๒. ระยะเวลา: ตลอดภาคการศึกษา
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและระดับสติปัญญา และสามารถขัดเกลากิเลสให้ลดละลงจนกระทั่งเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน ดังพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (อริยมรรค) เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฎฐาน ๔ ประการ”
สติปัฎฐาน คือ การตั้งสติสัมปชัญญะ เพียรพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกให้ได้ โดยแยกพิจารณาเป็น ๔ ประการ คือ
๑. การพิจารณาเห็นกายในกาย
๒. การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓. การพิจารณาเห็นจิตในจิต
๔. การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
(มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฏกภาษาไทย เล่มที่ ๑๒ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๙. หน้าที่ ๔๐)
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถือได้ว่าเป็นหน้าที่หลักสำคัญยิ่งของพุทธศาสนิกชนในการฝึกอบรมจิตให้เกิดสติและปัญญา โดยอาศัยหลักองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ การเจริญสติระลึกรู้โดยกำหนดรู้กาย เวทนา จิต และองค์ธรรม เพื่อให้รู้แจ้ง รู้ชัด รู้เท่าทันในสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ณ ขณะนั้น จนสามารถลดละกิเลส ๓ โมหะ (หลง) โลภะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) และถอนความหลงผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และเกิดปัญญาความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้อง คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) บุคคลผู้ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้จะค่อยๆ ลดความทุกข์ เพิ่มความสุขภายในใจ สามารถพัฒนาระดับสติปัญญา และแก้ปัญหาในการเรียน เพื่อช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนท้ายที่สุดเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมปัจจุบันได้
ปัจจุบันการเจริญสติกำลังเป็นที่นิยมมาก ในอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย อินเดีย และอีกหลายประเทศทั่วโลก ภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา และแพร่หลายต่อไป อย่างไม่หยุด เช่น การเปิดศูนย์ Mindfulness Center ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ โดยเน้นการสอน เรื่องการบำบัดผู้ป่วย คลายความเครียด และมีประโยชน์มากต่อ การกระตุ้นการทำงานของสมอง ในส่วนหน้าของสติเหตุผล-Prefrontal Cortex, การกระตุ้นสมองให้ทำงานพร้อมกันทั้งสองด้านโดยเฉพาะด้านซ้ายที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ, สมองความจำส่วน-Hippocampus, เพิ่มการกระตุ้น Serotonin ที่ช่วยนำสารสุขมาให้สมอง และมีผลดีในอีกหลายส่วนของสมอง อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานของ สมองส่วนกลาง(Amygdala) ที่แสดง อารมณ์ความกลัว วิตก โกรธ เครียด กร้าวร้าว ให้ทำงานน้อยลงได้อีกด้วย
ผู้ที่เริ่มนำเอาสติมาสอน ในหลักสูตรสติคลายเครียด - MBSR ตามมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ และโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลก เช่น Dr. Jon Kabat-Zinn, Dr. Rick Hanson, Dr. Diana Winston, Dr. Bob Stahl, Dr. Richard Davidson (Neuroscientest - นักวิทยาศาสตร์ ด้านสมอง), Dr. Dan Siegel, ล้วนแต่ได้เคยมาฝึกสมาธิ กับพุทธศาสนาแนวทั้งจาก สายเถรวาท Vipassana Meditation, สายท่านโกแองก้า Goenka Vipassana และสมาธิสายธิเบต นอกจากประโยชน์การคลายเครียดแล้ว ยังทำให้มีสุขอีกด้วย Dr. Richard Davidson ได้ศึกษาวิจัยหาบุคคล ที่มีความสุขมากที่สุดในโลก จากการวัดคลื่นสมอง (Gamma Wave) และได้พบว่าท่านนั้นคือ Ven. Matthieu Ricard (นักบวชธิเบต ชาวฝรั่งเศสที่ได้รับฉายาว่า World's Happiest Man ในนิตยสาร Time Magazine)
