ปัญหาและอุปสรรค ที่มักจะเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
-เกิดอาการแน่น อึดอัด เครียด เหนื่อย เนื่องจากพองยุบหายไป จึงต้องเบ่งลมหายใจ เพื่อให้มีพองยุบ เพราะเข้าใจว่าต้องมีพองยุบตลอดเวลา ถึงจะปฏิบัติได้ถูกต้อง
-เข้าใจผิดว่า พองหนอคือการหายใจเข้า ยุบหนอคือหายใจออก จึงพยายามบังคับเบ่งลมหายใจ แทนที่จะกำหนดสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกในอาการพอง/ยุบ ซึ่งไม่ให้เกี่ยวข้องกับลมหายใจเข้าออก
-ติดสภาวะอาการ ตัวโยก หมุน และสภาวะต่างๆ โดยที่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป
-ติดในนิมิตภาพ หรือ นิมิตเสียงต่างๆ
-เพ่ง จี้ บังคับ เกร็ง ตึง เน้นในขณะปฏิบัติ จนมากเกินไป ไม่เป็นธรรมชาติ
-สติ สมาธิ ปัญญา เหตุผล คิดเชิงบวก ไม่เกิดในระหว่างวัน ต่อ ตนเอง ครอบครัวที่บ้าน และอาชีพที่ทำงาน
-ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก เข็ดขยาด และกลัวต่อ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ถึงกับหนีเวลาเรียกมาปฏิบัติ
-ติดในรูปแบบเดินจงกรม กับนั่งสมาธิในวัดเท่านั้น โดยไม่ได้นำเอา สติ / คิดเชิงบวก / คิดอย่างมีเหตุผล / กระทำสิ่งที่ดีที่ถูกได้จริงตามที่คิด / พูดแต่สิ่งที่ดีเชิงบวก และเมื่อปฏิบัติแล้วควรนำไปปฏิบัติ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย โดยทำทุกที่ให้เป็นวัด สามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา และไม่ติดในรูปแบบ หรือจะต้องปฏิบัติแต่ในวัดเท่านั้น
ปัญหาที่เกิดจากผู้สอน
-คิดฟุ้งซ่าน
ควบคุมความคิดไม่ได้
-มีแต่นิ่งๆ มึนๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป
-เผลอวูบ / หลับบ่อย
-เผลอวูบ / หลับบ่อย
-เกิดอาการแน่น อึดอัด เครียด เหนื่อย เนื่องจากพองยุบหายไป จึงต้องเบ่งลมหายใจ เพื่อให้มีพองยุบ เพราะเข้าใจว่าต้องมีพองยุบตลอดเวลา ถึงจะปฏิบัติได้ถูกต้อง
-เข้าใจผิดว่า พองหนอคือการหายใจเข้า ยุบหนอคือหายใจออก จึงพยายามบังคับเบ่งลมหายใจ แทนที่จะกำหนดสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกในอาการพอง/ยุบ ซึ่งไม่ให้เกี่ยวข้องกับลมหายใจเข้าออก
-ติดสภาวะอาการ ตัวโยก หมุน และสภาวะต่างๆ โดยที่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป
-ติดในนิมิตภาพ หรือ นิมิตเสียงต่างๆ
-เพ่ง จี้ บังคับ เกร็ง ตึง เน้นในขณะปฏิบัติ จนมากเกินไป ไม่เป็นธรรมชาติ
-สติ สมาธิ ปัญญา เหตุผล คิดเชิงบวก ไม่เกิดในระหว่างวัน ต่อ ตนเอง ครอบครัวที่บ้าน และอาชีพที่ทำงาน
-ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก เข็ดขยาด และกลัวต่อ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ถึงกับหนีเวลาเรียกมาปฏิบัติ
