Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ

รายการ การบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ: ร่วมกัน อนุโมทนาสาธุ กับทุกท่านในชมรม

งานบุญ ปี 2563

1. 63 10 11 ร่วมกฐิน วัดป่าภูหายหลง 500 บาท

2. 63 10 11 ร่วมบริจาคปัจจัย ช่วยเหลือ พระสงฆ์ระยะสุดท้าย สำนักสงฆ์ป่ามะขาม ปากช่อง 21500 บาท

3. 63 12 13 ทำบุญซื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ วัดนาคปรก กรุงเทพฯ 200 บาท


งานบุญ ปี 2564

1. วันที่ 64 02 03  ถวายน้ำปานะ วัดสุวรรณประสิทธิ์ อบรมพระวิปัสสนาจารย์รุ่น 49   110 รูป  1000 บาท   

2. 64 02 12  ทางชมรมได้ร่วมบริจาคกับมูลนิธิไตเทียมวัดสุทธารามกรุงเทพฯ 500 บาท ท่านใดพร้อม ร่วมบริจาค ให้กับทางมูลนิธิของทางวัดเชิญนะครับ ทางวัดขณะนี้ไม่มีรายได้ จากโควิด. แต่มีค่าใช้จ่ายช่วยเหลือคนไข้วันละ 100 ที่มารับรักษาเดือนละหลายล้านบาท อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านครับ

3. 64 02 16  ชมรมศูนย์เจริญสติได้ร่วมบริจาคทอดกฐินสร้างรั้วกำแพงวัดและห้องน้ำ  วัดโต่งโต้น  200 บาท 

4. 640304  ถวายอาหาร รพ สงฆ์ และซื้อเครื่องมือแพทย์ รพ วชิระ 500 บ

5. 640326   สร้างโบสถ์พระประธาน วัดทัพหมัน จ.อุทัยธานี 500 บาท

6. 640329 ร่วมบริจาคทาน สร้างเจดีย์ และโบสถ์วิหาร วัดหนองทอง จ. สุโขทัย 500 บาท

   ยอดกองทุนชมรมศูนย์เจริญสติ 4450 - 500 = 3,950   บาท 

7. 64 05 07 วัดผไทรวมผล จ.บุรีรัมย์ 500 บาท

8. 64 05 28 บริจาค สำนักปฏิบัติธรรมสติภาวนาภิรตาราม จ.สุรินทร์ 500 บาท

9. 64 07 03 บริจาคสร้างหอฉัน ห้องครูวิปัสสนา สำนักธรรมโมลี ปากช่อง 500 บาท

10. 64 07 05 เลี้ยงอาหารเด็ก ธรรมจาริณี 500 บาท

11. 64 07 06 ทอดผ้าป่า วัดเอี่ยมนันทิกวัน จ.ขอนแก่น 500 บาท

8. 64 08 28 บริจาค วัดลำทรายมูล จ.อุทัยธานี เพื่อซ่อมโบสถ์ 500 บาท

9. 64 09 11 บริจาค วัดสักใหญ่ จ.นนทบุรี รวม 3500 บาท (กองทุนชมรม 500 บาท)

10. 64 10 20 บริจาคร่วมกฐินสามัคคี วัดพระบาทน้ำพุ จ.สระบุรี เพื่อสร้าง รพ.สนามโควิด 1000 บาท

11. 64 11 13 บริจาคร่วมกฐินสามัคคี วัดเอี่ยมนันทิกวัน จ.ขอนแก่น 500 บาท


กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ

ตัวอย่างผู้เข้าฝึกเจริญสติ สำหรับโรคทางใจ - MENTAL DISORDER CASES:
สอนเป็นวิทยาทาน เพื่อร่วมเผยแผ่หลักพุทธธรรม และช่วยเหลือสังคมโดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ 
ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว  ซอยลาดพร้าว 41 กทมฯ
โทร  097 984 9355 true  -  LINE ID: aniwat5593
-------------- กรณีศึกษาของผู้เข้ารับการฝึก ยังคงมีถึงปัจจุบัน แต่ที่แสดงไว้เป็นเพียงตัวอย่าง --------------

20. ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน 

ยังคงสอนสติคลายเครียด และสติสำหรับโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้าเรื้อรัง โรคแพนิค โรคย้ำคิดย้ำทำ จิตเภท ปัญหาการนอนหลับ ในกลุ่มไลน์ ชมรมพัฒนาสติ ทุกวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ ช่วงบ่ายสอง


19. กรณีศึกษา : มี.ค. 2564


ผู้เข้ารับการฝึก : หญิงทำงานส่วนตัว อายุ 50 

ปัญหา : ซึมเศร้า โรควัยทอง เครียด วิตกกังวล ใจสั่น จิตฟุ้งซ่าน ปัญหานอนหลับ ทานยาจิตเวชอยู่

สาเหตุ : นิสัยส่วนตัว ญาติเสียชีวิตหลายคน เลิกธุรกิจ ถูกโกง

เป้าหมาย : ต้องการลด อาการซึมเศร้า ความคิดลบ อารมณ์ลบ ในระหว่างวัน และ
ต้องการหลับให้ได้ต่อเนื่อง 7-8 ช.ม. โดยใช้ยาจิตเวชช่วงแรก และจะให้จิตแพทย์ลดยาลงในอนาคต

วิธีการ :
    สอน สติคลายเครียด สติรู้ความรู้สึกในร่างกาย
    สอน การทำสมาธินับเลข เพื่อเบี่ยงเบน ขณะมี คิดลบ อารมณ์ลบมาก
    สอน ให้คิดบวกในระหว่างวันด้วยตัวเอง ทุกวัน
    สอน การนอนสติ และสติระหว่างวัน
    สอน ให้ทำสมาธิ ผ่อนคลาย เบาสบาย สงบสุข และปรับเปลี่ยน คิด พูด ทำ เพื่อลด อาการเครียด เกร็ง ตึง อึดอัด กั้นลมหายใจ พูดเสียงดุดันตึงเกินไป 
    สอน ให้สร้างกิจกรรมใหม่ๆ เพิ่ม เพื่อเปลี่ยนนิสัย / พฤติกรรม
    โทรส่งรายงานทุกวัน ยกเว้นติดธุระ ไม่สะดวก

18. กรณีศึกษา : ก.พ. 2564

ผู้เข้ารับการฝึก :  ชายมีครอบครัว อายุ 40 ทำงานบริษัทเอกชน

ปัญหา : เครียดงาน เบื่องาน คิดลบ หนีงาน หมดกำลังใจทำงาน แก้ปัญหาผิดทาง ยังไม่ได้ทานยาจิตเวช

สาเหตุ : พื้นฐานจิตใจ นิสัย อารมณ์ ขาดความรู้เรื่องจิตวิทยา ธรรมะ หมดไฟ หนีปัญหา

เป้าหมาย : เปลี่ยนแนวคิดในการทำงาน ฝึกการแก้ปัญหาทีละเรื่อง ลดความคิดลบ ฝึกคิดบวก สร้างนิสัยใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติ

วิธีการ : 
    ฝึกสติคลายเครียด
    อดทนสู้กับความอึดอัดในการเปลี่ยนนิสัย / ทัศนคติ ในการทำงาน
    สร้างคิดบวกทุกวัน
    นำสติไปใช้รู้ทัน คิดลบ อารมณ์ลบ ในที่ทำงาน
    เผชิญกับทุกปัญหา และแก้ไขทีละเรื่องร่วมกัน 
    ไม่ไล่ ไม่ลาออกจากงาน จะสู้กับความเครียดในที่ทำงาน
    รายงานผลเป็นประจำ 

