพุทธกาล
ยุคก่อนสมัยพุทธกาล นักบวชอินเดียได้ฝึกปฏิบัติ สมถกัมมัฏฐาน(สมาธิ) ทั้งแบบทรมาน ตนเอง และสุขแบบสุดโต่ง ซึ่งทั้ง๒ไม่ใช่หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ในช่วงก่อนการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า ท่านอาฬารดาบสและอุทกดาบส ได้ปฏิบัติสมาธิ ถึงขั้นสูงสุด ของอรูปฌาน๔ และเป็นอาจารย์สอนสมาธิแก่เจ้าชายสิทธัตถะหลังเสด็จออกบวชใหม่ๆ ต่อมาอาจารย์ทั้ง ๒ ได้เสียชีวิตก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้
และได้ไปเกิดในชั้นอรูปพรหมที่ละเอียดที่สุด หลังจากที่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วไม่สามารถไปแสดงธรรมแก่อาจารย์ทั้ง ๒ ให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ เพราะยุคก่อนมีแต่การสอนสมถกัมมัฏฐาน ซึ่งไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ หากต้องการพ้นทุกข์ต้อง เจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐานเท่านั้น
กัมมัฏฐานในสมัยพุทธกาล
หลังจากพระพุทธองค์ได้ฝึกสมาธิ(สมถกัมมัฏฐาน)
กับท่านอาฬารดาบสและอุทกดาบส จนจบหมดแล้ว ท่านทรงรู้ว่านั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
จึงแสวงหาทางหลุดพ้นต่อไป จนในที่สุด ได้ทรงค้นพบการปฏิบัติเพื่อเข้าถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสในใจ
ด้วยการปฏิบัติแนวทางสายกลาง โดยไม่ติดสุขหรือทุกข์สุดโต่ง เนื่องจากการปฏิบัติแต่สมาธิอย่างเดียว
ไม่ทำให้หลุดพ้นจาก อาสาวะกิเลสได้ หลักการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ และสอนให้ปฏิบัติตามคือหลักสติปัฏฐาน
๔ ทางกาย เวทนา จิต และธรรม หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็น เอกายนมรรค ที่เป็นวิธีทางพ้นทุกข์ ทางเดียวเท่านั้น
พุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า“ทางนี้เป็นทางอันเอกหรือเป็นทางเดียวเท่านั้น
เพื่อทำกาย วาจา ใจ ของสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์ เพื่อดับความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ
เพื่อดับความทุกข์กาย และ ความทุกข์ใจ เพื่อบรรลุญายธรรม คืออริยมรรค และเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔”
รูปแบบของการบรรลุธรรม ๕ ประเภท
แม้ว่าสติปัฏฐานจะเป็นวิธีการปฏิบัติเดียวเพื่อการบรรลุธรรม
แต่รูปแบบ ของการบรรลุธรรมโดยผ่านทางสติปัฏฐาน ในคัมภีร์วิมุตติสูตร หรือวิมุตตายตนะ(เหตุแห่งความหลุดพ้น)
ได้รวบรวมและแสดง
วิธีของการบรรลุธรรม ๕ ประเภท ไว้ดังนี้
วิธีของการบรรลุธรรม ๕ ประเภท ไว้ดังนี้
๑.
การฟังธรรม แล้วบรรลุธรรมด้วยสติปัฏฐาน
๒.
การแสดงธรรม(บรรยายธรรม)
แล้วบรรลุธรรมด้วยสติปัฏฐาน
๓.
การสาธยายธรรม(สวดมนต์)
แล้วบรรลุธรรมด้วยสติปัฏฐาน
๔.