-ติดในรูปแบบเดินจงกรม กับนั่งสมาธิในวัดเท่านั้น โดยไม่ได้นำเอา สติ / คิดเชิงบวก / คิดอย่างมีเหตุผล / กระทำสิ่งที่ดีที่ถูกได้จริงตามที่คิด / พูดแต่สิ่งที่ดีเชิงบวก และเมื่อปฏิบัติแล้วควรนำไปปฏิบัติ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย โดยทำทุกที่ให้เป็นวัด สามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา และไม่ติดในรูปแบบ หรือจะต้องปฏิบัติแต่ในวัดเท่านั้น
ปัญหาที่เกิดจากผู้สอน
-ผู้สอนขาดประสบการณ์ปฏิบัติ โดยเพียงสอนแต่รูปแบบการปฏิบัติ
-ประสบการณ์ ในการสอบอารมณ์ โดยสอนเกินกว่าประสบการณ์
-วิธีการอธิบาย ใน การกำหนดสติ
-ประสบการณ์การแก้ไขสภาวะธรรมให้กับผู้ปฏิบัติ
บางครั้งผู้สอนอาจสอนโดยให้ผู้ปฏิบัติเน้น นั่งสมาธินาน เกินความสามารถ จนเกิดเวทนาเป็นทุกข์ โดยที่ไม่ได้อธิบายให้เข้าใจในความสำคัญของการเผชิญเวทนา รวมถึงไม่ได้อธิบายวิธีการกำหนดสติให้เข้าใจ หรือ ผู้สอนขาดประสบการณ์ในการปรับแก้ สภาวะธรรม
หากผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ ทำให้เข้าใจผิด เหมือนถูกบังคับให้ทำ จนเข็ดขยาด กลัว การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เช่น สอนเจริญวิปัสสนา ให้กับ ๑๐ ท่าน ถ้าสมมุติว่าปฏิบัติได้ซัก ๒ - ๓ ท่าน โดยไม่เครียดหรือเข้าใจผิด ส่วนอีก ๗ - ๘ ท่าน เกิดอาการเข็ด อึดอัด เบื่อ เกิดเวทนา หรือมีความเข้าใจผิดในการปฏิบัติ เท่ากับ สร้างให้คนกลัวการปฏิบัติมากถึง ๗ - ๘ ท่าน ซึ่งจะไม่กลับมาฝึกอีก หนี กลัว และเข็ดการปฏิบัติไปเลย
ผลคือ เกิดผลเสีย มากกว่าผลดี ต่อวิปัสสนา มากกว่าสร้างศรัทธา โดยสรุปแล้วอาจเกิดผลเสียมากกว่า แม้ว่าความเป็นจริง คือแต่ละท่านมีบุญวาสนาไม่เท่าเทียมกัน และไม่สามารถสอนให้ทุกคนเกิดศรัทธาเท่ากันได้
ผู้สอนควรหาวิธีสอนที่เหมาะสมที่สุด โดยที่เน้นสร้างคุณภาพ และศรัทธา แก่นักปฏิบัติ ให้มากกว่าการเน้นปริมาณ รูปแบบ หรือ เวลา นอกจากนั้น ผู้สอนควรจะมีการประเมินผลการปฏิบัติเป็นประจำ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน สายวิปัสสนายานิกะ สามารถปฏิบัติได้ด้วยการใช้ สติกับขณิกสมาธิ คู่กันไป เมื่อปฏิบัติถูกต้องไปเรื่อยๆ สติและสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ โดยที่สมาธิจะลึกขึ้นจาก ขณิกสมาธิ สู่ อุปจาระสมาธิ และถึงระดับ อัปปนาสมาธิ พร้อมๆ กับสติระลึกรู้ตลอดเส้นทางของวิปัสสนา
ในช่วงแรก ผู้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจำนวนมาก อาจจมติดในสมาธิ (อินทรีย์ของสมาธิมากเกิน) และสติอ่อน ซึ่งไม่ก่อเกิดผลดีต่อ การเจริญสติ หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนทำให้บางท่าน ไม่รู้จะปฏิบัติต่ออย่างไร เช่น มีแต่นิ่งๆ มึน ซึมเผลอหลับ ง่วงนอน นั่งแล้วมีแต่หลับ มึนศรีษะ ตึงศรีษะ แน่นอึดอัด เบื่อหน่าย เครียด หรือถึงกับ เข็ดขยาด กลัว มีความคิดเชิงลบ และเข้าใจผิดต่อ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อใครชวนหรือเรียกมาปฏิบัติ จะปฏิเสธ เดินหนี และไม่ชอบการปฏิบัติไปเลย