17. กรณีศึกษา : ม.ค. 2564

ผู้เข้ารับการฝึก :  ข้าราชการหญิง เกษียณ จบ ป.ตรี อายุ 60 โสด

ปัญหา : โรคซึมเศร้า และปัญหานอนหลับยาก

สาเหตุ : ปัญหาที่ทำงาน และในครอบครัว เริ่มเป็นตั้งแต่ ปี 2545 

เป้าหมาย : ลดยาจิตเวชลงช้า ในอนาคต โดยจิตแพทย์

วิธีการบรรเทา : 
    ฝึกเจริญสติคลายเครียด และจับความรู้สึกในร่างกาย ในท่านั่ง เดิน ระหว่างวัน และนอน 
    บันทึกเหตุการณ์ ด้านความคิด อารมณ์ระหว่างวัน แล้วโทรส่งรายงานทุกระยะ
    สอนฝึกคิดบวกระหว่างวัน 
    สอนให้ค้นหาความรู้เรื่องต่างๆ เพิ่ม
   
16. กรณีศึกษา : พ.ย. 2563

ผู้เข้ารับการฝึก :  ชายไทย อายุ 30 กว่า ศึกษาระดับ ปริญญาตรี แต่เรียนไม่จบ ต้องออกมาอยู่บ้าน
ได้พบจิตแพทย์ทานยามา หลายปีแล้ว - อาการคาดว่าจะเป็น จิตเภท
ได้เข้ารับการฝึกกับทาง ชมรมศูนย์เจริญสติ เกือบ 1 ปี และยังต้องช่วยเหลือเป็นที่รับฟังทางโทรศัพท์ จนถึงปัจจุบัน













-ปัญหา : 

จะเกิดปัญหา ในการอยู่ร่วมกับ สังคมเพื่อน และครอบครัว เมื่อได้ยินเสียงดัง ในประโยคที่กระทบกับเขา จะมีอาการเครียด ปวดหัว และบันทึกในสมอง - อาการจะดีขึ้นถ้าได้สั่งให้คนไปทำร้าย ตบตี ทำให้บาดเจ็บ ยิ่งรุนแรง ยิ่งทำให้สะใจ จะหายจากความเครียดในสมอง

-วิธีสอน / ช่วยเหลือ :
 
1. รับฟังปัญหาทางโทรศัพท์ สอนทางไกล เมื่อเกิดความเครียด เจ็บปวดภายใน --- ช่วงที่เครียด จะให้สอนทางโทรศัพท์ทันที โดยให้นั่งสมาธิ ผ่อนคลาย
    ความเครียด อาการเจ็บปวด ตึงศรีษะ บ่าไหล่ ประมาณ 15 นาที ด้วยการนำให้เสียงสอนผ่อนคลาย เป็นระยะๆ 
2. แนะนำครอบครัว ให้หากิจกรรมในบ้านทำ ไม่ให้อยู่ว่าง
3. ให้ห่างไกล ไม่ให้พบเจอกับ คนที่เคยพูดเสียงดัง ทำให้เครียด
4. สวดมนต์อาราธนาศีล 5 ช่วงเช้า และ แผ่เมตตา ช่วงเย็นทุกวัน
5. พาไปวัด ทำบุญ สวดมนต์ บ่อยๆ
6. ฝึกเจริญสติ นั่งสั้นๆ 15 - 30 นาทีทุกวัน
7. ถ้าวันไหนนั่งไม่ได้ ไม่บังคับให้นั่ง ให้ออกกำลังกาย เบี่ยงเบนความคิด/อารมณ์ลบ
8. พาไปเที่ยวนอกบ้านบ่อยๆ
9. สอนครอบครัว เรียนรู้ แฃะให้ใช้ คำเชิงบวก ประโยคเชิงบวก แนว จิตวิทยาเชิงบวก
10. หลีกเลี่ยง การบังคับ การสั่ง การดุว่า โดยให้ใช้ สติวางเฉย ด้วยเหตุและผล แทน
11. เมื่อใดเกิดอาการกำเริบมาก ให้ใช้ยาจิตเวช ช่วย แทนการสวดมนต์หรือนั่งสมาธิ
12. ทานยาให้ครบ ไม่ลดยาด้วยตนเอง ถ้าจะลดยาต้องให้ จิตแพทย์ สั่งเท่านั้น
13. เมื่อใดลดยาลง ให้สังเกตุอาการ ถ้าไม่ดีขึ้น ให้กลับไปหา จิตแพทย์
      
---------------------------------

15. กรณีศึกษา : พ.ย. 2562

ผู้เข้ารับการฝึก :  ชายไทย อายุ ไม่เกิน 30 รับราชการ (ยังไม่ได้พบ จิตแพทย์ หรือทานยาจิตเวช)
สอน สติคลายเครียด Mindfulness Stress Reduction
เพื่อแก้ไขปรับปรุง อารมณ์โกรธโมโหรุนแรงทันทีและเครียดในการทำงาน











1.ปัญหาที่เกิด: อารมณ์โกรธ โมโห รุนแรง ไม่พอใจในงาน มีความทุกข์ในหน่วยงาน จนเกิดคิดลบ อารมณ์ลบ
หงุดหงิดโมโหง่ายและมีกิริยาทันที
2.เหตุ: จากการเลี้ยงดูในครอบครัว อารมณ์ผู้ปกครอง และพื้นฐานจิตใจของตนเอง
3.เป้าหมาย: ต้องการให้ความทุกข์ โกรธ อารมณ์รุนแรง โมโหง่าย ลดลง และสร้างความคิดบวก พอใจพอเพียงในงานที่ทำอยู่
4.วิธีการ: สอนเจริญสติ (ทุกวัน) คู่กับหลักจิตวิทยา – คิดบวก กุศล มองโลกในแง่ดี เรียนรู้ เหตุและผล
โดยให้ฝึกต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน พร้อมกับโทรส่งรายงานเป็นระยะ
และมีการสนทนากลุ่มอาทิตย์ละครั้งที่ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว
-----------------------------

14. กรณีศึกษา : วันที่ 3 ต.ค. 2562 

ผู้เข้ารับการฝึก : อาการโรคซึมเศร้า เริ่มมาฝึก เจริญสติ ช่วงเดือน เมษายน 2562




















หญิง อายุประมาณ 35 ปี ทำงานเลขานุการ จบปริญญาโท 
พึ่งลาออกจากงานเลขาฯ มาอยู่บ้าน
เคยทานยา Stresam 50mg มาประมาณ 6 เดือน 

ปัญหาที่เกิดขึ้น:
-มีอาการซึมเศร้า  บางครั้งมีปัญหาเรื่องการนอนหลับยาก  ขาดความมั่นใจ คิดลบส่วนมาก และเกิดผลต่ออารมณ์ลบ เวลาทานข้าวกับครอบครัวญาติผู้ใหญ่ คิดว่าไม่รู้จะพูดอะไร อึดอัด 
-ที่ทำงาน ไม่เข้าใจเพื่อนร่วมงาน คิดลบกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความสุขในที่ทำงาน ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ สุดท้ายต้องลาออกจากงาน เพราะมีความทุกข์ ปรับแนวคิดกับเพื่อนไม่ได้ และไม่ค่อยมีเพื่อน
-ทานยา Stresam ก็ไม่ค่อยดีขึ้น