นอกจากการเจริญสติคลายเครียดได้แล้ว ยังมีผลดีต่อการทำงานของสมอง เส้นเลือด หัวใจ และทุกระบบในร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิต อย่างมีผาสุขต่อตนเอง การทำงาน ครอบครัว และต่อทุกคนในโรงเรียน อีกทังยังเกิดความเมตตากรุณาในสถานศึกษา และนำเอาสติไปใช้ลดปัญหาในที่โรงเรียน พัฒนานิสัยตนเอง ปัญหาในครอบครัว และเพื่อสอนผู้อื่นต่อไป พนักงานเมื่อได้รับฝึกการผ่อนคลายสงบแล้ว จะสามารถพัฒนาสติรู้ทันความคิด และสามารถควบคุมสติในโรงเรียน นอกจากนั้นสติยังช่วยในการนอนหลับได้เร็วขึ้น
ประโยชน์ของการเจริญสติ จากงานวิจัยทั่วโลกกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น เสนอโดยสรุป มี ๑๙ เนื้อหา ดังนี้
๑. ช่วยลด ซึมเศร้า ได้ 75% (Depression)
๒. ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น 65% (Well-being)
๓. เพิ่มภูมิต้านทานได้ 50% (Immune System) และช่วยลดแรงดันเลือด (Lower Blood Pressure)
๔. เพิ่มเนื้อสมองส่วนสีเทาด้านสติเหตุผล ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มกระตุ้นหรือควบคุมการทำงานของสมองในส่วน Prefrontal Cortex (สติเหตุผล การตัดสินใจ), กระตุ้นสร้างเสริมส่วน Hippocampus (ความจำ) และลดการทำงานของ Anterior Insula (ความเครียด ขยะแขยง เกลียด ไม่พอใจ)
๕. ลดเซลล์ส่วนของสมองด้านอารมณ์ลบด้าน ก้าวร้าวหรือกลัวหนี (Amygdala – Fight or Flight)
๖. ลดความเครียดได้ ทำให้แก่ช้าลง (Stress Reduction)
๗. ช่วยคลายเครียด ด้วยการสร้างโทเลเมีย (Telomere) คุมที่ปลายของโครโมโซม ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (Dr. Elizabeth Blackburn)
๘. ช่วยให้แก้ไขในขณะเกิดสถานการณ์คับขันได้ดี (Conflict & Crisis Resolution)
๙. พัฒนาความตั้งใจในการรับรู้ (Kid’s Attention) และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น (Emotion Regulation)
๑๐. ช่วยให้รู้ทัน ความคิดลบ อารมณ์/ความรู้สึก และพฤติกรรม (Thoughts Emotion and Behavior)
๑๑. ช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสาร มนุษยสัมพันธ์ และการอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี (Interpersonal Skills)
๑๒. ช่วยพัฒนาความเมตตา กรุณา และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น (Loving Kindness and Compassion)
๑๓. ทำให้สมองเกิดคลื่นความสุขภายในที่เรียกว่า แกมม่าเวฟ (Gamma Wave)
๑๔. ช่วยสร้างความหนาแน่นเพิ่มขึ้นในสมองส่วน Cortical Thickness ในการป้องกัน Brain Maturation, Aging และ Dementia ซึ่งอาจทำให้เกิดโรค ความจำเสื่อม-Alzheimer, โรคสันนิบาต (ร่างกายสั่น) Parkinson, Vascular Dementias จากงานวิจัยของ Dr. Sara Lazar
๑๕. ช่วยลดอัตราเสี่ยง เมื่อใช้คู่กับการรักษา DBT (Dialectical Behavior Therapy) สำหรับ โรคทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD - Borderline Personality Disorder) โดย Marsha Linehan (http://www.psychotherapybrownbag.com/psychotherapy_brown_bag_a/2009/03/dialectical-behavior-therapy-skills-part-1-mindfulness.html)
๑๖. ช่วยป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ และลดอาการ ของโรคซึมเศร้า อยากเสพเหล้า/แอลกอฮอล อยากเสพยา และ SUD - Substance Use Disorder ในสารเสพติดของผู้เสพ (https://www.rehab4alcoholism.com/article/45/ultimate-guide-to-mindfulness-and-addiction)
๑๗. ช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้น ในโรคนอนหลับยาก Crinical Insomnia โดย Dr. Cynthia Gross
(https://mrsmindfulness.com/mindfulness-as-a-cure-for-insomnia-8-steps-to-resting-easy/)
๑๘. ช่วยพัฒนาสร้าง ความตั้งใจ จดจ่อ และสมาธิ ให้กับนักเรียน โดย บทความ The Effects of Mindfulness on Students’ Attention ของ Rose Bringus (http://sophia.stkate.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1189&context=maed)
