Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


10. MINDFULNESS AT WORK - การเจริญสติในที่ทำงาน เพื่อคลายเครียด และสร้างความสุข แก่บุคลากร ในองค์กร

Mindfulness At Work and Organization for all Levels 
การเจริญสติในสถานที่ทำงาน สำหรับทุกตำแหน่งงาน

๑. ปัญหา / ความเครียด ในที่ทำงาน :

-ปัญหาการทำงาน
-ปัญหาความคิดเชิงลบ
-ปัญหาการเงิน
-ปัญหาการให้ แบ่งปัน ความเหมาะสม การเอาเปรียบกัน
-ปัญหาการเลี้ยงลูก
-ปัญหาครอบครัว
-ปัญหาอารมณ์เป็นใหญ่ มากกว่าสติและเหตุผล
-ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ ความโลภ

๒. สาเหตุของปัญหา :

-การศึกษาและความรู้ในเรื่องจิตใจ และ สติ
-วิธีการฝึกเจริญสติ 
-การควบคุมต่อปัญหาอารมณ์ตนเอง
-ความเกรงกลัวละอายต่อบาป และเข้าใจถึงผลที่จะตามมา
-การอบรมและฝึกฝน
-เป้าหมาย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรมองค์กร/ที่ทำงาน
-การมุ่งเน้นแต่ปริมาณและความคุ้มค่า
-ธรรมชาติของมนุษย์ที่มี กิเลส/เชื้อโรคร้าย(ยักษ์)ในใจ ๓ ตัว คือ ความหลง ความโลภ และความโกรธ 
-ความเข้าใจในการทำงานของจิต และอารมณ์ต่างๆ ภายในจิต
-ความสามารถในการควบคุมกิเลส ๓ ตัว หรือ อารมณ์ต่างๆ
-ความดื้อรั้นและความไม่รู้

๓. เป้าหมาย (คลายเครียด ลดทุกข์ เพิ่มความสุข) :

-ฝึกสร้าง สติ เพื่อพัฒนาอารมณ์ตนเอง ปัญหาการทำงาน และปัญหาครอบครัวในด้านการเงิน การเลี้ยงลูก และผู้สูงอายุ 
-ฝึกสร้าง สติ และ เหตุผล เพื่อควบคุม อารมณ์ฝ่ายลบ แก่ผู้บริหารและพนักงาน ในการทำงานและที่บ้าน
-การเจริญสติ ช่วยลดความเครียด กังวล หงุดหงิด และอารมณ์โกรธ ให้กับพนักงาน
-เรียนรู้และรู้จักความคิดลบ
-เรียนรู้ จิตวิทยาเชิงบวก 
-ฝึกกระตุ้นสร้างความคิดเชิงบวก
-สอนการหา เหตุ(อดีต) และการนึกถึง ผล(อนาคต)
-ฝึกวิธีการแก้ปัญหา ด้วยหลักอริยสัจ ๔ และหลักบริหารสากล
-ฝึกการเป็นผู้ให้ เสียสละ และผลที่จะได้ในอนาคต
-พัฒนาความรู้เรื่อง กฎแห่งกรรม และสร้างความละอายกลัวต่อบาป จนถึงผลที่จะตามมาในอนาคต
-รู้ถึงคุณค่าชีวิต และสร้างชีวิตให้มีความหมาย  เพื่อประโยชน์ ไม่สร้างโทษภัย แก่ทุกสังคม
-พัฒนาความซื่อสัตย์ และ ความอดทน ในที่ทำงาน
-พัฒนาประสิทธิภาพ(Effectiveness in Quality) และประสิทธิผล(Efficiency in Quantity) ในการทำงาน เช่น แผนกบัญชี การผลิต การบริหาร ฯลฯ
-พัฒนาความสุขของพนักงานด้วยคุณค่า มากกว่า ปริมาณตัวเงินในด้านความคุ้มค่า
-พนักงานมีความสุขขณะทำงาน รักที่ทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
-สร้าง ปัญญา ความสุขทางใจ ลดความทุกข์ บุญกุศล สิ่งที่ดีงามแก่สังคม และ ความสำเร็จ 
-ช่วยลดการลาออกของพนักงาน
-สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความโปร่งใส (Good Governance in Organization)
-เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)

๔. วิธีการ (สติเชิงรุก) :

-เล็งเห็นปัญหาและต้องการพัฒนาปรับปรุง
-สร้างการยอมรับและมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ (Commitment)
-วางแผนบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ และกิจกรรม
-การฝึกเจริญสติในที่ทำงาน
-รับฟังปัญหาของพนักงาน
-สนทนากลุ่ม
-ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
-ฝึกเจริญสติ(ครั้งละ 2, 5, 10นาที) ช่วงก่อนทำงาน ก่อนประชุม ช่วงพักเที่ยง และก่อนกลับ
-นำสติไปใช้ในชีวิตประจำวัน และที่บ้าน
-ฝึกเจริญสติทุกวัน เริ่มต้น 9 สัปดาห์ และฝึกต่อเนื่องไปตลอด
-นำการเจริญสติไปเผยแผ่ต่อสังคมรอบข้าง
-ฝึกการคิดดี(คิดให้เป็น) พูดดี(เหมาะสม) ทำดี(ทำให้ได้จริงๆ)
-ใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต ด้วย สติ เหตุและผล ตลอดไป

10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์

1.PREPARATION  เตรียมใจ เตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน

3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ

5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป

6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ

7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป

---------------


การเจริญสติในที่ทำงาน
MINDFULNESS AT WORK

๑.  ชื่อในการอบรม:   การเจริญสติในที่ทำงาน
                                  Mindfulness At Work

๒.  ระยะเวลา:            การบรรยาย และฝึกเจริญสติ รวม ๑๐ ครั้งๆ ละ ๓ - ๔ ชั่วโมง
                                  ครั้งต่อไป - ทุกเดือนๆ ละ ๑ ครั้ง และตามความเหมาะสม

๓.  กลุ่มเป้าหมาย:     ผู้บริหาร, หัวหน้า และอาสาสมัคร เพื่อนำไปอบรมพนักงานในที่ทำงาน

๔.  ความเป็นมาและความสำคัญ          

          การเจริญสติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ก่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจ สติปัญญา และสามารถขัดเกลากิเลสให้ลดละลง จนกระทั่งเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือพระนิพพาน ดังพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่าด้วยการเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ว่า
          “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (อริยมรรค) เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฎฐาน ๔ ประการ”

          สติปัฎฐาน คือ การตั้งสติสัมปชัญญะ เพียรพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกให้ได้ โดยแยกพิจารณาเป็น ๔ ประการ คือ
๑.  การพิจารณาเห็นกายในกาย
๒.  การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓.  การพิจารณาเห็นจิตในจิต
               ๔.  การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย 
(มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฏกภาษาไทย เล่มที่ ๑๒ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙. หน้าที่ ๔๐)

          การปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน ๔ ถือได้ว่าเป็นหน้าที่หลักสำคัญยิ่งของพุทธศาสนิกชน ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดสติและปัญญา โดยอาศัยหลักองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ การเจริญสติระลึกรู้โดยกำหนดรู้กาย เวทนา จิต และองค์ธรรม เพื่อให้รู้แจ้ง รู้ชัด รู้เท่าทันในสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ณ ขณะนั้น จนสามารถลดละกิเลส ๓ โมหะ (หลง) โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) และถอนความหลงผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และเกิดปัญญาความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้อง คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)  

           บุคคลผู้ปฎิบัติเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) จะช่วยลดความทุกข์ เพิ่มความสุขภายในใจ สามารถพัฒนาระดับสติปัญญา และแก้ปัญหาในการทำงาน เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนท้ายที่สุดเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม และจริยธรรมในสังคมปัจจุบันได้
           
           ปัจจุบันการเจริญสติกำลังเป็นที่นิยมมาก ในอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อินเดีย และอีกหลายประเทศทั่วโลกตลอด ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา  การเจริญสติยังเป็นที่นิยม แพร่หลายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดศูนย์เจริญสติ (Mindfulness Center) ในมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ โดยเน้นการสอน เรื่องการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด ซึ่งมีประโยชน์มาก ต่อการกระตุ้น การทำงานของสมอง ในส่วนหน้าของสติเหตุผล (Prefrontal Cortex), การกระตุ้นสมองให้ทำงาน พร้อมกันทั้งสองด้าน โดยเฉพาะฝั่งซ้ายที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ, สมองความจำ (Hippocampus), เพิ่มการกระตุ้น Serotonin ที่ช่วยนำสารสุข มาให้สมอง อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานของ สมองส่วนกลาง (Amygdala) ที่แสดงอารมณ์ความกลัว วิตก โกรธ เครียด ก้าวร้าว ให้ทำงานน้อยลงได้อีกด้วย  

ผู้ที่เริ่มนำเอาสติมาสอน ในหลักสูตรสติคลายเครียด (MBSR) ตามมหาวิทยาลัย ทางการแพทย์ และโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลก เช่น Dr. Jon Kabat-Zinn, Dr. Rick Hanson, Dr. Diana Winston, Dr. Bob Stahl, Dr. Richard Davidson (Neuroscientist - นักประสาทวิทยาด้านสมอง), Dr. Dan Siegel, ล้วนแต่ได้เคยมาฝึกสติ/สมาธิ มาจากพุทธศาสนา เช่น สายเถรวาท Vipassana Meditation, สายมหายาน, สายท่านโกแองก้า Goenka Vipassana และสายวัชรยาน ธิเบต 

การเจริญสติยังช่วยทำให้เกิดสุขได้อีกด้วย ตามงานวิจัยของ Dr. Richard Davidson เรื่องความสุขกับสมอง ได้พบว่า ขณะเกิดความสุข สมองจะเกิดคลื่นแกมม่า เวฟ (Gamma Wave) และได้ทดลองด้วยอุปกรณ์ตรวจคลื่นสมอง EEG จนค้นพบว่า นักบวชธิเบต ชาวฝรั่งเศส (Ven. Matthieu Ricard) เป็นคนที่เกิดคลื่นความสุขยาวนานกว่าทุกคนที่เคยทดลองมา จึงได้แสดงสรุป ให้เห็นว่า ท่านเป็นคนที่มีความสุขมากที่สุดเท่าที่เคยทดสอบมา (Happiest Man Ever Tested)

นอกจากการเจริญสติคลายเครียดและทำให้เกิดความสุข ซึ่งตรงกับหลักพุทธศาสนา ที่เรียกว่า สมาธิสุข  สติยังมีผลดีต่อการทำงานของสมอง เส้นเลือด หัวใจ และทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อตนเอง การทำงาน ครอบครัว  หลายได้นำเอา

การเจริญสติมีประโยชน์ต่อทุกคน และยังสามารถนำไปใช้สอนในที่ทำงาน/องค์กร แก่พนักงานทุกระดับ เพื่อทำให้องค์กรเป็นบ้านและทำให้พนักงานมีความสุขสามารถแก้ปัญหาได้ด้วย ความคิดกุศล (คิดบวก)  อีกทั้งยังช่วยเพิ่มกระตุ้นความเมตตากรุณา


ผู้ที่ฝึกเจริญสติเป็นประจำ จะช่วยลดปัญหาในที่ทำงาน พัฒนานิสัยตนเอง ปัญหาในครอบครัว ช่วยแก้ปัญหานอนหลับยาก และนำไปสอนลูกหลานด้วยสติเหตุผลที่บ้าน ได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าทุกคนในที่ทำงานได้รับฝึกสติแล้ว จะเกิดความสงบผ่อนคลาย จนสามารถ พัฒนาสติรู้ทันความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และส่งผลดีต่อการทำงาน 

