Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

Vipassana - Mindfulness Meditation, Bangkok, Thailand

menu

[ หน้าแรก คำนำ ]
[ ปัญหาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ ภาคปริยัติ (ทฤษฎี) - พื้นฐานหลักธรรมของชีวิต ]
[ ประวัติกรรมฐานในสมัยพุทธกาล ]
[ ประวัติกรรมฐานในประเทศไทย ]
[ หลักฐานอ้างอิงของ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก และคีมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ]
[ ตารางเปรียบเทียบ วิปัสสนากรรมฐาน รูปแบบบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ กับ มหาสติปัฏฐานสูตร ๒๑ บรรพ ]
[ ตารางเปรียบเทียบ กรรมฐานในสมัยพุทธกาล, วิปัสสนาญาณ ๑๖, วิสุทธิ ๗, ไตรสิกขา และอริยมรรคมีองค์ ๘ ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามแนวของพระพุทธศาสนา ๓๑ ประการ - ฺฺBENEFITS OF VIPASSANA MINDFULNESS BUDDHISM MEDITATION ]

[ ***ประโยชน์ของ การเจริญสติ / สติคลายเครียด ตามแนวของจิตวิทยาทางการแพทย์ ๓๑ เรื่อง - BENEFITS OF MINDFULNESS in PSYCHOLOGY AND NEUROSCIENCE ]
[ ภาคปฏิบัติ และ เทคนิค ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ]
[ *****วิปัสสนาญาณ ๑๖ - เส้นทางและเป้าหมายของวิปัสสนากรรมฐาน ในรูปแบบกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ]
[ ปัจจัยที่ทำให้ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ก้าวหน้า ]
[ ภาคปฏิเวธ ]

[ ประวัติ / ประสบการณ์การสอนวิปัสสนา เจริญสติ และการบรรยายของ อ.อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์ - ผู้ก่อตั้ง ชมรมศูนย์เจริญสติ ]
[ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แก่ ชุมชนรอบวัดและประชาชนทั่วไป ]
[ ประวัติแม่ชีบุญมี เวชสาร - วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ วิปัสสนาจารย์ สายพองยุบ ศิษย์ของ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ สำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี ]
[ ประวัติการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของ แม่ชีบุญมี เวชสาร ]

[ เปิดสอน - 1.1 การเจริญสติ พัฒนา โรคทางใจ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR MENTAL DISORDERS and SUFFERINGS เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder - OCD) โรคเครียด(Stress Reduction) โรควิตกกังวล(General Anxiety Disorder - GAD) โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (posttraumatic stress disorder - PTSD) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder - ADHD) การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคนอนหลับยาก โรคโกรธง่าย และโรคทางใจอื่นๆ ด้วยหลักเจริญสติ ผสมผสานกับ หลักการและแนวคิดเพื่อพัฒนาปัญญา/สมอง ]

[ เปิดสอน - 1.2 การเจริญสติ ช่วยบรรเทา ลด ละ การติดยาเสพติด และป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR DRUG ADDICTED AND RELAPSE PREVENTION ]

[ เปิดสอน - 2. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ตนเอง, ปัญหาการทำงาน/อาชีพ และ ปัญหาในครอบครัว - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR SELF, CAREER AND FAMILY HAPPINESS ]

[ เปิดสอน - 3. การเจริญสติ พัฒนาการเรียน สำหรับ นักเรียน และ นิสิต – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR STUDENT EDUCATION ]

[ เปิดสอน - 4. การเจริญสติ พัฒนาการสอน/เลี้ยงลูก สำหรับ คู่สามีภรรยา – MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR CHILD TEACHING & PARENTING PREPARATION ]

[ เปิดสอน - 5. การเจริญสติ พัฒนาสมอง/ความจำ สำหรับ ผู้เกษียณ และ ผู้สูงอายุ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR RETIRED AND ELDERLY ]