๑๙. ช่วยลด ACTH (AdrenoCorticoTropic Hormone) หรือที่เรียกว่า Stress Hormone ที่ถูกผลิตออกจาก
ต่อมไฮโปธาลามัส - Hypothalamus และ ต่อมพิททูอิทารี Pituitary Gland
ความเครียดที่เกิดสะสมขึ้นในร่างกาย สามารถก่อให้เกิดผล ดังต่อไปนี้
-โรคปวดหัวไมเกรน - Migrane
-ไฮเปอร์เทนชั่น เครียด - Hypertension
-อดนอน / นอนหลับไม่เพียงพอ - Sleep Deprivation
-ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย - Chronic Fatigue Syndrom CFS
-ท้องร่วง หรือ ท้องผูก - Diarrahea or Constipation
-กรดไหลย้อน - Gastroesophageal Reflux Desease GERD / Acid Reflux Disease
-สิว - Acne
-ลมพิษ ผื่นคัน - Hives
-โรคอ้วน - Eating Disorders
-ไขมันสะสมในเส้นเลือด ทำให้แข็ง จนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ - Atheroscierosis
(https://palousemindfulness.com/docs/what-is-stress.pdf)
ในระยะยาวการเจริญสติตามแนววิปัสสนากัมมัฏฐานของพุทธศาสนา ด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะสามารถนำจิตเข้าสู่เบื้องลึกของระดับจิตใต้สำนึก เพื่อไปปรับเปลี่ยนนิสัย พฤติกรรม ความทุกข์ และอารมณ์ต่างๆ สำหรับทุกคนในโรงเรียน ที่ได้มีโอกาสฝึกเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง และยังนำสู่เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน(นิพพานสุข) ที่เป็นความสุขสูงสุด มากกว่า กามสุข และสมาธิสุข
๕. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๕.๑ เพื่อจัดอบรมความรู้ด้านทฤษฎีแก่ครู เรื่องการเจริญสติ-วิปัสสนา สำหรับนักเรียน ในโรงเรียน
๕.๒ เพื่อจัดการฝึกเจริญสติ-วิปัสสนาแก่ครู สำหรับสอนนักเรียน ตลอดภาคการศึกษา
๕.๓ เพื่อให้เกิดความรู้ในหลักพุทธธรรม สำหรับนำไปใช้พัฒนานิสัยตนเอง, การเรียน, สร้างความสุขในครอบครัว, การทำงานในอนาคต และเป็นคนดีของสังคม
๕.๔ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศของการเจริญสติ-วิปัสสนา ในโรงเรียนวิถีพุทธ
๕.๕ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา การเรียนรู้เรื่องเหตุ/ผล และการสร้างเป้าหมายสู่ความสำเร็จในอนาคต ตามหลักธรรมของ อริยสัจ ๔
๕.๖ เพื่อให้มีความรู้เรื่อง ความคิด ความรู้สึก/อารมณ์ และพฤติกรรม ในการป้องกันปัญหาโรคทางใจ
๕.๗ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษา การสนทนา และการสื่อสาร
๕.๘ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานด้านสมอง, จิตวิทยา, โรคทางใจทางการแพทย์ และความรู้อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์
๕.๙ เพื่อให้มีความสามารถทางการค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล
ต่อมไฮโปธาลามัส - Hypothalamus และ ต่อมพิททูอิทารี Pituitary Gland
พัฒนาแนวคิดกุศลเชิงบวก รู้ทันคิดอกุศลเชิงลบ และนำหลักการเจริญสติมาใช้ในทุกสังคมได้อย่างต่อเนื่อง ในชีวิตประจำวันตลอดภาคการศึกษา สามารถนำเอาหลักอริยสัจ ๔ ไปใช้แก้ไขปัญหา เรียนรู้เรื่องเหตุ/ผล เพื่อประยุกต์ใช้ในทุกสถานการณ์ และสร้างเป้าหมายจนนำไปสู่ความสำเร็จ
เพื่อพัฒนาการเรียน ด้วยการฝึกสติให้รู้ทันความคิด/อารมณ์-ความรู้สึก/พฤติกรรม, สร้างความสุขในครอบครัว, รู้แนวทางดำเนินชีวิต และเป็นคนดีของสังคม, เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสุข บุญ และปัญญาในทางพระพุทธศาสนา สามารถพัฒนาทางด้านภาษา เพิ่มทักษะด้านการสนทนา การสื่อสารกับผู้คน และมีความมั่นใจในการนำพูดหน้าชั้น
พัฒนาความรู้ทางด้านสมอง, จิตวิทยา, ทางการแพทย์ และความรู้ด้านอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ในฐานะนักศึกษา, คนทำงาน, ผู้ปกครอง, พลเมืองที่ดี และในฐานะชาวพุทธ เรียนรู้วิธีการค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบมีเหตุผล
-การเจริญสติกับการป้องกันเรื่องยาเสพติด