การพิจารณาธรรม(พิจารณาธรรม
หรืออารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นทุกอย่างโดยมีธรรมชาติ ของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไป ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) แล้วบรรลุธรรมด้วยสติปัฏฐาน
๕. สมาธินิมิต(บรรลุธรรมจากการเจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน) ผู้ที่ปฏิบัติวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องศึกษา
หรือมีความรู้ด้านทฤษฎีมาก่อนก็ได้ โดยลงมือปฏิบัติได้ทันที
พร้อมกับมีวิปัสสนาจารย์ที่มีประสบการณ์ให้คำแนะนำ
และช่วยปรับอินทรีย์ให้แก่ผู้ปฏิบัติ
การบรรลุธรรมทั้ง
๕ วิธีนั้น ถ้าผู้ที่เรียนรู้หรือฟังแล้วไม่นำไปปฏิบัติก็จะไม่เกิดผล และเป็นเพียงความทรงจำเท่านั้น
การบรรลุธรรมจะขึ้นได้จริงจากการน้อมนำไปปฏิบัติจริง ที่อารมณ์ภายในของจิต
ด้วยวิธีปฏิบัติอย่างเดียวคือการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ธรรมเทศนาสำคัญของพระพุทธองค์ที่เกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐานเพื่อการบรรลุธรรมมีดังนี้
“สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งเหล่านั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา”
“เมื่อเห็น
จักเป็นเพียงแต่เห็น, เมื่อได้ยิน จักเป็นเพียงแต่ได้ยิน, เมื่อรู้อารมณ์ทางจมูก
ลิ้น กาย จักเป็นเพียงแต่รู้อารมณ์ทางจมูก ลิ้น กาย และเมื่อรู้อารมณ์ทางใจ
จักเป็นเพียงแต่รู้อารมณ์ทางใจ” โดยทรงตรัสสอนแก่ท่านพาหิยะ
และ ”ทรงสอนให้เจริญสติปัฏฐาน
๔ แก่พระภิกษุและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในแคว้นกุรุ” เป็นต้น
การบรรลุธรรมของบุคคล ๔ ประเภท
การบรรลุธรรมได้ช้าหรือเร็ว
ขึ้นอยู่กับประเภทของบุคคลที่เหมาะแก่การบรรลุธรรม ซึ่งมี ๔ ประเภทหรือที่อุปมาบุคคลเหมือนกับบัว
๔ เหล่าดังนี้
๑. อุคฆฏิตัญญูบุคคล คือผู้บรรลุธรรมเร็ว
ได้ด้วยการฟังอุเทศ คือฟังเพียงหัวข้อและประโยคเท่านั้น โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมเช่น
ท่านพาหิยะได้ฟังธรรมจากพุทธองค์ว่า “เมื่อยินสักแต่ว่ายิน เมื่อเห็นสักแต่ว่าเห็น เป็นต้น” จากนั้นท่านก็นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง จนบรรลุธรรมในเวลาต่อมา
๒. วิปจิตัญญูบุคคล คือผู้บรรลุธรรมเร็ว
ได้ด้วยการฟังนิเทศ คือการอธิบายความโดยสังเขปและบรรลุธรรมในภายหลัง จากการฟังธรรมที่เป็นหัวข้อหรือประโยคพร้อมกับรายละเอียด
๓. เนยยบุคคล คือผู้บรรลุธรรมเร็ว
ได้ด้วยการฟังปฏินิเทศ คือการอธิบายโดยพิสดารและพากเพียรปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงจะทำให้บรรลุธรรมในกาลภายหลัง
๔. อภัพพบุคคล หรือ ปทปรมะ คือผู้ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินี้
เพียงสะสมบุญสำหรับในชาติต่อไป
วิธีปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในสมัยพุทธกาล
พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ปรากฎในพระไตรปิฎก
หมวดมหาสติปัฏฐาน ๒๑ บรรพ
(ฐาน) โดยมีแนวทางปฏิบัติได้ทั้ง สมถและวิปัสสนา ซึ่งอธิบายตาม หลักสติปัฏฐาน ๔ หมวดใหญ่ที่ประกอบด้วยกาย เวทนา จิต และธรรม อย่างละเอียดไว้ถึง ๒๑ บรรพ หรือ ฐาน ดังนี้
(ฐาน) โดยมีแนวทางปฏิบัติได้ทั้ง สมถและวิปัสสนา ซึ่งอธิบายตาม หลักสติปัฏฐาน ๔ หมวดใหญ่ที่ประกอบด้วยกาย เวทนา จิต และธรรม อย่างละเอียดไว้ถึง ๒๑ บรรพ หรือ ฐาน ดังนี้
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การเจริญสติตั้งมั่น
พิจารณาเห็นกายในกาย และพิจารณาเนืองๆ ซึ่งกาย คือการกำหนดให้ เห็นรูปธรรมนั้น
มีทั้งหมด ๑๔ บรรพ ได้แก่
บรรพที่ ๑ อานาปานสติ
ในบรรพนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออกย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาวก็รู้ชัดว่าเราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจออกย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้าย่อมสำเนียกว่า
เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
ดังนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้างย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
ถ้าหากเจริญอานาปานสติให้มาก
ย่อมมีอานิสงส์มาก ซึ่งจากพุทธพจน์นี้ ผลที่จะได้จากการปฏิบัติเรียงตามลำดับมีดังนี้
ผู้ที่เจริญ อานาปานสติ, แล้วทำให้มาก ย่อมบำเพ็ญ สติปัฏฐาน
๔ ให้บริบูรณ์ได้
ผู้ที่เจริญ
สติปัฏฐาน ๔, แล้วทำให้มาก ย่อมบำเพ็ญ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ผู้ที่เจริญ
โพชฌงค์ ๗, แล้วทำให้มาก ย่อมบำเพ็ญ วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้
บรรพที่
๒ อิริยาบถ ๔ (เดิน ยืน นั่ง นอน)
บางครั้งก็เรียกว่า อิริยาบถใหญ่ โดยที่เมื่อเดินก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง
เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน และตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ
ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ
บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ
๗ (อิริยาบถย่อย)
การทำความรู้สึกตัวในอิริยาบถย่อยต่างๆ
โดยสักแต่ว่าอิริยาบถนั้นๆ เช่น
๑)
ก้าวไปข้างหน้า และถอยไปข้างหลัง
๒)
แลไปข้างหน้า เหลียวไปข้างซ้าย เหลียวไปข้างขวา
๓)
คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก
๔)
กิริยาที่นุ่งผ้า ห่มผ้า และใช้เครื่องใช้สอยอื่นๆ
๕)
การเคี้ยว การกิน การดื่ม
๖)
การถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
๗)
อาการเดิน ยืน นั่ง นอน จะหลับ เวลาที่ตื่นขึ้น
การพูด การนั่ง
บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา
การปฏิบัติในอาการ ๓๒ โดยพิจารณาเห็นกายนี้แหละ
ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดต่างๆ
ที่อยู่ในกายนี้ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็กอาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
บรรพที่
๕ ธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ไฟ และลม)
การปฏิบัติโดยพิจารณาเห็นกายนี้
ซึ่งตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้
บรรพที่
๖ อสุภะ (ที่ตายได้เพียง ๑, ๒, ๓ วัน)
การปฏิบัติโดยพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด
มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เพื่อน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า
ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
และพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
บรรพที่ ๗ อสุภะ ที่สัตว์กำลังกัดกินอยู่
บรรพที่ ๘ อสุภะ ที่เป็นกระดูก
ยังมีเลือดเนื้อติดอยู่
บรรพที่ ๙ อสุภะ ที่ปราศจากเนื้อ
มีแต่เส้นเอ็นยึดให้คงรูปอยู่
บรรพที่ ๑๐ อสุภะ ที่เหลือแต่โครงกระดูก
ซึ่งยังคงเป็นรูปร่างอยู่
บรรพที่ ๑๑ อสุภะ ที่กระดูกเป็นท่อนๆ
เช่น ท่อนแขน ท่อนขา กระจัด กระจายอยู่
บรรพที่ ๑๒ อสุภะ ที่เก่ามาก จนกระดูกเป็นสีขาวเหมือนสังข์
บรรพที่ ๑๓ อสุภะ ที่ตากลมตากฝนมาตั้ง
๓ ปีแล้ว เหลือแต่กระดูกเป็นชิ้นๆ กระจัดกระจาย
บรรพที่ ๑๔ อสุภะ ที่กระดูกผุป่น
ไม่เป็นรูปเป็นร่าง จนเป็นผงแล้ว
อานาปานสติ
ในบรรพที่ ๑ เจริญได้ทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถ้ากำหนดพิจารณาลมหายใจเข้าลมหายใจ
ออก โดยถือเอาบัญญัติคือลมเป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌานก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน แต่ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหาย
ใจ ที่กระทบริมฝีปากบนหรือที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน, บรรพที่ ๒ - อิริยาบถ ๔, บรรพที่ ๓ - สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ - ธาตุ ใช้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิดฌานจิต หรือ สมถกัมมัฏฐาน ไม่ได้ ส่วนบรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญาและบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ออก โดยถือเอาบัญญัติคือลมเป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌานก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน แต่ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหาย
ใจ ที่กระทบริมฝีปากบนหรือที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน, บรรพที่ ๒ - อิริยาบถ ๔, บรรพที่ ๓ - สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ - ธาตุ ใช้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิดฌานจิต หรือ สมถกัมมัฏฐาน ไม่ได้ ส่วนบรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญาและบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน แต่อย่างเดียวเท่านั้น
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
บรรพที่ ๑๕ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การเจริญสติตั้งมั่น
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เนืองๆ เช่น เมื่อเราเสวยสุขเวทนาอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา เวทนาขันธ์ทั้งหมด ๙ อย่างได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา
สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส
อุเบกขาที่เจือด้วยอามิส สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส สุขเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยสมถกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี
และอุเบกขาเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของสมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง
๙ นี้ใช้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานแต่อย่างเดียว จะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของ สมถกัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดฌานจิตนั้นไม่ได้ การตามพิจารณาเวทนาก็เพื่อให้รู้เห็นประจักษ์ชัดว่าทุกข์สุขที่กำลังเกิดอยู่นั้น
เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานที่ให้เห็นได้ด้วยนัยน์ตา เป็นธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป
แต่เรียกว่า นาม คือนามเจตสิก เวทนานี้ไม่ใช่เราและเราก็ไม่ใช่เวทนา ต่อเมื่อมีเหตุมีปัจจัยเวทนาก็เกิดขึ้นปรากฏขึ้น
จะห้ามไม่ให้เกิดก็ห้ามไม่ได้ ครั้นหมดเหตุ
หมดปัจจัยแล้วเวทนาก็ดับไปเอง ไม่ดำรงคงอยู่ตลอดไป ความรู้ในเวทนาดังกล่าวนี้เรียกว่า
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งมีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้ ความจริงเวทนานี้ก็เกิดอยู่เสมอทุกขณะไม่มีว่างเว้นเลย
ชนทั้งหลายก็รู้สึกทุกข์หรือสุขอยู่ แต่ไปยึดถือว่าเราทุกข์เราสุข จึงไม่อาจที่จะละสักกายทิฏฐิได้เลย
หากเป็นเช่นนี้ไม่เรียกว่าเวทนาเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
บรรพที่ ๑๖ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การเจริญสติตั้งมั่นพิจารณาเห็นจิตในจิต และพิจารณาเนืองๆ
ซึ่งจิต คือวิญญาณขันธ์ทั้งหมด ๑๖ ประเภทได้แก่
-สราค คือจิตที่ มีราคะ (โลภ)
-วีตราค คือจิตที่ ไม่มีราคะ
-สโทส คือจิตที่ มีโทสะ (โกรธ)
-วีตโทส คือจิตที่ ไม่มีโทสะ
-สโมห คือจิตที่ มีโมหะ (หลง)
-วีตโมห คือจิตที่ ไม่มีโมหะ
-สงฺขิตฺต คือจิตที่ มีถีนมิทธะ (ง่วงเหงา หาวนอน)
-วิกฺขิตฺต คือจิตที ฟุ้งซ่าน
-มหคฺคต คือจิตที่ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร (จิตชั้นรูปพรหม และอรูปพรหม)
-อมหคฺคต คือจิตที่ ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร(หมายถึง กามาวจร)
-สอุตฺตร คือจิตที่ เป็นกามาวจร
-อนุตฺตร คือจิตที่ ไม่ใช่โลกุตตร(หมายถึง รูปาวจร และอรูปาวจร)
-สมาหิต คือจิตที่ เป็นสมาธิ
-อสมาหิต คือจิตที่ ไม่เป็นสมาธิ
-วิมุตฺติ คือจิตที่ ประหารกิเลส พ้นกิเลส
-อวิมุตฺติ คือจิตที่ ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส
จิตทั้ง ๑๖ นี้ ใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
การกำหนดพิจารณาจิตเหล่านี้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่าจิตที่กำลังเกิดอยู่ นั้นเป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน
หรือเป็นจิตชนิดใด เมื่อรู้ประจักษ์ชัดเช่นนี้ก็ทำให้เกิด ความรู้ต่อไปว่า
ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลงนั้น เป็นอาการของจิต หาใช่ว่าเราโลภ เราโกรธ เราหลงไม่ เพราะจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา
และเราก็ไม่ใช่จิต จะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิด ให้เกิดแต่จิตอย่างนี้เถอะ ย่อมไม่ได้เลย
จิตย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่มาปรุงแต่ง
เหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งจิตมีสภาพอย่างใด จิตก็มีอาการเป็นไปอย่างนั้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัย
จิตก็ดับไป จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างตัวตน
เห็นด้วยนัยน์ตาก็ไม่ได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป แต่เป็นธรรมชาติที่เรียกว่า นาม
คือนามจิต ความรู้ในจิต
ดังกล่าวนี้เรียกว่าเป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ของ วิปัสสนากัมมัฏฐานซึ่งมีความสามารถที่จะละสักกายทิฏฐิ
คือความยึดถือว่าเป็นจิตเรา จิตเขานั้นเสียได้
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
บรรพที่ ๑๗ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน นิวรณ์ ๕ ได้แก่จิตที่มีกามฉันท์
พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
บรรพที่ ๑๘ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อม ในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง
สติที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้และอาศัยระลึกเท่านั้น
บรรพที่ ๑๙ คือ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน อายตนะ ๑๒
โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก
๖
บรรพที่ ๒๐ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน โพชฌงค์ ๗ ได้แก่สติ ธัมมวิจย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา โดยพิจารณาธรรมในธรรมคือ
โพชฌงค์ ๗
บรรพที่ ๒๑ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน อริยสัจ ๔ ได้แก่ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ
และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรค) โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานใช้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเดียว เป็นการพิจารณาให้รู้ ให้เห็นทั้งรูปทั้งนาม
จึงกล่าวได้ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง
๓ นี้ ย่อมรวมลงได้ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ทั้งสิ้น
มหาสติปัฏฐาน ๒๑ บรรพ เป็นวิธีการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้อย่างละเอียด ซึ่งอยู่ใน หมวดของหลัก สติปัฏฐาน ๔ ทาง กาย เวทนา จิต และธรรม