แต่ถ้าได้ฝึกปฏิบัติถูกวิธีพร้อมกับมีวิปัสสนาจารย์ คอยแนะนำแล้ว ผู้ปฏิบัติจะผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ จนทำให้เกิด ภาวนามยปัญญา
ฉะนั้นขอให้นักปฏิบัติทุกท่านจึงสังวรระวัง ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน หากปฏิบัติตามสำนักที่สอน ไม่ตรงตามพระไตรปิฎก หรือผู้สอนไม่มีประสบการณ์มาก่อน นักปฏิบัติอาจหลงผิดทาง หรือจมติดในสมาธิ โดยเฉพาะรูปแบบที่นั่งสมาธิ อย่างเดียวนานๆ และไม่ได้เน้นฝึก เรื่องการเจริญสติ ระลึกรู้ ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้ฝึกหลงติดใน สุขเวทนา นิมิต หรือสภาวะของปีติ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผิด เช่น หลงในนิมิตภาพ นิมิตเสียง หรือติดในอาการโยกต่างๆ โดยที่ผู้ฝึกยึดติดเองจนคลายไม่ออก หลงติดในความเชื่อผิดๆ และอาจหลง จนมีเพียงความเชื่อ
หากติดในนิมิตนานและมากเกินไป จนเกิดจิตหลอนแล้ว จะแก้ไขยากมาก หากไม่เชื่อฟังวิปัสสนาจารย์ แล้วไปปฏิบัติเอง จนเกิดโมหะ(หลง) และขาดสติระลึกรู้ ควบคุมอารมณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดอาการคลุ้มคลั่ง จนเกิดวิกลจริต ขาดการควบคุม เกิดจิตหลอน เห็นเป็นนิมิตภาพ หรือเกิดนิมิตเสียง แม้ตอนลืมตา นักปฏิบัติบางท่านติดแต่นั่งสมาธินานเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือนอนน้อยลง จนกระทั่ง แยกของจริงกับนิมิตของปลอมไม่ออก ในที่สุดอาจถูกส่งไปโรงพยาบาล ทำให้เสียหน้าที่การงานได้
บางครั้งผู้สอนอาจสอนโดยให้ผู้ปฏิบัติเน้น นั่งสมาธินาน เกินความสามารถ จนเกิดเวทนาเป็นทุกข์ โดยที่ไม่ได้อธิบายให้เข้าใจในความสำคัญของการเผชิญเวทนา รวมถึงไม่ได้อธิบายวิธีการกำหนดสติให้เข้าใจ หรือ ผู้สอนขาดประสบการณ์ในการปรับแก้ สภาวะธรรม
หากผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ ทำให้เข้าใจผิด เหมือนถูกบังคับให้ทำ จนเข็ดขยาด กลัว การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เช่น สอนเจริญวิปัสสนา ให้กับ ๑๐ ท่าน ถ้าสมมุติว่าปฏิบัติได้ซัก ๒ - ๓ ท่าน โดยไม่เครียดหรือเข้าใจผิด ส่วนอีก ๗ - ๘ ท่าน เกิดอาการเข็ด อึดอัด เบื่อ เกิดเวทนา หรือมีความเข้าใจผิดในการปฏิบัติ เท่ากับ สร้างให้คนกลัวการปฏิบัติมากถึง ๗ - ๘ ท่าน ซึ่งจะไม่กลับมาฝึกอีก หนี กลัว และเข็ดการปฏิบัติไปเลย
ผลคือ เกิดผลเสีย มากกว่าผลดี ต่อวิปัสสนา มากกว่าสร้างศรัทธา โดยสรุปแล้วอาจเกิดผลเสียมากกว่า แม้ว่าความเป็นจริง คือแต่ละท่านมีบุญวาสนาไม่เท่าเทียมกัน และไม่สามารถสอนให้ทุกคนเกิดศรัทธาเท่ากันได้