กล่าวโดยสรุป ประโยชน์ของการเจริญสติ จากงานวิจัยทั่วโลกกว่า ๑,๐๐๐ เรื่องมีดังนี้
               . ช่วยลด ซึมเศร้า ได้ 75% (Depression)
. ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น 65% (Well-being)
. เพิ่มภูมิต้านทานได้ 50% (Immune System) และช่วยลดแรงดันเลือด (Lower Blood Pressure)
. เพิ่มเนื้อสมองส่วนสีเทาด้านสติเหตุผล ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มกระตุ้นหรือควบคุมการทำงานของสมองในส่วน Prefrontal Cortex (สติเหตุผล การตัดสินใจ), Anterior Insula (ความเครียด ไม่พอใจ) และHippocampus (ความจำ) เป็นต้น
. ลดเซลล์ส่วนของสมองด้านอารมณ์ลบ (Amygdala)
. ลดความเครียดได้ ทำให้แก่ช้าลง (Stress Reduction)
. ช่วยคลายเครียด ด้วยการสร้างโทเลเมีย (Telomere) คุมที่ปลายของโครโมโซม ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (Dr. Elizabeth Blackburn)
. ช่วยให้แก้ไขในขณะเกิดสถานการณ์คับขันได้ดี (Conflict & Crisis Resolution)
. พัฒนาความตั้งใจในการรับรู้ (Kid’s Attention) และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น (Emotion Regulation)
๑๐. ช่วยให้รู้ทัน ความคิดลบ อารมณ์/ความรู้สึก และพฤติกรรม (Thoughts Emotion and Behavior)
๑๑. ช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสาร มนุษยสัมพันธ์ และการอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี (Interpersonal Skills)
๑๒. ช่วยพัฒนาความเมตตา กรุณา และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น (Loving Kindness and Compassion)
๑๓. ทำให้สมองเกิดคลื่นความสุขภายในที่เรียกว่า แกมม่าเวฟ (Gamma Wave)
   
            หากฝึกเจริญสติอย่างถูกต้องต่อเนื่องในระยะยาว ตามแนวสติปัฏฐาน (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) จะสามารถพัฒนาจิตในระดับลึกของจิตใต้สำนึกในแนวจิตวิทยา และพัฒนานิสัยจิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม  ดังนั้น ผู้ที่ฝึกเจริญสติ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องแล้ว จะช่วยทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง เกิดความสุขทางใจ และยังนำสู่เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือพระนิพพาน หรือ นิพพานสุข ในที่สุด                 

๕.  วัตถุประสงค์

             ๑) เพื่อจัดอบรมหลักคำสอนของพุทธศาสนา จิตวิทยา และความคิดเชิงบวก แก่ผู้บริหาร, ผู้จัดการ และระดับหัวหน้า สำหรับนำไปสอนพนักงานในที่ทำงาน
๒) เพื่อจัดการฝึกเจริญสติ-วิปัสสนา แก่ผู้บริหาร, ผู้จัดการ และระดับหัวหน้า เพื่อนำไปสอนพนักงาน
๓) เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์สู่การพัฒนา นิสัยตนเอง, ปัญหาในที่ทำงาน และปัญหาในครอบครัว
๔) เพื่อสร้าง ชมรมเจริญสติในที่ทำงาน สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศ ของการเจริญสติ เพื่อบรรเทาความเครียด และนำความสุขสู่ที่ทำงาน
๕) เพื่อให้เข้าใจ จิตวิทยาพื้นฐานในเรื่อง ความคิด/ความรู้สึก/อารมณ์/พฤติกรรม ในการป้องกัน และบำบัดโรคทางใจ เช่น โรคเครียด วิตกกังวล แพนิค ซึมเศร้า สมาธิสั้น นอนหลับยาก ฯลฯ
              ๖) เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาและการสื่อสาร ในที่ทำงานด้วย สติเหตุผล
              ๗) เพื่อให้มีความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีสติเหตุผล

๖.  เนื้อหาในการอบรม

               ๑) การบรรยายแก่ ผู้บริหาร/ผู้จัดการ สำหรับสอนพนักงานในองค์กร เรื่องหลักพุทธธรรม หลักจิตวิทยา และ
การเจริญสติ ในเนื้อหาดังต่อไปนี้
              -ชีวิต กายและใจ
              -ความทุกข์ (ความเครียด/ปัญหาของตน ที่ทำงาน และในครอบครัว)  
              -ความสุข ตามหลักของพุทธศาสนา
              -วิธีแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔ และตามหลักการบริหารจัดการ     
              -ประวัติ ความหมาย และประโยชน์ของการเจริญสติ ในพุทธศาสนา
              -ประโยชน์ของการเจริญสติ ในจิตวิทยาการแพทย์
              -ผลของการเจริญสติ ต่อ สมอง ร่างกาย ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม
              -เหตุและผล      
              -สติเหตุผล หรือ อารมณ์
              -เรียนรู้ความคิด และประเภทของความคิด
              -จิตวิทยาเชิงบวก                   
            -จิตวิทยาพื้นฐาน เพื่อบรรเทา และป้องกันโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล แพนิค สมาธิสั้น นอนหลับยาก ย้ำคิดย้ำทำ จิตเภท สองบุคลิก ฯลฯ
              -ฝึกพัฒนาในการสื่อสาร, การรับรู้แสดงความคิดเห็นการถาม/ตอบ และการใช้ภาษา
              -การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีสติเหตุผล
              -สติเชิงรุก เพื่อให้เกิดผลได้จริง
        นอกจากนั้นยังสนับสนุนผู้บริหาร/ผู้จัดการ หรือผู้มีความรู้ ให้เป็นที่ปรึกษาแนะนำ ในการแก้ปัญหากับพนักงาน เป็นการส่วนตัว หรือเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาบุคคลากร ช่วยเหลือ ต่อปัญหา ความเครียดในที่ทำงาน ในครอบครัว สุขภาพ และด้านการเงิน

              ๒) การฝึกเจริญสติ ด้วยรูปแบบอานาปานสติ/พองหนอ-ยุบหนอ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอิริยาบถต่อไปนี้
              -นั่งสติ (บนเก้าอี้ / พื้น)                   
              -เดินสติ
              -นอนสติ (เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา การนอนหลับยาก)
              -สติในอิริยาบถย่อยอื่นๆ ระหว่างวันในองค์กร ที่บ้าน และทุกสถานที่
              -โยคะสติ หรือ สติในขณะออกกำลังกาย
              -ยืนสติ
              หลังการฝึกมีการประเมินผล/ถามตอบ หลังการฝึกทุกครั้ง และควรมีการฝึกเจริญสติ เป็นระยะเวลาสั้นๆ ในองค์กรทุกวัน เช่น ก่อนเข้าทำงาน ก่อนพักเที่ยง ก่อนเข้างานช่วงบ่าย หลังเลิกงาน ก่อนประชุม ก่อนการอบรม และในกิจกรรมหลักอื่นๆ
              นอกจากการเจริญสติทุกวันแล้ว ยังจัดหลักสูตรอบรม และฝึกการเจริญสติแก่พนักงาน เป็นประจำ เช่น ๓ ชั่วโมง /๑ วัน / ๓ วัน หรือ ๗ วัน ทั้งใน และนอกสถานที่

10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์

1.PREPARATION  เตรียมใจ เตรียมตัว

2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน

3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ

4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ

5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป

6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ

7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม

8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์

9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป

10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป

              ๓) การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างบรรยากาศ ในการสนับสนุนกิจกรรมการเจริญสติ ภายในองค์กรตามความเหมาะสม เช่น ป้าย บอร์ด สติกเกอร์ เชือก โบว์ ผ้า เข็มกลัด เสียงระฆังของสติ หรือสัญญลักษณ์เสียง เตือนให้เจริญสติทุกระยะเวลาในที่ทำงาน

      
           ๔) การใช้สนทนากลุ่ม เพื่อพัฒนาความรู้ ถามตอบ แสดงความคิดเห็น  และสร้างทักษะ การใช้ภาษา ด้านการสื่อสารในองค์กร

***สรุป องค์ความรู้ ที่จะศึกษาเพิ่มเติมในระยะเวลาต่อเนื่องอีก 9 สัปดาห์ ดังต่อไปนี้

-ชีวิต ด้านกายและใจ (ขันธ์ ๕) / การทำงานของจิต (ย่อ)
-จิตวิทยาพื้นฐาน
-ความคิด (คิดลบ และ คิดบวก)
-จิตวิทยาเชิงบวก (คิดบวก คำบวก ประโยคเชิงบวก)
-เหตุ และ ผล / กฎแห่งกรรม / การวิเคราะห์ความจริง
-ทาง 7 สาย (31 ภพภูมิ) ในชาติต่อไป
-วิธีแก้ปัญหา ๓ ด้าน (ตน ครอบครัว โรงเรียน) ด้วย หลักอริยสัจ ๔
-สติ/เหตุผล หรือ อารมณ์ ในชีวิตประจำวัน
-ความทุกข์ และความสุข
-ปัญญา ความสำเร็จ และบุญกุศล 
-การบริหารจัดการเวลา
-พรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
-การเป็นผู้ให้ ช่วยเหลือ เห็นแก่ผู้อื่น และสร้างสันติสุข
-การรู้หน้าที่รับผิดชอบ
-การใช้ภาษา (การรับรู้ การถาม/ตอบ การสนทนา)
-อันตรายและกับดักของการหลงในการเจริญสติ/สมาธิ
-การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเอง
-สนทนากลุ่ม ในแต่ละสัปดาห์

๗.  คำอธิบายสาระการอบรม

               ๑) การอบรมหลักพุทธธรรม หลักจิตวิทยา ปัญญา และความรู้ ตามความสมัครใจ ด้วยการอธิบายภาษาพื้นฐาน น่าสนใจ ทันสมัย อย่างมีเหตุ/ผล ในหลักทฤษฎี, หลักเจริญสติ, การพัฒนาจิต, ความสุข. ปัญญา, บุญกุศล และนำสู่ความสำเร็จ
                ๒) การฝึกสอนเจริญสติในองค์กร ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ทันสมัย พร้อมกับ การอธิบายอย่างละเอียด ในรูปแบบอานาปานสติ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ในทุกอายตนะ เพื่อให้มีสติรู้ทัน ความคิด อารมณ์ และความรู้สึก เมื่อชำนาญแล้ว จึงฝึกรูปแบบพองหนอ-ยุบหนอ เพื่อให้เกิดทักษะทั้ง ๒ รูปแบบ
                เป้าหมายของการฝึกเจริญสติ เพื่อให้มีสติรู้ทัน ความคิด การพูด และการกระทำ ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ในอนาคต และเพื่อพัฒนาตนเอง สร้างพฤติกรรมกุศลเชิงบวก ความสุขภายในใจ ที่ทำงาน ในครอบครัว และแก่สังคม
                ๓) การให้ความรู้ การยกตัวอย่าง การนำกรณีตัวอย่างมาสนทนา ในเรื่องหลัก การหาเหตุ (ในอดีต) การเห็นถึงผล (ในอนาคต) และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ด้วยหลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ด้วยการใช้ตัวอย่างจริง ในหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ที่บ้าน และระหว่างวัน
                ๔) การให้ความรู้ เรื่องสติสำหรับโรคทางใจ, การเจริญสติของทางตะวันตก ด้านจิตวิทยาทางการแพทย์, เรื่องของ ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาสติให้รู้ทันความคิดลบ และความคิดฟุ้งซ่าน ซึ่งมีผลกระทบต่อ ความตั้งใจ ความจดจ่อ การมีสมาธิ การรับรู้นึกคิด ความจำ ความเข้าใจ สำหรับนำไปพัฒนาการทำงาน การสร้างความคิดเชิงบวก และวิธีควบคุม ความคิด/อารมณ์/พฤติกรรม (กาย วาจา ใจ) ในทุกสถานที่
                ๕) การสอนในหลักธรรมนิเทศ โยนิโสมนสิการ วิภัชชวาท และหลักความรู้เพื่อพัฒนา การใช้ภาษาในการสื่อสาร
                ๖) การพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยา หลักทางการแพทย์ สุขอนามัยการกินการดื่ม และความรู้อื่นๆ ในองค์รวมของสุขภายกายและใจ
                ๗) การพัฒนาความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถสร้างโจทย์ เป้าหมาย หาปัญหา และค้นคว้าจนกระทั่งหาคำตอบได้ อย่างมีสติเหตุผล
          