[ เปิดสอน - 6. การเจริญสติ พัฒนานิสัยอารมณ์ /ปัญญา/ เป้าหมายของการบวช/ ไตรสิกขา เพื่อเป็นคนดีของครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม สำหรับ พระภิกษุบวชใหม่ - MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR NEW BUDDHIST MONKS ]

[ 7. สนับสนุนสร้าง ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด และ ถวายสอน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ - VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION CENTER IN A TEMPLE AND VIPASSANA MEDITATION MASTER FOR MONKS ]

[ 8. กิจกรรมแนะนำ และ สนับสนุนพัฒนาวัด เพื่อสร้าง แผนกปริยัติ ปฏิบัติ และ งานเผยแผ่ แก่ชุมชน - TEMPLE DEVELOPMENT CONSULTANT AND SUPPORT FOR KNOWLEDGE THEORY SECTION, PRACTICE SECTION AND BUDDHIST DISSEMINATION FOR COMMUNITY SERVICES ]

[ 9. VIPASSANA MINDFULNESS MEDITATION IN BANGKOK FOR FOREIGNERS TO DEVELOP SELF TEMPER/EMOTION, WORK/CAREER AND FAMILY HAPPINESS FOR FREE AS PUBLIC SERVICES AND BUDDHIST DISSEMINATION ]

[ 10. MINDFULNESS & INTELLIGENCE DEVELOPMENT AT WORK - การเจริญสติ/ปัญญา ในที่ทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เกิดความสุข ปัญญา พัฒนาการทำงาน ปรับปรุงนิสัยตนเอง และ สร้างความสุขในครอบครัว ]

[ 11. MINDFULNESS AT SCHOOL - การเจริญสติใน โรงเรียน แก่ครู เพื่อสอนนักเรียน ในการพัฒนาการเรียน นิสัย ปัญหาครอบครัว สังคมเพื่อน และอนาคต ให้เกิดความสุข / ปัญญา ]

[ 12. CASE STUDIES FOR MENTAL DISORDER BY MINDFULNESS MEDITATION - กรณีศึกษา : ผู้เข้ารับการฝึกเจริญสติ เพื่อบรรเทาช่วยเหลือ โรคทางใจ เช่น โรคแพนิค โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับยาก ]

[ 13. กิจกรรมบริจาคทาน ของ ชมรมศูนย์เจริญสติ วัดลาดพร้าว ]

[ ALMA MATER and EXPERIENCES BACKGROUND OF VIPASSANA MEDITATION TEACHER ]


ปัญหาและอุปสรรค ที่มักจะเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน


-คิดฟุ้งซ่าน  ควบคุมความคิดไม่ได้

-มีแต่นิ่งๆ มึนๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป

       -เผลอวูบ / หลับบ่อย

       -เกิดอาการแน่น อึดอัด เครียด เหนื่อย เนื่องจากพองยุบหายไป จึงต้องเบ่งลมหายใจ เพื่อให้มีพองยุบ เพราะเข้าใจว่าต้องมีพองยุบตลอดเวลา ถึงจะปฏิบัติได้ถูกต้อง

        -เข้าใจผิดว่า พองหนอคือการหายใจเข้า ยุบหนอคือหายใจออก จึงพยายามบังคับเบ่งลมหายใจ แทนที่จะกำหนดสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกในอาการพอง/ยุบ ซึ่งไม่ให้เกี่ยวข้องกับลมหายใจเข้าออก

         -ติดสภาวะอาการ ตัวโยก หมุน และสภาวะต่างๆ โดยที่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป

         -ติดในนิมิตภาพ หรือ นิมิตเสียงต่างๆ

         -เพ่ง จี้ บังคับ เกร็ง ตึง เน้นในขณะปฏิบัติ จนมากเกินไป ไม่เป็นธรรมชาติ

        -สติ สมาธิ ปัญญา เหตุผล คิดเชิงบวก ไม่เกิดในระหว่างวัน ต่อ ตนเอง ครอบครัวที่บ้าน และอาชีพที่ทำงาน