สาเหตุ:
-จากนิสัยส่วนตัว เริ่มสะสมมานานแล้ว
-จากการเลี้ยงดูในครอบครัว

วิธีการฝึก:
-สอนจิตวิทยาพื้นฐาน ให้รู้ทัน คิดลบ อารมณ์ลบ และหางานทำ อย่าให้ว่าง
-ฝึกเจริญสติ ในท่า นั่ง เดิน ระหว่างวัน และนอน ที่บ้านทุกวัน
ที่ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว 
คู่กับ ความรู้ด้าน จิตวิทยาเชิงบวก / คิดบวก / เรื่อง เหตุและผล / หลักธรรมอื่นๆ และ การสนทนากลุ่ม  โดยประเมินผล เป็นระยะๆ  หลังฝึกไปหลายครั้ง และโทรรายงานส่งช่วง เดือนแรก จากนั้นกลับไปฝึกเองทุกวัน

ผลที่ได้:
หลังจากฝึกไปได้ 5 เดือน ปัจจุบันจากการสอบถาม เขากลับมาเป็นปกติมาก
อาการซึมเศร้าไม่มี เวลามีคิดลบมาจะมีสติรู้ทัน แล้วคิดบวกได้ ทำให้มีความสุข
ตอนนี้เป็นปกติดี มีสุข หางานทำไม่ให้ว่าง จนตนเองรู้สึกแปลกใจว่า นิสัยเปลี่ยนไป
คิดลบ อารมณ์ลบ เก่าๆ หายไปเกือบหมด  ดีใจมาก และยอมรับวิธีการฝึกที่ชมรมว่าได้ผลดีมาก

แต่ยังแนะนำให้ฝึกเจริญสติทุกวันไปตลอด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้เมื่อเจอสถานการณ์ไม่คาดหวังได้
เดือนหน้าจะไปพบหมอ เพื่อขอลดยา และอาจหยุดยาจิตเวชได้เร็วๆ นี้ ตอนนี้ทานยาเพียงวันละเม็ดก่อนนอนเท่านั้น 

การสอนสตินี้คล้ายกับ การสอน สติบำบัดโรค (Mindfulness-Based Cognitive Therapy) ของทางตะวันตกตามหลักจิตวิทยาการแพทย์ 
จากงานวิจัยพบว่า การเจริญสติ Mindfulness Meditation มีประโยชน์มากแก่ เช่น แก่สมอง จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การดำรงชีวิต การเรียน การทำงาน ครอบครัว ตนเอง ทุกวัย ทุกศาสนา ทุกหน่วยงาน และทุกสถานที่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากแก่ชาวต่างชาติทั่วโลกขณะนี้ เกือบ 1 ล้านคน

กราบขอบพระคุณ วัดลาดพร้าว ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ ซึ่งร่วมช่วยเหลือสังคม 
ตามหลักปฏิบัติของพุทธศาสนา เรื่อง อานาปานสติ และ สติปัฏฐาน


13. กรณีศึกษา : วันที่ 23 พ.ย. 2561 

มีอาการหูแว่ว ติดในนิมิตเสียง เกิดนิมิตคำพูด นิมิตภาพหลอน อาการตึงศรีษะ/หน้าผาก นอนหลับยาก เครียด



อันตรายจาก การนั่งสมาธิ ที่ขาดสติ ขาดครูสอน สอบอารมณ์อย่างต่อเนื่อง 
และนั่งสมาธิ ติดนิมิตเป็นเวลานาน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง ฆราวาส หรือ แม้แต่พระภิกษุ

ผู้เข้ารับการฝึก : 

คุณป้า อายุ 70 เคยเป็นครู เกษียณมา สิบปีแล้ว เคยฝึก นั่งสมาธิ แนวอานาปานสติ ด้วยตนเอง เป็นเวลาสิบกว่าปี ต่อมาประสบกับเหตุการณ์สูญเสีย ญาติ พี่น้อง จนเกิดอาการซึมเศร้า คิดถึงผู้จากไป จนเกิด นิมิต ภาพ เสียงพูด เสียงดนตรี อื่นๆ และมีอาการตึงศรีษะ/หน้าผาก ทำให้ นอนหลับยาก ตื่นหลายครั้ง เพราะมีเสียงมากวน ทั้งวัน ในช่วงกลางวันแม้จะเพลีย ก็นอนหลับไม่ได้

คุณป้า ทีแรกเข้าใจว่า มี วิญญาณหรือเทวดา มาสื่อสาร สอน พูด ด้วย จนทำให้เกิดความเครียด ความทุกข์ใจ กังวล คิดว่าตนเป็นบ้า เคยบอกว่า อยากตายแต่มิได้ทำ  ท่านจึงหาหนทางแก้ไข โดยในช่วงแรก ไปหา จิตแพทย์ รับทานยา จากอาการที่เรียกว่า หูแว่ว เสียงหลอน เครียด และได้รับยามา 2 ชนิด พึ่งเริ่มทานมาไม่แค่ 3 เดือน แต่รู้สึกว่า ปากแห้งมาก จากผลข้างเคียง แม้จะนอนหลับได้ดีขึ้น

ต่อมาจึงหาผู้สอนเรื่องการแก้ นิมิตเสียง / คำพูด และ ปัญหาการนอน จนได้พบกับ การสอน เจริญสติ บรรเทา โรคทางใจ” ที่ชมรมศูนย์เจริญสติ-วิปัสสนา วัดลาดพร้าว ได้เริ่มฝึก เจริญสติ  
***ทุกวัน ***เช้า / กลางวัน / เย็น / ก่อนนอน***  คู่กับ ความรู้ด้าน จิตวิทยาพื้นฐาน / คิดบวก / เรื่อง เหตุและผล / หลักธรรมอื่นๆ / วิธีกำหนดสติในขณะที่เกิด นิมิตเสียง ในระหว่างวัน และ การสนทนากลุ่ม ประเมินผล ทุกวัน หลังจากฝึกสติ ในท่า เดิน และ นั่ง

เมื่อฝึกผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ นิมิตเสียง น้อยลงมา เสียงก็ดังเบาลงมาก นอนหลับได้เร็วขึ้น
สามารถนอนหลับกลางวันได้ ความเครียดลดน้อยลง มีความสุขขึ้นมาก แต่ยังคงให้ทานยา รพ. ต่อเนื่อง และค่อยๆ ให้หมอเป็นผู้ลดยา การฝึกเจริญสติ คู่การพัฒนาความรู้ ยังคงต้องทำต่อเนื่องไปอีก 1 ปี และให้ฝึกไปตลอด เพราะอาการอาจกลับมาได้อีก

ขอสนับสนุน ทุกวัด สร้าง บุคลากร สอนเจริญสติ-วิปัสสนา และ กิจกรรม ศูนย์เจริญสติ-วิปัสสนา ในวัด 
นอกเหนือจาก ประเพณีวัฒนธรรม พิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพราะ การนั่งสมาธิ / เจริญสติปัฏฐาน / 
วิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็น ธุระสำคัญ กิจของสงฆ์ กิจกรรมสำคัญที่สุดของวัด และ การสอนเจริญสติ-วิปัสสนา ควรเป็นกิจกรรมหลักของทุกวัด

ถ้าขาดความรู้ จากการปฏิบัติผิดวิธี จะเกิดอันตราย จนเกิดวิกลจริตได้ และยังทำให้คนเข้าใจว่า การนั่งสมาธิแนวพุทธ ทำให้คนเป็นบ้า เกิดภาพลบ และ อคติ เช่น จาก หมอจิตแพทย์ ที่พบคนไข้วิกลจริตจากการนั่งสมาธิ และจากคนอื่นที่ไม่เข้าใจ

การเจริญสติ Mindfulness Meditation มีประโยชน์มากแก่ เช่น แก่สมอง จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การดำรงชีวิต การเรียน การทำงาน ครอบครัว ตนเอง ทุกวัย ทุกศาสนา ทุกหน่วยงาน และทุกสถานที่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากแก่ชาวต่างชาติทั่วโลกขณะนี้