๘.  ขอบข่ายเนื้อหาการอบรม

               ๑) การอบรมผู้บริหารและทุกคนในที่ทำงาน ด้วยความสมัครใจและอธิบายอย่างมี เหตุและผล  โดยใช้ภาษาที่ง่าย น่าสนใจ ทันสมัย ในการสอนเนื้อหาเรื่องการเจริญสติ, การพัฒนาจิต, ประโยชน์ของการเจริญสติต่อสมอง/อารมณ์/ร่างกาย/จิตใจ, ผลที่จะได้รับ การพัฒนาการทำงาน และเป้าหมายสู่ความสุขสำเร็จ
               ๒) การฝึกสอนเจริญสติในที่ทำงาน ด้วยภาษาที่ทันสมัย และรูปแบบที่ง่าย ในรูปแบบอานาปานสติ คู่กับหลักสติปัฏฐาน ๔ ในทุกอายตนะ การมีสติรู้ทันความคิด อารมณ์ และความรู้สึก เมื่อชำนาญแล้ว จึงฝึกรูปแบบพองหนอ-ยุบหนอ เพื่อให้เกิดทักษะทำเป็นทั้ง ๒ รูปแบบ
              หลังจากฝึกแล้ว จะมีการประเมินผล/สอบอารมณ์ ด้วยความเมตตากรุณา เข้าใจผู้ฝึก และรับฟังปัญหาอย่างมีเหตุ/ผล อีกทั้งยังสนับสนุนผู้บริหาร/ผู้จัดการ ให้เป็นที่ปรึกษาแนะนำปัญหาต่างๆ แก่พนักงาน เพื่อรับฟังปัญหา/ความคิดเห็น เมื่อรับฟังแล้วควรมีคำชมเชย การสร้างแรงจูงใจ และการได้รับรางวัลทางใจตามความเหมาะสม
               การสอนให้มีสติรู้ทันความคิด การพูดจา และการประพฤติ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขในอนาคต  เป้าหมายของการเจริญสติเพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อพฤติกรรมกุศลเชิงบวก สร้างความสุขภายใน ที่บ้านในครอบครัว และสังคม
                ๓) หนังสือธรรมะ และหลักธรรมของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกจากเนื้อหา ที่ง่าย ทันสมัย น่าสนใจ และใช้ภาษาเหมาะสมกับวัย
               ๔) เนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างบรรยากาศ กิจกรรมการเจริญสติ ประกอบด้วยสื่อหลัก และสื่อจร เช่น เรื่องการเจริญสติ ประโยชน์ต่อสมอง ร่างกายและจิตใจ การพัฒนาการเรียน การควบคุมอารมณ์ การรู้ทันความคิด (คิดลบ ความรู้สึก อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคทางใจ) การรู้ทันคำพูด การรู้ทันการกระทำ และเนื้อหาความรู้ที่อบรม ในแต่ละ ช่วงเวลา 
                ๕) การให้ความรู้ การยกตัวอย่าง การนำกรณีตัวอย่างมาสนทนา ในเรื่องหลักการ หาเหตุ (ในอดีต) การเห็นถึงผล (ในอนาคต) และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยหลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ด้วยการใช้ตัวอย่างจริงในหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ที่บ้าน และระหว่างวัน
                ๖) เนื้อหาในความรู้เรื่องสติบำบัดโรคทางใจตามแนวทางพุทธ เรื่องของกาย วาจา ใจ และการเจริญสติของทางตะวันตกด้านจิตวิทยาทางการแพทย์, เรื่องของ ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาสติให้รู้ทันความคิดลบ และความคิดฟุ้งซ่าน ซึ่งมีผลกระทบต่อ ความตั้งใจ ความจดจ่อ การมีสมาธิ การรับรู้นึกคิด ความจำ ความเข้าใจ สำหรับนำไปพัฒนาการเรียน การสร้างความคิดเชิงบวก และวิธีควบคุม ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม (กาย วาจา ใจ) ที่ทำงาน ที่บ้าน และทุกสถานที่
                ๗) การสอนในหลักธรรมนิเทศ โยนิโสมนสิการ วิภัชชวาท และหลักความรู้ เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาในการสื่อสาร
                ๘) การพัฒนาความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถสร้างโจทย์ เป้าหมาย หาปัญหา และค้นคว้าจนกระทั่งหาคำตอบได้ อย่างถูกวิธีในสื่อสารมวลชนที่มีอยู่  
                ๙) การให้ความรู้ทางจิตวิทยา หลักทางการแพทย์ สุขอนามัยการกินการดื่ม พร้อมกับความรู้อื่นๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากความรู้การเจริญสติ-วิปัสสนา ตามแนวของพุทธศาสนา และในทางจิตวิทยา โดยมีเป้าหมายเพื่อการประยุกต์ใช้ในการรู้ทัน ความคิด นิสัยตนเอง เพื่อการพัฒนาอารมณ์ เพื่อสร้างพฤติกรรมกุศลเชิงบวก และสร้างความสุขภายในที่ทำงาน ที่บ้านในครอบครัว และสังคม

๙. แนวทางการจัดกิจกรรม

         ๑)  การบรรยายพร้อมกับสื่อ/สไลด์
         ๒)  การฝึกเจริญสติ-วิปัสสนา ในอิริยาบถต่างๆ
         ๓)  การส่งสอบอารมณ์ (ถาม/ตอบ)
         ๔)  การให้แสดงความคิดเห็น
         ๕)  การใช้การสังเกต และการวิเคราะห์ในพฤติกรรม
         ๖)  การสนับสนุนให้จัดตั้ง ชมรมเจริญสติในที่ทำงาน

๑๐. การวัดและประเมินผล

             ๑) หลังจากการฝึกเจริญสติในอิริยาบถ นั่ง เดิน นอน และระหว่างวัน
๒) การสังเกตพฤติกรรมของผู้ฝึกเจริญสติ
๓) ผู้ฝึกคอยสังเกตในความเปลี่ยนแปลงของตนเอง
๔) การเปลี่ยนแปลงในปัญหา ๓ ด้าน คือ ตนเอง ที่ทำงาน และครอบครัว 
        
๑๑. คุณลักษณะที่ผู้เข้าอบรมพึงได้รับ

             ๑) มีความรู้ในหลักพุทธธรรม ความเป็นมา หลักการ และประโยชน์ของการเจริญสติ ทั้งในแนวพุทธศาสนา และจิตวิทยาการแพทย์
๒) สามารถฝึกการเจริญสติ เป็นประจำทุกวัน ได้ถูกต้องตามหลักสติปัฏฐาน
๓) สามารถนำการเจริญสติไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ในที่ทำงาน ในครอบครัว  และในชีวิตประจำวัน เพื่อลดความทุกข์ นำสู่ความสุข
๔) มีความเข้าใจองค์ประกอบของชีวิต(ร่างกาย/จิตใจ), การทำงานของจิต, อารมณ์ต่างๆ, วิธีควบคุมจิตใจ/อารมณ์, ความสุขภายใน, การดำเนินชีวิตในอนาคต และหลักธรรมในพุทธศาสนา
๕) เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยหลักอริยสัจ ๔ และการพัฒนาการใช้หลักเหตุ/ผล
๖) มีสติรู้ทันคิดลบ (อกุศล) อารมณ์ลบ ความรู้สึก และพฤติกรรม พร้อมกับ การสร้างความคิดเชิงบวก (กุศล) ได้เป็นด้วยตนเอง
๗) มีความสามารถด้านการใช้ภาษา การสนทนา สื่อสาร และการแสดงออกที่ถูกต้อง
๘) สามารถค้นคว้า และหาความรู้ด้วยตนเองเป็นอย่างมีเหตุผล
๙) มีความรู้ทางด้านจิตวิทยา เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
๑๐) สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาตนตลอดไป


๑๒. กำหนดการ                                                     

 "การเจริญสติในที่ทำงาน"

การอบรมเริ่มต้น – ครึ่งวัน อาทิตย์ละครั้ง จำนวน ๑๐ สัปดาห์
หลังจากนั้น อบรม เดือนละ ๑ ครั้ง หรือตามความเหมาะสม

******************

การอบรมการเจริญสติในแต่ละครั้ง ประกอบด้วย

            ๑.  การบรรยายเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์
            ๒.  การฝึกเจริญสติ ในท่า นั่งเก้าอี้ / นั่งพื้น / เดิน / นอน / อิริยาบถระหว่างวัน
            ๓.  การสอบอารมณ์, ถามตอบ ประเมินผล และแสดงความคิดเห็น
            ๔.  การมอบหมายงานค้นคว้า ในเนื้อหาของสัปดาห์ต่อไป เพื่อนำมาสนทนาในกลุ่ม

-------------------

***หลักสูตรการเจริญสติในที่ทำงาน เรียบเรียงขึ้นเพื่อร่วมเผยแผ่เป็นวิทยาทาน 
สำหรับการอบรมและพัฒนากิจกรรม แก่ ส่วนการอบรมและวางแผน
สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย มี.ค. ๒๕๖๒

-------------------

เรียบเรียง/สอน โดย  อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ 
ผู้ก่อตั้ง/สอนปฏิบัติ -  ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว กทม.