        -ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก เข็ดขยาด และกลัวต่อ วิปัสสนากัมมัฏฐาน  ถึงกับหนีเวลาเรียกมาปฏิบัติ


        -ติดในรูปแบบเดินจงกรม กับนั่งสมาธิในวัดเท่านั้น โดยไม่ได้นำเอา สติ / คิดเชิงบวก / คิดอย่างมีเหตุผล / กระทำสิ่งที่ดีที่ถูกได้จริงตามที่คิด / พูดแต่สิ่งที่ดีเชิงบวก และเมื่อปฏิบัติแล้วควรนำไปปฏิบัติ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย โดยทำทุกที่ให้เป็นวัด สามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา และไม่ติดในรูปแบบ หรือจะต้องปฏิบัติแต่ในวัดเท่านั้น


ปัญหาที่เกิดจากผู้สอน

-ผู้สอนขาดประสบการณ์ปฏิบัติ โดยเพียงสอนแต่รูปแบบการปฏิบัติ
      
-ประสบการณ์ ในการสอบอารมณ์ โดยสอนเกินกว่าประสบการณ์

-วิธีการอธิบาย ใน การกำหนดสติ

-ประสบการณ์การแก้ไขสภาวะธรรมให้กับผู้ปฏิบัติ

บางครั้งผู้สอนอาจสอนโดยให้ผู้ปฏิบัติเน้น นั่งสมาธินาน เกินความสามารถ จนเกิดเวทนาเป็นทุกข์ โดยที่ไม่ได้อธิบายให้เข้าใจในความสำคัญของการเผชิญเวทนา รวมถึงไม่ได้อธิบายวิธีการกำหนดสติให้เข้าใจ หรือ ผู้สอนขาดประสบการณ์ในการปรับแก้ สภาวะธรรม

หากผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ ทำให้เข้าใจผิด เหมือนถูกบังคับให้ทำ จนเข็ดขยาด กลัว การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เช่น สอนเจริญวิปัสสนา ให้กับ ๑๐ ท่าน ถ้าสมมุติว่าปฏิบัติได้ซัก ๒ - ๓ ท่าน โดยไม่เครียดหรือเข้าใจผิด  ส่วนอีก ๗ - ๘ ท่าน เกิดอาการเข็ด อึดอัด เบื่อ เกิดเวทนา หรือมีความเข้าใจผิดในการปฏิบัติ เท่ากับ สร้างให้คนกลัวการปฏิบัติมากถึง ๗ - ๘ ท่าน ซึ่งจะไม่กลับมาฝึกอีก หนี กลัว และเข็ดการปฏิบัติไปเลย

ผลคือ เกิดผลเสีย มากกว่าผลดี ต่อวิปัสสนา มากกว่าสร้างศรัทธา โดยสรุปแล้วอาจเกิดผลเสียมากกว่า แม้ว่าความเป็นจริง คือแต่ละท่านมีบุญวาสนาไม่เท่าเทียมกัน และไม่สามารถสอนให้ทุกคนเกิดศรัทธาเท่ากันได้
ผู้สอนควรหาวิธีสอนที่เหมาะสมที่สุด โดยที่เน้นสร้างคุณภาพ และศรัทธา แก่นักปฏิบัติ ให้มากกว่าการเน้นปริมาณ รูปแบบ หรือ เวลา  นอกจากนั้น ผู้สอนควรจะมีการประเมินผลการปฏิบัติเป็นประจำ

วิปัสสนากัมมัฏฐาน สายวิปัสสนายานิกะ สามารถปฏิบัติได้ด้วยการใช้ สติกับขณิกสมาธิ คู่กันไป เมื่อปฏิบัติถูกต้องไปเรื่อยๆ สติและสมาธิจะค่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ โดยที่สมาธิจะลึกขึ้นจาก ขณิกสมาธิ สู่ อุปจาระสมาธิ และถึงระดับ อัปปนาสมาธิ พร้อมๆ กับสติระลึกรู้ตลอดเส้นทางของวิปัสสนา

