ตารางเปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ด้วย รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ
กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ในพระไตรปิฎก
กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ในพระไตรปิฎก
-มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพจากในพระไตรปิฎก
๑.
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ บรรพ
-กำหนดอานาปานสติ
๑ วิธี
-กำหนดอิริยาบถ ๑ วิธี
-กำหนดสัมปชัญญะ ๑ วิธี
-กำหนดอาการสามสิบสอง ๑ วิธี
-กำหนดธาตุสี่ ๑ วิธี
(ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ)
-กำหนดป่าช้า ๙ วิธี
๒.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ บรรพ
-กำหนดภาวะจิตเสวยอารมณ์ ๑ วิธี
สุข
ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์
๓.
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ บรรพ
-กำหนดจิต
และสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ๑ วิธี
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๕ บรรพ
-กำหนดนิวรณ์ ๑ วิธี
-กำหนดเบญจขันธ์ ๑ วิธี
-กำหนดอายตนะ ๑ วิธี
-กำหนดโพชฌงค์ ๑ วิธี
-กำหนดอริยสัจ ๑ วิธี
|
-วิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยรูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ
-ขณะที่มีสติระลึกรู้ ที่อาการเคลื่อนไหวของท้อง
(ธาตุลม)ให้กำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางกาย
-กำหนดสติรู้ อิริยาบถ ๔ (ยืน เดินจงกรม นั่งสมาธิ
นอน) และทุกอิริยาบถตามความเป็นจริง
-กำหนดสติรู้ ทุกรูปนามอย่างต่อเนื่องตาม ความเป็น จริง
โดยไม่นิ่ง จม หรือคิดปรุงแต่งไปกับอารมณ์
-ขณะใดมีความคิดหรือมีนิมิต(ภาพ) ปรากฏ ให้กำหนดสติรู้ ตามความเป็นจริงว่า
รู้หนอ แล้วไปกำหนดอารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นต่อไป
-เมื่อธาตุดินปรากฏขึ้นให้กำหนดว่า
หนักหนอ, ธาตุน้ำหรือลมเกิด ให้กำหนดสติรู้ว่า รู้หนอ,
ธาตุไฟเกิด ให้กำหนดว่า ร้อนหนอ
หรือเย็นหนอ
-ไม่มีรูปแบบฝึก แต่ถ้าเห็นนิมิตให้กำหนดสติรู้ว่า
รู้หนอ
-กำหนดเวทนาของจิตที่เกิดขึ้นในทุกอิริยาบถ
เช่น ชาหนอ คันหนอ ตึงหนอ ปวดหนอ เบื่อหนอ อึดอัดหนอ สุขหนอ สบายหนอ หรือเฉยหนอ
-กำหนดสติรู้ จิตทุกประเภทที่เกิดขึ้น เช่น คิดหนอ
ชอบหนอ โกรธหนอ เผลอหนอ ฟุ้งหนอ
หดหู่หนอ อยากยืนหนอ อยากเดินหนอ อยากนั่งหนอ อยากนอนหนอ รำคาญหนอ ง่วงหนอ
-กำหนดสติรู้ นิวรณ์ที่เกิดขึ้นในทุกอิริยาบถ เช่น ยินดีหนอ พยาบาทหนอ ง่วงหนอ ซึมหนอ หงุดหงิดหนอ สงสัยหนอ หรือรู้หนอ
-กำหนดสติรู้ ในชีวิตประจำวัน เดินจงกรม หรือ นั่งสมาธิ เป็นการกำหนดเบญจขันธ์(ขันธ์ ๕ - รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
-กำหนดสติรู้ อายตนะที่เกิดขึ้นในทุกอิริยาบถ เช่น เห็นหนอ ยินหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ
เย็นหนอ
-กำหนดสติรู้ ตามอารมณ์ จนเกิด วิปัสสนาญาณที่ ๔(อุทยัพพยญาณ) และญาณที่สูงขึ้นต่อไปจนถึงก่อน มรรคญาณ
-กำหนดสติรู้ ตามเส้นทางของวิปัสสนาญาณ ๑๖ อย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้จิตเกิดปัญญาแสดงสภาวะของวิปัสสนาญาณ จนกระทั่ง การกำหนดสติรู้อารมณ์ ไหลเข้าสู่ มรรคญาณ
|