โทร. 097 984 9355
Line ID:  aniwat5593
Email:     anipetch@gmail.com

Facebook: vipassanameditationthailand

--------------






ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร

            แม่ชีบุญมี เวชสาร ถึงแก่กรรม สู่สุคติสัมปรายภพ เมื่อเช้าวันพฤหัสที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลาประมาณ ๐๔.๓๐ น. นับตั้งแต่ที่ท่านได้บวชมา ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ กิจวัตรหลักและเป้าหมายของท่านคือ การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติของการบวช เพื่อมุ่งหน้าสู่ปฏิเวธ พ้นทุกข์ในอริยสัจ ๔ และเข้าสู่ความสุขสูงสุด คือพระนิพพาน ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
            ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผู้เขียนได้เริ่มฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สนทนาธรรม สอบถาม สัมภาษณ์ และฟังเรื่องเล่าต่างๆ จากคุณแม่บุญมี กับ อ.ชัยพร ชยานุรักษ์ คุณแม่จะสอนแต่เรื่องภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานเท่านั้น ตลอดระยะเวลาที่รู้จักท่าน คุณแม่จะมีจิตที่เป็นกลาง ปล่อยวางอยู่ใน อารมณ์สงบนิ่งเสมอมา สามารถควบคุมอารมณ์โลภะและโทสะได้ดีเยี่ยม โดยมิได้แสดงออกมาให้เห็นเลย เวลาทั้งหมดของท่านได้ทุ่มเทให้กับงานเผยแผ่ เรื่องการสอนวิปัสสนา ส่งสอบอารมณ์ปฏิบัติ ร่วมงานบุญ ร่วมสร้างศาสนวัตถุ ช่วยเหลือลูกศิษย์ หรือสนทนาธรรมเท่านั้น 
ลูกศิษย์ส่วนใหญ่จะเรียก แม่ชีบุญมี เวชสาร สั้นๆ ว่า คุณแม่ หรือ คุณยาย เพราะเคารพและสนิทสนมกับท่านเสมือนหนึ่งเป็น คุณแม่ หรือ ญาติมิตรสนิทที่เคารพรัก  แม้ว่าท่านจะมีลูกศิษย์มากมายหลายกลุ่มที่ไม่ค่อยรู้จักสนิทสนมกัน แต่ลูกศิษย์ทุกกลุ่มทุกคนจะศรัทธารักเคารพคุณแม่เท่ากันหมด ซึ่งแสดงถึงความเป็นกลางในความเมตตา กรุณาและอุเบกขาของคุณแม่ แก่ลูกศิษย์ทุกคนเท่าเทียม ไม่แตกต่างกัน ไม่แยกว่าจนหรือรวย คนต่างจังหวัดหรือคนกรุงฯ และ จบ ป.๔หรือปริญญาเอก  
นอกจากการสั่งสอนดูแลลูกศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกันแล้ว ท่านจะเข้าร่วมกิจกรรมของทางวัดในวันสำคัญต่างๆ ทุกครั้งไม่เคยพลาด และให้ความสำคัญมากทุกครั้ง ด้วยความเคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ทุกรูป ในวัดสัมพันธวงศ์ที่ท่านพึ่งพิงอาศัยอยู่ คุณแม่จะเมตตาตั้งใจสอนวิปัสสนาแก่ ทุกคนที่มาฝึกกับท่านเท่าเทียมกันหมด และก็ไม่เคยอวดโชว์ผู้ใดว่า ท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่มีลูกศิษย์มากมาย ท่านจะถ่อมเนื้อถ่อมตัว และนอบน้อมอย่างจริงใจ ต่อพระสงฆ์ทุกรูปในวัด เสมือนหนึ่งแม่ชีธรรมดาทั่วไป ที่มาพึ่งพาอาศัยวัดอยู่ ด้วยความกตัญญูรู้คุณของสถานที่ ซึ่งพฤติกรรมของท่านนี้เอง ที่ทำให้พระผู้ใหญ่ในวัดไว้วางใจ และสนับสนุนคุณแม่ในทุกๆ เรื่อง ลูกศิษย์ใกล้ชิดจะทราบถึงเรื่องเหล่านี้ดี  ถึงแม้ว่าคุณแม่จะมีชื่อเสียง ด้านการสอนวิปัสสนาและมีผู้คนจำนวนมากโทรมาที่วัด เพื่อติดต่อหาคุณแม่ก็ตาม ท่านยังคงประพฤติตนได้ อย่างถ่อมเนื้อถ่อมตัวมาตลอด
นอกจากประวัติของท่านแล้ว จะขออนุญาตเล่าเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ที่แสดงถึงจิตที่เข้มแข็งของคุณแม่ในการควบคุมโทสะได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อหลายปีก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรม ลูกศิษย์ที่หวังดีกับคุณแม่ ได้พาคุณแม่ไปรักษาแพทย์ทางเลือกแถวชานเมืองกรุงเทพฯ ด้วยวิธีทาน้ำมันจนทั่วท้อง จากนั้นก็กดนิ้วชี้ลงที่ท้อง กวาดวนเวียนไปมาอย่างรุนแรงมากอยู่หลายนาที  คุณแม่แม้ในขณะนั้นจะมีอายุมาก ป่วยหลายโรค และมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง  แต่ในขณะที่อาจารย์กดนิ้วชี้ และกวาดท้องคุณแม่ไปนั้น ท่านจะมีสีหน้านิ่งๆ เหมือนนอนเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไรเลย ซึ่งแสดงถึงจิตใจที่มีสติสมาธิที่เข็มแข็งมาก  และวางเฉยต่อเวทนาได้จริงๆ เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ไปรับการรักษา จะร้องโอยโอยกันจนกว่าอาจารย์จะกดกวาดท้องเสร็จ หลังจากกดกวาดเสร็จ พอกลับไปบ้านวันรุ่งขึ้น จะเกิดอาการเขียวช้ำดำไปทั้งท้อง ซึ่งต้องรอเกือบเดือน ถึงจะหายเป็นปกติ หลังจากรับการรักษา คุณแม่มีอาการเขียวช้ำไปทั่วท้องเช่นกัน  จากการไปรักษาครั้งนั้นพิสูจน์ได้ว่า คุณแม่วางเฉยต่อเวทนาหรือโทสะได้ ในระดับสูงจริงๆ ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพจิต การมีสติทนต่อเวทนาอย่างรุนแรงได้ และการฝึกฝนที่ทำให้จิตเข้าถึง พุทธธรรมที่อัศจรรย์บางอย่างที่น้อยคนนักจะเข้าถึงได้
นอกจากเวทนาหรือโทสะแล้ว ก็ไม่เคยเห็นคุณแม่มีการแสดงออก ด้านอกุศลอื่นๆ เช่น ความโลภะ ลำเอียง พูดอวดอ้าง บ่น จู้จี้ ขี้อ้อน หรือ  ยอมแพ้ต่อการสอน ในเหตุการณ์ใดๆ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่ ท่านกำลังมีสุขภาพไม่ดีเอามากๆ  หลายต่อหลายครั้งที่ท่านได้สนทนาธรรมสอนลูกศิษย์ จนกระทั่งหมดสติน็อคไป คาเก้าอี้หรือตั่งที่นั่งอยู่ หรือบางครั้งที่หลังจากลูกศิษย์ไปแล้ว ท่านจะป่วยมาก จนต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที เหตุผลที่คุณแม่ไม่หยุดสอนหรือพูดธรรมะ แก่ลูกศิษย์ทุกคนที่มาเยี่ยม เพราะคุณแม่มีเมตตา ท่านรู้ว่าลูกศิษย์ส่วนใหญ่เดินทางมาแดนไกล เพื่อเยี่ยมเยียน ให้สอนวิปัสสนาหรือสนทนาธรรมด้วย
คุณแม่มีความอดทนอย่างสูงมากต่อเวทนาและความเจ็บป่วยหลายโรคที่ท่านเป็นอยู่ ท่านจะไม่เคยบอกลูกศิษยสักคำเดียวเลยว่า “ไม่ไหวแล้วลูก ขอพักก่อน” ตรงกันข้ามท่านกลับคุยต่อในท่าทางปกติไปเรื่อยจนกว่าจะจบสนทนา  ลูกศิษย์ที่รู้ทันสภาพร่างกายของคุณแม่จะช่วยป้องกันโดยการถามคุณแม่ว่า คุณแม่มีอาการรู้สึกอย่างไรบ้าง จนช่วงหลังๆ ต้องถามเพื่อให้ท่านตอบว่า ถ้าจาก 0-100 ตอนนี้ท่านปวดประมาณกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว เพราะรู้ว่าท่านไม่เคยมุสาโกหกเลย ท่านถึงจะตอบตรงตามความเป็นจริง พวกเราถึงยอมเลิกสนทนา กับท่านและจากไปด้วยความเสียดายในเวลาที่จำกัด แม้ว่าอยากจะคุยอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ก็ตาม  ถึงกระนั้นลูกศิษย์หลายท่านก็ยังไม่รู้อยู่ดี ว่าคุณแม่ไม่ค่อยสบาย เพราะหน้าตาท่านจะเฉยๆ ดูไม่ออกว่าป่วย และไม่เคยแสดงอาการ หรือบ่นออกจากปากแสดงความเจ็บป่วยนั่นเอง
จากการสังเกตเห็นผู้ที่เข้าพบกับคุณแม่ แทบทุกท่านอยากจะนั่งคุยกับท่านเพลินๆ ไปทีละหลายชั่วโมงครึ่งวัน หรือทั้งวันยังได้เลย  คุณแม่ยังมีลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา และฝึกวิปัสสนาผ่านโทรศัพท์ทางไกลจากต่างประเทศหลายคน  ลูกศิษย์คุณแม่ที่อยู่อังกฤษท่านหนึ่งที่ศรัทธาคุณแม่ ถึงกับเอยปาก ยกที่ดินหลายไร่ให้คุณแม่ เพื่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม แต่คุณแม่ก็ไม่รับการบริจาค กลับตอบปฏิเสธไป ด้วยเหตุผลที่ท่านมีอายุมากแล้ว ไม่พร้อมที่จะบริหารจัดการ เพราะสุขภาพท่านไม่ค่อยดีในช่วงหลังๆ เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้ง 