ในช่วงแรก ผู้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจำนวนมาก อาจจมติดในสมาธิ (อินทรีย์ของสมาธิมากเกิน) และสติอ่อน ซึ่งไม่ก่อเกิดผลดีต่อ การเจริญสติ หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนทำให้บางท่าน ไม่รู้จะปฏิบัติต่ออย่างไร เช่น มีแต่นิ่งๆ มึน ซึมเผลอหลับ ง่วงนอน นั่งแล้วมีแต่หลับ มึนศรีษะ ตึงศรีษะ แน่นอึดอัด เบื่อหน่าย เครียด หรือถึงกับ เข็ดขยาด กลัว มีความคิดเชิงลบ  และเข้าใจผิดต่อ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อใครชวนหรือเรียกมาปฏิบัติ จะปฏิเสธ เดินหนี และไม่ชอบการปฏิบัติไปเลย

แต่ถ้าได้ฝึกปฏิบัติถูกวิธีพร้อมกับมีวิปัสสนาจารย์ คอยแนะนำแล้ว ผู้ปฏิบัติจะผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ จนทำให้เกิด ภาวนามยปัญญา

ฉะนั้นขอให้นักปฏิบัติทุกท่านจึงสังวรระวัง ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน  หากปฏิบัติตามสำนักที่สอน ไม่ตรงตามพระไตรปิฎก หรือผู้สอนไม่มีประสบการณ์มาก่อน นักปฏิบัติอาจหลงผิดทาง หรือจมติดในสมาธิ โดยเฉพาะรูปแบบที่นั่งสมาธิ อย่างเดียวนานๆ และไม่ได้เน้นฝึก เรื่องการเจริญสติ ระลึกรู้ ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้ฝึกหลงติดใน สุขเวทนา นิมิต หรือสภาวะของปีติ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผิด เช่น หลงในนิมิตภาพ นิมิตเสียง หรือติดในอาการโยกต่างๆ โดยที่ผู้ฝึกยึดติดเองจนคลายไม่ออก หลงติดในความเชื่อผิดๆ และอาจหลง จนมีเพียงความเชื่อ

หากติดในนิมิตนานและมากเกินไป จนเกิดจิตหลอนแล้ว จะแก้ไขยากมาก หากไม่เชื่อฟังวิปัสสนาจารย์ แล้วไปปฏิบัติเอง จนเกิดโมหะ(หลง) และขาดสติระลึกรู้ ควบคุมอารมณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดอาการคลุ้มคลั่ง จนเกิดวิกลจริต ขาดการควบคุม เกิดจิตหลอน เห็นเป็นนิมิตภาพ หรือเกิดนิมิตเสียง แม้ตอนลืมตา  นักปฏิบัติบางท่านติดแต่นั่งสมาธินานเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือนอนน้อยลง จนกระทั่ง แยกของจริงกับนิมิตของปลอมไม่ออก ในที่สุดอาจถูกส่งไปโรงพยาบาล ทำให้เสียหน้าที่การงานได้

คำนำ

เป้าหมายของการเผยแผ่ ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือ การฝึก สติพัฒนาตน ที่ทำงาน ครอบครัว และ โรคทางใจ:

๑. ทำหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ ให้บริบูรณ์ ดังนี้


   ๑) ศึกษาหลักปริยัติ, หลักพุทธธรรม และตำราต่างๆ จนมีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา

   ๒) นำเอาหลักปริยัติ ไป ปฏิบัติ ที่ใจของตนเอง ให้เกิดผลคือการพัฒนา สติ และปัญญา ในการลดละกิเลส 3 (โมหะ โลภะ โทสะ)

   ๓) เผยแผ่แก่ พระบวชใหม่และเก่า สำหรับเผยแผ่ต่อไปยังชุมชน ทั้งหลักปริยัติ และหลักปฏิบัติ ให้เกิดผลจริงๆ ใน 3 ด้าน คือ แก่ตนเอง ครอบครัว และอาชีพ

   ๔) ปกป้อง รักษา คุ้มครอง และ ทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียง


๒. เผยแพร่อบรม วิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐาน ๔ เพื่อสนับสนุนสร้าง พระวิปัสสนาจารย์ และสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน (ศูนย์เจริญสติ - วิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำวัด) แก่วัดที่สนใจ


๓. สนับสนุน ปรึกษา สร้างวิสัยทัศน์ และการปฏิบัติงานสู่เป้าหมาย ในการบริหารและริเริ่มสร้าง 
  ๑) ศูนย์ปริยัติ
  ๒) ศูนย์ปฏิบัติ
  ๓) ศูนย์เผยแผ่ แก่วัดทั่วไป เพื่อพัฒนาการศึกษา และการปฏิบัติให้ได้ผลแก่ พระภิกษุเก่า และพระภิกษุที่บวชใหม่


๔. สนับสนุนร่วมสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์แก่ชุมชน เช่น การให้คำปรึกษาเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ต่างๆ, ส่งเสริมด้านสุขภาพ, ช่วยสร้างพัฒนาอาชีพ, ศูนย์จัดหางาน, สอนเยาวชนให้เป็นคนดี และสร้างความสุขในครอบครัว

๕. รับอบรมเป็นกลุ่มคณะ ที่สนใจในการพัฒนาสติ แก่ บริษัท สถานที่ทำงาน และสถานศึกษา (ถ้ามีเวลาว่าง)


๖. สนับสนุนร่วมสร้าง การเจริญสติในที่ทำงาน(Mindfulness At Work) ใน บริษัท สถานที่ทำงาน และสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาบุคลากร ช่วยหาและแก้ปัญหานิสัยส่วนตัว/ที่ทำงาน/ครอบครัว เสริมสร้างความสงบ/ความสุขในที่ทำงาน 


๗. สนับสนุนจัดอบรมนอกสถานที่ เช่น ๓ วัน ๒ คืน ในต่างจังหวัด (ถ้ามีเวลาว่าง)



กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมอบรม:

๑. พระภิกษุ และ ฆราวาส ที่ต้องการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในพระไตรปิฎก, อรรถกถา, คัมภีร์วิสุทธิมรรคและอภิธัมมัตถสังคหะ เพื่อปิดประตูอบายภูมิ ๔ เข้าถึงความสุขคือมรรคผลนิพพาน  หลังจากนั้น ร่วมเผยแผ่วิปัสสนาเป็นวิทยาทาน ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้าน วิปัสสนาธุระ และคันถธุระ

๒. ผู้สนใจที่จะฝึกอบรม เพื่อเผยแผ่ วิปัสสนากัมมัฏฐาน

๓. กลุ่มบุคคลทั่วไป เช่น บริษัท, สถานที่ทำงาน และ สถานศึกษา 


ระยะเวลาอบรม:

เวลา 17.00 - 20.00 น.  วันจันทร์ - ศุกร์
เวลา 14.30 - 19.30 น.  วันเสาร์ และ อาทิตย์

๑. ระยะเวลาอบรมต่อเนื่อง ช่วงแรก ๖ เดือน
๒. ฝึกปฏิบัติทุกวัน สำหรับผู้สนใจปฏิบัติทั่วไป / ปฏิบัติต่อที่บ้าน และที่ทำงาน
๓. ฝึกด้วยตนเอง ตามเวลาว่างที่มี สำหรับบุคคลทั่วไป


สถานที่ฝึก:

ชั้น 2 อาคารปฏิบัติธรรม วัดลาดพร้าว
ซอยลาดพร้าว ๔๑ (เดินเข้าวัดใกล้กว่าซอย ๕๓) หรือ
ลาดพร้าว ๕๓ (โชคชัย ๔) กรุงเทพฯ, ที่บ้าน และนอกสถานที่


ติดต่อ อ.อณิวัชร์ Mr. Aniwat - Tel Thailand Code (66) 097 984 9355

facebook : vipassana meditation thailand

***กรุณาโทรนัดก่อนเดินทาง        

Email : anipetch@gmail.com