ผู้สอนควรหาวิธีสอนที่เหมาะสมที่สุด โดยที่เน้นสร้างคุณภาพ และศรัทธา แก่นักปฏิบัติ ให้มากกว่าการเน้นปริมาณ รูปแบบ หรือ เวลา นอกจากนั้น ผู้สอนควรจะมีการประเมินผลการปฏิบัติเป็นประจำ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน สายวิปัสสนายานิกะ สามารถปฏิบัติได้ด้วยการใช้ สติกับขณิกสมาธิ คู่กันไป เมื่อปฏิบัติถูกต้องไปเรื่อยๆ สติและสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ โดยที่สมาธิจะลึกขึ้นจาก ขณิกสมาธิ สู่ อุปจาระสมาธิ และถึงระดับ อัปปนาสมาธิ พร้อมๆ กับสติระลึกรู้ตลอดเส้นทางของวิปัสสนา
ในช่วงแรก ผู้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจำนวนมาก อาจจมติดในสมาธิ (อินทรีย์ของสมาธิมากเกิน) และสติอ่อน ซึ่งไม่ก่อเกิดผลดีต่อ การเจริญสติ หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนทำให้บางท่าน ไม่รู้จะปฏิบัติต่ออย่างไร เช่น มีแต่นิ่งๆ มึน ซึมเผลอหลับ ง่วงนอน นั่งแล้วมีแต่หลับ มึนศรีษะ ตึงศรีษะ แน่นอึดอัด เบื่อหน่าย เครียด หรือถึงกับ เข็ดขยาด กลัว มีความคิดเชิงลบ และเข้าใจผิดต่อ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อใครชวนหรือเรียกมาปฏิบัติ จะปฏิเสธ เดินหนี และไม่ชอบการปฏิบัติไปเลย
แต่ถ้าได้ฝึกปฏิบัติถูกวิธีพร้อมกับมีวิปัสสนาจารย์ คอยแนะนำแล้ว ผู้ปฏิบัติจะผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ จนทำให้เกิด ภาวนามยปัญญา
ฉะนั้นขอให้นักปฏิบัติทุกท่านจึงสังวรระวัง ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน หากปฏิบัติตามสำนักที่สอน ไม่ตรงตามพระไตรปิฎก หรือผู้สอนไม่มีประสบการณ์มาก่อน นักปฏิบัติอาจหลงผิดทาง หรือจมติดในสมาธิ โดยเฉพาะรูปแบบที่นั่งสมาธิ อย่างเดียวนานๆ และไม่ได้เน้นฝึก เรื่องการเจริญสติ ระลึกรู้ ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้ฝึกหลงติดใน สุขเวทนา นิมิต หรือสภาวะของปีติ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผิด เช่น หลงในนิมิตภาพ นิมิตเสียง หรือติดในอาการโยกต่างๆ โดยที่ผู้ฝึกยึดติดเองจนคลายไม่ออก หลงติดในความเชื่อผิดๆ และอาจหลง จนมีเพียงความเชื่อ
หากติดในนิมิตนานและมากเกินไป จนเกิดจิตหลอนแล้ว จะแก้ไขยากมาก หากไม่เชื่อฟังวิปัสสนาจารย์ แล้วไปปฏิบัติเอง จนเกิดโมหะ(หลง) และขาดสติระลึกรู้ ควบคุมอารมณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดอาการคลุ้มคลั่ง จนเกิดวิกลจริต ขาดการควบคุม เกิดจิตหลอน เห็นเป็นนิมิตภาพ หรือเกิดนิมิตเสียง แม้ตอนลืมตา นักปฏิบัติบางท่านติดแต่นั่งสมาธินานเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือนอนน้อยลง จนกระทั่ง แยกของจริงกับนิมิตของปลอมไม่ออก ในที่สุดอาจถูกส่งไปโรงพยาบาล ทำให้เสียหน้าที่การงานได้