คุณแม่เคยได้เล่าเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของท่านในอดีตให้ฟังว่า คุณแม่เริ่มฝึกแนวพองยุบมาตั้งแต่แรก จนต่อมาได้มาฝึกจริงจัง กับพระอาจารย์ใหญ่(พระภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ) วิปัสสนาจารย์สายพองยุบชาวพม่ารูปแรกที่มาสอนในประเทศไทย ผู้ที่มีคุณูปการอย่างสูงต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชน  ท่านได้รับนิมนต์จาก พระพิมลธรรม(อาจ อาสโภ) มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์เผยแผ่สอนในประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ ที่วัดมหาธาตุฯ คณะ ๕ กรุงเทพฯ ต่อมาได้ย้ายไปสอนที่ สำนักวิเวกอาศรม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จนกระทั่งท่านมรณภาพไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา  จุดเริ่มต้นในการนิมนต์ครั้งนั้น ก่อให้เกิดวิปัสสนาจารย์ และสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน กระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้เคยฝึกรูปแบบพองยุบมาแล้ว น่าจะเกือบหรือมากกว่า ๑ ล้านคน ปัจจุบันวิปัสสนากัมมัฏฐานยังคงเป็นที่นิยมมาก แก่ทั้งชาวพุทธ และชาวต่างประเทศ ที่สนใจเรื่องการเจริญสติ หรือที่สากลเรียกกันว่า Mindfulness Meditation  ซึ่งเป็นงานเผยแผ่หลักด้านวิปัสสนาธุระและคันถธุระ  ในหลายประเทศของพระธรรมฑูตสายมหานิกายของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การสอนวิปัสสนาแนวพองยุบในประเทศไทยที่คุณแม่สอนอยู่นี้ เกิดขึ้นมาได้จากหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “พระวิสุทธิมัคคเผด็จ” ที่ถูกอ่านโดย พระพิมลธรรม(อาจ อาสโภ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ในช่วงก่อนปี พ.. ๒๕๐๐  หลังจากอ่านจนจบแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและกล้าคิดกล้าทำของท่าน ประกอบกับเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามรูปแบบในคัมภีร์ที่ปัจจุบันเรียกว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่รจนาขึ้นจากประสบการณ์การปฏิบัติวิปัสสนา และทฤษฎีในพระไตรปิฎกมาเรียบเรียงขึ้นจนสำเร็จในช่วงปี พ.. ๑๐๐๐ เป็น ๓ ภาคส่วน คือ ศีลนิเทศ สมาธินิเทศ และปัญญานิเทศ  หนังสือวิสุทธิมรรคคือคัมภีร์สำคัญ สำหรับโยคีผู้เจริญวิปัสสนาสายพองยุบทุกท่าน และยังเป็นต้นฉบับที่สรุปย่อ เรื่องไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ศึกษาง่ายด้วยการเรียบเรียงจากในพระไตรปิฎก จนกลายเป็นคัมภีร์ปริยัติธรรมศึกษา สำหรับพระสงฆ์ไทย ที่ใช้ในการศึกษาภาษาบาลี เปรียญธรรมประโยค ๘ และ ๙ ในปัจจุบัน
คุณแม่เล่าให้ฟังต่อเรื่องประวัติและประสบการณ์ปฏิบัติวิปัสสนาของคุณแม่กับพระอาจารย์ใหญ่ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ที่สำนักวิเวกอาศรม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี  คุณแม่ได้ตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนา โดยกำหนดอารมณ์ทั้งวันตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับไป โดยไม่คุยเล่นหรือนั่งเล่นที่ไหนเลย ตลอดเวลาที่ไปฝึกท่านจะกำหนดเจริญสติ อย่างต่อเนื่องทั้งวัน และไปสอบอารมณ์ วันละครั้งกับหลวงพ่อใหญ่ (คุณแม่จะเรียก พระอาจารย์อย่างนั้น) คุณแม่บอกว่าหลวงพ่อใหญ่จะสอน ให้กำหนดเสียง และทุกอารมณ์ที่ปรากฎด้วย ไม่ใช่แต่ข้างในอย่างเดียว โดยจะไม่ให้กำหนดจี้ เพ่ง บังคับ หรือจมอยู่กับอารมณ์ใด  คุณแม่เน้นว่าท่านสอนให้กำหนดเสียงด้วยว่า ยินหนอ ซึ่งคุณแม่เอายินหนอมาใช้กำหนด ในเวลาขณะที่ท่านจมสมาธิ หรือช่วงที่มีสมาธิมากเกินไป ท่านเล่าว่า ท่านแก้สภาวะจมสมาธิ ด้วยวิธีกำหนดสติขยับย้ายไปแตะ ยิน ยิน ถูก ถูก ไปเรื่อยๆ แม้บางครั้งกำหนดบริกรรมจะไม่ค่อยออก ก็ใช้เพียงจิตที่รู้ไปแตะ รู้ยิน รู้ยิน รู้เย็น รู้ถูก รู้นิ่ง รู้อารมณ์ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีองค์บริกรรมเป็นคำในใจ ท่านบอกว่าบางครั้งยิ่งบริกรรม ยินหนอในใจ ยิ่งทำให้จมสมาธิ เพราะท่านยังบอกอีกว่าท่านมีสมาธิมากเป็นฐานอยู่แล้ว และในบางครั้งท่านจะบริกรรมไม่ออก
คุณแม่เอ่ยปากชมเชยหลวงพ่อใหญ่ว่า สอบอารมณ์ได้เก่งและละเอียดที่สุด ไม่มีท่านใดสอนได้ลึกซึ่ง เหมือนหลวงพ่อใหญ่เลย แม้ว่าจะได้เคยเดินธุดงค์ ไปหลายจังหวัด ผ่านวัดต่างๆ และได้กราบพบเจอพระสงฆ์มามากมายก็ตาม แต่ก็ไม่มีใครสอนได้ดีละเอียดเท่ากับหลวงพ่อใหญ่  คุณแม่สอนต่อว่า การปฏิบัติวิปัสสนาทำให้เรามีความทุกข์น้อยลง และทำให้เกิดความสุขทางใจมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการเจริญสติ กำหนดรูปกับนามไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนเห็นพระไตรลักษณ์ หลังจากนั้นปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน โดยกำหนดสติ ให้ทันตามอารมณ์ อย่างเป็นธรรมชาติไปเรื่อยๆ จะเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาญาณ ๑๖ ในไม่ช้า สุดท้ายปัญญาในการลดละกิเลส จะเกิดขึ้นเองในใจ โดยไม่ต้องนึกคิดหลักธรรม หรือท่องจำในตำราคัมภีร์ เพราะถ้าจำธรรมะได้ แต่ไม่ปฏิบัติ จิตก็ยังมีกิเลสอยู่ คุณแม่บอกว่า “มันเป็นเพียงความจำหรือสัญญา ยังไม่ใช่ปัญญาแท้” 
ผมเองได้ไปฝึกปฏิบัติวิปัสสนาที่วิเวกอาศรมในปี พ..๒๕๓๖ ในสมัยพระอาจารย์ชาลี จารุวณฺโณ (วิปัสสนาจารย์ลูกศิษย์หลวงพ่อใหญ่ ที่เป็นผู้ช่วยสอน รองจากท่านในวิเวกอาศรม ได้เป็นพระธรรมทูตรุ่นที่ ๕ อยู่ประเทศอเมริกาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนปัจจุบัน) และได้มีโอกาสในการรับฟัง การสอนวิปัสสนาจาก พระอาจารย์ใหญ่ ภัททันตะ อาสภเถระ ประเด็นที่สำคัญในครั้งนั้นคือ ท่านกล่าวว่า “การปฏิบัติวิปัสสนา ให้กำหนดสั้นๆ ไม่ใช้กำหนด ขวาขวาขวาขวาขวา ย่างย่างย่างย่างย่าง หนอหนอหนอหนอหนอ ยาวๆ ยืดๆ  ท่านบอกว่ากำหนดแบบนี้ ไม่ถูกหลักวิปัสสนา” เพราะการกำหนดยาวๆ เป็นการเจริญสมถะหรือสมาธิ ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา 
ในช่วงนั้นมีพระสงฆ์ไปฝึกวิปัสสนาที่วิเวกอาศรมมากกว่าฆราวาส ส่วนใหญ่จะฝึกกันในศาลาใหญ่ชั้นล่าง ครั้งหนึ่งบังเอิญเห็นพระสงฆ์ท่านหนึ่ง เจริญวิปัสสนาในท่านั่งสมาธิ ท่านนั่งหลับตาตัวสั่นกระตุกหายใจเข้าออกอย่างรุนแรงมาก อย่างไม่เคยเห็นมาก่อนเป็นเวลานานมาก พร้อมกับเสียงลมหายใจพุบพับเข้าออกดังมาก สภาวะเช่นนี้หลายคนอาจเข้าใจว่านั่งสมาธิแล้ว จะต้องนั่งตัวตั้งตรงตลอดถึงจะถูก แต่ความจริงแล้ว ถ้าปฏิบัติจนเข้าถึงสภาวะอารมณ์ปรมัตถ์แล้ว มักจะมีสภาวะแปลกๆ ปรากฎขึ้นภายในร่างกายเอง จะไม่มีใครเลยสามารถประคองตัวนั่งตรงได้ตลอดเวลา เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นเท่ากับบังคับตัว ซึ่งเป็นการน้อมกลับเข้าสู่อารมณ์บัญญัติ คล้ายกับถอยไปเริ่มต้นใหม่นั่นเอง  การเจริญวิปัสสนานั่นมีอะไรลึกซึ้งที่เกี่ยวกับ สภาวะของจิตมากมาย อย่างพิสดารที่นึกไม่ถึง คล้ายกับฉายหนังโรงใหญ่ให้ดู ด้วยอารมณ์ที่จิตจะแสดงเกิดขึ้นเอง ในหลากหลายอารมณ์ เช่น ชัด/เบลอ ช้า/เร็ว แผ่วเบา/รุนแรง นุ่มนวล/หนักแน่น สดใส/เศร้าหมอง สม่ำเสมอ/มามาหายหาย กำหนดได้/กำหนดไม่ได้ สุข/ทุกเวทนา อารมณ์ที่หลากหลาย/อารมณ์ที่เหมือนกันหมด มี/ไม่มี คล้ายง่วง/คล้ายตื่น ดี/ไม่ดี เป็นต้น
หลังจากผ่านมาหนึ่งปี อาจารย์สอนหนังสือรุ่นพี่ นักปฏิบัติที่รู้จักกันมานาน เล่าเรื่องหลวงพ่อใหญ่ให้ฟังว่า เขาเคยเข้าร่วมคอร์สวิปัสสนากรรมฐานของคุณแม่สิริ กริณชัย และต้องการฝึกปฏิบัติเดี่ยวอย่างต่อเนื่อง เขาจึงเดินทางมาฝึกวิปัสสนา กับหลวงพ่อใหญ่ ที่วิเวกอาศรมในช่วงปิดเทอม เพราะไม่ต้องสอนหนังสือ เป็นเวลาตลอด ๓ เดือน เขาตั้งใจเอาจริงเอาจังปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน โดยแทบจะไม่ค่อยคุยกับใครเลย ยกเว้นตอนส่งอารมณ์กับหลวงพ่อใหญ่ เขาปฏิบัติได้ดีมากคล้ายๆ กับคุณแม่ เขาเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อใหญ่ชมว่าปฏิบัติได้เก่ง ตั้งใจปฏิบัติดีมาก และมีสภาวะดี หลวงพ่อใหญ่ชอบสอนคนแบบนี้ เพราะสอนไปแล้ว มีการบ้านมาส่งทุกวันไม่ซ้ำกันเลย(สภาวะ)  พอครบ ๓ เดือนก่อน จะกราบลาหลวงพ่อใหญ่ ท่านกล่าวกับอาจารย์ผู้นี้ว่า ตั้งใจทำได้ดี มีสภาวะมาส่งทุกวัน หลวงพ่อชอบสอนคนแบบนี้ ก่อนกลับหลวงพ่อใหญ่ทิ้งประโยคสุดท้ายไว้ว่า ในอนาคตให้มาเป็นลูกศิษย์ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อ  กับหลวงพ่อใหญ่อีกนะที่จังหวัดอยุธยา เพราะหลวงพ่อใหญ่อยากจะพูดภาษาไทยให้ได้เก่งกว่านี้ และจะกลับมาสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับคนไทยอีก ในอนาคตที่จังหวัดอยุธยา นี่เป็นเรื่องเล่าสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้
การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ผู้ฝึกจะต้องทำเองเห็นเองโดยที่วิปัสสนาจารย์ จะไม่สอนอะไรล่วงหน้า ทั้งไม่นิยมบันทึกสภาวะทำเป็นตำรา ให้อ่านศึกษาก่อน ผู้ที่ศึกษาแต่ปริยัติ และไม่ได้ฝึกวิปัสสนายากที่จะเข้าใจ วิปัสสนาจารย์ในอดีต จะไม่นิยมเขียนเป็นหนังสือ อธิบายในเรื่องสภาวะธรรม ที่ปรากฎจากการปฏิบัติ เพราะจะเป็นการบอกล่วงหน้าทำให้ฟุ้งซ่านเกิดการพิจารณานึกคิด ซึ่งจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีแก่ผู้ฝึกปฏิบัติ  วิปัสสนาจารย์จะให้ฝึกเองเห็นเอง ถึงจะได้ของแท้จริงที่เกิดขึ้นในใจ ทำให้จิตเดินตรงนำเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนา โดยมีเป้าหมายคืออารมณ์พระนิพพาน
การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานของคุณแม่ในช่วงแรกจะเริ่มต้นฝึกด้วยการฝึกกำหนด พองหนอ ยุบหนอ และกำหนดเดินจงกรมแบบเคลื่อนขยับขา ช้าๆ ค่อยๆ ขยับเขยื่อนเคลื่อนไปทีละน้อย หลังจากเดินจงกรมเสร็จ จะนั่งสมาธิกำหนด พองหนอ ยุบหนอ เป็นหลัก  หลังจากฝึกไปสักพักท่านบอกว่า ได้เพิ่มการกำหนดเสียง และอารมณ์อื่นๆ ด้วย ตามที่หลวงพ่อใหญ่สอนไว้ ซึ่งช่วยทำให้ไม่จมสมาธิ ตราบใดที่มีการกำหนดไปเรื่อยๆ จนเกิดสติสัมปชัญญะคล่องแคล่ว กำหนดต่ออารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นได้ทัน  จากนั้นคุณแม่ก็ได้มุ่นมั่น ปฏิบัติจริงจังไปเรื่อย จนเกิดสภาวะธรรมก้าวหน้า อยู่ในเส้นทางของวิปัสสนา จนมาถึงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ท่านเล่าว่า คุณแม่ได้เก็บเสื้อผ้าเก็บของ เพื่อจะเดินทางกลับบ้าน ก่อนกลับจะไปกราบลาหลวงพ่อใหญ่ เพราะในใจรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้อยากกลับบ้าน คิดว่าหมดบุญวาสนาแล้วในการปฏิบัติ วันหน้าค่อยมาฝึกใหม่  ในขณะที่เดินออกจากที่พักในวิเวกอาศรม คุณแม่เรียกที่พักของท่านว่า คอนโด เป็นตึกคล้ายๆ อพาร์ทเม้นท์ ระหว่างทางเดิน ท่านฉุกคิดขึ้นมาว่า “มาปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนาไม่ใช่หรือ ออกไปแล้วจะไปทำอะไร” ท่านคิดไปคิดมาอยู่ครู่ใหญ่ จนในที่สุดก็ตอบในใจขึ้นมาว่า ยังปฏิบัติไปไม่ถึงไหน ท่านจึงหันหลังเดินกลับไปที่พัก เพื่อปฏิบัติวิปัสสนาต่อ พอถึงตอนไปสนทนากับหลวงพ่อใหญ่ ท่านเอยปากชมคุณแม่ว่า คุณแม่เป็นคนอีสาน คนอีสานมีความอดทนสูง จากนั้นคุณแม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติต่อ โดยมาส่งอารมณ์ทุกวันกับหลวงพ่อใหญ่เพื่อแก้สภาวะให้ รวมเป็นเวลาต่อเนื่องราว ๓ เดือน จนเป็นที่พอใจ จากนั้นคุณแม่จึงกราบลาหลวงพ่อใหญ่ เพื่อเดินทางกลับมาพักอาศัย และเริ่มสอนวิปัสสนาแก่ญาติโยมที่กรุงเทพฯ
ตั้งแต่เริ่มสอน จนถึงราวปี พ.. ๒๕๔๕ คุณแม่ยังสอนวิปัสสนาด้วยรูปแบบ ที่ให้เดินจงกรมช้าๆ และนั่งสมาธิกำหนดพองยุบแบบเงียบๆ ไม่ให้มีเสียงดัง ในศาลาหลวงปู่แหวน วัดสัมพันธวงศ์ นับตั้งแต่เริ่มสอนมา จะมีลูกศิษย์มาฝึกปฏิบัติวิปัสสนา กับคุณแม่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่ขาดสาย ท่านได้สอนวิปัสสนาแก่ลูกศิษย์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งได้มีโอกาส สอนวิปัสสนาให้กับคุณชัยพร ชยานุรักษ์  ในช่วงแรกๆ ของการฝึกวิปัสสนา คุณแม่เล่าว่าคุณชัยพรไม่ปรากฎมีพองยุบ มีแน่นิ่งๆ ไม่เจอพองยุบ คุณแม่จึงให้ใช้การกำหนด นั่งหนอ ถูกหนอ แทนความนิ่งของอารมณ์ที่ไม่มีพองหรือยุบ วิธีนี้กลับทำให้ได้ผลดี แก่ผู้ที่ไม่มีพองยุบ เพราะทำให้ไม่จมไม่นิ่งไม่เพ่ง ช่วยให้เกิดสติกำหนดอารมณ์ต่างๆ ได้ดี และที่สำคัญทำให้เข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาได้เหมือนกัน
จากนั้นมาไม่นานคุณแม่ได้ค้นพบว่า การที่กำหนดถูกหนอ นั้นกลับได้ผลดีมากแก่ผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ และก็ถูกหลักปฏิบัติวิปัสสนาได้เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยพองหนอ ยุบหนอ เพราะว่าการกำหนดอารมณ์เป็นจุด ไม่จมอยู่กับที่ มีการกำหนดขยับย้ายไปเรื่อยๆ ทำให้เห็นพระไตรลักษณ์ได้เร็ว และนำพาจิตมุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางของวิปัสสนาญาณได้แบบเดียวกับ วิธีการกำหนดพองยุบ ประสบการณ์การสอนครั้งนี้ เป็นแบบทดลองที่ดี ทำให้คุณแม่นำเอาไปพัฒนาสอนวิปัสสนา แก่ลูกศิษย์ใหม่ๆ จากที่เคยปฏิบัติยากมาก กลับกลายเป็นที่ปฏิบัติได้ง่าย จนบางท่านที่ไม่เข้าใจ และคิดไปเองว่า คุณแม่อาจจะสอนผิด เพราะสอนไม่เหมือนแนวหลวงพ่อใหญ่ ที่สอนให้กำหนดพองยุบ หลังจากนั้นคุณแม่ได้สอบอารมณ์คุณชัยพร อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน บังเอิญในช่วงนั้นคุณชัยพร มีเวลาปฏิบัติวิปัสสนามาก เข้าใจวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาได้เร็ว และปฏิบัติจริงจังต่อเนื่อง จนกระทั่งคุณแม่ทราบถึงผลของการปฏิบัติ จนเป็นที่พอใจ ท่านจึงได้เชิญคุณชัยพร และอนุญาตให้มาเป็นวิปัสสนาจารย์แทนคุณแม่ เพื่อช่วยสอนลูกศิษย์ในศาลาหลวงปู่แหวนนับแต่นั้นมา 
คุณแม่พูดเสมอว่าการจะเป็นวิปัสสนาจารย์ได้ จะต้องปฏิบัติผ่านมาหมดก่อน แล้วจึงจะสอนคนอื่นได้ ถ้าปฏิบัติไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถเป็นวิปัสสนาจารย์ได้ และจะสอนนำพาคนไปให้ถูกทางได้อย่างไร ในสมัยที่คุณแม่อยู่วิเวกอาศรม ท่านบอกว่าปีๆ หนึ่งจะมีคนผ่านน้อยมาก วิปัสสนาจารย์ในสมัยนั้นจะต้องปฏิบัติได้จริง โดยอยู่ในการควบคุมดูแลของหลวงพ่อใหญ่  ฉะนั้นคำว่าวิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนนั้น ท่านบอกว่ามันไม่ได้มาง่ายๆ  มีน้อยคนมากที่จะผ่านในแต่ละปี คุณแม่สอนต่อว่า ถ้าสอนใครไปผิดทาง จะเป็นวิบากกรรมนะลูก ไม่แน่ใจอย่าสอน
นับตั้งแต่รุ่นคุณชัยพรเป็นต้นมา คุณแม่จะสอนแก่โยคีใหม่โดย เปลี่ยนกำหนดพองยุบ มาเป็นการกำหนด ถูกหนอ ๔ จุด(อารมณ์ภายใน) โดยให้เอามือไปแตะเบาๆ ที่บนขา ๔ มุมไปมาช้าบ้างเร็วบ้าง แล้วค่อยให้กำหนดเอง พร้อมกับการกำหนดเสียง ยินหนอ(อารมณ์ภายนอก) ผสมผสานกันด้วย เพราะวิธีนี้ท่านบอกว่าได้ผลดี ทำให้เข้าสู่อารมณ์ปรมัตถ์ได้เร็ว แม้ว่ารูปแบบนี้จะเป็นวิธีแบบใหม่ ที่ไม่เหมือนกับพองยุบแบบดั้งเดิมก็ตาม แต่ฝึกไปแล้วได้ผลดีเช่นเดียวกัน 
นอกจากนั่งสมาธิไม่ใช้พองยุบเป็นการกำหนดเบื้องต้นแล้ว มิใช่ว่าไม่ให้กำหนด คุณแม่สอนว่าถ้ามีพอง หรือ ยุบ ก็ต้องกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ตามความเป็นจริงด้วย สำหรับบางท่านที่เคยฝึกมา เพราะทำไปสักพัก พองยุบจะมาเองทุกคน ที่สำคัญท่านสอนว่าอย่าไปตามพองยุบ อย่าเพ่ง อย่าจี้ อย่าจมแต่กับ พองหนอ หรือยุบหนอ  คำสอนของคุณแม่เน้นเสมอว่า “กำหนดแล้วย้ายนะลูก” ประโยคนี้จะได้ฟังบ่อยมากจากคุณแม่ เสมือนเป็นประโยคกุญแจสำคัญ ในการเจริญวิปัสสนาทีเดียว ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ สำหรับผู้ที่ได้รับการฝึก
คุณแม่จะให้กำหนดแล้วย้าย ไม่ให้จี้ ไม่ให้เพ่ง เช่นเดียวกับ คำสอนของพระอาจารย์สมภาร สมภาโร วิปัสสนาจารย์ วัดมหาธาตุฯ คณะ ๕ และวิปัสสนาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อีกท่านที่คุ้นเคยกับคุณแม่ เพราะคุณแม่ทราบว่าท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ ในช่วงรุ่นเดียวกับคุณแม่ คือเป็นศิษย์สำนักวิเวกอาศรมเหมือนกัน  คุณแม่จะให้ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ที่ต้องการทำบุญ หรือมีเคราะห์ไปถวายสิ่งของ กับพระอาจารย์สมภารเสมอ  พระอาจารย์สมภารก็กล่าวสอนวิปัสสนา ในแนวเดียวกับคุณแม่ว่า วิปัสสนาต้องไม่จี้ ไม่เพ่ง ไม่บังคับ ไม่แช่ แต่ให้กำหนดอารมณ์ ตามความเป็นจริงที่ปรากฎขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วิธีการกำหนดแล้วย้ายของคุณแม่ สอดคล้องกับการสอนกำหนดเวทนาครั้งเดียว แล้วย้ายเช่นกัน เนื่องจากรูปแบบการสอนกำหนดเวทนาในปัจจุบัน มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ กำหนดเวทนาจนกว่าจะหาย / กำหนดปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ ๓ ครั้ง / หรือ กำหนด ปวดหนอ ครั้งเดียว แล้วย้ายไปสู่อารมณ์อื่น ไม่ให้จมแช่เพ่งอยู่กับปวดหนอ เพราะบ่อยครั้งยิ่งกำหนดปวดหนอ ยิ่งปวดมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ทนไม่ได้ และเกิดการเข็ดขยาดกลัวต่อวิปัสสนาไปเลย คุณแม่และพระอาจารย์สมภาร ได้สอนในทำนองเดียวกันว่า ถ้ากำหนดปวดหนอ หลายๆ ครั้ง 
โยคีส่วนมากยิ่งกำหนดยิ่งดิ่งจมอยู่กับเวทนา ทำให้ยิ่งปวดมาก ทำให้เกิดโทสะเพิ่มขึ้น และในที่สุดจะทนเวทนาไม่ไหว ซึ่งทำให้เข็ดขยาดต่อการปฏิบัติวิปัสสนาไปเลย ดังนั้นวิธีกำหนดแล้วย้าย เป็นเทคนิคสำคัญมากช่วยทำให้ทนต่อเวทนาได้ดี และยังเป็นการเจริญสติปัฏฐานเหมือนกัน เพราะถ้ามีอารมณ์อื่นเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดอารมณ์อื่นได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องแช่อยู่กับปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ อย่างเดียว