12. กรณีศึกษา : วันที่ 31 ต.ค. 2561
อาการแพนิค (Panic Disorder) และ วิตกกังวล (Anxiety Disorder)



ผู้เข้ารับการฝึก : 
การสอนเจริญสติปัฏฐาน เพื่อช่วยเหลือ โรคแพนิค วิตกกังวล Anxiety / แพนิค Panic Disorder

แนว **ผู้ฝึกเป็นศูนย์กลาง** ที่มิใช่ **รูปแบบเป็นศูนย์กลาง**

มุ่งเน้นแก้ปัญหาให้ผู้ฝึกตรงจุด และ สอนให้ฝึกเจริญสติทุกวันที่บ้านด้วยตนเอง
มิได้เพียงแค่สวดมนต์ ทำบุญ อย่างเดียว หรือ ปฏิบัติครั้งละ 3 5 7 วัน เป็นครั้งคราว
แล้วไม่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


กรณีศึกษา ตัวอย่าง นักศึกษาหญิงปี 4 อายุ 25 อยู่ภาคใต้ 
ไม่ได้พบกับผู้สอน เพียงติดต่อกันทางไลน์ สอบถาม และสอนทางโทรศัพท์เป็นประจำ

มีอาการโรค แพนิค วิตกกังวล - Panic/Anxiety Disorder
เกิดความกลัว คิดลบ คิดมาก ไม่อยากไปไหน กังวล
โดยเฉพาะช่วงเย็น มืดค่ำ จะคิดลบ วนเวียนเรื่องเดิมๆ
เคยทานยามา 3 เดือน แล้วหยุดไป 1 ปี แล้วกลับมาเป็นอีก

เมื่อ ปลายปีที่แล้ว ธ.ค. 2560
ได้โทรมาเพื่อขอฝึก เจริญสติ คู่ เหตุผล ความรู้ ปัญญา
ต่อเนื่องทุกวันๆ ละ 15 นาที เช้า เย็น
เป็นเวลา 9 เดือน จนติดเป็นนิสัย และเกิดผลดีมาก

ปัจจุบันเป็นปกติ มีความคิดลบ อารมณ์ลบน้อยมาก
ระหว่างวัน ทำงานได้ปกติ คิดบวกมากขึ้น
ไปเที่ยวห้าง เดินข้างนอกคนเดียวได้
ไม่มีกลัวความมืด ช่วงเย็น/กลางคืน
ใจไม่สั่นอีกแล้ว เป็นปกติดี ทำงานได้ผลงานดี

เมื่อดีแล้ว ยังคงให้เจริญสติต่อเป็นประจำทุกวันตลอดไป
เพราะการเจริญสติ กับ การคิดบวก กุศล จะช่วยพัฒนา
กระตุ้นสมองด้านดี และควบคุมสมองฝ่ายลบ
อาจจะกลับมาเป็นได้อีก สำหรับ ป้องกัน คิดลบ/อารมณ์ลบ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
-(PreFrontal Cortex) บริหารจัดการ เหตุผล แก้ไขปัญหา ยับยั้งอารมณ์
-(Anterior Cingulate Cortex) การรับรู้ การตัดสินใจ เห็นใจผู้อื่น ควบคุมอารมณ์ พฤติกรรม และลดความวิตกกังวล
-(Hippocampus) ความจำ
-(Grey Matter) สร้างเนื้อสมองส่วนสีเทา ให้หนาเพิ่มมากขึ้น
-(Amygdala) ควบคุม สมองด้านลบ ก้าวร้าวรุนแรง กลัว ปล่อยความเครียด ต่อสู้ หรือ กลัวหนี
และ แก่สมองอื่นๆ อีกหลายส่วน จากงานวิจัยในประโยชน์ของการเจริญสติ Mindfulness Meditation กว่า 1,000 เรื่อง


11. กรณีศึกษา : เม.ย. 2561 

***สติปัฏฐาน/ปัญญา กับ โรคแพนิค PANIC DISORDER




การสอน เจริญสติสำหรับโรคแพนิค ตื่นตระหนก Panic Disorder โรควิตกกังวล Anxiety Disorder

-ปัจจุบัน วัยรุ่น คนอายุน้อย คนทำงาน ป่วยกันมาก
-ขอร่วมแบ่งปันประสบการณ์ วิธีสอนบรรเทาโรคแพนิค แก่ วัดและพระสงฆ์ที่กำลังช่วยเหลือชุมชนและปัญหาสังคม

การสอนปฏิบัติ (อานาปานสติ และสติปัฏฐาน) คู่กับ การสอนหลักทฤษฎี ด้วย อริยสัจ ๔ /
หลักจิตวิทยา / คิดบวก / หลักเหตุผล และ พุทธธรรม ในการบรรเทา โรคแพนิค Panic Disorder

ตัวอย่าง -แม่บ้านหญิง ทำธุรกิจส่วนตัว อายุ 26 ปี ได้ติดต่อ เพื่อขอรับการช่วยเหลือ บรรเทา บำบัด โรคแพนิค วิตกกังวล และเครียด ***สอนทางโทรศัพท์ โดยไม่เคยพบกัน***

1. ปัญหาที่เกิด

-มีอาการตื่นตระหนก เครียด คิดลบ คิดบวกหาทางแก้ไขปัญหาไม่เป็น
-เมื่อเกิดอาการ จะหายใจถี่ กลัว ใจสั่น คิดฟุ้งซ่าน กลัวตาย วิงเวียนจะเป็นลม อึดอัดแน่นหน้าอก
กลืนข้าวไม่ลง มือเท้าเย็น เมื่อเกิดอาการตื่นตระหนก 
-อาการจะเกิดขึ้นหลายครั้งเมื่อเดินทางไปถึงสถานที่เดิมๆ ซึ่งเคยเกิดอาการแพนิค

2. เหตุของปัญหา

เริ่มมีอาการตั้งแต่ ธ.ค 60 และเริ่มมีอาการรุนแรงบ่อยขึ้น
เมื่อเดือน มี.ค 61 จึงไปรักษากับ จิตแพทย์ เมื่อ มี.ค 61 
และพึ่งทานยามาประมาณ 1 เดือน หมอวิเคราะห์ว่าเป็น โรคแพนิค Panic Disorder
-ปัญหาครอบครัว คิดมาก คิดลบ เครียด
-ปัญหาส่วนตัว คิดด้วยตัวเองในการแก้ปัญหาไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไร
-ตนเอง และครอบครัวไม่สามารถช่วยเหลือได้

3. เป้าหมาย

เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ อาการแพนิค เครียด คิดลบ
เพื่อบรรเทาความทุกข์ 
เพื่อสร้าง สติ และ ปัญญาความรู้เชิงบวกกุศล
เพื่อความสุขในตน ครอบครัว และการทำงาน
เพื่อไม่ต้องการทานยา เพราะเกิดผลข้างเคียงมากต่อตนเอง
ต้องการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาโรคแพนิค ด้วยตนเอง

4. วิธีการฝึก

-เตรียม สมุด จนบันทึก การสอน หลักการ คิดบวก การสนทนา สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเหตุการณ์ระหว่างวัน
-สอนเรื่อง ความคิดลบ อารมณ์ลบ ความรู้สึกทางร่างกาย/ใจ และพฤติกรรม
-สอนให้ฝึกกระตุ้นสมอง คิดบวก ในเรื่องลูก และความคิด อารมณ์ตนเอง
-สอน วิธีการเจริญสติ ด้วย อานาปานสติคู่ กับ สติปัฏฐาน ในการรับรู้ต่างๆ โดยเฉพาะฝึกให้รู้ทัน ความคิด อารมณ์ลบ อาการต่างๆ