10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาการแพทย์
1.PREPARATION เตรียมใจ เตรียมตัว
2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน
3.FOCUS จดจ่อ
ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ
4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ
5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป
6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง
รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ
7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม
8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์
9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป
10.REPORT
รายงานการฝึก
สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป
-การเป็นคนดีแก่ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และสังคม
๗.๘ การอบรมความรู้ด้านจิตวิทยาเชิงบวก (Posiive Psychology), จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education), การสร้างความคิดเชิงบวก (Positive Thinking), ความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล จิตเภท สมาธิสั้น ย้ำคิดย้ำทำ การควบคุมอารม์ นอนหลับยาก และความรู้ด้านอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง การเรียน การทำงาน ครอบครัว และสังคม
วิธีควบคุมจิตใจ/อารมณ์, ความสุขภายใน, การดำเนินชีวิตในอนาคต และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
*****หลักสูตรการเจริญสติในโรงเรียน เรียบเรียงขึ้นเพื่อนำเสนอสำหรับการพัฒนากิจกรรม แก่
สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย ธ.ค. 2560
-------------------
***ตัวอย่าง หลักสูตร การเจริญสติในโรงเรียน ๒ วัน ครึ่ง
...........................................................................................................................................................................
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“สติเชิงรุก - Mindfulness Active Practice”
ณ
โรงเรียน____________ จ.เชียงราย
ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒
……………………………………….....................................................................................................
วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒
เวลา ๑๘.๓๐ – ๒๐.๐๐ น.
- บรรยาย
“ประวัติความเป็นมาของการเจริญสติ –
วิปัสสนา ในประเทศไทย”
“การเจริญสติสากล
แนวจิตวิทยาการแพทย์”
“ประโยชน์ของการเจริญสติ”
๒๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. - สนทนา ถาม/ตอบ ของกิจกรรมในโรงเรียน
- ปัญหา/อุปสรรค ของการเจริญสติ และการสอน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๒
เวลา ๐๗.๐๐ – ๐๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า
๐๘.๐๐ –
๐๙.๐๐ น. -
บรรยาย
“การเจริญสติเชิงรุก
(MINDFULNESS
ACTIVE LEARNING)”
“วิธีการเจริญสติ
และ สมาธิ”
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐
น. -
การฝึกปฏิบัติ สำหรับครูผู้สอน ช่วงที่ ๑
สมาธิในท่านั่ง (Sitting Concentration Meditation)
สติในการรับรู้ความรู้สึกในร่างกาย
(Body Scan)
สติในท่านั่ง
ด้วย ลมหายใจ (Breath Sitting)
- ประเมินผล / ถามตอบ ในแต่ละท่าของการฝึก
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. - บรรยาย “การเจริญสติเชิงรุก ในโรงเรียน”
๑๔.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. -
การฝึกปฏิบัติ สำหรับครูผู้สอน ช่วงที่ ๒
สติในท่านั่ง
ด้วย การกำหนด พอง/ยุบ และ ถูกหนอ
สติในท่าเดิน
สติในท่านอน
สติในระหว่างวัน
๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น
ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)
๑๘.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. - บรรยายเนื้อหา
