วัตถุประสงค์:
-เพื่อพัฒนาการเรียน
-เพื่อสอนให้เข้าใจถึง กระบวนการทำงานของจิต / อารมณ์ต่างๆ / และ การควบคุมบริหารจัดการให้เป็น
-เพื่อสอนให้คิดเชิงบวกเป็น และกระทำสิ่งที่ดีที่ถูก
-เพื่อการอยู่ร่วมกับสังคมเพื่อนที่สถานศึกษาได้อย่างมีความสุข และการปรับตัวให้อยู่ได้กับสังคมที่แตกต่างเป็น
-เพื่อนำธรรมะไปใช้กับครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง ญาติต่างๆ
-เพื่อทำหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ ให้บริบูรณ์
เนื้อหาบรรยายและภาคปฏิบัติในหลักสูตร สติพัฒนาการเรียน:
๑. ปัญหาที่เกิดขึ้น
-ปัญหาของการเรียน เช่น ไม่มีสมาธิในห้องเรียน หรือ ขณะอ่านหนังสือ / สอบได้คะแนนต่ำ
-ขาดความเข้าใจในวิชาการ
-การยับยั้งอารมณ์ การเอาแต่ใจ และการควบคุมตนเอง
-ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนและผู้ปกครองกลุ้มใจ
-ปัญหาเพื่อนในสถานศึกษา และการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่แตกต่าง
-ขาดความรู้ในหลักพุทธศาสนา
-ทุกขทัศนนิยม หรือ ความคิดลบ
๒. สาเหตุ
-ขาดความรู้ด้านพุทธศาสนา ทั้ง ปริยัติและปฏิบัติ ตามหลัก วิปัสสนากัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐาน(การเจริญสติ)
-ขาดความเข้าใจในเรื่องจิตและวิธีควบคุมอารมณ์
-ขาดการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว และสถานศึกษา
๓. สร้างเป้าหมาย
-เพื่อพัฒนาสติสำหรับใช้ควบคุมความคิด และอารมณ์
-เพื่อพัฒนาการเรียน
-เพื่อสอนให้เป็นคนใฝ่รู้ และพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
-สร้าง สุขทัศนนิยม หรือ ความคิดบวก มีเหตุผล
-เพื่อเพิ่มความสุข และลดความทุกข์
-เพื่อพัฒนา ตนเอง ครอบครัว และอาชีพในอนาคต(เตรียมพร้อมสำหรับการทำงาน)
-เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การตัดวัฏฏสงสาร และ เข้าถึงพระนิพพาน
๔.๑ ฝึกด้านทฤษฎี
การพัฒนาด้านทฤษฏี ด้วย การสนทนา ออกความคิดเห็น ถามคำถาม ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้ติดอ่านหนังสือ ค้นคว้าด้วยตนเองให้เป็น สังเกตุการณ์ เรียนรู้จากชีวิตประจำวันในตนเอง อาชีพ ครอบครัว, ฟังสิ่งที่มีประโยชน์ คิดสิ่งที่ดี สร้างแนวคิดเชิงบวก จดจำ ฝึกการจับประเด็น หาเหตุในอดีตเป็น เล็งถึงผลในอนาคตเป็น คิดบวกเป็น พัฒนาโปรแกรมสมองใหม่ สร้างนิสัยของการพัฒนาตนเองตลอด หลักพุทธธรรมด้าน ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ และอื่นๆ
๔.๒ ฝึกด้านปฏิบัติ
ด้วยการเจริญสติ โดยใช้จิตพัฒนาการเรียนในห้อง และฝึกการอ่านหนังสือเร็ว พร้อมกับเข้าใจเนื้อหา จับประเด็นสำคัญได้
-แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของโรค คือ เรื่องของจิต
-ฝึกพัฒนา สติและสมาธิ ในห้องเรียน
-ฝึพัฒนา สติและสมาธิ ในการอ่านหนังสือ