อีกอารมณ์หนึ่งที่สำคัญมากในการสอนวิปัสสนาของคุณแม่ คือการให้กำหนดเสียงว่า ยินหนอ ท่านเน้นสอนเสมอว่าการกำหนดเสียงสำคัญมาก เพราะเสียงช่วยให้ไม่จมสมาธิ ช่วยให้คลายออกจากสมาธิ(ถ้าสมาธิมากเกินไป) ช่วยให้ไม่ติดอยู่แต่อารมณ์ภายใน และที่สำคัญช่วยทำให้ก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนา  ดังนั้นท่านจึงได้พัฒนารูปแบบการสอนในศาลาหลวงปู่แหวนโดยไม่ให้อยู่ในห้องเงียบ ด้วยการใช้เสียงกระดิ่งมาช่วย ใช้ฝ่ามือตบให้เกิดเสียงบางช่วงเพื่อช่วยในการกำหนด ใช้กบไม้มาเคาะให้เกิดเสียง และให้กำหนดเสียงที่หลากหลายภายในศาลา วิธีนี้เป็นเทคนิคและตัวช่วยสำคัญของวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานของคุณแม่ ลูกศิษย์ที่ฝึกปฏิบัติต่อเนื่องจะรับรู้และเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
การสอนเดินจงกรมของท่านยังปรับเปลี่ยนไปจากรูปแบบอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม คือ เดินจงกรมในห้องเงียบ ด้วยอาการเคลื่อนไหวที่ช้าที่สุด ในอิริยาบถค่อยๆ เคลื่อนไป กำหนดไปช้าๆ รูปแบบใหม่ที่คุณแม่พัฒนาขึ้นจากเดิม คือให้เดินจงกรม ความเร็วปกติ ไม่ให้เดินช้า เพราะท่านสอนว่าเดินช้าบางทีทำให้ไปเพ่ง และจะจมสมาธิได้ มิใช่การมีสมาธินั้นไม่ดี แต่ในการเจริญวิปัสสนา สตินั้นสำคัญมาก ถ้าสมาธิมากเกินไปจะทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติ  ฉะนั้นอารมณ์ที่สมดุลย์คือ สตินำหรือสติคู่กับสมาธิ เมื่ออินทรีย์สมดุลย์แล้วสติกับสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นเองคู่กันไปตลอดเส้นทาง จนกระทั่งสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นไปตามลำดับคู่กับสติ จนถึงสมาธิลึกสุดคืออัปปนาสมาธิ  รูปแบบการสอนเดินจงกรมของท่าน จึงปรับเปลี่ยนให้เดินเร็วปกติ ไม่ต้องเดินช้าๆ เคลื่อนเท้าที่ละนิด แต่ให้เดินธรรมดาและกำหนด ยินหนอ เห็นหนอ เย็นหนอ กลิ่นหนอ ไปด้วยนอกเหนือจากการกำหนดเดิน ถ้ามีอารมณ์อะไรปรากฎก็ให้กำหนดด้วย  ท่านสอนต่อว่าจะได้เอาไปใช้ในระหว่างวันได้ดี เพราะในชีวิตจริงของฆราวาส ระหว่างวันเราเดินเร็ว เราไม่ได้เดินช้าๆ ถ้าฝึกกำหนดเดินช้าๆ เวลาเดินเร็วจะกำหนดไม่ทัน กำหนดไม่เป็น หรือลืมกำหนด ซึ่งลูกศิษย์ที่ฝึกกำหนดเดินปกติอย่างต่อเนื่อง จะเข้าใจได้ดี เพราะสามารถนำไปเจริญสติในระหว่างวันเพิ่มมากขึ้นได้ ตามคำสอนของท่าน
นอกจากการสอนเดินและนั่งสมาธิแล้ว คุณแม่ยังเน้นและให้ความสำคัญแก่โยคี ให้ไปปฏิบัติเจริญสติในระหว่างวันด้วย ไม่ใช่แค่ฝึกเดินจงกรม และนั่งสมาธิในวัดเท่านั้น ท่านจะให้ไปกำหนดในระหว่างวันด้วย เพราะวันๆ เราทำงานหรืออยู่กับครอบครัว นานหลายชั่วโมง อย่าปล่อยเวลาไปเปล่าๆ ให้กำหนดสติด้วย และนำเรื่องราวในระหว่างวัน มาส่งอารมณ์กับคุณแม่ด้วย
         ในอดีตแม้ว่าคุณแม่จะเคยฝึกด้วยการกำหนดพองยุบ และเดินจงกรมช้ามาก่อน แต่ท่านกลับปรับการสอน ให้กำหนดถูกหนอแทนพองยุบ และเดินจงกรมปกติ แทนการเดินช้าๆ เพราะท่านเรียนรู้จากประสบการณ์การสอนลูกศิษย์จำนวนมากว่า ปฏิบัติด้วยแบบของท่านแล้วได้ผลดีเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่ารูปแบบดังเดิมนั้นผิด ท่านว่าปฏิบัติได้เหมือนกัน แล้วแต่นักปฏิบัติ  ตลอดเวลาที่รู้จักกับคุณแม่ ท่านไม่เคยบอกสักคำเลยว่า รูปแบบนั้นหรือรูปแบบนี้สอนผิด พระสงฆ์ท่านนั้นพระสงฆ์ท่านนี้สอนผิด  อีกทั้งไม่เคยบอกเลยว่ารูปแบบที่ท่านสอนอยู่นี้ ดีหรือถูกที่สุด ท่านจะไม่เคยอวดและเปรียบกับใครหรือสำนักใดๆ ทั้งสิ้น ท่านเพียงแต่สอนวิปัสสนาแก่ลูกศิษย์ที่ศรัทธา และต้องการปฏิบัติกับคุณแม่ โดยไม่ยึดติด ไม่อวดอ้าง หรือไม่เคยกล่าวโจมตีรูปแบบกัมมัฏฐานอื่นใดเลย  ใครมาก็สอนด้วยความเมตตาเท่าเทียมกันหมด และไม่เคยตำหนิว่าผู้ใด ที่ไม่ได้สนใจในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเลย ท่านเพียงแต่บอกว่า แต่ละคนมีบุญวาสนา และศรัทธาไม่เหมือนกัน จะบังคับกันไม่ได้
           ประสบการณ์การปฏิบัติของคุณแม่ในรูปแบบดั้งเดิมและการสอนในรูปแบบใหม่นี้ทำให้เชื่อว่า ท่านจะต้องมีความมั่นใจในฐานะวิปัสสนาจารย์ ที่ขึ้นทำเนียบ ของวิเวกอาศรมว่า รูปแบบการสอนใหม่ ที่ให้เดินปกติและกำหนดแล้วย้าย เป็นวิธีการที่ได้ผลดีมากกับผู้ปฏิบัติ จนกระทั่งลูกศิษย์รุ่นหลังๆ ก็มีแต่เพิ่มมาก ดังนั้นรูปแบบของการฝึกวิปัสสนาของคุณแม่ แม้จะเริ่มฝึกแตกต่างกันไปบ้าง จากรูปแบบดั้งเดิม การที่จะพิสูจน์ว่ารูปแบบนี้ได้ผลเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับอีกหลายประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอต่อไป
            ประเด็นแรก ผลที่ได้ในรูปแบบใหม่ ทุกท่านที่ฝึกต่อเนื่องจะเกิดฉันทะชอบ ยังคงมาปฏิบัติวิปัสสนาอย่างต่อเนื่องตราบจนทุกวันนี้ทุกคน ไม่มีใครเข็ดขยาด หรือกลัววิปัสสนาเลย แม้ว่าบางท่านจะมีเวทนารุนแรงมากในขณะปฏิบัติก็ตาม ยังคงมาทำต่อเนื่อง นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของการปฏิบัติ 
ประเด็นที่สอง ทุกคนที่ฝึกแล้วเกิดสติมีธรรมะขึ้นเองในใจ โดยไม่มีคนมาบอกมาพร่ำสอน กิเลส ๓ (โมหะ โลภะ โทสะ) ลดลงในระดับหนึ่งทุกคน  ตัวอย่างเช่น หลังจากฝึกไปแล้วลูกศิษย์บางท่านเคยโกรธง่าย ขี้บ่นก็ดีขึ้น เคยฆ่าสัตว์ก็เลิกฆ่าเลิกกิน เคยชอบกินเหล้าก็หยุดได้เอง เคยอิจฉาริษยาก็ลดน้อยลง เคยเปิดธุรกิจขายเหล้าก็หยุดกิจการไปเอง โดยต้องมีใครมาพร่ำสอน  เจ้าตัวเห็นเองเลิกได้ด้วยตัวเอง เกิดการพัฒนาปัญญาในใจของผู้ปฏิบัติ เกิดหิริโอตัปปะขึ้นในใจ และยังไม่เคยได้ยินใครบอกว่าปฏิบัติแล้วไม่ดีไม่ได้ผล เลยสักคนเดียว ยกเว้นท่านที่ปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง หรือเลิกทำไปเพราะขาดศรัทธา
ประเด็นสุดท้าย ทุกท่านที่ฝึกอย่างต่อเนื่องจะเกิดผล ในการครองตนให้อยู่ใน ศีล ๕ ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องบังคับ หรือมีคนมาคอยบอกคอยสั่งสอนให้ยึดศีล ๕  ส่วนใหญ่จะได้มาตรฐานในทำนองเดียวกัน พร้อมไปกับเกิดหิริโอตตัปปะ (เกรงกลัว และละอายต่อบาป) ที่บางครั้งเผลอทำไป ทางความคิด คำพูด และการกระทำต่อผู้อื่น แม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนิดเดียว ก็ยังผุดขึ้นคาอยู่ในใจหลายต่อหลายครั้งตามมาภายหลัง
ฉะนั้นการสอนทั้งเดินช้าหรือเดินเร็ว กำหนดพองยุบ หรือ ถูกหนอ ก็ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ วิปัสสนาจารย์ในการสอบอารมณ์ เพราะบางขณะที่ไม่มีพอง หรือ ยุบ ท่านจะให้กำหนดถูกหนอแทน ผลที่ได้จากการกำหนดพองยุบ หรือกำหนดถูกหนอเหมือนกัน และยังถูกหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 
สรุปเรื่องรูปแบบการสอนวิปัสสนาของคุณแม่ ที่ทำให้ผู้เขียนเชื่อมั่น ว่าสอนถูกทางใน ๓ ประเด็นดังนี้คือ ๑.คุณแม่เคยฝึกเดินช้า กำหนดพองยุบมาก่อน แล้วพัฒนาให้ฝึกเดินเร็ว กำหนดถูกหนอแทน  ๒. ผู้เขียนเคยฝึกเดินช้า กำหนดพองยุบมาก่อนเช่นกัน แล้วมาฝึกเดินเร็วและกำหนดถูกหนอ ตามรูปแบบของคุณแม่ ๓. ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเผยแผ่วิปัสสนา แก่คนฝึกใหม่ด้วยวิธีเดินเร็ว และกำหนดถูกหนอ ต่อมาได้รับเชิญ ให้ไปช่วยสอนภาคปฏิบัติ ด้วยวิธีเดินช้า และกำหนดพองยุบ แก่นิสิตปริญญาโทและเอก ในหลักสูตรภาคบังคับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นเวลา ๓๐ วัน ที่มหาจุฬาอาศรม อ.ปากช่อง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐  ฉะนั้นด้วยรูปแบบที่เคยสอนทั้งเดินเร็วและเดินช้า ผลของการปฏิบัติทั้ง ๒ วิธีปรากฎออกมาเช่นเดียวกันทุกประการ จึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่า รูปแบบเดินเร็ว และกำหนดถูกหนอถูกหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามในพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์วิสุทธิมรรค หลักวิปัสสนาญาณ ๑๖ การอธิษฐานเข้าผลสมาบัติ และการอธิษฐานทวนวิปัสสนาญาณตั้งแต่ญาณที่ ๔ ถึง ๑๒ ได้ครบทุกประการ