“ปัญญา/ความรู้ คู่ไปกับ การเจริญสติ สำหรับครู”
- การฝึกปฏิบัติ
สำหรับครูผู้สอน ช่วงที่ ๓
สติในท่านั่ง
สติในระหว่างวัน
สติในท่านอน
วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒
เวลา ๐๗.๐๐ – ๐๘.๐๐
น. รับประทานอาหารเช้า ด้วยสติขณะทานอาหาร
(Mindful Eating)
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐
น. - บรรยาย “การเจริญสติเชิงรุก
สำหรับนักเรียน”
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐
น. -
การฝึกปฏิบัติ เพื่อสอนแก่นักเรียน ช่วงที่ ๑
สมาธิในท่านั่งนิ่ง
สติในการเรียนรู้อารมณ์ทางอายตนะ
๖
สติในการเรียนรู้ทัน
ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
สติในท่านั่ง
กำหนด ลมหายใจ และ พอง/ยุบ
สติในท่าเดิน
สติในท่านอน
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
ด้วยสติขณะทานอาหาร (Mindful Eating)
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. -
การฝึกปฏิบัติ เพื่อสอนแก่นักเรียน ช่วงที่ ๒
สติพัฒนาการเรียน
สติในระหว่างวัน
(ที่โรงเรียน และบ้าน)
๑๔.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. - บรรยายเนื้อหา
“ปัญญา/ความรู้
คู่ไปกับ การเจริญสติ สำหรับนักเรียน”
-ชีวิต ด้านกายและใจ
(ขันธ์ ๕)
-ความทุกข์
และความสุข
-ปัญญา
ความสำเร็จ และบุญกุศล
-ความหมาย
และความแตกต่างของ สติ / สมาธิ
-วิธีพัฒนาการเรียน
และประโยชน์ของ สติ / สมาธิ
-จิตวิทยาพื้นฐาน
เพื่อป้องกันโรคทางใจ
-ความคิด
(คิดลบ และ คิดบวก)
-จิตวิทยาเชิงบวก
(คิดบวก คำบวก ประโยคเชิงบวก)
-เหตุ และ ผล
-วิธีแก้ปัญหา
๓ ด้าน (ตน ครอบครัว โรงเรียน) ด้วย หลักอริยสัจ
๔
-สติและเหตุผล
หรือ อารมณ์
-การใช้ภาษา
(การรับรู้ การถาม/ตอบ การสนทนา)
-การเป็นผู้ให้
และการสร้างสันติภาพ/สันติสุข
-การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
-สนทนา
ถาม/ตอบ และร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ
--------------------------------------------
สอนโดย อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์
-วิทยากร “สติเชิงรุก” ในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ส่วนวางแผนและอบรม มจร. อ.วังน้อย จ.อยุธยา
-ผู้ก่อตั้ง/สอนภาคปฏิบัติ - ชมรมศูนย์เจริญสติ-วิปัสสนา เขตลาดพร้าว กทม.
โทร. 097 984 9355
Line ID: aniwat5593
Email: anipetch@gmail.com
Facebook: vipassanameditationthailand
“สติเชิงรุก - Mindfulness Active Practice”
สติในระหว่างวัน
--------------------------------------------
โทร. 097 984 9355
หรือที่เวปไซด์
---------------------------------------------------------
๑. รร อินเตอร์ Prem Tinsulanonda International School ที่นำเอาการเจริญสติแบบสากล มาสอนนักเรียน
๒. การสอนเจริญสติของฝรั่งมาถึงเมืองไทยแล้ว โดยสอนที่ รร อินเตอร์ American School of Bangkok (ASB) เป็นแห่งแรกในเอเซีย เริ่ม ปีนี้ 2016 !!!!! ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักเรียน ในการพัฒนา ๑. สติสัมปชัญญะ ๒.การควบคุมอารมณ์ การมีอารมณ์ดีเชิงบวก การสื่อสารเชิงบวก ๓.การพัฒนาจิต - การสอนเจริญสติเป็นแบบใช้ลมหายใจแบบง่ายๆ และฝึกสั้นๆ ตามรูปแบบการสอนใน อเมริกา ---
-------------------------------------------------------------------
๓. การสอนการเจริญสติในรร.ประถมของอเมริกา
https://www.facebook.com/DrNashSiamwallaPhD/photos/a.1374534812801052.1073741828.1374528369468363/1582402665347598/?type=3
๔. การสอน การเจริญสติ ใน โรงเรียน ที่กำลังนิยม แพร่หลาย และมีประโยชน์ต่อเด็ก
มากถึง กว่า 100 ประเทศ และได้สอนไปแล้ว กว่า 2,000,000 ล้านคนทั่วโลก
๕. การสอนเจริญสติ ในโรงเรียนชั้นประถม ที่ เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ
http://www.winnews.tv/news/9392
---------------------------------------