***ให้ฝึกเองที่บ้านทุกวัน - เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน
เมื่อรู้ทันแล้ว เพียงรู้เฉย ปล่อยวาง จากนั้นย้ายไปรับรู้อารมณ์อื่นๆ แทน หรือ ย้ายไปทำกิจกรรม ภารกิจ หน้าที่อื่น เพื่อไม่ให้จมไปกับ อารมณ์

*****การเจริญสติ ฝึกทำใน 4 อิริยาบถ ดังนี้

1) นั่งสติ - เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ครั้งละ 15 นาที หรือทำเพิ่มได้เมื่อมีเวลาว่าง

2) เดินสติ - ทำครั้งละ 15 นาที ร่วมกับนั่งสติ

3) สติในระหว่างวัน - ฝึกทำเองทุกวัน แล้วรายงานการฝึกช่วงเย็น

4) นอนสติ เพื่อให้มีสติ ปล่อยวางความคิด ทำให้หลับเร็ว

ช่วงค่ำให้บันทึกการฝึกลงในตารางการฝึกทุกวัน และจดเหตุการณ์ประจำวันด้วย โดยรายงานผล ทางโทรศัพท์ และ ส่งบันทึกการฝึกเจริญสติ อาทิตย์ละหน ใน ไลน์

-สอนให้เพิ่ม การดื่มน้ำเปล่าทุกชั่วโมงให้ได้วันละ อย่างน้อย 2 ลิตร 
-สอนให้ ฝึกการแกว่งแขน 200 หลังดื่มน้ำ ก่อน เจริญสติ เพื่อให้เลือดหมุนเวียน เพิ่มคุณภาพเลือดไปเลี้ยงสมอง
-ให้ทานผลไม้สลับกัน ทุกวัน ช่วงท้องว่าง ไม่ทานหลังอาหาร
-สอนหลักการด้านทฤษฎี ของพุทธธรรมและจิตวิทยา ในแต่ละสัปดาห์ รวม 9 ครั้ง

5. ผลที่ได้รับ จากรายงานการบันทึก และสนทนาสอบถาม เริ่มฝึกตั้งแต่ วันที่ 28 เม.ย. 2561
เมื่อผ่านไปเกือบ 1 อาทิตย์ ในวันที่ 1 พ.ค. 2561 เกิดอาการแพนิค บนรถเมล์ค่อนข้างรุนแรง

แต่ได้ใช้หลักการและเจริญสต จนอาการสงบลงภายในไม่นาน ด้วยตนเองบนรถเมล์
โดยไม่ได้ใช้ยาใดๆ ทำให้ถึงที่หมายโดยปกติ ฝึกเจริญสติ ประจำทุกวัน เข้าใจที่สอน ทันความคิด อารมณ์มากขึ้น รู้วิธีจัดการอาการ เกิดอาการขึ้นอีก สอง/สาม ครั้ง แต่ก็ควบคุมได้ด้วยสติ/คิดบวกกุศล

ผ่านมาจนถึง ก.ค. 61 อาการแพนิค ยังไม่เกิดขึ้นอีก ความทุกข์หายไปราว 80-90% จากการสนทนา ฝึกทำได้ดี คิดบวกมากขึ้น ตอนนี้มีความสุขสงบ รู้เฉย ปล่อยวางได้มาก และทำงานดีขึ้น

6. -สอนให้ฝึกต่อเนื่องไปตลอด เพราะอาจกลับมาเป็นได้อีกในอนาคต 
และเตรียมพร้อมรับมือต่ออาการที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบอื่นๆ 

รณีตัวอย่างนี้ - สิ่งที่ทำให้อาการบรรเทาอย่างรวดเร็ว เพราะมีระเบียบวินัย มุ่งมั่น
ตั้งใจฝึกเจริญสติ มีศรัทธา เข้าใจในหลักการ ได้ทำการบ้าน และโทรส่งรายงานผลประจำ

นอกจากโรคแพนิค แล้ว การเจริญสติ ยังสามารถช่วยเหลือ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด นอนหลับยาก ย้ำคิดย้ำทำ ได้ผลดีด้วย ถ้าฝึกปฏิบัติตามเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 3 เดือนช่วงแรก และประเมินผลต่อเนื่องอีก 1 ปี


10. กรณีศึกษา : เม.ย. 2561

จากประสบการณ์การสอนแก่เด็กนักเรียน การสอนธรรมะแก่เด็กนักเรียนที่ได้ผลดีอย่างหนึ่ง ที่เหมาะกับความต้องการของเขา คือ การสอนเจริญสติ ให้เด็กรู้ทัน ความคิด เพื่อเอาไปใช้ในห้องเรียน และขณะอ่านหนังสือ เมื่อเด็กมีสติ ได้ผลการเรียน วันหลังจะเริ่มสนใจมากขึ้นเองตามลำดับ และได้เพิ่มการสอน สติ/ปัญญา ใน 4 ด้าน คือ
1. การพัฒนา นิสัยตนเอง
2. ในครอบครัว
3. สังคมเพื่อน
4. ที่ทำงาน ในอนาคต ต่อไป
แต่ถ้าสอนแต่ทฤษฎี คำภาษายากๆ เข้าใจยาก ประยุกต์เองไม่เป็น เด็กจะเบื่อ และอาจมีอคติ กับ พุทธศาสนา เลยก็เป็นไปได้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมาก แม้แต่พระบวชใหม่ตามประเพณี ก็เช่นเดียวกัน


9. กรณีศึกษา : เม.ย. 2561 

ผู้เข้ารับการฝึกสติ 17 เมษายน 2561
-แม่บ้านหญิง เคยรับราชการ อายุ 64 มีสามี และลูกสาว 2 คน



ขั้นตอนการสอนเพื่อช่วยเหลือ โรคซึมเศร้า  และมีอาการแพนิค วิตกกังวล เกิดขึ้นด้วย

1. ปัญหาที่เกิด

น้อยใจลูก ลูกไม่รัก เพราะลูกกำลังจะแต่งและจะย้ายออกไปอยู่เอง เลยคิดลบมาก เครียด ตกใจกลัวง่าย นอนไม่หลับ
หลับยาก เป็นมาหลายเดือนแล้ว ต้องกินยานอนหลับ
ช่วงหลายเดือนนี้ อยู่ๆ ก็มีอารมณ์เศร้า และร้องไห้ออกมาเอง
วันละประมาณ ๑๐ ครั้งๆ ละ ๑ นาที
ต่อมามีโรคกรดไหลย้อนเพิ่มด้วย

2. เหตุของปัญหา

เคยเป็นแพนิคมา เริ่มตั้งแต่ปี 2546
ช่วงนั้นไม่ค่อยได้นอน ทำงานขายขนม หลังเลิกงาน
เลยเจ็บป่วย นอนไม่หลับ จุกคอ ใจสั่น มือเท้าเย็น วิงเวียน
รู้สึกตัวโคลงเคลง ทำให้มีปัญหากับสามี แต่ต่อมากลับมาคืนดีกันเป็นปกติจนทุกวันนี้
ประวัติทาน ยา Zanax จาก รพ สมิตติเวช มาได้ 10 กว่าปี
แล้วย้ายไปรักษาที่ รพ อาภากรณ์ สัตหีบ หมอจ่ายยา Lexapro ให้ทานแล้วดีขึ้น
แต่กลับมาเป็นอีก ตอนที่มีเหตุการณ์ทำให้ตกใจมาก
คือในขณะต้มกล้วยไว้ แล้วลืมปิดไฟ ใจวิตกกังวล ตกใจจนใจเต้นมาก
เพราะกลัวบ้านไฟไหม้ จึงเป็นเหตุให้เริ่มกลับมามี อาการแพนิค
ตอนนี้ ทานยาแต่ Lexapro 10mg 1 เม็ด ตอนเช้า ทานยามา สิบกว่าปีแล้ว