-ฝึกคิดเชิงบวก
-พัฒนาการใช้ภาษาและสื่อสาร ด้วยการฝึกดังนี้:
๑. ด้านการฟัง - ฝึกจินตนาภาพ และการจับประเด็นสำคัญ
๒. ด้านการพูด - ฝึกการเล่าเรื่องด้วยจินตนาภาพ การพูด ระดับเสียง ความเร็ว การใช้ภาษาที่ถูกต้อง ใน ลำดับ และ รายละเอียด ด้วยประโยคสมบูรณ์
๓. ด้านการถาม - ฝึกการถามให้ครบประโยค และสื่อถึงประเด็นสำคัญ เพื่อข้อมูลที่มีประโยชน์
๔. ด้านการสื่อสาร - ฝึกจับรายละเอียดและประเด็นสำคัญ การจดในสมุด ไม่ทำตามที่ตนคิดไปเอง ถ้าไม่แน่ใจ ให้สื่อสารเพื่อถามอีกครั้งให้สมบูรณ์
๕. ด้านความกล้าและความมั่นใจในการพูดคุยสนทนา
๖. ด้านการออกความคิดเห็น ในเวลาที่เหมาะสม เชิงบวกและสร้างสรรค์ เนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่ จะสอนให้ฟังครู และทำการบ้าน เท่านั้น
-ฝึกการเจริญสติ
-ฝึกการแก้ปัญหาให้เป็น
-ฝึกการรู้จักยับยั้งอารมณ์ และควบคุมคิด พูด ทำ ให้เป็นเชิงบวก
-ฝึกการหาเหตุในอดีต ทำปัจจุบันให้ดี และเล็งผลในอนาคตให้เป็น
-ปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงก่อนหลับ
-เปลี่ยนและสร้างโปรแกรมให้สมองใหม่
-กระทำดีและถูกต้องให้ได้
-ช่วยเหลือครอบครัว และทำตัวเป็นภาระ
-ฝึกการเป็น ผู้ให้ มิใช่ ผู้ขอ
10 steps of Mindfulness - วิธีการเจริญสติ แนวจิตวิทยาตะวันตก
1.PREPARATION เตรียมใจ เตรียมตัว
2.ATTENTION ตั้งใจรู้ว่ากำลังทำอะไร ไม่ใช่คิดวางแผน
3.FOCUS จดจ่อ ที่ ปลายจมูก หรือ จุดอารมณ์หลัก และอื่นๆ ที่ปรากฎ
4.PRESENT MOMENT สติรู้อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นชัดเจนแต่ละขณะ
5.AWARENESS สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้ในอารมณ์ที่เกิดถัดไป
6.LETGO สติรู้ปล่อยวาง รู้เฉย ปราศจากความคิด หรือ นึกเป็นภาพ
7.NON-JUDGEMENT สติรู้เฉย ปราศจากการพิจารณา/คิดตาม
8.MOMENT-TO-MOMENT FLOW สติรู้เฉย ไปเรื่อยๆ ทีละอารมณ์
9.DAILY LIFE PRACTICE ฝึกเจริญสติทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ตลอดไป
10.REPORT รายงานการฝึก สอบถาม กับผู้สอนเป็นประจำ ตลอดไป
๔.๓ ส่งการบ้าน และรายงานผลการปฏิบัติ
-สวดมนต์ อาราธนาศีล ๕ และแผ่เมตตา ทุกวัน
-ฝึกปฏิบัติทุกวัน ใน อิริยาบถย่อยระหว่างวัน เดินจงกรม นั่งสมาธิ(ที่บ้าน ทุกวัน)
-ฝึกปฏิบัติที่วัด ทุกอาทิตย์
-สนทนาปัญหาและรายงานผลระหว่างวัน ทุกวัน
๔.๔ ทำการปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น
-ฝึกสอนตนเองให้ยอมรับความจริง เพื่อการแก้ไข และทำให้ดียิ่งขึ้น
-ฝึกให้เป็นคนใฝ่รู้ และหาความรู้ จากแหล่งต่างๆ ตลอดไป
--------------
***ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 15.30 ถึง 19.30 น. (หยุดทุกวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของทุกต้นเดือน)