 การสอนวิปัสสนาด้วยรูปแบบของคุณแม่ ก่อให้เกิดผลตรงตามหลักอริยสัจ ๔ และคำสอนของพระพุทธศาสนาทุกประการ ผลจากการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญสติ ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่ลดละกิเลส ๓ (โมหะ โลภะ โทสะ) เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์สอนการเจริญสติให้เกิดผลดี กับสังคมในอีกหลายๆ ด้าน  นอกจากการลดกิเลสทั้ง ๓ แล้ว การเจริญสติ(Mindfulness Meditation) ยังเป็นเครื่องมือช่วยในการบำบัดโรคทางกายและทางจิต ที่ปัจจุบันเป็นที่นิยม แพร่หลายในหลายประเทศ และถูกนำไปประยุกต์สอนคลายเครียดตามหลักสูตร MBSR (Mindfulness Based Stress Reduction) และ MBCT (Mindfulness-based cognitive therapy) ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก  การสอนเจริญสติในระดับสากล ได้ถูกนำมาเป็นหลักสูตรเจริญสติคลายเครียด เรื่อยมาตั้งแต่ปี ค.. 1974 (.. ๒๕๑๗) ราวกว่า ๔๐ ปีมาแล้ว  ปัจจุบันในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา หลักสูตรการเจริญสติ เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมากในทุกทวีป เช่น อเมริกา ยุโรป อินเดีย เอเซีย และออสเตรเลีย  และได้แพร่หลายเป็นหลักสูตรที่มีคุณค่ามาก แก่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ด้วยการเปิดศูนย์ Mindfulness Center ภายในมหาวิทยาลัย OXFORD มหาวิทยาลัย UCLA มหาวิทยาลัย STANFORD และมหาวิทยาลัย MIT เป็นต้นทั่วโลก
หลักสูตรการเจริญสติหรือMBSR มุ่งเน้นการสอนเพื่อการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด และมีประโยชน์มากต่อการพัฒนากระตุ้นสมองส่วนหน้า ที่เรียกว่า Prefrontal Cortex ซึ่งทำหน้าที่การมีสติย้ำยั้ง การมีเหตุผล การควบคุมอารมณ์ และการตอบสนองต่อสิ่งภายนอกได้ดี อีกทั้งยังควบคุมสมองด้านในส่วนกลางที่เรียกว่า Amygdala ซึ่งแสดงอารมณ์ความกลัว วิตกกังวล โกรธ ความรุนแรง ให้น้อยลง หรือทำงานให้ช้าลงได้ผลดีมากอีกด้วย
นักวิจัยหลายท่านที่มีชื่อเสียง ได้นำเอาการเจริญสติมาสอนบำบัดผู้ป่วยในหลักสูตร MBSR ตามมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ และโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลก เช่น Dr. Jon Kabat-Zinn, Dr. Rick Hanson, Dr. Diana Winston, Dr. Bob Stahl, Dr. Richard Davidson(Neuroscientest - นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง), Dr. Dan Siegel และอีกหลายท่านทั่วโลก  นักวิจัยทั้งหมดล้วนแต่ได้เคยมาฝึกวิปัสสนา หรือการเจริญสติกับพุทธศาสนาจากสายเถรวาท, Vipassana Meditation แบบพองยุบของพม่า, สายท่านโกเอ็นก้า Goenka Vipassana, สายท่านติช นัทฮัน หรือจากสายธิเบต มาแล้วทั้งสิ้น
นอกจากประโยชน์ในการคลายเครียดแล้ว การเจริญสติยังพัฒนา ทำให้มีความสุขเกิดขึ้นอีกด้วย  ผู้วิจัยอีกท่านหนึ่งคือ Dr. Richard Davidson ได้ศึกษาวิจัยค้นหาว่า ใครคือบุคคลที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ด้วยอุปกรณ์จากการวัดคลื่นสมอง  จนในที่สุดได้ค้นพบว่า ผู้ที่มีความสุขมากที่สุดในโลกคือ Matthieu Ricard (นักบวชธิเบตชาวฝรั่งเศสที่นิยมการทำสมาธิ จนได้รับฉายาว่า ผู้ชายที่มีความสุขมากที่สุดในโลก World's Happiest Man ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Time  Magazine มาแล้ว)     
นอกเหนือจากผลดีด้านความสุข สุขภาพจิต และการพัฒนาสมองแล้ว ผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือ Mindfulness Meditation ได้ถูกวิธีและปฏิบัติต่อเนื่อง จะเกิดผลแก่ผู้ฝึกในด้าน การพัฒนาจิตวิญญาณ Spiritual Quotient - SQ, การพัฒนาศีลธรรม Moral Quotient - MQ, การพัฒนาด้านอารมณ์ Emotion Quotient - EQ and การพัฒนาความฉลาดทางปัญญา Intelligence Quotient - IQ พร้อมกันไปทั้งหมด โดยจะช่วยเริ่มพัฒนาจากภายในจิตใจสู่ภายนอก 
จากกประสบการณ์การสอนเผยแผ่แก่ชุมชน ตามแนวของวิปัสสนากัมมัฏฐาน (การเจริญสติ) ในรูปแบบที่คุณแม่สอน ทำให้เกิดการพัฒนาการสอน ผสมผสานกับความรู้ ด้านจิตวิทยาตะวันตก จนสามารถประยุกต์การสอนให้ได้กว้างขวาง แก่ทุกช่วงระดับอายุ ด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรสติพัฒนาตนเอง / สติพัฒนาการเรียน / สติพัฒนาการทำงาน / สติพัฒนาในการเลือกคู่ครอง / สติพัฒนาการเลี้ยงลูก / สติพัฒนาผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาอารมณ์ ป้องกันความจำเสื่อมและเตรียมตัวก่อนตาย / สติบำบัดโรค ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ OCD เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ติดบุหรี่ และโรคทางใจอื่นๆ (Mental Disorders)  ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคทางใจอื่นๆ มากกว่าหลายแสนคนกระจายอยู่ในทุกชุมชนทั่วประเทศ
ประโยชน์จากการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญสติที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีคุณประโยชน์มากแก่ผู้คน เพราะเป็นอาหารใจและเป็นยามหัศจรรย์ที่ไม่ใช่ยา ที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ บำบัดโรคทางใจต่างๆ และทำให้เกิดความสุขสูงสุด สำหรับผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาต่อเนื่องถึงขั้นเข้าถึงพระนิพพาน และตัดการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสังสารได้
การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะเกิดผล เกิดปัญญา และลดกิเลสได้ ด้วยการเจริญสติและปฏิบัติที่จิตจริงๆ เท่านั้น ถ้าเพียงแค่อ่านหนังสือ และจำหลักการได้ แต่ไม่เคยฝึกปฏิบัติที่จิต คุณแม่สอนว่าเป็นแค่ความจำ  ท่านพูดเสมอว่า “ท่านไม่ใช่ นักปริยัติ ไม่เก่งในวิชาการ และก็ไม่รู้ด้านตำรามากหรอก” แม้ว่าท่านจะมีความรู้ ด้านตำราน้อย แต่ท่านได้เข้าถึงจิตถึงพุทธธรรม ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา ฉะนั้นประสบการณ์ด้านปฏิบัติ สำคัญมากกว่าประสบการณ์ด้านปริยัติ ผู้ที่รู้ตำรามากมักจะเกิดอุปสรรค ในระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งทำให้ต้องหยุดการปฏิบัติไปเลยก็เคยมี
ในอดีตมีเรื่องเล่าที่วิเวกอาศรมว่า มีพระมหาเปรียญ ๙ ประโยครูปหนึ่ง มาฝึกวิปัสสนากับหลวงพ่อใหญ่ ในขณะสอบอารมณ์ มักจะเอาทฤษฎีมาตอบ จนหลวงพ่อใหญ่บอกว่าให้เอาความรู้ในเปรียญ ๙ ประโยคไว้นอกวัดก่อน มาในนี้ให้ปฏิบัติจริง นำเอาที่ปฏิบัติจริงมาส่งเท่านั้นและอย่าเอาตำรามาส่ง แต่พระมหาท่านนั้นยังเกิดความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติและไม่ได้ทำตามที่สอน เพราะท่านมีความรู้มากและจดจำทฤษฎีในเรื่องวิปัสสนาได้หมด ซึ่งทำให้พิจารณาเปรียบเทียบกับในตำราจนเกิดความฟุ้งซ่าน ในที่สุดไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่หลวงพ่อใหญ่สอน ท่านจึงบอกให้หยุดการเจริญวิปัสสนา ในอนาคตค่อยกลับมาฝึกปฏิบัติใหม่ แม้ว่าความรู้ด้านปริยัติจะมีประโยชน์มาก แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่เกื้อหนุนการปฏิบัติ ซึ่งทั้ง ๒ นั้นเป็นคนละส่วนกัน ในสายปฏิบัติจะสอนเสมอก่อนฝึกปฏิบัติว่า ไม่ต้องเอาตำรามาด้วย ฝึกได้ก่อนแล้วค่อยไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นความรู้รอบตัวในการเผยแผ่ต่อไป
แม้ว่าปัจจุบันรูปแบบการสอนวิปัสสนาของคุณแม่จะยังไม่แพร่หลาย แต่ผู้เขียนมั่นใจว่าลูกศิษย์รุ่นหลังจะสามารถนำไปเผยแผ่ และในอนาคตอันใกล้ จะเป็นที่ยอมรับในวงการวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ถ้าหากมีปริญญาด้านการปฏิบัติแล้ว แม่ชีบุญมี เวชสาร สมควรให้ได้รับการยกย่อง และได้รับปริญญาเทียบเท่ากับ ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในสาขาวิปัสสนากัมมัฏฐาน
แม่ชีบุญมี เวชสาร ผู้มีคุณูปการต่อวงการวิปัสสนา เป็นนักปฏิบัติ ที่มีประสบการณ์จริง ผู้ที่เข้าถึงหลักพุทธธรรม ผู้ร่วมพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติ ผู้กล้าบุกเบิกกล้าสอนในรูปแบบที่แตกต่าง ผู้สร้างธรรมะให้แก่ลูกศิษย์ ผู้เสียสละ ผู้มีความเมตตากรุณา ผู้ให้ ผู้เป็นพุทธบริษัท ๔ ที่สมบูรณ์แบบ และเชื่อว่าลูกศิษย์ทุกคน จะไม่มีวันลืมเลือนแม่ชีบุญมี เวชสาร จากความทรงจำ เพราะท่านได้ดำรงสถิตย์อยู่ใน เบื้องลึกของจิตใจของลูกศิษย์ทุกคนตลอดกาลนาน 

รวบรวมจากการสนทนาและสัมภาษณ์กับ แม่ชีบุญมี เวชสาร รวมระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปี
โดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - พ.ค. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๙