3. เป้าหมาย

เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ อาการร้องไห้ ตกใจง่าย คิดฟุ้งซ่าน
เพื่อบรรเทาความทุกข์
เพื่อสร้าง สติ และ ปัญญาความรู้เชิงบวก
เพื่อความสุขในตน และ ครอบครัว
เพื่อลดยาลง จนกระทั่งหยุดยาได้ จาก ความเห็นของแพทย์

4. วิธีการฝึก

-เตรียม สมุด จนบันทึก การสอน หลักการ คิดบวก การสนทนา
สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเหตุการณ์ระหว่างวัน
-สอนเรื่อง ความคิดลบ อารมณ์ลบ ความรู้สึกทางร่างกาย/ใจ และพฤติกรรม
-สอนให้ฝึกกระตุ้นสมอง คิดบวก ในเรื่องลูก และความคิด อารมณ์ตนเอง
-สอน วิธีการเจริญสติ ด้วย อานาปานสติ คู่ กับ สติปัฏฐาน

ในการรับรู้ต่างๆ โดยเฉพาะฝึกให้รู้ทัน ความคิดลบ และ อารมณ์ลบ
เมื่อรู้ทันแล้ว เพียงรู้เฉย ปล่อยวาง จากนั้นย้ายไปรับรู้อารมณ์อื่นๆ แทน หรือ ย้ายไปทำกิจกรรม
ภารกิจ หน้าที่อื่น เพื่อไม่ให้จมไปกับ อารมณ์

*****การเจริญสติ ฝึกทำใน 4 อิริยาบถ ดังนี้

1) นั่งสติ - เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ครั้งละ 15 นาที หรือทำเพิ่มได้เมื่อมีเวลาว่าง
2) เดินสติ - ทำครั้งละ 15 นาที ร่วมกับนั่งสติ
3) สติในระหว่างวัน - ฝึกทำเองทุกวัน แล้วรายงานการฝึกช่วงเย็น
4) นอนสติ – เพื่อให้มีสติ ปล่อยวางความคิด ทำให้หลับเร็ว

ช่วงค่ำให้บันทึกการฝึกลงในตารางการฝึกทุกวัน และเล่าเหตุการณ์ประจำวันด้วย โดยส่งกลับทางไลน์ อาทิตย์ละหน

-สอนให้เพิ่ม การดื่มน้ำเปล่าได้วันละประมาณ 1.5 - 2 ลิตร
-สอนให้ ฝึกการแกว่งแขน 200 - 500 ครั้ง หลังดื่มน้ำ ก่อน เจริญสติ เพื่อให้เลือดหมุนเวียน
เพิ่มคุณภาพเลือดไปเลี้ยงสมอง และช่วยในการนอนหลับเร็วขึ้น
-สอนให้ทานอาหารสุขภาพ ข้าวกล้อง ผัก ธัญพืช ในช่วงค่ำ
ให้ลดปริมาณอาหาร ระวังน้ำตาล เพื่อช่วยโรคกรดไหลย้อน

5. ผลที่ได้รับ

เริ่มฝึกตั้งแต่ วันที่ 17 เมษายน 2561 เมื่อผ่านไปเกือบ 2 อาทิตย์ ในวันที่ 30 เมษายน
ได้ฝึกเจริญสติ ประจำทุกวัน เข้าใจที่สอน ทันความคิด อารมณ์มากขึ้น
ตอนนี้ไม่ร้องไห้เลย เข้าใจลูก คิดบวกได้ เฉยได้แล้ว
ความทุกข์หายไปราว 80-90% (โดยประมาณ จากการสัมภาษณ์)

แต่วันนี้ไป รพ. รู้สึกเหนื่อย คนมาก เลยมีใจเต้นแรง
แต่คิดบวกได้ทันใน รพ. ที่มีคนจำนวนมาก

ฝึกทำได้ดี และคิดบวกมากขึ้น ตอนนี้มีความสุขสงบ รู้เฉย ปล่อยวางได้มาก

ส่วนอาการ กรดไหลย้อน ตอนนี้ ดีขึ้นมากแล้ว เริ่มหยุดยา
แต่ยังมีแน่นๆ นิดหน่อย

-สอนให้ฝึกต่อเนื่องไปตลอด เพราะอาจกลับมาเป็นได้อีกในอนาคต
เมื่อมีสิ่งกระตุ้น นอนไม่พอ เพลีย ไม่สบาย รีบร้อน เกิดอารมณ์รุนแรง ฯลฯ
-ให้ฝึกต่อเนื่องไปอีก 3 เดือน เมื่อครบแล้ว ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอลดยา

กรณีตัวอย่างนี้ - สิ่งที่ทำให้อาการบรรเทาอย่างรวดเร็ว
เพราะมีระเบียบวินัย มุ่งมั่น ตั้งใจฝึกเจริญสติด้วยตนเองที่บ้านทุกวัน มีศรัทธา เข้าใจในหลักการ
ได้ทำการบ้าน และโทรส่งรายงานผลประจำทางไลน์
นอกจากกรณีนี้แล้ว การเจริญสติ ได้สอนช่วยเหลือ ผู้เป็น
โรคซึมเศร้า / วิตกกังวล / เครียด / นอนหลับยาก / ย้ำคิดย้ำทำ
มาแล้วอย่างได้ผลดี ถ้าหากผู้ฝึก ได้ปฏิบัติตามเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 3 เดือนช่วงแรก
และประเมินผลต่อเนื่องอีก 1 ปี

8. กรณีศึกษา : ก.พ. 2561

การเจริญสติ-วิปัสสนา ในการใช้บำบัด โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder - OCD)



ตย. แม่บ้านอายุ ๕๐ ปี คน กทม. เคยอยู่ต่างประเทศ หมอจิตแพทย์เคยให้ทานยา Lexapro 10ml กินมากว่า ๔ เดือน และให้กินยา Lexotan เวลาเกิดอาการกลัวจนคุมไม่ได้ ต่อมาเลิกกินไปเพราะมึนงงไม่สบาย ตอนนี้ไม่ได้กินยามานานหลายปี และนานๆ จะกินยา Lexotan เมื่อมีอาการกลัวรุนแรง -มีอาการย้ำคิดย้ำทำ เพราะ กลัวสกปรก กลัวหนู เมื่อคิดถึงจะต้องไปล้างขา วันละ ๑๐ ครั้ง

ขั้นตอนการสอนเจริญสติบำบัดโรคย้ำคิดย้ำทำ

๑. สอบถามปัญหา

๒. หาเหตุในอดีตของเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผล

๓. สร้างเป้าหมาย

๔. สอนวิธีการ ปฏิบัติ (เจริญสติ) นั่งสติ ทุกวัน ครั้งละ ๑๕ นาที เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน (เดินสติ/นั่งสติ) และการเจริญสติในระหว่างวัน

๕. สอนการนำเอาสติ ไปใช้รู้ทัน ความคิดลบ / อารมณ์ลบ / พฤติกรรมที่ย้ำคิดย้ำทำ คล้ายกับหลัก CBT (Cognitive Behavior Therapy)

๖. สอนเรื่องทฤษฎีความรู้ คู่ไปกับการฝึกเจริญสติ เช่น
- สติ/สมาธิ
- คิดลบ / คิดบวก
- การหาเหตุ(อดีต) / รู้ผล(อนาคต)
- วิธีแก้ปัญหาด้วยหลัก อริยสัจ ๔
- พรหมวิหาร ๔ (คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ใช้หลัก อุเบกขา
- ความสุข ๓ ในพุทธศาสนา / บุญสูงสุด / ปัญญาในจิต
- การรู้จักหาความรู้ด้วยตนเองเป็น และลงมือทำให้สำเร็จ

๗. ส่งสอบอารมณ์/ถามตอบ/รายงานผลทุกเย็น

หลักจากฝึกไปแล้ว ๓ สัปดาห์ - สามารถลดการไปล้างขา โดยไม่มีเหตุผล ตามอารมณ์เหลือไม่กี่ครั้ง
ต่อวัน และบางวันที่มีสติดีสดชื่นไม่ง่วงจะรู้ทัน ไม่ได้ล้างขาด้วยอารมณ์เลย ตอนนี้ไม่กลัวภาพหนูแล้ว

-ยังมีความกลัวเกิดขึ้นในเรื่องอื่นอีก ในวันที่อ่อนเพลีย นอนไม่พอ งานมาก
-การฝึกยังต้องทำต่อไปให้เบาบางลงในปัญหาทางใจไปเรื่อยๆ อีกหลายเดือน และต้องฝึกเจริญสติ
เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีกในอนาคต
-ไม่ได้ทานยาจิตเวช เพราะใช้การเจริญสติ มาบำบัดแทน

-ปัจจุบันยังฝึกเจริญสติต่อเนื่อง และให้ฝึกต่อเนื่องทุกวันๆ ละหลายรอบ ตลอดไป เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เพื่อเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์เชิงลบที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอย่างแน่นอน


7. กรณีศึกษา : ธ.ค. 2560
****สติ สำหรับ โรคจิตเภท Schizophrenia และ โรคไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว Bipolar

-ขอเชิญทุกวัดร่วมสอนการเจริญสติปัฏฐาน/วิปัสสนา เพื่อช่วยบำบัดโรคทางใจแก่ชุมชน-
ตย. ชายอายุ 20 อยู่วิภาวดีรังสิตและลาดพร้าว หมอวิเคราะห์ว่าเป็นโรคจิตเภท หรือ Schizophrenia --- ช่วงแรกนั่งเองได้ไม่เกิน 5 นาที มีปัญหาเรื่องการรับรู้ ความคิด อารมณ์ ---

ต่อมานั่งได้เพียง 10 นาที แต่มีปัญหาเรื่องการรับรู้ความคิด การสนทนาเล็กน้อย และมีปัญหาในการถ่ายทอดส่งอารมณ์การปฏิบัติ --- แต่ให้ฝึกเองทุกวัน คู่กับ การสอนแนวคิดหลักธรรมในปัญหาต่างๆ
สำหรับกรณีนี้ การสอนหลักการแนวคิดความรู้ สำคัญมาก และต้องรับฟังความในใจเพื่อให้ระบาย ทุกวัน แล้วค่อยๆ สอนการเจริญสติ ซึ่งสอนได้ยากมาก ต้องสอนที่ละเรื่อง

ดังนั้นวิธีช่วยเหลือที่สำคัญได้ผลดีที่สุด คือ การเป็นผู้รับฟัง แนะนำ ให้เขาระบาย และสอนแนวคิดเชิงบวกกุศล ให้กับเขา เป็นหลัก การเจริญสติภาคปฏิบัติ เป็นรอง 

สามเดือนผ่านไป มีความรุนแรงลดลง มีแนวคิดเชิงบวกดีขึ้น แต่อารมณ์ยังแปรปรวนขึ้นๆลงๆ เมื่อใดมีเวลาว่างมากจะคิดฟุ้งซ่าน ยังคงฟังใจกับเรื่องที่ถูกเพื่อนแกล้งอยู่ในความทรงจำกลับมาบ่อยๆ จนทำให้เขาโกรธ  

ทุกๆวันจะให้เขาเล่าเรื่อง ปัญหา สอนแนวคิด ใน 3 ด้านคือ นิสัยอารมณ์ตนเอง / ปัญหาในครอบครัว และ ปัญหาที่ทำงาน จากนั้นสนับสนุน ไม่ให้อยู่ว่าง โดยให้ไปทำงาน เรียนหนังสือ หากิจกรรมทำ และรับฟังให้คำปรึกษาสอนแนวคิดทุกวันเป็นประจำตลอดไปอีกนาน 
กราบขอบพระคุณ วัดลาดพร้าว เอื้อเฟื้อสถานที่ สนับสนุน ในการช่วยเหลือชุมชน เฉพาะบุคคลโดยเน้นการบำบัดแบบคุณภาพ คนต่อคน - มิใช่การเผยแผ่แนวปริมาณหรือบรรยาย

6. กรณีศึกษา : ต.ค. 2560

การเจริญสติ (สติปัฏฐาน/วิปัสสนา) สามารถช่วยเหลือ โรคซึมเศร้า ควบคู่ กับการสอน หลักการ ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ตนเอง พร้อมกับ สอน การรู้ทันคิดลบ คิดบวกเป็น ทำให้ช่วยบรรเทาความทุกข์ซึมเศร้า จมกับอารมณ์ตนเอง จนสามารถมีความคิดทัศนคติดีขึ้น กลับไปเรียน ทำงานได้ดี ปรับตัวเข้าใจอยู่กับปัญหาครอบครัวได้   
การฝึกเจริญสติจะให้ฝึกทำทุกวันต่อเนื่องไป 3 เดือน และพบกันอาทิตย์ละครั้งเพื่อสนทนาปัญหาและรายงานการฝึก 
ตย. นิสิตชาย 30 ปี อยู่ อ้อมน้อย สมุทรสาคร ไม่ใช่ชาวพุทธ ได้มาฝึกต่อเนื่องราว 3 เดือน แลัวกลับไปฝึกเองที่บ้านทุกวัน --- ปัจจุบันกลับไปเรียน เข้าใจตนเอง ทำงานได้ ปรับตัวอยู่กับครอบครัว มีทัศนคติ คิดบวกมากขึ้น ชีวิตมีความสุขกว่าเก่า ความทุกข์ลดลงไปมาก 

5. กรณีศึกษา : ส.ค. 2558
สติ สำหรับ โรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive Compulsive Disorder


ตย. นักปฏิบัติหญิงอายุ 30 ปี อยู่ บางแค - ประสบกับอาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder-OCD) ทานยา รพ. มาหลายปี 
มีความคิดลบ กับตนเอง คิดบ่อยๆ น้อยใจ ขาดความมั่นใจ ใช้ภาษาพูดสัปสนไม่ต่อเนื่องคล้ายสมาธิสั้น มีปัญหาเรื่องการบีบยาสีฟัน แชมพูสระผม การเปิดน้ำก๊อก และใช้เวลาอาบน้ำนานมาก 

หลังจากมาฝึก เจริญสติ (สติปัฏฐาน/วิปัสสนากัมมัฏฐาน) Mindfulness & Intelligence Development for OCD ควบคู่ กับการพัฒนาสร้างความคิดบวกหลักการ ธรรมะ และ ปรับพฤติกรรมที่มีปัญหา อย่างต่อเนื่องทุกอาทิตย์ และกลับไปทำต่อที่บ้าน เป็นเวลาราว 6 เดือน โดยสอนเป็นวิทยาทานฟรี

ปัจจุบันสามารถพัฒนาตนเองด้านพฤติกรรมที่ย้ำทำ มีความอดทนในการทำงานที่มีแรงกดดัน จนทำงานได้จนถึงปัจจุบันหลายปี ใช้ชีวิตได้ปกติ แต่ยังฝึกเจริญสติเป็นประจำทุกวัน

แม้จะดีขึ้นมากแล้ว แต่ต้องมาฝึกทบทวนประเมินผลเป็นระยะๆ เพราะ อาการทางใจจะกลับมาเป็นได้อีกตลอดเวลา

การเจริญสติเป็นยาป้องกันโรคทางใจ ที่อาจกลับมาเป็นได้อีก ที่ยอมรับในทางการแพทย์ - Mindfulness Relapse Prevention

4. กรณีศึกษา : พ.ค. 2558
สติ สำหรับ โรคซึมเศร้า


ชาวบ้านรอบชุมชนทุกแห่งกำลังประสบภัยจาก ทุกข์โรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า (Depression Disorder) - การสอนเจริญสติปัฏฐาน-วิปัสสนา (Mindfulness Meditation) สามารถช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าได้ หากเข้าใจหลักการความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และ การฝึกเจริญสติ ทุกวันๆ ครั้งละ เวลาสั้นๆ หากทำต่อเนื่องจะค่อยๆ ได้ผลดี คือ รู้ทันคิดลบ/อารมณ์เศร้า - คิดบวกเป็น (คล้ายกับหลักการของ Mindfulness Based Cognitive Therapy - MBCT) ---

ตย. ผู้ฝึกหญิงอายุประมาณ 30 อยู่ลาดพร้าว - ทานยาแก้ซึมเศร้ามาในระยะประมาณ 2 เดือน ก่อนหน้านี้ จะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน มีความคิดลบส่วนใหญ่ และมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รำคาญ คนรอบข้าง และถึงกับ ตบตี แฟน โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน ---

ต่อมาฝึกเจริญสติ คู่ กับ เข้าใจความคิด / อารมณ์ /พฤติกรรม - ฝึกเจริญสติทุกวัน และฝึกที่ชมรมศูนย์เจริญสติ เพียง 2 อาทิตย์ จากนั้นความโกรธรุนแรง ตบตี ไม่มีอีกเลยเพราะรู้ทัน จนญาติบอกว่าเปลี่ยนไปมาก และทำงานขายได้ดีขึ้น สร้างมนุษย์สัมพันธ์ คิดบวก มีทัศนคติที่ดีต่องาน และครอบครัว /

สรุป ความทุกข์ลดหายไปมาก สามารถนอนหลับได้ปกติ คิดบวกมากขึ้น ทำงานได้ดีกว่าเก่า มีผลบวกทุกด้าน และ สามารถหยุดการทานยา รพ. เพราะพึ่งทานยาแก้โรคซึมเศร้ามาไม่นาน --

แต่ได้สอนผู้ฝึกว่า อารมณ์ซึมเศร้า จะกลับมาได้ใหม่ตลอดเวลาในอนาคต วิธีแก้ป้องกัน คือ การเจริญสติ ต่อเนื่อง สั้นๆ บ่อยๆ ทุกวัน และกลับมาพบเพื่อประเมินความคิด อารมณ์ เป็นระยะๆ อีกด้วย ---


3. กรณีศึกษา : พ.ค. 2558

การสอนเจริญสติปัฏฐาน-วิปัสสนา แนวพุทธ สามารถนำไปใช้ร่วมกับการทานยาของทางจิตแพทย์ สำหรับ ผู้ป่วย วิตกกังวล แพนิค (ANXIETY PANIC DISORDER) ถ้าฝึกต่อเนื่องทุกวัน จะช่วยบรรเทาบำบัดโรควิตกกังวลได้ผลดี


ตย - นิสิต ทันแพทย์ อายุประมาณ 22 ปี อยู่ กทมฯ  - มีอาการวิตกกังวล เวลาเจอสถานการณ์บางอย่าง หรือฝึกกับเครื่องมือใหม่ๆ หรือก่อนทำข้อสอบ จะเกิดอาการคลื่นไส้ จะอาเจียน เวียนศรีษะ เพราะเกิดวิตกกังวล ประหม่า กลัว ขึ้นมา ---

เมื่อได้ฝึกอยู่หลายเดือนทุกอาทิตย์ และกลับไปทำที่บ้าน พร้อมกับสอนแนวคิดเรื่อง ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อให้รู้ทัน ความรู้สึก / ความคิดลบ เพื่อเปลี่ยนสร้าง คิดบวก และ ย้ายไปทำอย่างอื่น จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี แต่จำเป็นต้องฝึกต่อเนื่อง จนกว่าจะเบาลงไปเรื่อยๆ แต่ควรประเมินผลทุกระยะเพราะอาจจะกลับมาเป็นได้อีก ---

2. กรณีศึกษา : พ.ย. 2559
Vipassana Mindfulness Meditation การเจริญสติ-สติปัฏฐาน-วิปัสสนา สามารถช่วยบำบัดโรคซึมเศร้า (Depression) ร่วมกับการทานยาจากโรงพยาบาล และหากฝึกต่อเนื่องเป็นประจำ คู่กับการรู้ทันคิดลบ คิดบวกเป็น ทันอารมณ์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตนเอง ก็จะสามารถทดลองลดยาลงไปได้ โดยการไปรับคำปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อลดยาลง 
ปัจจุบันมีคนป่วยซึมเศร้าทั่วประเทศ กว่า 1 ล้านคน


ตย. โยคีชายอายุ 45 ป่วยซึมเศร้า อยู่แถวอ้อมน้อย กระทุ่มแบน - เคยประสบความสำเร็จในการเป็นพนักงานบริษัท ต่อมาทำธุรกิจตนเอง กับครอบครัวและเริ่มเจอปัญหาจนล้มเหลว ทั้ง งานและครอบครัวตัวเอง จนขาดความมั่นใจ ไม่อยากเจอผู้คน คิดลบ ซึมเศร้า ไม่มีความสุข หลายปี -- จนได้มาฝึกเจริญสติ คู่ กับ แนวคิด อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อรู้ทันคิดลบ คิดบวกเป็น สร้างความมั่นใจ กลับไปทำงาน ดูแลลูก/ครอบครัวได้ดีกว่าเดิม แต่ยังอยู่ในช่วงฝึกต่อเนื่อง
ปัจจุบันได้รับผลดีขึ้นมาก ทั้งด้าน ตน / ครอบครัว และ การงาน แต่ยังต้องประเมินผลทุกระยะ เพราะอาจกลับมาเป็นได้อีก 


1. กรณีศึกษา : ก.ย. 2558



ตัวอย่าง นิสิตอายุ 22 ปี อยู่ บางใหญ่ วงแหวน - เรียนอยู่ ระดับ ป.ตรี 
เคยป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD - Obsessive Compulsive Disorder) ประมาณ 2 ปี และได้ทานยาจิตแพทย์ด้วย - ต่อมาได้มาฝึกที่ ศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว เป็นประจำ ราว 5 เดือน อาทิตย์ละประมาณ 4-5 วัน ช่วงเย็น และมีอาการดีขึ้น จนแพทย์ บอกว่า ดี ไม่ต้องทานยาก็ได้ 

จากนั้นหยุดการปฏิบัติเจริญสติ ไป ราว 2 ปี แล้วกลับมีอาการ พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ขึ้นมาครั้งหนึ่ง คุณแม่จึงส่งมาฝึกที่วัดอีก อาทิตย์ละหน อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันมากลับมาเป็นอีก -- ผู้ป่วยทางใจ ควรเจริญสติ ตลอดไป วันละน้อยๆ สั้น แต่ทำบ่อยๆ ตลอดไป จะช่วยกั้นได้ ครับ

ยุคสมัยนี้ คนอายุน้อยๆ ก็ป่วยเป็นโรคทางใจกันมากขึ้นกว่าสมัยก่อน เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ สมาธิสั้น แล้ว ครับ